Page 53 - เทพรัตน์...ในดวงใจ นานเท่าใดจะขอเทิดทูน
P. 53

จานวนมากทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง พระองค์ทรงเลือกใช้ถ้อยคาง่าย กระจ่างชัด และแฝง
                           ด้วยข้อคิดอันลึกซึ้งเป็นที่ชื่นชมของนักอ่าน นอกจากนี้ยังทรงเปี่ยมไปด้วยพระอุดมทัศน์
                           ในด้านการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ดังที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์พระวิทยานิพนธ์
                           ระดับดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่องการพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะ

                           การเรียนการสอนภาษาไทยสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซ่ึงเป็นการพัฒนา
                           สื่อการเรียนการสอนภาษาไทยให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
                                สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นนักภาษาที่เข้าพระทัยใน

                           ความเปลี่ยนแปลงอันเป็นลักษณะธรรมชาติของภาษาในฐานะส่วนหน่ึงของวัฒนธรรมอัน
                           แปรเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ทั้งยังทรงเป็นนักอนุรักษ์และนักพัฒนาภาษาในฐานะเคร่ืองมือ
                           ของการสื่อสาร พระองค์ทรงใช้ภาษาไทยในการสื่อสารวิทยาการความรู้และแนวพระ

                           ราชดาริเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ประวัติศาสตร์
                           ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม หรือด้านสุขอนามัยและโภชนาการของพสกนิกรชาวไทย ดัง


                           ประจักษ์ชัดในพระราชนิพนธ์จานวนมากของพระองค์ นับได้ว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
                           สยามบรมราชกุมารีทรงใช้ภาษาไทยในฐานะสื่อแห่งการพัฒนาอย่างแท้จริง
                                ในด้านภาษาต่างประเทศ พระองค์ทรงใฝ่พระราชหฤทัยในการศึกษาภาษาต่าง ๆ
                           ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ พระองค์มีพระปรีชาสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศจนถึงขั้น
                           พระราชนิพนธ์กวีนิพนธ์เป็นภาษานั้น ๆ ได้ประดุจเจ้าของภาษา ดังเช่น บทพระราชนิพนธ์
                           กวีนิพนธ์ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ และจีน และยังทรงพระวิริยะในการพระราชนิพนธ์

                           แปลวรรณกรรมของชาติต่าง ๆ เช่น วรรณกรรมฝรั่งเศสและวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทย

                           ทาให้ชาวไทยได้เข้าใจวัฒนธรรมของชนชาติอ่ืน อันส่งผลให้เกิดความซาบซ้ึงและความเข้าใจ

                           อันดีระหว่างประชาคมข้ามวัฒนธรรม นอกจากนี้พระองค์ยังทรงใช้ความรู้ภาษาต่างประเทศ
                           เป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ดังที่ได้มีพระราชดารัสสุนทรพจน์เป็น

                           ภาษาจีนในวโรกาสเสด็จพระราชดาเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนจนเป็นที่ชื่นชม












                                                                                                          49
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58