สร้างรายได้ ด้วยแอป Blockdit
ในปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลมากต่อการเสพข่าวสารต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งสื่อที่มาจากโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แต่ช่องทางหลักๆ ที่คนปัจจุบันใช้เสพข่าวนั่นก็คือ ช่องทาง Social Media นั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นทาง Facebook Twitter หรือ Line เมื่อเราเปิดแอปพลิเคชัน ก็ได้พบเจอกับข่าวสารมากมาย แต่หลายครั้งข่าวสารที่เราอ่านอาจจะไม่ใช่ข่าวสารที่เป็นข้อมูลจริงทั้งหมดก็ได้ กล่าวคืออาจจะถูกบิดเบือนโดยผู้เขียนข่าวนั่นเอง ทว่าเมื่อเราได้เสพข่าวไปแล้ว และไม่รู้ว่าข่าวนั้นถูกบิดเบือน เมื่อมีการบอกต่อ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ค่ะ นั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดแอปพลิเคชัน ชื่อว่า Blockdit (บล็อกดิต) เป็นแอปพลิเคชันที่มีการนำเสนอข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงในรูปแบบของ block หรือ “กล่องข้อความ” ให้สามารถอ่านได้ง่าย สะดวกในการใช้งาน นอกจากนี้ทางแอปยังเปิดช่องทางให้บุคคลทั่วไปเข้ามาสมัครเขียนสร้างคอนเทนต์ให้กับคนอื่นๆ ได้อ่านอีกด้วย บอกเลยว่าเอาใจคนชอบเขียน ชอบแชร์ข้อมูล สร้างรายได้เลยทีเดียวค่ะ รู้หมือไร่ เอ้ยรู้หรือไม่คะว่าแอปพลิเคชัน Blockdit มีที่มาจากคำว่า Block ที่สื่อถึงการนำเสนอในรูปแบบกล่องข้อความ และคำว่า Edit ที่แปลว่าเรียบเรียงเลยรวมกันกลายเป็นคำว่า Blockdit […]
การสแกนสารบัญวารสารใหม่
บริการสารบัญวารสารใหม่ทันใจ คือ บริการสแกนสารบัญวารสารที่มาใหม่ในห้องสมุดส่งให้ผู้ใช้บริการผ่านทางอีเมล์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทราบถึงรายละเอียดว่าวารสารฉบับนั้น ๆ มีบทความที่ตนเองสนใจหรือไม่ เกี่ยวกับอะไรบ้าง และเพื่อลดการเสียเวลาในการค้นหาวารสารบนชั้นหนังสืออีกด้วย ขั้นตอนการสแกนสารบัญวารสาร 1. คัดแยกวารสารที่ต้องทำการสแกนตามรายชื่อที่ผู้ใช้บริการต้องการสารบัญ 2. เปิดโปรแกรม Canon MP Navigator EX เพื่อสแกน >> คลิกเลือก PDF 3. นำวารสารที่ต้องการสแกนวางบนเครื่องสแกน 4. หลังจากเลือก PDF แล้ว […]
เทคนิคการร่างหนังสือราชการอย่างง่าย
สวัสดีค่ะทุกท่าน กลับมาพับกบเอ้ย ! พบกลับสาระดีดีเช่นเคยนะคะ สำหรับวันนี้ผู้เขียนจะขอเล่าเทคนิคการร่างหนังสืออย่างง่าย เชื่อว่าหลายๆท่านที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐหรือทำงานเอกชนเองก็ตาม ต่างก็คงเคยเห็นหนังสือราชการ อันที่จริงแล้วตามระเบียบงานสารบรรณเองก็จะแบ่งประเภทของหนังสือราชการ เป็น 6 ประเภท ได้แก่ หนังสือภายใน หนังสือภายนอกหนังสือสั่งการ หนังสือประทับตรา หนังสือประชาสัมพันธ์และหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ ซึ่งหนังสือทุกประเภทล้วนก็มีความสำคัญและใช้ตามบริบทที่ต่างกันออกไป ด้วยตัวผู้เขียนเองปฏิบัติหน้าที่งานสารบรรณ สังกัดฝ่ายสนับสนุนงานบริหาร ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ วันนี้ก็จะขอรวบรวมเทคนิคการร่างหนังสือราชการอย่างง่าย สำหรับทุกท่านที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐซึ่งต้องติดต่อกันไปมาระหว่างหน่วยงานทั้งในม.