19th March 2024

วิทยาเขตปัตตานี

    การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509 ที่ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีในระยะแรกใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยภาคใต้” (UNIVERSITY OF SOUTHERN THALAND) ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2510 มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานชื่อว่า ”มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” (PRINCE OF SONGKLAUNIVERSITY) ตามพระนามฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระบรมราชชนกเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สร้างอยู่บนพื้นดินของนางซุ่ยสิ้ม ปริชญากร ผู้อุทิศที่ดินให้สร้างมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจากการบันทึกของนางสาวศรีวิไล ปริชญากร ที่เขียนไว้ว่า

       …ผู้ที่อุทิศที่ดินให้สร้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บุคคลแรกคือ นางซุ่ยลิ้ม ปริชญากร (สกุลเดิม ตันธนวัฒน์) ก่อนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ นางซุ่ยลิ้ม ปริชญากร เป็นบุตรีคนแรกของซุนพิทักษ์ รายา และนางเช่งยิ้ม (ภรรยาหลวง) เป็นหลานของคุณพระจีนคณารักษ์ (หรือหลวงจีนคณานุรักษ์) เป็นเหลนของหลวงสำเร็จกิจกรจางวางปัตตานี (บุ้ย แช่ตัน) ต้นสกุลตันธนวัฒน์ และคณานุรักษ์ สมัยท่านผู้ว่าราชการเกษม ข้าราชการส่วนหนึ่งได้ขอที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนสอนคนตาบอด คนพิการ คุณย่าซุ่ยสิ้ม ยินดีอุทิศให้ ๓๐ ไร่ ต่อมาเรื่องเงียบ จนเปลี่ยนผู้ว่าราชการเป็นท่านผู้ว่าราชการสมาส อมาตยกุล เช้าวันหนึ่งที่ดินอำเภอคือ นายบุญฤกษ์ กัณหกล ได้ไปพบคุณย่าซุ่ยสิ้ม ที่บ้านเลขที่ 1 ถนนอาเนาะรู จ. ปัตตานี บอกว่าท่านผู้ว่าราชคารสมาส อมาตยกุล ให้สำรวจที่ดินของคุณย่าซุ่ยสิ้ม ว่ามีอณาเขตต์มากน้อยเพียงไร รวมทั้งของคนอื่น ๆ ด้วย ระหว่างที่ไปดูที่ดินด้วยกันคุณย่าซุ่ยลิ้ม ถามว่ามีความประสงค์อะไร คุณบุญฤกษ์ ก็บอกว่าท่านผู้ว่าราชการสมาส ต้องการที่ดินสร้างมหาวิทยาลัย เพราะจังหวัดปัดตานีไม่มีะไรเลย พอคุณย่าทราบเรื่องก็บอกว่าเอาไปเลยไม่ต้องไปหาที่ดินที่ไหนอีก คุณบุญฤกษ์ก็ดีใจบอกว่าจะกลับไปกราบเรียนท่านผู้ว่าราชการสมาสให้ทราบ พอคุณย่าซุ่ยสิ้มกลับถึงบ้านด้วยความดีใจว่าต่อไปจังหวัดปัตตานี จะมีมหาวิทยาลัยก็ประกาศให้หลาน ๆ ทราบว่าใครขัดข้องบ้าง เพราะที่ดินผืนนี้ต่อไปจะตกเป็นมรดกของหลาน ๆ 5 คน เมื่อไม่มีใครขัดข้องก็มีความยินดี ขอให้คุณย่าไปกราบเรียนท่านผู้ว่าสมาสด้วยตนอง พอดีรอวิเชียร แก่นทับทิม (เป็นลูกเขยของนางวลัย วัฒนายากร น้องคุณย่า นำน้ำอบไทยจากพระนครไปฝากคุณย่า คุณย่าก็เลยชวน ร.