Design Thinking เครื่องมือสู่ความสำเร็จทางความคิด

หลายปีมานี้ ทุกท่านอาจจะเคยได้ยินกระบวนการคิดทางสมองเพื่อแก้ไขปัญหาในหลากหลายรูปแบบ และเราสามารถเข้าใจถึงปัญหานั้นๆ นำไปต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ซึ่งถูกคิดค้นโดยสถาบันชื่อดัง Stanford d.school ค่ะ

Design Thinking เป็นวิธีการคิดเชิงออกแบบที่ทำให้เกิดแนวทางพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายในองค์กร ปัญหาด้านการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ ด้วยการที่เราต้องเข้าไปทำความเข้าใจความต้องการของมนุษย์ กำหนดกรอบของปัญหาโดยเน้นมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) ใช้วิธีการระดมสมอง (ฺBrainstorm) เพื่อหาไอเดียที่หลากหลาย และนำไปสู่การสร้างต้นแบบ จนถึงการทดสอบ

Design Thinking is a human centered and collaborative approach to problem solving, using a designed mindset to solve complex problem – Tim Brown (British Industrial designer & President of IDEO)

Design Thinking is for Everybody เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับทุกคนภายในองค์กร เดิมทีเราอาจจะเข้าว่าเครื่องมือนี้เหมาะกับนักการตลาด นักออกแบบ หรือนักสร้างสรรค์ไอเดีย แต่ความเป็นจริงแล้ว ในทุกๆ ส่วนงานมักพบเจอปัญหาในแต่ละงานที่แตกต่างกันออกไป โดยปกติเราอาจจะมีการหาทางแก้ปัญหาแบบสะเปะสะปะ ไม่มีการหาสาเหตุ หรือไม่มีการมองรอบด้าน กระบวนการนี้จะทำให้เรามองอย่างรอบคอบและละเอียดมากขึ้น ทำให้เราเข้าใจปัญหาได้อย่างถ่องแท้ และแก้ไขได้ตรงจุด ถือเป็นทักษะอีกอย่างที่ทุกคนจำเป็นต้องมีติดตัวไว้เลยค่ะ

5 ขั้นตอนของกระบวนการคิดแบบ Design Thinking

1. Empathise ทำความเข้าใจ เข้าใจปัญหาการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายถึงปัญหาที่แท้จริง สังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ลูกค้า และฟังอย่างลึกซึ้ง โดยอาจจะใช้เป็นแบบสอบถาม ข้อนี้เราอาจจะต้องตั้งค่าความคิดของเราเป็น 0 (set zero) โดยไม่ใช้สมมติฐานหรืออคติส่วนตัว

2. Define กำหนดปัญหาให้ชัดเจน เมื่อเราทราบถึงข้อมูลปัญหาที่ชัดเจน ตลอดจนวิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้ว ให้นำเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อที่จะคัดกรองให้เป็นปัญหาที่แท้จริง 

3. Ideate ระดมความคิด การระดมความคิดด้วยวิธี brainstorm และ 5W นำเสนอความคิดตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างไม่มีกรอบจำกัด รวมถึงการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ซึ่งอาจจะมาจากหลายๆความคิดผสานกัน จนเป็นแนวทางที่ดีและชัดเจน

4. Prototype สร้างต้นแบบที่เลือก การสร้างต้นแบบ เพื่อนำแนวคิดหรือไอเดียที่ได้สร้างต้นแบบหรือแบบจำลองเพื่อทดสอบจริง โดยอาจจะใช้ลองมาทบทวนดูอีกครั้งว่า ต้นแบบของเรานั้นตอบโจทย์ปัญหาที่แท้จริงได้แล้วหรือยัง

5. Test ทดสอบ นำต้นแบบหรือข้อสรุปที่ได้ไปทดสอบใช้จริง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการประเมินผล หลังจากนั้นลองนำเอาปัญหาอุปสรรคหรือข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้จริงอีกครั้งนั่นเอง

ทีนี้เรามาดูตัวอย่างของบริษัทแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า  IDEO จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทรับออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ที่นำกระบวนการออกแบบเชิงความคิดอย่างสร้างสรรค์จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ โดยมีหัวใจหลักก็คือความสามารถในการดึงข้อมูลของผู้ใช้ การสร้างสรรค์และออกแบบ การทดสอบและวิเคราะห์ข้อมูล สิ่งเหล่านี้ทำให้ IDEO แตกต่างกับบริษัทออกแบบอื่นๆ ค่ะ

นี่ก็เป็นตัวอย่างการแก้ไขปัญหาจากวิธีคิดเชิงออกแบบ Design Thinking ของบริษัท IDEO ที่มองเห็นปัญหาจากการใช้งานรถเข็นช้อปปิ้งของผู้ใช้บริการและพนักงานเติมสินค้า จนได้นำปัญหาดังกล่าว ระดมความคิดจนสร้างเป็นต้นแบบสินค้าใหม่เพื่อทดลองนำไปแก้ปัญหาได้จริง
ลองคลิกดูกันเลยค่ะ >> https://www.youtube.com/watch?v=M66ZU2PCIcM

ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านนะคะ และอย่าลืมกด LIKE & SHARE ให้ด้วยนะคะ ❤

เอกสารอ้างอิง
Tada Ratchagit.(2562).กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เครื่องมือสำคัญของการสร้างความสำเร็จให้องค์กร.
ค้นจาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190702-design-thinking/
Tiger.(2562.)Design Thinking คืออะไร? การคิดเชิงออกแบบใน 5 ขั้นตอน.
ค้นจาก https://thaiwinner.com/design-thinking/

Back To Top
Chinese (Simplified)EnglishFrenchGermanItalianSpanishThai