Category: งานห้องสมุด

วิธีตรวจสอบรายชื่อวารสารว่ามีในฐานข้อมูล Web of Science หรือไม่? และถ้ามีในฐาน Web Of Science ควรจะตีพิมพ์หรือไม่?

มาทำความรู้จักกับฐานข้อมูล Web of Science ฐานข้อมูล Web of Science เป็นฐานข้อมูลดรรชนี และสาระสังเขป ครอบคลุมเอกสารวิชาการสหสาขาวิชา มีข้อมูลวารสารกว่า 12,000 ชื่อเรื่อง โดยสามารถใช้ข้อมูลได้ตั้งแต่ปี 2001 – ปีปัจจุบัน ฐานข้อมูล Web of Science มีวารสารแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. กลุ่ม 1 ประกอบด้วย 3 ฐานข้อมูล ดังนี้   – Science Citation Index Expanded (SCI-EXPANDED)—2001-present    – Social Sciences Citation Index (SSCI)—2001-present   – Art & Humanities Citation Index (A&HCI)—2001-present2. กลุ่ม 2 ประกอบด้วย […]

How to จ่ายค่าปรับของหอสมุดคุณหญิงหลง

“วิธีการจ่ายค่าปรับที่แสนจะสะดวก สบาย” สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้หน่อง (ชื่อในวงการ) นะคะ มาแนะนำวิธีการชำระค่าปรับ ให้ได้ทราบกันค่ะ การที่คุณจะชำระค่าปรับได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายนะคะ เพราะจะต้องมีหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดค่าปรับได้ เช่น 1. คุณส่งคืนหนังสือช้ากว่ากำหนดส่ง 2. ลืม (จำไม่ได้) ว่าวันกำหนดส่งนั้นคือวันไหน 3. เพื่อนยืมไปค่ะ (คิดว่าเพื่อนคืนแล้ว) นี่ไงล่ะคะ สาเหตุเหล่านี้นี่เอง (อย่าเศร้าไปนะคะ) ค่าปรับเพียง 3 บาท/เล่ม/วัน เท่านั้น วิธีการชำระค่าปรับ สามารถชำระได้ 2 ช่องทางดังนี้ 1. ชำระค่าปรับด้วย “เงินสด” ที่เคาน์เตอร์ยืมคืน ได้ทั้งชั้น 3, 5 และ 6 หากไม่ทราบว่ามีค่าปรับค้างชำระเท่าไหร่นั้น สามารถตรวจสอบได้ที่ : opac.psu.ac.th เข้าสู่ระบบ จากนั้น เลือกแถบเมนู ข้อมูลสมาชิก (Patron) ไปที่แถบเมนูขวามือ เลือกแถบหนี้สิน (Debt List) […]

Barcode Scanner : Beeper Volume

เหตุเกิดจากเสียง ปี๊บ ๆ ในช่วงพักเที่ยง ทำไมเสียงเครื่องสแกนบาร์โค้ดดังจัง (ทำเอง รำคาญเอง) ลดเสียงหน่อยได้มั้ย สิ่งแรกที่นึกได้คือไปลดเสียงลำโพงของเครื่องคอมพิวเตอร์จนเหลือ 0 ผลคือดังเท่าเดิม ต่อมาไปที่ตั้งค่า speaker ปิดเสียงให้หมด… ก็ยังดังเท่าเดิม เอาไงดีต้องมีวิธีสิ เข้า Google พิมพ์ reduce volume barcode scanner…เจอจ้าสรุปวิธีการลดเสียง Beep ของ Barcode Scanner ได้ตามนี้เลยค่ะ 1. หา User manual ของเครื่องสแกนบาร์โค้ด สำหรับของสำนักฯที่ใช้อยู่คือ Honeywell Voyager 1250g 2. ดูสารบัญ คลิกที่เรื่อง Beeper Volume เราจะปริ้นเฉพาะหน้านี้มาได้เลยค่ะ มีตัวอย่างจ้า 3. สแกนไปที่บาร์โค้ดที่ปรากฎ ระดับเสียงจะเปลี่ยนตามที่เราสแกนค่ะ มี 4 ระดับ คือ High Medium Low และ […]

