Author: pitsacha.c

สร้างรายได้ ด้วยแอป Blockdit

  ในปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลมากต่อการเสพข่าวสารต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งสื่อที่มาจากโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แต่ช่องทางหลักๆ ที่คนปัจจุบันใช้เสพข่าวนั่นก็คือ ช่องทาง Social Media นั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นทาง Facebook Twitter หรือ Line เมื่อเราเปิดแอปพลิเคชัน ก็ได้พบเจอกับข่าวสารมากมาย แต่หลายครั้งข่าวสารที่เราอ่านอาจจะไม่ใช่ข่าวสารที่เป็นข้อมูลจริงทั้งหมดก็ได้ กล่าวคืออาจจะถูกบิดเบือนโดยผู้เขียนข่าวนั่นเอง ทว่าเมื่อเราได้เสพข่าวไปแล้ว และไม่รู้ว่าข่าวนั้นถูกบิดเบือน เมื่อมีการบอกต่อ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ค่ะ        นั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดแอปพลิเคชัน ชื่อว่า Blockdit (บล็อกดิต) เป็นแอปพลิเคชันที่มีการนำเสนอข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงในรูปแบบของ block หรือ “กล่องข้อความ” ให้สามารถอ่านได้ง่าย สะดวกในการใช้งาน นอกจากนี้ทางแอปยังเปิดช่องทางให้บุคคลทั่วไปเข้ามาสมัครเขียนสร้างคอนเทนต์ให้กับคนอื่นๆ ได้อ่านอีกด้วย บอกเลยว่าเอาใจคนชอบเขียน ชอบแชร์ข้อมูล สร้างรายได้เลยทีเดียวค่ะ       รู้หมือไร่ เอ้ยรู้หรือไม่คะว่าแอปพลิเคชัน Blockdit มีที่มาจากคำว่า Block ที่สื่อถึงการนำเสนอในรูปแบบกล่องข้อความ และคำว่า Edit ที่แปลว่าเรียบเรียงเลยรวมกันกลายเป็นคำว่า Blockdit […]

เทคนิคการร่างหนังสือราชการอย่างง่าย

         สวัสดีค่ะทุกท่าน กลับมาพับกบเอ้ย ! พบกลับสาระดีดีเช่นเคยนะคะ สำหรับวันนี้ผู้เขียนจะขอเล่าเทคนิคการร่างหนังสืออย่างง่าย เชื่อว่าหลายๆท่านที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐหรือทำงานเอกชนเองก็ตาม ต่างก็คงเคยเห็นหนังสือราชการ อันที่จริงแล้วตามระเบียบงานสารบรรณเองก็จะแบ่งประเภทของหนังสือราชการ เป็น 6 ประเภท ได้แก่ หนังสือภายใน หนังสือภายนอกหนังสือสั่งการ หนังสือประทับตรา หนังสือประชาสัมพันธ์และหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ ซึ่งหนังสือทุกประเภทล้วนก็มีความสำคัญและใช้ตามบริบทที่ต่างกันออกไป    ด้วยตัวผู้เขียนเองปฏิบัติหน้าที่งานสารบรรณ สังกัดฝ่ายสนับสนุนงานบริหาร ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ วันนี้ก็จะขอรวบรวมเทคนิคการร่างหนังสือราชการอย่างง่าย สำหรับทุกท่านที่ทำงานในหน่วยงานของรัฐซึ่งต้องติดต่อกันไปมาระหว่างหน่วยงานทั้งในม.อ. หรือหน่วยงานอื่นๆ ก็ดี  ในบล็อกนี้จะไม่ขอลงรายละเอียดลึก แต่จะขอเล่าถึงส่วนประกอบที่สำคัญและเทคนิคดีดีของการร่างหนังสือราชการนะคะ มาดูกันเลยค่ะ 1. การเขียนหัวเรื่อง คือหัวเรื่องที่เราต้องการจะสื่อ เน้นใจความย่อสั้นที่สุด กระชับ โดยเราจะต้องคำนึงถึงสองส่วน ได้แก่ให้พอรู้ใจความของหนังสือ และให้สะดวกแก่การเก็บค้นอ้างอิง เพราะฉนั้นเรื่องที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้ค่ะ – ย่อสั้นที่สุด ไม่ควรเกิน 2 บรรทัด – สื่อใจความหลักของสาร ดูแล้วรู้ว่าผู้ส่งสารต้องการอะไรจากเรื่องนี้ เน้นเป็นประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา เช่น ขอความอนุเคราะห์/ขอส่งข้อมูล/ตรวจสอบหนี้สิน/ขอความร่วมมือ – แยกความแตกต่างจากเรื่องอื่นได้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและใช้อ้างอิง […]