อ. วิเชียร ไปจวนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ขอพบท่านผู้ว่าราชการสมาส อมาตยกุล พอท่านทราบด้วยความดีใจท่านยกมือพนมบอกว่าหลวงปู่ทวดศักดิ์สิทธิ์ ผมบนหลวงปู่ทวดไว้จะต้องไปแก้บน ขอขอบคุณที่คุณย่าซุ่ยลิ้ม เสียสละเห็นแก่ความเจริญก้าวหน้าของการศึกษา และอนุชนรุ่นหลังทางนายกเทศมนตรีปัตตานี สมัยนั้นคือนายดิเรก คณานุรักษ์ (น้องชายคุณย่าซุ่ยสิ้ม) ก็ได้เสนอท่านผู้ว่าราชการไว้เหมือนกันจะขอที่ดินคุณย่าให้พอดีคุณย่าไปยกให้ก่อนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กว่าจะไต้ตกลงมาสร้างที่จังหวัดปัตตานี ก็มีความลำบากมาก เพราะทางจังหวัดยะลก็ต้องการด้วยความพยายามของท่านผู้ว่าราชการสมาส อมาตยกุล นายดิเรก คณานุรักษ์ และข้าราชการในจังหวัดปัตตานีได้ชี้แจงคัดค้าน ให้ความคิดเห็นของสถานที่ตลอดด้านนโยบาย การเมือง เปรียบเทียบว่าการก่อสร้างมหาวิทยาลัยนั้น ที่ตำบลรูสะมิแล และที่ตำบลแบเบาะ จังหวัดยะลา ไหนจะเหมาะกว่ากัน อีกอย่างจังหวัดยะลามีหลายสิ่งหลายอย่าง แต่จังหวัดปัดตานีไม่มีอะไรเลย ที่เป็นความเจริญก้าวหน้า ของเยาวชนจังหวัดปัตตานี ฯลฯ ด้วยความพยายามของท่านผู้ว่าราชการสมาส อมาตยกุล นายดิเรก คณานุรักษ์ และต่อมาท่านผู้ว่าราชการนายพูนสวัส กำลังงาม ข้าราชการ ฯลฯ ท่านผู้ว่าราชการฯ ได้ถูกเรียกตัวไป จังหวัดพระนคร ให้เข้าร่วมชี้แจงปรึกษาในที่ประชุมคณะกรรมการสร้างมหาวิทยาลัย อันมี พ.อ. ถนัด คอร์มัน เป็นประธาน ผลที่สุดด้วยจิตต์ศรัทธาของคุณย่าซุ่ยสิ้ม ความพยายามของทุกท่านที่ได้กล่าวมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงได้สถิตเป็นเกียรติอยู่บนผืนแผ่นดิน จังหวัดปัตตานี ชั่วกาลนาน แรกเริ่มทางการต้องการที่ดินเพียง ๒ ไร่ เพื่อสร้างตัวตึกและอาคารเรียนท่านั้น ต่อมาไม่พอก็ขอเพิ่มอีก เป็น ๓๙ ไร่ ต่อมาบริษัทก่อสร้างขุดคูน้ำด้านข้างล้ำที่ดินเข้าขอเพิ่มอีก ๓.๕ ไร่ ตัดถนนตรงสี่แยกอีก ๒.๕ ไร่ รวมเป็น ๔๑ ไร่ ที่ดินหลังมหาวิทยาลัย ตลอดแนวยังคงเหลือเป็นของคุณย่าซุ่ยสิ้มอีก กว้าง ๗ วา ยาวตลอดแนวมหาวิทยาลัยที่ยกที่ดินให้ ต่อมาทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขอซื้อด้านหลัง คนละเท่าไร ตัดเอาที่ดินของคุณย่าไปอีกเท่าไรข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ เพราะที่ดินอำเภอคุณบุญฤกษ์อ้างว่านำหลักฐาน ส.