9 พฤศจิกายน “วันรูสะมิแล”
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 และเปิดรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร ์รุ่นแรก จํานวน 60 คน ในปี 2511 โดยในภาคการศึกษาแรกได้ใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจบุันคือ มหาวิทยาลัยมหิดล) ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างอาคารที่ตำบลรูสะมิแล จังหวัดปัตตานี แล้วเสร็จเป็นบางส่วนในภาคการศึกษาที่ 2 คณาจารย์และนักศึกษาจึงได้เดินทางมาเรียนที่วิทยาเขตปัตตานีซึ่งตั้งอยู่ที่ตําบลรูสะมิแล อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 วันแรกของการมาอยู่ที่วิทยาเขตปัตตานีจึงเรียกว่า “วันรูสะมิแล” เพื่อร่วมรําลึกถึงวันแรกที่คณาจารย์และนักศึกษารุ่นแรก เดินทางมาอยู่ที่วิทยาเขตปัตตานี
ม.อ. จัดงาน “วันมหิดลและวันประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก
ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะ สมเด็จพระบรมราชชนก ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2565 ในวันที่ 24 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก และสะท้อนการดำเนินการตามพระปณิธาน “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” สร้างแรงบันดาลใจ ปลูกฝังจิตวิญญาณของนักศึกษาและบุคลากร สร้างจิตสำนึกการมีคุณธรรม จริยธรรม ในการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติ โดยเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 กองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ จัดงาน “วันมหิดลและวันประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” (Our Soul is for the Benefit of Mankind) ประจำปี 2565 โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี […]
อธิการบดี “บุญสม ศิริบำรุงสุข” กับ 37 ปี ที่สงขลานครินทร์
“สงขลานครินทร์ อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์เป็นตัวฉุดในการพัฒนา ดังนั้น การบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะต้องตั้งความฝันให้แรง ว่าจะนำมหาวิทยาลัยไปสู่จุดสูงสุดได้อย่างไร ในฝันนั้นคือ คน ม.อ.ต้องทำงานหนัก ต้องมีความสามัคคี ความฝันเหล่านี้จะเป็นจริงได้ ก็ต้องทำให้คน ม.อ. รัก ม.อ. ก่อน แล้วจะทำอย่างไรให้คน ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขตรักกันเพื่อความเป็นปึกแผ่นของ ม.อ.เอง” รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีในวาระที่ 2 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 เปิดใจถึงแนวคิดการบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ในระหว่างการดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นเวลาถึง 6 ปี และเป็นช่วงเวลาที่เหตุการณ์ในภาคใต้ เริ่มปะทุอย่างรุนแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีความยากลำบากมากขึ้นในการประคับประคองมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ไม่ให้ถูกลืมไปจากความทรงจำของคนทั้งประเทศ เหมือนกับที่คนไทยกำลังจะลืมสถานที่สำคัญหลายแห่งในภาคใต้ เช่น ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือวัดช้างไห้ รวมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ ช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ให้ดีขึ้น แม้จะใช้เวลานานสักเพียงใดก็ตาม “อาจารย์บุญสม” เป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความมุ่งหวังจะเป็นอาจารย์ตั้งแต่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2518 ซึ่งเมื่อไปยื่นใบสมัครไว้ 2 […]
อาคารปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง)
อาคารปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) เป็นอาคารหนึ่งที่เป็นผลงานการออกแบบของคุณอมร ศรีวงศ์ สถาปนิกที่ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ไว้วางใจให้เป็นผู้ออกแบบอาคารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ศูนย์อรรถกระวีสุนทร หรือในชื่อศูนย์ศึกษาหาดใหญ่ ในยุคแรกเริ่มก่อตั้ง (ศูนย์นี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาเขตหาดใหญ่ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นสมัยที่ศาสตราจารย์นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์ เป็นอธิการบดี) ตึกฟักทองเป็นหนึ่งในกลุ่มอาคารของคณะวิทยาศาสตร์ ในระยะแรกเริ่มอาคารเรียนยังมีน้อย นักศึกษาทุกคณะจึงต้องมาเรียนวิชาบรรยายที่นี่ ทั้งนี้เนื่องจากตึกฟักทองมีห้องบรรยายถึง 5 ห้อง คือ ห้อง L1 ถึง L5 ห้องบรรยายใหญ่สุดคือ ห้อง L1 สามารถจุคนได้ถึง 500 คน ดังนั้น ห้องนี้นอกจากจะใช้เรียนวิชาบรรยายแล้ว ยังเป็นห้องที่ใช้จัดประชุมอาจารย์และข้าราชการทั้งวิทยาเขต รวมทั้งใช้ในการจัดกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย ส่วนห้องอื่นๆ ที่เหลืออีก 4 ห้อง คือห้อง L2 – L5 จุคนได้ห้องละ 250 คน ออกแบบโดยสถาปนิกอมร ศรีวงศ์ มีกลีบทั้งหมด 25 กลีบ ปัจจุบัน […]
หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เกิดขึ้นจากนโยบายของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในสมัยศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ระหว่าง พ.ศ.2516 – 2518 ที่ต้องการรวมห้องสมุดต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ และห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าด้วยกัน เป็นหอสมุดกลางเพียงแห่งเดียว โดยใช้ชื่อว่า หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้บริจาคที่ดินเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2521 มีฐานะเป็นงานหอสมุดกลาง สังกัดกองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน 2532 ได้รับการยกฐานะเป็นฝ่ายหอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร สังกัดสำนักวิทยบริการ ต่อมา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ได้รับการยกฐานะเป็นสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งถือเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกหน่วยหนึ่ง สำนักทรัพยากรการเรียนรู้ คุณหญิงหลงอรรถกระวีสุนทร ได้ย้ายจากอาคารเดิมมาอยู่ในอาคารใหม่ คือ อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources […]
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แห่งแรก ณ วิทยาเขตปัตตานี
นับจากวาระแรกที่มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า “สงขลานครินทร์” ประชาชน ข้าราชการ คณาจารย์ และนักศึกษา ได้แสดงความปรารถนาที่จะให้มีพระบรมรูป สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เคารพสักการะ เป็นสิริมงคล และเป็นที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ มหาวิทยาลัยจึงเห็นสมควรที่จะมีการดำเนินการจัดสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนก เพื่อประดิษฐานในบริเวณวิทยาเขตทั้งสองของมหาวิทยาลัย คือ วิทยาเขตปัตตานี และวิทยาเขตหาดใหญ่ โดยได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนกได้ตามความปรารถนาของปวงประชาชนชาวภาคใต้ การดำเนินการได้เริ่มขึ้นที่วิทยาเขตปัตตานี เป็นวิทยาเขตแรก โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบปั้นและหล่อพระบรมรูปด้วยโลหะทองแดงรมดำ และได้มอบให้นายสนั่น ศิลาภรณ์ เป็นประติมากร ลักษณะพระบรมรูปทรงประทับยืน ฉลองพระองค์ครุย พระกรซ้ายทรงหนีบปริญญาบัตร พระกรขวาทรงปล่อยลงแนบพระองค์ และเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2521 มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีพิธีอัญเชิญพระบรมรูปขึ้นประดิษฐานยังพระราชา นุสาวรีย์ โดยมี ฯพณฯ ศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี ต่อมา ในวันที่ 22 กันยายน 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว […]
ม.อ. ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) แด่พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ)
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 22 ประจำปีการศึกษา 2535 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีมติถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) แด่พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2537 เวลา 14.00 น. โดยศาสตราจารย์ ดร. เกษม สุวรรณกุล นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในฐานะอุปนายกสภามหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์ อธิการบดี และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) แด่พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) ณ ห้องโถง โรงเรียนพุทธธรรม วัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท) สมณศักดิ์ที่ถือครองในปี 2550 หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย ผู้เป็นสหธรรมิกร่วมอุดมการณ์คนสำคัญของพระธรรมโกศาจารย์ […]