การทำลายหนังสือราชการ

         สวัสดีค่ะนักอ่านชาว KM ทุกท่าน วันนี้ผู้เขียนจะมาขอเล่าเรื่องราวความสำคัญของการทำลายหนังสือราชการ โดยปกติแล้วงานสารบรรณจะมีหน้าที่ในส่วนของการดูเอกสารทางราชการตั้งแต่การร่างหนังสือ การส่งออก การจัดเก็บรักษา ไปจนถึงการทำลายเอกสาร โดยอ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ข้อที่ 66 – 70.2 กำหนดให้ดำเนินการทำลายหนังสือทางราชการภายใน 60 วันหลังจากสิ้นปีปฏิทิน ซึ่งหนังสือราชการที่ทำลายก็จะเป็นหนังสือทางราชการที่ครบอายุการเก็บตามระเบียบของงานสารบรรณ หรือเป็นหนังสือที่หมดความจำเป็นในการใช้งานแล้ว เพื่อมิให้เป็นภาระแก่ส่วนงาน จึงมีความจำเป็นต้องนำออกไปทำลายเพื่อช่วยให้ส่วนงานมีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารในปีต่อๆไป           เรามาดูขั้นตอนการทำลายหนังสือราชการกันค่ะ ว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง ขั้นตอนที่ 1 สํารวจเอกสารและสิ่งของที่จะทําลาย พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการสํารวจเอกสารและสิ่งของ โดยประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อยสองคน ขั้นตอนที่ 2 เมื่อสํารวจเอกสารและสิ่งของเรียบร้อยแล้ว จัดทําบัญชีหนังสือขอทําลาย โดยเรียนถึงหัวหน้าของส่วนงาน ขั้นตอนที่ 3 รายงานผลการสํารวจเอกสารและสิ่งของตามแบบบัญชีหนังสือขอทําลาย ให้หัวหน้าของส่วนราชการเป็นผู้พิจารณา ขั้นตอนที่ 4 หัวหน้าของส่วนงานพิจารณาสั่งการ ขั้นตอนที่ 5 ส่งบัญชีหนังสือขอทําลายให้กองจดหมายเหตุแหงชาติ […]

The Double Diamond Design Process แนวความคิดสู่ความเป็นเลิศ

      สวัสดีค่ะผู้อ่านชาว KM ทุกท่าน บล็อกที่แล้วทุกท่านคงจะได้อ่านกันแล้วใช่ไหมคะ ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ซึ่งเป็นวิธีที่คิดค้นโดย Stanford ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathise Define Ideate Prototype และ Test ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราฝึกกระบวนการคิด ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนไปสู่การค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ         สำหรับบล็อกนี้เราก็จะมาแชร์กระบวนการคิดเชิงออกแบบอีก 1 โมเดลที่นิยมนำมาใช้กับงานบริหารจัดการตลอดจนสร้างสรรค์การทำงานให้กับองค์กรของเรา นั่นก็คือ The Double Diamond Design Process : กระบวนการออกแบบแบบเพชร 2 เม็ด ซึ่งคิดค้นโดย UK Design Council โมเดลนี้ได้รับความนิยมในระดับสากลซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนที่เรียกง่ายๆ ว่า 4D แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้   […]

Design Thinking เครื่องมือสู่ความสำเร็จทางความคิด

หลายปีมานี้ ทุกท่านอาจจะเคยได้ยินกระบวนการคิดทางสมองเพื่อแก้ไขปัญหาในหลากหลายรูปแบบ และเราสามารถเข้าใจถึงปัญหานั้นๆ นำไปต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ซึ่งถูกคิดค้นโดยสถาบันชื่อดัง Stanford d.school ค่ะ Design Thinking เป็นวิธีการคิดเชิงออกแบบที่ทำให้เกิดแนวทางพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายในองค์กร ปัญหาด้านการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ ด้วยการที่เราต้องเข้าไปทำความเข้าใจความต้องการของมนุษย์ กำหนดกรอบของปัญหาโดยเน้นมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) ใช้วิธีการระดมสมอง (ฺBrainstorm) เพื่อหาไอเดียที่หลากหลาย และนำไปสู่การสร้างต้นแบบ จนถึงการทดสอบ “Design Thinking is a human centered and collaborative approach to problem solving, using a designed mindset to solve complex problem” – Tim Brown (British Industrial designer & President of […]