ค. ๑ หาย ข้าพเจ้าจะยื่นฟ้องทางปลัดอำเภอมาขอร้องให้ทำใหม่ข้าพเจ้าก็เสียเงินทำ นส. ๆ ใหม่อีก รังวัดเอาที่ดินที่เหลือจากให้มหาวิทยาลัย เพราะช่วงนั้นข้าพเจ้ายังไม่ค่อยเข้าใจอะไร เมื่อคุณย่าถึงแก่กรรม ก็ทำอะไรไม่ค่อยถูกแต่อาศัยจิตต์ใจกล้า บุกป่าผ่าดงเข้าไปสำรวจทุกจุดอาศัยคนเฝ้าสวนก็ค่อย ๆ เข้าใจที่เขาอธิบายให้ฟัง ต่อมาข้าพเจ้าก็ปลงตกคิดว่าถ้าข้าพเจ้าเคยเป็นหนี้เขาอดีตชาติก็ให้เขาเอาไป แต่ถ้าข้าพเจ้าไม่เคยเป็นหนี้เขาใครทำกับข้าพเจ้าไว้ก็รับกรรมเอาเอง ต่อมาทางที่ดินก็บอกว่าที่ดินข้าพเจ้าไม่มีชื่ออีกหลายไร่ในมหาวิทยาลัยข้าพเจ้าก็ว่าไม่เป็นไรเพราะดินก็ตกเป็นของมหาวิทยาลัยแล้ว กุศลก็ได้แล้วการโอนยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้มหาวิทยาลัยยังไม่ทันเรียบร้อย คุณย่าซุ่ยลิ้ม ปริชญากร ก็ถึงแก่กรรม เมื่อวันอาสาหหนูชา ตรงกับวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ อายุ ๗๔ ปี ข้าพเจ้าศรีวีไล ปริชญากร เป็นหลานคนแรก มีน้อง ๆ ๔ คน รวมเป็น ๕ คน (คุณย่าซุ่ยสิ้ม ปริชญากร มีบุตชายเพียงคนเดียวคือคุณพ่อก็ถึงแก่กรรม) ข้าพเจ้าจัดการดำเนินงานแทนน้อง ๆ ทุกคน ถ้าช้าพเจ้าและน้อง ๆ มีความโลภ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีจะไม่ได้สถิตอยู่ ณ แผ่นดินปัตตานีอีกเลย พอดีทางมหาวิทยาลัยทราบข่าวคุณย่าถึงแก่กรรมก็กลัวทายาทจะไม่ยกให้ จึงส่งอาจารย์ฉวีวรรณ กาญจนะหะลิกุล เป็นตัวแทนมาติดต่อขอโอนที่ดินให้เป็นของมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าจึงได้ทำการโอนที่ดิน ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานี การโอนที่ดินเอาชื่อเพียง ๓๘.๕ ไร่ ในนามทายาท ๕ คน สำเร็จเรียบร้อยเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ได้รักษาสัญญาที่บอกว่าจะจารึกชื่อคุณย่าซุ่ยสิ้ม ปริชญากร และลูกหลานไว้ในแผ่นศิลาจารึกหน้ามหาวิทยาลัย ต่อมา ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๖ อาจารย์โสภณ เอี๋ยมสุวรรณ ซึ่งมาสอนอยู่มหาวิทยาลัยฯ ทราบเรื่องมาขอจารึกชื่อคุณย่าไว้หน้าตึกอำนวยการ เพราะต่อไปจะไม่มีใครทราบ ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอาจารย์โสภณ เอี่ยมสุวรรณ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย ที่ท่านระลึกถึงผู้บริจาคที่ดินให้สร้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นคนแรกข้าพเจ้าจึงบันทึกเรื่องราวการสร้างมหาวิทยาลัยวิทยาเขตปัตตานีไว้อนุชนรุ่นหลังจะได้ทราบความเป็นมา………

    ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ถือเอาวันที่ 13 มีนาคม วันที่พระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย