การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ”การจัดการความรู้แบบบทเรียนประเด็นเดียว (One Point Lesson (OPL)) เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้แบบบทเรียนประเด็นเดียว (One Point Lesson (OPL)) เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน ให้กับบุคลากรของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกรวีสุนทร ซึ่งโครงการนี้คณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ได้รับอนุมัติงบประมาณเงินรายได้จากสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร จำนวน 19,000 บาท โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 39 คน โดยวิทยากรผู้มากความรู้และประสบการณ์คือ ผศ. ดร. เธียรชัย พันธ์คง จากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำหรับการอบรมในวันนั้นประเด็นหรือโจทย์หลักก็คือ One Point Lesson (OPL) หรือบทเรียนหนึ่งประเด็น และการพัฒนางานด้วยไคเซน (Kaizen) ซึ่งในความตั้งใจของคณะกรรมการ KM ที่ได้จัดอบรมในครั้งนี้คือต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ไปพัฒนางานของตนเอง โดยผมจะสรุปบรรยากาศการอบรมในวันนั้นมาเล่ากันฟังพอเป็นสังเขป ช่วงเช้าวิทยากรได้พูดถึงประเภทของบทเรียนไว้ว่ามีหลายประเภทไม่เฉพาะแต่ OPL อย่างเดียวเท่านั้น อาทิ • […]
การคิดวิเคราะห์
ความหมายของการคิดวิเคราะห์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า “คิด” หมายความว่าทำให้ปรากฏเป็นรูป หรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คาดคะเน คำนวณ มุ่ง จงใจ ตั้งใจ ส่วนคำว่า “วิเคราะห์” มีความหมายว่าใคร่ครวญ แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ดังนั้นคำว่า “คิดวิเคราะห์” จึงมีความหมายว่าทำให้ปรากฏเป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ โดยการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง โดยการแยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ จากการศึกษาความหมายของการคิดวิเคราะห์ สรุปได้ว่าการคิดวิเคราะห์เป็นกระบวนการทางปัญญา เป็นการคิดอย่างรอบคอบตามหลักของการประเมิน และมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อหาข้อสรุปที่น่าเป็นไปได้เป็นการคิดแบบตรึกตรองและมีเหตุผล เป็นความสามารถในการคิดแยกแยะส่วนย่อยออกจากองค์ประกอบ โดยการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คิดอย่างรอบคอบว่าประกอบไปด้วยสิ่งใด มีความสำคัญอย่างไร และสามารถบอกได้ว่า เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นอย่างไร มีแนวโน้มไปในทางใด เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล […]
“ALIST OPAC” Application แอพดีบอกต่อ
หอสมุดคุณหญิงหลงใช้ระบบห้องสมุดอัติโนมัติด้วยระบบ ALIST ที่พัฒนาโดยศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการกับผู้ใช้บริการ ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เสมือนเข้าใช้บริการหอสมุดได้ผ่าน ALIST OPAC Application นี้เอง
OAR Smart Office
เมื่อวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00-11.00 น. ได้มีการบรรยายเกี่ยวกับการใช้ OAR Smart Office โดยน้องขิม ประวีณ ถาวรจิตร ที่ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งนับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการองค์กรในยุค 4G OAR Smart Office คืออะไรOAR Smart Office คือระบบสำนักงานอัตโนมัติที่สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้พัฒนาขึ้นและนำมาใช้มาใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ โดยเฉพาะงานพัสดุ ได้แก่งานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง งานคลังวัสดุ งานทะเบียนสินทรัพย์ ซึ่งภารกิจเหล่านี้จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลด้านการใช้จ่ายเงินงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ซึ่งทางฝ่ายสนับสนุนการบริหาร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ได้นำมาใช้เพื่อการบริหารจัดการองค์กรที่สะดวกและรวดเร็ว ที่สำคัญสามารถตอบสนองความต้องการของบุคลากรระบบได้เป็นอย่างดี…. สำหรับเส้นทางการเข้าใช้งานให้เข้าไปที่ OAR Smart Office ได้เลยครับ
เทคนิคการประชุมระดมความคิดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก
ความรู้หลักที่เป็นเป้าหมายของการจัดการความรู้คือความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่จับต้องยากหรือไม่ได้เลย แลกเปลี่ยนยากในบางครั้งแม้เจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าตนมีความรู้นั้น จึงต้องมีวิธีการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกนี้ในตลาดนัดความรู้ และในการประชุมระดมความคิด วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ฝังลึกซึ่งผูกพันอยู่กับประสบการณ์หรือการปฏิบัติ วิธีที่ดีที่สุดคือทำให้ดู หรือฝึกหัดทำด้วยกัน วิธีนี้เหมาะกับความรู้ที่เป็นทักษะด้านการลงมือทำ แต่ในกรณีของการปฏิบัติที่ไม่ใช่การใช้มือหรือร่างกาย แต่เป็นการดำเนินการผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน โดยคนหลายคน วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฝังลึกที่ใช้กันมากในปัจจุบันคือการเล่าเรื่อง (storytelling) ซึ่งถือเป็นเทคนิคหนึ่งของการจัดการความรู้ เทคนิคการประชุมโดยใช้การเล่าเรื่อง (storytelling) เป้าหมายสำคัญที่สุดของการเล่าเรื่องคือให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ (ความเชื่อ), ในส่วนลึกของสมอง (ความคิด), และในส่วนลึกของร่างกาย (การปฏิบัติ) ออกมาเป็นคำพูด และหน้าตาท่าทาง (non-verbal communication) การปล่อยความรู้จากการปฏิบัตินี้ ผู้ปล่อยจะอยู่ในสภาพที่มีทั้งจิตใต้สำนึก และจิตสำนึก (subconscious & conscious) ย้ำว่าเรามีเป้าหมายให้เกิดการสื่อสารทั้งโดยใช้จิตสำนึก และจิตใต้สำนึก ดังนั้นถ้าฝึกปฏิบัติจนมีความชำนาญ การเล่าเรื่องจะปลดปล่อยความรู้ออกมาอย่างทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ วิธีการและขั้นตอนของการเล่าเรื่องมีดังต่อไปนี้ กำหนด “หัวปลา” ให้ชัด ซึ่งหมายถึงเป้าหมายของการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังตัวอย่างการประชุมในตลาดนัดความรู้ของชาวนา […]
สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 3)
โดย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส. หรือ KMI) เราอาจจะมองว่าขั้นตอนแรกนั้นเป็นการทำความเข้าใจในระดับผู้บริหารเป็นการสร้างความตระหนักสร้างการมีส่วนสร้าง Ownership และ Commitment ในเรื่อง KM จากกลุ่มผู้บริหาร ส่วนขั้นตอนที่สองเป็นการพัฒนาผู้ที่จะมาเป็นแขนเป็นขาให้ผู้บริหาร จะเรียกคนเหล่านั้นว่า “คุณอำนวย” หรือบางแห่งอาจใช้คำว่า “KM FA”, “Change Agent” ก็ได้ ลำพังชื่อที่ใช้เรียกคงไม่ใช่ประเด็นใหญ่อะไร สิ่งที่สำคัญคือเรื่องใจของคนเหล่านั้นว่าเขาเห็นความสำคัญของบทบาทนี้หรือไม่ว่าเขาคือกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั่นเอง เมื่อ “คุณเอื้อ” มีความพร้อม “คุณอำนวย” มีความพร้อมและองค์กรมี Roadmap (จากขั้นตอนแรก) แล้วว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ความรู้เรื่องอะไรเป็นเรื่องหลักที่จะต้องจัดการ ที่จะทำการ “ต่อยอด” ต่อไป ขั้นตอนที่สาม ก็คือการทำให้ “คุณกิจ” (คนทำงาน ผู้ที่ประสบการณ์ด้านนั้นๆ) ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) กัน การ ลปรร. นี้มีหลายรูปแบบด้วยกัน ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดก็คือการทำให้ “เนียน” ไปกับงานที่ทำอยู่ บางที่มีการประชุมอยู่แล้วก็สอดแทรกวิธีการ […]
สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 2)
โดยสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส. หรือ KMI) ก่อนที่จะพูดถึงขั้นตอนต่อไป ผม (ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช) ขอใช้เวลาสั้น ๆ ทบทวนขั้นตอนที่ผ่านมาก (ขั้นตอนแรก) ก่อนว่า “Executive Overview” Session ที่กล่าวไว้ในขั้นตอนแรกนั้น บางองค์กรก็จัดขึ้นมาเพียงสั้นๆ ใช้เวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง (เพราะผู้บริหารระดับสูงไม่ค่อยมีเวลา) แล้วจึงไปจัดเพิ่มในลักษณะ Workshop ที่ใช้เวลา 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับว่าต้องการจะได้อะไร ถ้าต้องการเพียงแค่ Knowledge Map ก็อาจจะใช้เพียง 2 วัน แต่หากต้องการวางแผนร่วมกัน (KM Planning) ต้องการจะได้ KM Roadmap ก็อาจจะต้องใช้เวลา 3 วันก็ได้ สำหรับขั้นตอนต่อไป เราจะมุ่งความสนใจมาที่เรื่อง “การพัฒนา Knowledge Facilitator” หรือที่ สคส. เรียกกันว่า […]
สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 1)
โดย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส. หรือ KMI) แม้ว่า สคส. จะทำงานด้านนี้มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วก็ตาม แต่บทความที่เขียนอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการนำ KM ไปใช้ในองค์กรอย่างเป็นขั้นเป็นตอนนั้นถือว่ามีน้อยมาก งานเขียนหรือบันทึก (บล๊อก) ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของการเล่าประสบการณ์เป็นงานๆ ไป ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการนำ KM ไปใช้นั้นไม่สามารถลอกเลียนกันได้ เพราะในแต่ละองค์กรนั้นล้วนมีบริบทที่แตกต่างกันไป บางทีการเขียนสรุปออกมาเป็นขั้นตอนที่ตายตัวเพื่อให้นำไปใช้อาจก่อผลร้ายมากกว่าผลดีก็ได้ เนื่องในโอกาสที่ สคส. essay preis. เปิดตัวเว๊ปไซด์ใหม่และต้องการให้คนใน สคส. เขียนบทความมากขึ้น ผม (ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช) เองก็คิดว่าคงจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องสรุปประสบการณ์ต่าง ๆ ออกมาเป็นบทความบ้าง จึงขอประเดิมด้วยการ “ตกผลึก” คำแนะนำต่าง ๆ ที่เคยให้กับองค์กรต่าง ๆ ไว้ในบทความนี้ โดยจะทยอยเขียนออกมาเป็นตอน ๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการนำ KM ไปใช้ในองค์กรว่ามีขั้นตอนอะไร และปัจจัยที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนนั้นเป็นอย่างไร โดยได้แบ่งเนื้อหาออกมาเป็นบทความหลายตอน ทั้งนี้เพื่อที่บทความแต่ละตอนจะได้ไม่ให้ยาวจนเกินไป สำหรับในตอนแรกนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก หากไม่ได้ทำหรือข้ามขั้นตอนนี้ไป […]
Transforming Library Through Technology Turbulence
สรุปการเสวนา Transforming Library Through Technology Turbulence : กรณีศึกษาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ […]
แนวปฏิบัติด้านดิจิทัลในงานห้องสมุด หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
สรุปการบรรยายเรื่องแนวปฏิบัติด้านดิจิทัลในงานห้องสมุด หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ โดยอาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการสัมมนาวิชาการ “Smart Library to Smart Society” วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องประชุมห้องดอยหลวงและดอยนาง ชั้น 2 โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ เชียงใหม่ อาจารย์บุญเลิศกล่าวว่าที่ผ่านมาฝ่ายบริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับคำถามและการขอคำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุดิจิทัลจากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล จึงเห็นว่าเป็นประเเด็นที่ควรนำเสนอและหารือร่วมกัน… ยกตัวอย่างประเด็นที่พบคือการดำเนินการงานห้องสมุดมีมาตรฐานการสำหรับการวิเคราห์และการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ เช่น MARC, AACR2, RDA และหัวเรื่องหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Subject Heading) ห้องสมุดยังมีระบบบริหารจัดการห้องสมุดซึ่งประกอบด้วยโมดูลการทำงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน เช่น โมดูลยืมคืน (Circulation) โมดูลการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Cataloging) และฐานข้อมูลสำหรับค้นหารายการและข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด (Online Public […]