How to บันทึกความเห็นในระบบ E-DOCs

ในการเดินทางไปประชุม สัมมนา อบรมวิชาการ หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคลากรในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ทุกท่านจำเป็นต้อง “บันทึกความเห็น” ในระบบ E-DOCs เพื่อขออนุมัติหัวหน้าฝ่ายและผู้อำนวยการเสียก่อน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้งานระบบ E-DOCs นั้น ยังมีความสับสนอยู่พอสมควร บางท่านไม่ได้ทำบ่อย บางท่านไม่เคยทำเลย .. วันนี้ฝ่ายสนับสนุนงานบริหาร จึงมาแนะนำวิธีการบันทึกความเห็นให้ทุกท่านได้ศึกษาและทบทวน กันลืมค่ะ ขั้นตอนที่ 1 : เข้าสู่ระบบผ่านทาง https://edoc.psu.ac.th/Login.aspx โดยใช้ psu passport ขั้นตอนที่ 2 : เลือกเมนู “เอกสารถึงตัวท่าน” เพื่อหา ช่องบันทึกความเห็น ของเอกสารที่ต้องการขออนุมัติ *อย่าเข้าที่เมนู “ค้นหา” เพราะจะเจอเอกสารที่ ไม่มีช่องสำหรับบันทึกความเห็น ค่ะ ขั้นตอนที่ 3 : เลือกเมนู “ค้นหาแบบละเอียด” (1) เพื่อค้นหาเอกสาร และเลือกค้นหาจาก “เลขที่เอกสาร” (2) พร้อมใส่เลขที่เอกสารในช่อง “คำค้น” (3) […]

การศึกษาดูงานห้องสมุดในภาคอีสาน

      เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการไปศึกษาดูงานห้องสมุดของบุคลากรสำนักฯ ในภาคอีสานระหว่างวันที่ 17-20 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมาประกอบด้วย สำนักหอสมุด มหาวิทยาขอนแก่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยามหาสารคามและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาอุบลราชธานี ซึ่งได้รับสนใจจากบุคลากรของสำนักเป็นอย่างดี สำหรับบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนั้นเรียกได้ว่าอบอวนไปด้วยความรู้ความประทับใจ ที่เกิดจากการไปความประทับใจในการต้อนรับขับสู้ของเจ้าภาพ และได้เจอะเจอกับเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในห้องสมุดทั้ง 3 แห่ง ซึ่งบางอย่างก็เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำยุคเรียกได้ว่าสมกับยุคของ 5G อาทิ Google JamBoard ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาขอนแก่น ผู้เขียนเองไม่ได้ไปกับเค้าหรอกครับ !!! ได้แต่ฟังเพื่อนเค้าเล่ามาแต่ก็อยากเล่าต่ออีกครั้ง….           กิจกรรมในวันนั้นโดยเริ่มจากการนำเสนอของฝ่ายสนับสนุนการบริหาร นำโดยหัวหน้าฝ่ายแสนสวยน้องตาลวีณา ฤทธิ์รักษา !!! ลองคลิก Download เอกสารนำเสนอได้เลยครับ ต่อมาก็เป็นการนำเสนอของฝ่ายบริการสารสนเทศ นำโดยวิทยากรสาวสวย 2 คนคือน้องอ้อแอ้ สถิตาภรณ์ จันทรครา […]

การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET 2020

♥ ♥ ♥ ♥ ♥ สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้ได้เปิดอ่านเอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 10 (The 10th PULINET National Conference) ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 8-9 มกราคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งผู้อำนวยการกรุณามาว่างไว้ให้อ่าน ซึ่งเป็นภาคของการจัดการความรู้ (KM) ซึ่งมีผลงานต่าง ๆ ที่ประเภทบรรยายที่ส่งเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ และทราบมาว่าผลงานการบริหารองค์กร การจัดการความรู้ (KM) ไม่ว่าจะเป็นภาคบรรยายหรือโปสเตอร์ มีหลาย ๆ ผลงานที่ได้รับรางวัลประเภทดีเด่น      ในการจัดประชุมในครั้งนี้ได้เจ้าภาพคือสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยใช้ชื่อว่า PULINET 2020 : “Library Transformation in a Disrupted World” สำหรับการประชุมวิชาการ PULINET นั้นจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีกลางของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ […]

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ”การจัดการความรู้แบบบทเรียนประเด็นเดียว (One Point Lesson (OPL)) เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน

       เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้แบบบทเรียนประเด็นเดียว (One Point Lesson (OPL)) เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน ให้กับบุคลากรของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกรวีสุนทร  ซึ่งโครงการนี้คณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ได้รับอนุมัติงบประมาณเงินรายได้จากสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร จำนวน 19,000 บาท โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 39 คน โดยวิทยากรผู้มากความรู้และประสบการณ์คือ ผศ. ดร. เธียรชัย พันธ์คง จากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่       สำหรับการอบรมในวันนั้นประเด็นหรือโจทย์หลักก็คือ One Point Lesson (OPL) หรือบทเรียนหนึ่งประเด็น และการพัฒนางานด้วยไคเซน (Kaizen) ซึ่งในความตั้งใจของคณะกรรมการ KM ที่ได้จัดอบรมในครั้งนี้คือต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ไปพัฒนางานของตนเอง โดยผมจะสรุปบรรยากาศการอบรมในวันนั้นมาเล่ากันฟังพอเป็นสังเขป ช่วงเช้าวิทยากรได้พูดถึงประเภทของบทเรียนไว้ว่ามีหลายประเภทไม่เฉพาะแต่ OPL อย่างเดียวเท่านั้น อาทิ              • […]

