19th March 2024

ศาสตราจารย์ ดร. บัวเรศ คำทอง

วาระการดํารงตําแหน่ง

  • กรกฎาคม 2514 – กรกฎาคม 2516 

ประวัติ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. บัวเรศ คำทอง หรือศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. บัวเรศ คำทอง เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2453 ที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายทรัพย์ คำทอง และนางเปาว์ คำทอง ในปี 2487 ได้สมรสกับนางสาวสุมนา วสุวัต มีบุตร 2 คน คือนายปวเรศ คำทอง และ ดร.นันทิตา (ชมพูนุช) คำทอง ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 รวมสิริอายุได้ 91 ปี

การศึกษา

  • ระดับประถมศึกษาที่จังหวัดสุรินทร์
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2471 สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมปีที่ 8) จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2471-2473 เข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับทุนการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2473 ได้รับพระราชทานทุนสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเคมี ได้รับปริญญา B.Sc. (Honors) และ Ph.D. ในปี พ.ศ. 2481 โดยมีผลการศึกษาดีเด่น จึงได้รับการจารึกชื่อที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศอังกฤษ

การทำงาน

ศาสตราจารย์ ดร. บัวเรศ คำทอง ได้กลับมาปิติภูมิ ในปี พ.ศ. 2481 และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์วิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์แผนกวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2498 ตลอดเวลาที่รับราชการอยู่ ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ศาสตราจารย์ ดร. บัวเรศ คำทอง ได้มีบทบาททางราชการหลายอย่าง อาทิ เช่น

  • กรรมการสอบคัดเลือกผู้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศตามความต้องการของ ก.พ. และคุรุสภา
  • กรรมการผู้แทนคณะวิทยาศาสตร์ในกรรมการบัณฑิตวิทยาลัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัย
  • กรรมการสอบไล่ชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย และวิชาชุดครู ป.ป., ป.ม. ของกระทรวงศึกษาธิการ
  • ราชบัณฑิตในสาขาเคมี
  • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเคมีและเภสัชศาสตร์
  • กรรมการเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อนุกรรมการพิจารณาการทำกรดซัลฟุริค ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
  • กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
  • กรรมการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (มีส่วนร่วมในการก่อตั้งสมาคมมาตั้งแต่แรกเริ่ม รวมทั้งชุมนุมวิทยาศาสตร์)
  • เป็นผู้หนึ่งที่เขียนสารานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน
  • ได้มีส่วนร่วมในการเขียนตำราต่างๆ ที่ใช้อยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตำราที่ใช้อยู่ในระดับฝึกหัดครู ป.ป., ป.ม. และระดับเตรียมอุดมศึกษา อันนับได้ว่ามีส่วนเผยแพร่วิชาการได้ทางหนึ่งด้วย จนถึงปี พ.ศ. 2506 ได้เป็นคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในปี พ.ศ. 2507 ทางราชการได้ขอโอนให้ไปรับราชการในตำแหน่ง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2512-2514 เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ปี พ.ศ. 2514-2523 ได้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปริญญากิตติมศักดิ์

  • พ.ศ. 2510 ได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในการเสด็จพระราชดำเนิน เนื่องในการฉลอง 50 ปี แห่งวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2510
  • พ.ศ. 2515 ได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2516 ได้รับปริญญา D.Sc. (Honorary) จาก Aston University สหราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทานกิตติบัตรเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณในสาขาวิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานในช่วงดํารงตําแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • ดําเนินการสืบเนื่องโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์จนสําเร็จ ตลอดจนติดต่อขอการสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณและสถานที่ จนสามารถเปิดสอนได้
  • ขอความช่วยเหลือจากสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในการสร้างสระว่ายน้ําที่วิทยาเขตหาดใหญ่ และวิทยาเขตปัตตานี
  • คําเนินการหาทุนเพื่อจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชน) ที่วิทยาเขตหาดใหญ่ และวิทยาเขตปัตตานี
  • ติดต่อขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ในด้านทุนการศึกษา บุคลากรและอุปกรณ์การศึกษา