22 กันยายน “วันสงขลานครินทร์”
ในปี พ.ศ. 2505 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลโดยคณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการที่จะจัดให้มีมหาวิทยาลัยในภาคใต้ขึ้นตามแผนพัฒนาภาคใต้ ในขั้นต้นคณะกรรมการจัดทำโครงการคิดกันว่าจะจัดตั้งในระดับวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (College of Arts and Sciences) แล้วต่อไปจึงจะขยายเป็นมหาวิทยาลัย คณะกรรมการชุดนี้ได้ดำเนินการตามโครงการถึงขั้นสำรวจบริเวณที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัย โดยทำการสำรวจที่ทุ่งนเรนทร์ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี แต่การดำเนินงานของคณะกรรมการชุดนี้ต้องหยุดชะงักลงเพราะไม่ได้รับงบประมาณ ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำรัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ชุดใหม่ขึ้น โดยมี พ.อ.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ในรัฐบาลชุดนั้นเป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ชุดใหม่ ได้ดำเนินการตามโครงการที่จะจัดให้มีมหาวิทยาลัยในภาคใต้ต่อไป จนถึงปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติในหลักการ 2 ประการ คือให้มีมหาวิทยาลัยภาคใต้โดยมีศูนย์กลางที่ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กำหนดให้มีคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นก่อน และมีโครงการที่จะจัดตั้งคณะวิชาต่าง ๆ กระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ เช่น จะจัดตั้งคณะครุศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ ที่ตำบลเขาตูม อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จะจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง […]
“ศรีตรัง” เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศ รีตรัง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีใบเป็นชนิดใบประกอบขนนกสองชั้น ใบย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมาก ออกดอกปีละครั้ง เป็นช่อแบบกระจุก ช่อดอกยาว 5–9 เซนติเมตร กลีบมีดอก 5 กลีบ เชื่อมติดต่อกันเป็นหลอดสีม่วงอ่อน ช่วงที่ออกดอกประมาณเดือนมกราคม–มีนาคม เมื่อถึงฤดูกาลในแต่ละปี ศรีตรังจะออกดอกบานสะพรั่งเต็มต้น มีความสวยงามมาก แม้ยามร่วงโรยลงสู่พื้นดินแล้ว พื้นดินที่ปกคลุมด้วยดอกศรีตรังนั้นเหมือนถูกระบายด้วยสีสัน มีความงดงามสุดจะบรรยายได้ศรีตรังมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Jacaranda filicifolia D. Don. ชื่อสามัญ Jacaranda, Green ebony วงศ์ BIGNONIACEAE ชื่ออื่น ๆ เช่น แคฝอย (ภาคกลาง) ศรีตรังเป็นไม้ท้องถิ่นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้ ลักษณะทั่วไปของศรีตรัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน […]
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เปิดรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นคณะแรก จำนวน 50 คน ในปีการศึกษา 2510
ในปีการศึกษา 2510 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เปิดรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นคณะแรก เป็นจำนวน 50 คนผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์คนแรก ได้แก่ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ นักศึกษารุ่นนี้ ใช้อาคารของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เดิม มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ข้างโรงพยาบาลสงฆ์ ถนนศรีอยุธยา เป็นที่เรียน (ปัจจุบันคือ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล) และเรียนอยู่ที่นี่จนกระทั่งจบการศึกษา ในปี พ.ศ. 2514 สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่นักศึกษาคณะวิศวฯ จะต้องเรียน อาทิ เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ฯลฯ จะมีอาจารย์ของ ม.อ. เอง เป็นผู้สอน อาทิ ดร.ประดิษฐ เชยจิตร, ดร.เย็นใจ เลาหวนิช, ดร.วิมลยุตต์ วรรณสว่าง เป็นต้น และจะมีผู้สอนอีกส่วนหนึ่งเป็นอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาช่วยสอนนักศึกษาจะเลือกภาควิชาที่เรียนในชั้นปีที่ 3 โดยในขณะนั้นมีภาควิชาทั้งสิ้น 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาโยธา ภาควิชาเครื่องกล และภาควิชาไฟฟ้า โดยในแต่ละภาควิชามีอาจารย์ของ ม.อ. เอง เป็นผู้สอนและคอยดูแลนักศึกษาสำหรับการเรียน Engineering […]