19th March 2024

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

 

พระราชประวัติ
           สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2434 ทรงพระนามลำลองว่า “ทูลกระหม่อมแดง” มีพระโอรสและพระธิดาร่วมพระอุทร รวม 8 พระองค์ ได้แก่
             1. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร (สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ)
             2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์)
             3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา)
             4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์)
             5. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ (สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรี ราชสิรินธร)
             6. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ)
             7. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)
             8. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง

การศึกษา
      สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง ในปี พ.ศ. 2447  ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2449 ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนแฮร์โรว์ (Harrow) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อทรงศึกษาวิชาเบื้องต้น ต่อมาได้ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือในประเทศเยอรมัน เมื่อจบการศึกษาแล้วได้รับพระราชอิสริยยศเป็นนายเรือตรีแห่งราชนาวีเยอรมัน และนายเรือตรีแห่งราชนาวีสยาม กระทั่งปี พ.ศ. 2459 ทรงได้รับพระราชอิสริยยศเป็นนายนาวาเอกและนายพันเอกทหารบก (ราชองครักษ์) ต่อมาทรงลาออกจากกองทัพเรือ เพื่อเสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาด สหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุขและปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้น Cum Laude และทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษาแพทย์ อัลฟา โอเมกา อัลฟา ด้วย

                                                                              โรงเรียน แฮร์โรว์ (Harrow)


อพาร์ทเมนท์ ที่ทรงประทับ ขณะทรงเริ่มศึกษาวิชาแพทย์



คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

       ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2461 สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้เสด็จไปที่สถานีรถไฟเซาท์สเตชั่น (South Station) เมืองบอสตัน  เพื่อรับคณะนักเรียนไทย ซึ่งมีนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) นักเรียนพยาบาลทุนพระราชทานของสมเด็จพระมาตุฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีเดินทางมาด้วย การเสด็จไปรับครั้งนี้ทรงปฏิบัติพระองค์เสมือนผู้ดูแลนักเรียนไทยดังที่เคยปฏิบัติเสมอมา หากแต่มีสิ่งเพิ่มขึ้น คือความประทับใจที่มีต่อนางสาวสังวาลย์ นักเรียนทุนพยาบาลผู้มีบุคลิกโดดเด่นกว่านักเรียนคนอื่น ๆ
       ต่อมาได้ทรงอภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) ในวันที่ 10 กันยายน 2463 ณ พระตำหนักสมเด็จพระบรมราชเทวีในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ในพิธีอภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม

       สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา คือ 
               1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ประสูติ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่  6  พฤษภาคม พ.ศ. 2466
               2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 ทรงพระราชสมภพ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2468
               3. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาจูเซตต์ สหรัฐอเมริกา

 ตำแหน่งทางราชการ

  • ทรงเป็นอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ข้าหลวง ตรวจการศึกษาทั่วไป
  • นายกกรรมการคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล
  • กรรมการสภากาชาดสยาม
  • ประธานกรรมการอำนวยการวชิรพยาบาล
  • พระอาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • แพทย์ประจำโรงพยาบาลแมคคอร์มิค

        เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2472 สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลแมคคอมิค ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่  โดยทรงเสด็จไปประทับที่บ้าน Dr. E. C. Cort ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแมคคอมิค ที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ ที่แห่งนี้ทรงปฏิบัติกับคนไข้อย่างไม่ถือพระองค์ ทรงทุ่มเทปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ตลอดเวลา ทรงปฏิบัติหน้าที่แพทย์ด้วยความเอาพระทัยใส่อย่างยิ่ง เสด็จตรวจรักษาคนไข้เหมือนหมอทั่วไป ตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์ที่ทรงงาน ทรงเป็นที่รักใคร่ของประชาชนชาวเชียงใหม่ ทรงได้รับการถวายพระสมัญญาว่า “หมอเจ้าฟ้า” สมกับพระจริยวัตร และพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงปฏิบัติงานในฐานะแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมคคอมิคเช่นเดียวกับแพทย์คนอื่น หลังเสวยพระกระยาหารเช้าแล้วก็จะทรงดำเนินจากบ้านพักมากับ Dr.Cort ทรงเยี่ยมผู้ป่วยทุก ward พร้อมกับ Dr. Cort สั่งการรักษาแล้วเสด็จช่วย Dr. Cort ต่อ วันใดผู้ป่วยมากเที่ยงแล้วผู้ป่วยยังไม่หมดก็ทรงตรวจต่อไป บางวันได้เสวยพระกระยาหารกลางวันถึงบ่ายโมง ทรงตรวจทางห้องปฎิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง เมื่อ Dr.Cort เข้าผ่าตัด พระองค์ท่านก็จะได้ช่วยผ่าตัดจนเสร็จในตอนบ่าย หลังเสวยพระกระยาหารมื้อค่ำ ก็เสด็จไปเยี่ยมผู้ป่วยทุก ward ในเวลา 20.00 น.

      

บ้านพักที่ทรงเสด็จประทับระหว่างทรงงานที่เชียงใหม่
ลายพระหัตถ์ถึงนายแพทย์หลวงนิตย์เวชชวิศิษฏ์

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเป็นแพทย์ที่เอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างดียิ่ง ตรัสกับผู้ป่วยด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ทรงทำแม้แต่ยกกระโถนให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยรายหนึ่งชื่อเด็กชายบุญยิ่ง ถูกปืนลั่นที่แขนต้องให้เลือด และหา Doner พระองค์ท่านทรงทำ Cross Matching กับพระโลหิตของพระองค์เองด้วย ในชั่วเวลาเพียง 1 เดือน พระองค์จึงเป็นแพทย์ที่ชาวเชียงใหม่รักและเทิดทูน ทุกคนเรียกท่านว่า “หมอเจ้าฟ้า” พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 รวมพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน ตลอดพระชนม์มายุอันสั้นของสมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงพิสูจน์ความจริงที่ว่า ได้ทรงยึดปณิธานว่า “ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” อยู่เป็นเนืองนิตย์ พระดำรัสและพระราโชวาทใดๆ ที่ประทานล้วนแสดงให้เห็นถึงพระอุปนิสัยอันกอปรด้วยจริยธรรมอันสูงส่ง พระหฤทัยอ่อนโยน ละเอียดรอบคอบ ทรงพระเมตตาห่วงใยประเทศชาติและพสกนิกรของพระองค์ ทรงเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์เพียบพร้อม สมควรที่ประชาราษฎร์และข้าราชการทั่วไปจะยึดเป็นแบบฉบับและตำเนินตามพระปณิธานของพระองค์

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก4
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก3
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก2
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
1
พระราชานุศาสน์
พระราชา
พระบิดา8
พระบิดา7
พระบิดา6
พระบิดา5
พระบิดา
Prince_Mahidol_Adulyadej
p40_01
p40_04
p40_05
p40_02
PlayPause
previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก4
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก3
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก2
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
1
พระราชานุศาสน์
พระราชา
พระบิดา8
พระบิดา7
พระบิดา6
พระบิดา5
พระบิดา
Prince_Mahidol_Adulyadej
p40_01
p40_04
p40_05
p40_02
previous arrow
next arrow
Shadow