Trello : Project Management with Trello

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความรู้สึกเหล่านี้ …▶  รู้สึกว่างานที่ทำมีมากมายเหลือเกินจนไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง▶  เพื่อนร่วมงานขอช่วยให้คุณทำงานส่วนนี้ให้หน่อย ว่าแต่งานอะไรแล้วนะ▶  โครงการอบรมจะต้องดำเนินโครงการละ จะวางแผนกับทีมงานยังไงดีเนี่ย▶  วันหยุดยาวจะถึงแล้ว อยากมีเวลาไปพักผ่อนต่างประเทศบ้างจัง จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ถ้าคุณเจอปัญหาเหล่านี้ อยากให้ลองหยุดและแวะอ่านบล็อกนี้ดูสักนิดค่ะ เราจะพาไปแนะนำกับโปรแกรมบริหารจัดการที่ดีและฟรีมีอยู่จริง ใช้งานง่าย สะดวก เพียงลองใช้โปรแกรมนี้ งานของคุณที่มีมากมายหรือไม่รู้จะเริ่มที่ตรงไหน ก็จะช่วยบริหารจัดการให้ได้อย่างราบรื่นและเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ Trello คืออะไร ? Trello เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ซอฟต์แวร์แบบคลาวด์ในการจัดการโปรเจกต์ต่าง ๆ สำหรับบริหารจัดการงาน โครงการและงานส่วนบุคคลต่าง ๆ เปรียบเสมือนกับการทำงานที่เรามักจะแปะกระดาษโน๊ต เพื่อลำดับงานก่อนหลัง หรืออาจจะเป็นสิ่งที่ต้องทำ (Things To Do) ในงานนั้นๆ สำหรับ Trello นั้นเปรียบเสมือนบอร์ดออนไลน์ที่ช่วยให้การจัดการงานของเราง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผนงานในบริษัท หรือเป็นรายการที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน หรือจะเป็นการวางแผนท่องเที่ยวก็ดี Trello เหมาะกับใคร ? ✓  ทุกคนที่ต้องการจัดการวางแผนทั้งเรื่องชีวิต เรื่องงาน✓  ทุกคนที่อยากทำหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ✓  ทุกคนในทีมงานที่ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อติดตามงานกันและกัน จุดเด่นของ Trello มีอะไรบ้าง ? Trello […]

ก้าวสู่สำนักงานสีเขียว (Green Office)

สำนักงานสีเขียวคืออะไร? สำนักงานสีเขียว หมายถึง สำนักงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำ กว่าจะเป็นสำนักงานสีเขียว? การจะเป็นสำนักงานสีเขียวนั้น สำนักงานต้องผ่านตามเกณฑ์การประเมิน ซึ่งถูกกำหนดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม หลักสำคัญของสำนักงานสีเขียว คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย รองรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) เป็นต้น สำหรับเกณฑ์การประเมิน แบ่งเป็น 6 หมวด ดังนี้ หมวด 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ➤ กำหนดบริบทและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อม จัดทำนโยบายสิ่งแวดล้อม และมีแผนงานโครงการที่ นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หมวด 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก  ➤ เน้นการสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสำนักงาน และการจัดฝึกอบรมหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน และสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากร และมีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่บุคลากรในองค์กร หมวด 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน  ➤ เน้นการใช้พลังงาน […]

เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Keep memo บริการใหม่จาก LINE

ในปัจจุบันแอปพลิเคชัน LINE ถือเป็นแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับผู้ใช้ในประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศ โดยส่วนใหญ่ เรามักจะใช้แอปพลิเคชันนี้ในการแชทพูดคุย สร้างกลุ่ม ส่งข้อความ สติกเกอร์หาเพื่อน โทรคุย Voice call วิดิโดคอลแบบเห็นหน้า และยังมีฟังก์ชันอื่นๆ อีกมากมาย จนเมื่อวันก่อนก็มีการแจ้งเตือนจากไลน์เด้งขึ้นมาในชื่อ Keep memo ว่าแต่ Keep memo คืออะไร และมีจุดเด่นในการใช้งานอย่างไรบ้าง อีกทั้งเราจะเผยขั้นตอนการเก็บรูปภาพแบบง่ายสุดๆ มาดูกันเลยค่ะ Keep memo คืออะไร? Keep memo เป็นบริการห้องแชทที่ช่วยให้เราเก็บข้อมูลไว้ดูเป็นการส่วนตัว โดยสามารถบันทึกข้อความ รูปภาพ วิดิโอ ลิงก์ ไฟล์ โดยไม่มีวันหมดอายุเลย แต่ทว่ามีข้อจำกัด คือมีเนื้อที่ให้ใช้งานเพียงแค่ 1GB เท่านั้น Keep memo ถือเป็นบริการ Free Cloud Storage ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล รูปภาพ หรือลิงก์ที่ได้รับมา จุดเด่น Keep memo คืออะไร? เรามาดูขั้นตอนการใช้งานฝากรูปภาพโดยใช้ […]