อ. หรือหน่วยงานอื่นๆ ก็ดี ในบล็อกนี้จะไม่ขอลงรายละเอียดลึก แต่จะขอเล่าถึงส่วนประกอบที่สำคัญและเทคนิคดีดีของการร่างหนังสือราชการนะคะ มาดูกันเลยค่ะ 1. การเขียนหัวเรื่อง คือหัวเรื่องที่เราต้องการจะสื่อ เน้นใจความย่อสั้นที่สุด กระชับ โดยเราจะต้องคำนึงถึงสองส่วน ได้แก่ให้พอรู้ใจความของหนังสือ และให้สะดวกแก่การเก็บค้นอ้างอิง เพราะฉนั้นเรื่องที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้ค่ะ – ย่อสั้นที่สุด ไม่ควรเกิน 2 บรรทัด – สื่อใจความหลักของสาร ดูแล้วรู้ว่าผู้ส่งสารต้องการอะไรจากเรื่องนี้ เน้นเป็นประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา เช่น ขอความอนุเคราะห์/ขอส่งข้อมูล/ตรวจสอบหนี้สิน/ขอความร่วมมือ – แยกความแตกต่างจากเรื่องอื่นได้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและใช้อ้างอิง […]
การลงทะเบียนวารสาร
การลงทะเบียนวารสารเป็นการบันทึกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวารสารทุกฉบับที่ห้องสมุดได้รับ วารสารที่ได้ผ่านกระบวนการจัดหามาหรือได้รับบริจาคมาแล้ว จะถูกนำมาลงทะเบียนวารสารใหม่ โดยการคัดเลือกของผู้รับผิดชอบงานวารสารว่าวารสารที่นำมาลงทะเบียนตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานลงทะเบียนวารสาร 1. ตรวจสอบวารสารว่ามีใบเสร็จ ใบแทรก ใบตอบรับหรือเอกสารสำคัญอื่นๆ อีกหรือไม่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานหรือจะดำเนินการอย่างอื่นต่อไป 2. ตรวจความเรียบร้อยของตัวเล่ม ว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายไปบ้างหรือไม่ เพื่อที่จะได้ส่งกลับสำนักพิมพ์เพื่อเปลี่ยนเป็นฉบับใหม่แทน 3. ค้นหาวารสารในระบบ ALIST 4. วารสารที่ไม่มีรายการระเบียนบรรณานุกรม ให้ส่งบรรณารักษ์เพื่อพิจารณาสร้างระเบียนบรรณานุกรม(Create Record)สร้างรูปแบบการพิมพ์วารสาร (MARC holding record) และสร้างรายการบัตรลงทะเบียน (Serial Check-in Card) 5. วารสารที่มีระเบียนบรรณานุกรมแล้ว ให้ตรวจสอบฉบับที่ เดือน ปี ของวารสารก่อนลงทะเบียนวารสารในบัตรลงทะเบียน (Check-in Card) 6. จากนั้นติดเลขหมู่(Local Call) บาร์โค้ด(Barcode) สถานะให้ยืมได้ และสติ๊กเกอร์วารสารใหม่เพื่อบอกผู้ใช้บริการ 7. ประทับตรามหาวิทยาลัยตรงหน้าปกใน สันทั้ง 3 ด้าน และประทับวันที่ให้เรียบร้อย 8. หากมีการจัดทำสารบัญวารสารใหม่ส่งผู้ใช้บริการหรือทำดรรชนีให้โน้ตไว้แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้ […]
การทำลายหนังสือราชการ
สวัสดีค่ะนักอ่านชาว KM ทุกท่าน วันนี้ผู้เขียนจะมาขอเล่าเรื่องราวความสำคัญของการทำลายหนังสือราชการ โดยปกติแล้วงานสารบรรณจะมีหน้าที่ในส่วนของการดูเอกสารทางราชการตั้งแต่การร่างหนังสือ การส่งออก การจัดเก็บรักษา ไปจนถึงการทำลายเอกสาร โดยอ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ข้อที่ 66 – 70.2 กำหนดให้ดำเนินการทำลายหนังสือทางราชการภายใน 60 วันหลังจากสิ้นปีปฏิทิน