The Double Diamond Design Process แนวความคิดสู่ความเป็นเลิศ

      สวัสดีค่ะผู้อ่านชาว KM ทุกท่าน บล็อกที่แล้วทุกท่านคงจะได้อ่านกันแล้วใช่ไหมคะ ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ซึ่งเป็นวิธีที่คิดค้นโดย Stanford ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathise Define Ideate Prototype และ Test ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราฝึกกระบวนการคิด ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนไปสู่การค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ
         สำหรับบล็อกนี้เราก็จะมาแชร์กระบวนการคิดเชิงออกแบบอีก 1 โมเดลที่นิยมนำมาใช้กับงานบริหารจัดการตลอดจนสร้างสรรค์การทำงานให้กับองค์กรของเรา นั่นก็คือ The Double Diamond Design Process : กระบวนการออกแบบแบบเพชร 2 เม็ด ซึ่งคิดค้นโดย UK Design Council โมเดลนี้ได้รับความนิยมในระดับสากลซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนที่เรียกง่ายๆ ว่า 4D แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

        1. Discover ค้นพบ
           ขั้นตอนแรกนี้ก็คือการค้นพบปัญหา ทำความเข้าใจในตัวลูกค้า และทำความเข้าใจกับปัญหาให้ลึกซึ้งมากที่สุด
       2. Define บ่งชี้ / กำหนด
           ขั้นตอนที่ 2 หลังจากที่เราได้มองปัญหาทั้งหมดแล้ว นำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อที่จะหาปัญหาที่แท้จริงต่อไป โดยต้องระบุให้ได้ว่าปัญหาใดเป็นปัญหาที่แท้จริงเพียง                     ปัญหาเดียว เพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างตรงประเด็น
      3. Develop พัฒนา
          ขั้นตอนที่ 3 เมื่อค้นพบถึงแก่นปัญหาแล้ว เราจะต้องใช้ความคิดระดมสมอง แชร์ไอเดีย เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยคิดให้รอบด้าน หรือคิดนอกกรอบบ้างก็เป็น                แนวทางที่ดี จนไปสู่การออกแบบหรือต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหา
     4. Deliver นำไปปฎิบัติจริง
         ขั้นตอนสุดท้าย เป็นวิธีที่เราจะได้ทราบว่าวิธีแก้ไขปัญหา/ผลิตภัณฑ์ที่เราได้คิดมานั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยการนำไปแก้ไขปัญหาจริงๆ ตลอดจนเก็บข้อมูลเพื่อมาประมวลผลด้วย

       สุดท้ายแล้ว กระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking ที่ได้กล่าวไปนั้น สามารถนำมาประยุกต์ได้ในหลายๆ บริบท ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบริการ การพัฒนาสังคม หรือแม้แต่การใช้ชีวิตของเราเองก็ยังได้เลยค่ะ ลองดูนะคะ ฝึกจัดระเบียบทางความคิดใหม่ มองปัญหาให้เป็นโอกาสในการพัฒนางานของเรากันค่ะทุกคน 
       ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านนะคะ และอย่าลืมกด LIKE & SHARE ให้ด้วยนะคะ ❤

เอกสารอ้างอิง

Tada Ratchagit.(2562). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
          เครื่องมือสำคัญของการสร้างความสำเร็จให้องค์กร
. ค้นจาก https://th.hrnote.asia/
         orgdevelopment/190702-design-thinking/
Khajonwut Saesoe.(2560).สรุปความหมายวิธีการ และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ
         Design Thinking. ค้นจาก https://bit.ly/3hNrmWh




Back To Top
Chinese (Simplified)EnglishFrenchGermanItalianSpanishThai