การกำหนดรหัสพยัญชนะและเลขหนังสือของส่วนงาน สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ

สวัสดีค่ะชาว KM ทุกท่าน สาระน่ารู้ของเราในวันนี้นั่นก็คือเรื่อง การกำหนดรหัสพยัญชนะและเลขหนังสือของส่วนงานหอสมุดคุณหญิงหลงฯ เชื่อว่าทุกท่านอาจจะเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้วใช่มั๊ยคะ เมื่อเราต้องการส่งหนังสือราชการจะปรากฎเลขหนังสือส่งออกของแต่ละส่วนงาน อยู่ด้านซ้ายของเอกสาร โดยประกอบด้วยรหัสพยัญชนะ และตัวเลข สิ่งเหล่านี้มีที่มาและสามารถบอกอะไรกับพวกเราได้บ้าง ลองมาดูกันค่ะ โดยปกติแล้วหนังสือราชการที่เป็นหนังสือส่งออกภายใน (ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) จะเป็นเลขที่หนังสือ มอ 187/ ….. และหนังสือราชการที่เป็นหนังสือส่งออกภายนอก จะเป็นเลขที่ อว 6801.18/ …. สำหรับการกำหนดรหัสพยัญชนะและเลขเอกสารนั้น ได้ถูกกำหนดมาจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม อ้างอิงจากประกาศ ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เรื่อง การกำหนดรหัสพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขประจำของเจ้าของเรื่องของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยกำหนดเลขเอกสารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ อว 68… จากนั้นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้กำหนดเลขที่หนังสือของแต่ละส่วนงาน เพื่อใช้ในการบริหารงานเอกสาร การติดต่อ และอ้างอิงเอกสาร โดยมีดังนี้ ดังนั้น ถ้าเราต้องการจะร่างหนังสือราชการส่งออกภายนอก เลขที่หนังสือของส่วนงานของเรา คือ อว 6801.18/ …… หวังว่าเนื้อหาสาระของงานสารบรรณในวันนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะคะ […]

ภาษาราชการ เข้าใจยากจริงหรือ?

       สวัสดีค่ะชาว KM ทุกท่าน กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ สำหรับเรื่องที่แล้วก็ได้แนะนำการย่อลิงก์เอกสารโดยใช้ Bitly ไปแล้ว ทุกท่านได้ลองใช้กันแล้วหรือยังคะ วันนี้เราก็จะพามาทำความเข้าใจในคำศัพท์ทางภาษาราชการกันค่ะ มีคนเคยถามว่าทำไมภาษาราชการต้องเขียนให้เข้าใจยากด้วย นั่นน่ะสิคะ ทำไมกันล่ะคะ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะ จริง ๆ แล้วทุกภาษาต่างก็มีภาษาราชการ (ภาษาเขียน) และภาษาพูด (ภาษาปาก) ด้วยกันทั้งนั้น เหตุที่ต้องมีภาษาราชการนั้น เพราะในปัจจุบันนี้มีคำศัพท์เกิดขึ้นใหม่เรื่อย ๆ การตีความก็จะต่างกันไป ดังนั้นเราต้องใช้ภาษาราชการที่มีหลักการตีความและนิยามตายตัว เพื่อให้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจถึงเรื่องที่ต้องการจะสื่อตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ฉะนั้นแล้วสำหรับมือใหม่หัดเขียนในเริ่มต้นอาจจะยาก และไม่ค่อยคุ้นชินกับคำศัพท์สักเท่าไหร่ ถ้าได้ใช้บ่อยๆ รับรองว่าไม่ยากเกินความสามารถแน่นอนค่ะ วันนี้เราก็จะขอนำตัวอย่างการใช้คำในภาษาราชการเบื้องต้น สำหรับมือใหม่หัดเขียนหนังสือราชการ อาจจะมีคำศัพท์บางคำเราอาจจะยังแยกไม่ออกระหว่างภาษาราชการกับภาษาพูด เราจึงขอนำตัวอย่างคำศัพท์มาให้ทุกท่านได้ดูกัน หวังว่าทุกท่านจะนำสาระความรู้ในเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ร่างหนังสือร่างราชการกันนะคะ ขอขอบคุณรูปภาพจากเฟสบุ๊ค ดอกบัวใต้เสาชิงช้า สำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ

Back To Top
Chinese (Simplified)EnglishFrenchGermanItalianSpanishThai