ซึ่งหนังสือราชการที่ทำลายก็จะเป็นหนังสือทางราชการที่ครบอายุการเก็บตามระเบียบของงานสารบรรณ หรือเป็นหนังสือที่หมดความจำเป็นในการใช้งานแล้ว เพื่อมิให้เป็นภาระแก่ส่วนงาน จึงมีความจำเป็นต้องนำออกไปทำลายเพื่อช่วยให้ส่วนงานมีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารในปีต่อๆไป เรามาดูขั้นตอนการทำลายหนังสือราชการกันค่ะ ว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง ขั้นตอนที่ 1 สํารวจเอกสารและสิ่งของที่จะทําลาย พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการสํารวจเอกสารและสิ่งของ โดยประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อยสองคน ขั้นตอนที่ 2 เมื่อสํารวจเอกสารและสิ่งของเรียบร้อยแล้ว จัดทําบัญชีหนังสือขอทําลาย โดยเรียนถึงหัวหน้าของส่วนงาน ขั้นตอนที่ 3 รายงานผลการสํารวจเอกสารและสิ่งของตามแบบบัญชีหนังสือขอทําลาย ให้หัวหน้าของส่วนราชการเป็นผู้พิจารณา ขั้นตอนที่ 4 หัวหน้าของส่วนงานพิจารณาสั่งการ ขั้นตอนที่ 5 ส่งบัญชีหนังสือขอทําลายให้กองจดหมายเหตุแหงชาติ […]
การทวงถามวารสาร
การทวงถามวารสารเป็นการดำเนินการติดตามทวงวารสารฉบับที่ห้องสมุดยังไม่ได้รับตัวเล่มจากสำนักพิมพ์หรือตัวแทนจำหน่ายวารสารในช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อให้วารสารรายชื่อนั้นๆมีครบสมบูรณ์ทุกฉบับเพื่อให้บริการผู้ใช้ต่อไป ดังนั้นผู้ที่รับผิดชอบงานด้านวารสารจึงจำเป็นต้องมีการทวงถามวารสารอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องการกำหนดออกวารสารของแต่ละรายชื่อ ในการทวงถามวารสาร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้ใช้วิธีการทวงถาม 3 วิธี คือ 1. ทวงถามสำนักพิมพ์หรือตัวแทนทางโทรศัพท์ เป็นช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว และสามารถทำได้ทันที แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีลายลักษณ์อักษร ผู้รับผิดชอบทวงถามจึงต้องจดรายละเอียดให้ดี 2. ทวงถามสำนักพิมพ์หรือตัวแทนผ่านทาง E-Mail ผู้รับผิดชอบทำการส่ง E-Mail ไปยังสำนักพิมพ์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อวารสาร ฉบับที่ เล่มที่ ปีที่ หมายเลขสมาชิก เพื่อให้ทางสำนักพิมพ์หรือตัวแทนจำหน่ายส่งวารสารมา 3. ทำหนังสือราชการขอทวงวารสาร โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้ […]
The Double Diamond Design Process แนวความคิดสู่ความเป็นเลิศ
สวัสดีค่ะผู้อ่านชาว KM ทุกท่าน บล็อกที่แล้วทุกท่านคงจะได้อ่านกันแล้วใช่ไหมคะ ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ซึ่งเป็นวิธีที่คิดค้นโดย Stanford ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathise Define Ideate Prototype และ Test ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราฝึกกระบวนการคิด ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนไปสู่การค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับบล็อกนี้เราก็จะมาแชร์กระบวนการคิดเชิงออกแบบอีก 1 โมเดลที่นิยมนำมาใช้กับงานบริหารจัดการตลอดจนสร้างสรรค์การทำงานให้กับองค์กรของเรา นั่นก็คือ The Double Diamond Design Process : กระบวนการออกแบบแบบเพชร 2 เม็ด ซึ่งคิดค้นโดย UK Design Council โมเดลนี้ได้รับความนิยมในระดับสากลซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนที่เรียกง่ายๆ ว่า 4D แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ […]
