สรุปขั้นตอนสำคัญในการนำ KM ไปใช้ในองค์กร (ตอนที่ 3)

โดย
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส. หรือ KMI)

    เราอาจจะมองว่าขั้นตอนแรกนั้นเป็นการทำความเข้าใจในระดับผู้บริหารเป็นการสร้างความตระหนักสร้างการมีส่วนสร้าง Ownership และ Commitment ในเรื่อง KM จากกลุ่มผู้บริหาร ส่วนขั้นตอนที่สองเป็นการพัฒนาผู้ที่จะมาเป็นแขนเป็นขาให้ผู้บริหาร จะเรียกคนเหล่านั้นว่า “คุณอำนวย” หรือบางแห่งอาจใช้คำว่า “KM FA”, “Change Agent” ก็ได้ ลำพังชื่อที่ใช้เรียกคงไม่ใช่ประเด็นใหญ่อะไร สิ่งที่สำคัญคือเรื่องใจของคนเหล่านั้นว่าเขาเห็นความสำคัญของบทบาทนี้หรือไม่ว่าเขาคือกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

      เมื่อ “คุณเอื้อ” มีความพร้อม “คุณอำนวย” มีความพร้อมและองค์กรมี Roadmap (จากขั้นตอนแรก) แล้วว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ความรู้เรื่องอะไรเป็นเรื่องหลักที่จะต้องจัดการ ที่จะทำการ “ต่อยอด” ต่อไป  ขั้นตอนที่สาม ก็คือการทำให้ “คุณกิจ” (คนทำงาน ผู้ที่ประสบการณ์ด้านนั้นๆ) ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) กัน การ ลปรร. นี้มีหลายรูปแบบด้วยกัน ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดก็คือการทำให้ “เนียน” ไปกับงานที่ทำอยู่ บางที่มีการประชุมอยู่แล้วก็สอดแทรกวิธีการ ลปรร. แบบนี้เข้าไป ไม่ต้องไปตั้งวงใหม่ให้คนทำงานรู้สึกว่า “ประชุมมากจัง” แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือคนมักจะตก “โหมดเดิม” คือไม่ยอมพูดไม่ยอมแชร์ “คุณอำนวย” ที่ได้รับการฝึกมาจะต้องสร้างบรรยากาศใหม่ เปลี่ยนจาก “โหมดการประชุม” มาเป็น “โหมดการ ลปรร.” ให้ได้ จึงจะเกิดผล

     หลายองค์กรมองว่าการสอดแทรกการ ลปรร. เข้าไปในการประชุมแบบเดิม ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่าย ก็เลยตั้งเป็นวงใหม่ขึ้นมา เรียกวงนี้ว่า CoP (Community of Practice) ซึ่งก็คือพื้นที่ที่คนทำงานด้านเดียวกันมารวมตัวกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน แรกๆ ก็คงต้องมีการ Organize อยู่บ้าง แต่พอทำ ๆ ไปจนคน (คุณกิจ) เริ่มติดใจ ก็พยายามทำให้มันเป็นธรรมชาติมากขึ้น คือ เปลี่ยนจาก Organize ให้เป็น Organic จะได้กลายเป็นวัฒนธรรมที่ยั่งยืนไม่ใช่ต้องอาศัย “คนกลาง” คอยจัดเวทีให้ ครั้นเมื่อ “คนกลาง” หยุดทุกอย่างก็หยุดไปไม่ยั่งยืน

       หากผู้บริหารมองว่าสองรูปแบบที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่ยาก เพราะ “คุณอำนวย” เองก็ยังมี “ชั่วโมงบิน” ไม่มาก อีกทั้ง “คุณกิจ” เองก็ยังไม่มีทักษะในการ ลปรร. มากนัก ก็อาจจะเลือกรูปแบบที่สามซึ่งก็คือการจัดในลักษณะ Knowledge Sharing (KS) Workshop  โดยเชิญ “คุณกิจ” มาเข้าร่วม Workshop 3 วัน ในสามวันนั้นนอกจากจะฝึกฝนทักษะเบื้องต้นเรื่องการฟัง การแชร์ (เล่าเรื่อง) แล้ว ยังมีการทดลองให้ ลปรร. กัน เล่าเรื่องการทำงาน เล่าสิ่งที่เป็นประสบการณ์ให้เพื่อนฟัง โดยที่ “คุณอำนวย” เองก็มีโอกาสได้ฝึกบทบาทการเป็น “คุณอำนวย” ไปด้วย เป็นเวทีที่เป็น Learning by Doing อย่างแท้จริง ซึ่งใน Workshop นี้ บทบาทของ สคส. ก็คือการ Coaching เรียกได้ว่าเป็นการโค๊ชจากของจริง จากสิ่งที่เกิดใน Workshop นั้นเอง ดูภาพบรรยากาศ https://proessaywriting.org you have to be sure that your submission to the news desk hits all the right notes

——————————————————————–

ที่มา….สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. สืบค้นวันที่ 13 ก.ย. 62, จาก https://kmi.or.th/kmknowledge/

Back To Top
Chinese (Simplified)EnglishFrenchGermanItalianSpanishThai