“ALIST OPAC” Application แอพดีบอกต่อ

หอสมุดคุณหญิงหลงใช้ระบบห้องสมุดอัติโนมัติด้วยระบบ ALIST ที่พัฒนาโดยศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการกับผู้ใช้บริการ ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เสมือนเข้าใช้บริการหอสมุดได้ผ่าน ALIST OPAC Application นี้เอง

เทคนิคการประชุมระดมความคิดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก

     ความรู้หลักที่เป็นเป้าหมายของการจัดการความรู้คือความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่จับต้องยากหรือไม่ได้เลย แลกเปลี่ยนยากในบางครั้งแม้เจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าตนมีความรู้นั้น จึงต้องมีวิธีการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกนี้ในตลาดนัดความรู้ และในการประชุมระดมความคิด      วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ฝังลึกซึ่งผูกพันอยู่กับประสบการณ์หรือการปฏิบัติ วิธีที่ดีที่สุดคือทำให้ดู หรือฝึกหัดทำด้วยกัน วิธีนี้เหมาะกับความรู้ที่เป็นทักษะด้านการลงมือทำ แต่ในกรณีของการปฏิบัติที่ไม่ใช่การใช้มือหรือร่างกาย แต่เป็นการดำเนินการผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน โดยคนหลายคน วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝังลึกที่ใช้กันมากในปัจจุบันคือการเล่าเรื่อง (storytelling) ซึ่งถือเป็นเทคนิคหนึ่งของการจัดการความรู้ เทคนิคการประชุมโดยใช้การเล่าเรื่อง (storytelling)      เป้าหมายสำคัญที่สุดของการเล่าเรื่องคือให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ (ความเชื่อ), ในส่วนลึกของสมอง (ความคิด), และในส่วนลึกของร่างกาย (การปฏิบัติ) ออกมาเป็นคำพูด และหน้าตาท่าทาง (non-verbal communication) การปล่อยความรู้จากการปฏิบัตินี้ ผู้ปล่อยจะอยู่ในสภาพที่มีทั้งจิตใต้สำนึก และจิตสำนึก (subconscious & conscious) ย้ำว่าเรามีเป้าหมายให้เกิดการสื่อสารทั้งโดยใช้จิตสำนึก และจิตใต้สำนึก ดังนั้นถ้าฝึกปฏิบัติจนมีความชำนาญ การเล่าเรื่องจะปลดปล่อยความรู้ออกมาอย่างทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ      วิธีการและขั้นตอนของการเล่าเรื่องมีดังต่อไปนี้    กำหนด “หัวปลา” ให้ชัด ซึ่งหมายถึงเป้าหมายของการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังตัวอย่างการประชุมในตลาดนัดความรู้ของชาวนา […]

สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 3)

โดย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส. หรือ KMI)     เราอาจจะมองว่าขั้นตอนแรกนั้นเป็นการทำความเข้าใจในระดับผู้บริหารเป็นการสร้างความตระหนักสร้างการมีส่วนสร้าง Ownership และ Commitment ในเรื่อง KM จากกลุ่มผู้บริหาร ส่วนขั้นตอนที่สองเป็นการพัฒนาผู้ที่จะมาเป็นแขนเป็นขาให้ผู้บริหาร จะเรียกคนเหล่านั้นว่า “คุณอำนวย” หรือบางแห่งอาจใช้คำว่า “KM FA”, “Change Agent” ก็ได้ ลำพังชื่อที่ใช้เรียกคงไม่ใช่ประเด็นใหญ่อะไร สิ่งที่สำคัญคือเรื่องใจของคนเหล่านั้นว่าเขาเห็นความสำคัญของบทบาทนี้หรือไม่ว่าเขาคือกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั่นเอง       เมื่อ “คุณเอื้อ” มีความพร้อม “คุณอำนวย” มีความพร้อมและองค์กรมี Roadmap (จากขั้นตอนแรก) แล้วว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ความรู้เรื่องอะไรเป็นเรื่องหลักที่จะต้องจัดการ ที่จะทำการ “ต่อยอด” ต่อไป  ขั้นตอนที่สาม ก็คือการทำให้ “คุณกิจ” (คนทำงาน ผู้ที่ประสบการณ์ด้านนั้นๆ) ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) กัน การ ลปรร. นี้มีหลายรูปแบบด้วยกัน ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดก็คือการทำให้ “เนียน” ไปกับงานที่ทำอยู่ บางที่มีการประชุมอยู่แล้วก็สอดแทรกวิธีการ […]

Back To Top
Chinese (Simplified)EnglishFrenchGermanItalianSpanishThai