Canva แอปออกแบบกราฟิกดีไซน์สุดเก๋
Canva “โปรแกรมออกแบบกราฟิกที่คนไม่เป็นโปรแกรมอะไรเลยก็ใช้ได้“ ทุกหน่วยงานจะต้องมีงานประชาสัมพันธ์ งานออกแบบ ที่จะช่วยทำประชาสัมพันธ์กิจกรรม ข่าวสารต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานนั้น โดยแต่ละภาพที่ออกมาจะต้องดูดี สวยงาม และทันเวลา วันนี้เลยมาแนะนำเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานออกแบบให้ง่าย ประหยัดเวลา สวย ดูดี แบบที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ไม่มีทักษะในการออกแบบ เลือกเฉดสี หรือตกแต่งโปสเตอร์ ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป “Canva” นาง “Can Do” จะมาช่วยให้ทุกงานง่ายขึ้นค่ะ Canva คืออะไร ใครเป็นคนสร้าง? Canva เป็นเว็บไซต์และแอปพลิเคชันด้านกราฟฟิกดีไซน์ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2012 ที่ออสเตรเลีย คนออกแบบ Canva คือ “Melanie Perkins” ในวัย 19 ปี สมัยเป็นนักศึกษา University of […]
Mukbang เพื่อนกินผ่านจอ
ใครที่เวลาจะทานอาหารแล้วต้องเปิด youtube หาช่องที่กินอาหารโชว์เป็นเพื่อนเวลาจะทานอาหารยกมือขึ้น แล้วรู้หรือไม่ว่าช่องเหล่านี้มาจากไหน มีความเป็นมายังไง 먹방 Mukbang (ม็อกบัง) หรือการกินออกอากาศ มีจุดเริ่มต้นมาจากเกาหลีใต้ มากจากคำว่า Muk – ja หรือ Muok – da ที่แปลว่า กิน มารวมกับ คำว่า Bang – song ที่แปลว่า ออกอากาศสด กลายมาเป็น Mukbang หรือ Eating Show เทรนการกินโชว์ผ่านหน้าจอที่เป็นไวรัลในขนาดนี้ Mukbang เกิดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้เป็นที่แรกผ่านทางช่อง AfreecaTV ช่องสตรีมเกมส์และการกินโชว์ที่เป็นแหล่งรวมนักกินชื่อดังของเกาหลี จนตอนนี้เทรนการกินได้ลุกลามมายังช่อง youtube แล้ว จะเห็นได้ว่าช่วง 2-3 ปีมานี้มีช่องการกินโชว์เพิ่มมากขึ้น และวันนี้ก็ได้รวบรวมช่องกินโชว์ที่กินได้น่าอร่อยมาฝากติดตามกัน เผื่อวันไหนเบื่อๆ อยากจะหาเพื่อนนั่งกินก็สามารถเปิดช่อง youtube เหล่านี้ได้เลย 1. ZACH CHOI ASMR […]
ทริคสุดเจ๋ง ดาวน์โหลด youtube ง่ายได้ในพริบตา
ใครที่อยากจะดาวน์โหลดคลิปใน youtube เก็บไว้ดูส่วนตัว เวลาที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตหรือเวลาที่เหงาๆ อยู่บ้าน คนเดียว ลองทำตามวิธีดังต่อไปนี้ได้เลย วิธีการดาวน์โหลด Youtube ง่ายๆ 1. เข้าหน้าลิ้งค์ youtube ที่เราต้องการดาวน์โหลด 2. จากนั้นไปที่ URL ของเว็บ แล้วเติม SS ไว้หน้าคำว่า youtube แล้วค่อยกด enter 3. หน้าเว็บจะถูกไดเร็กไปยังหน้าสำหรับให้เราดาวน์โหลดไฟล์ เราสามารถเลือกประเภทและความละเอียดของไฟล์ได้เลย 4. ส่วนไฟล์ที่เราโหลดมาจะอยู่ในโฟลเดอร์ Download ในเครื่องเรานั่นเอง เป็นยังไงบ้างคะ กับทริคการดาวน์โหลดไฟล์จาก youtube นี้ วิธีการทำก็ง่ายใช่มั้ยละคะ ถ้าชอบก็อย่าลืมกดแชร์กันด้วยนะคะ