สามล้อรับจ้างในปัตตานี
 
Back    14/02/2020, 10:15    3,103  

หมวดหมู่

เครื่องมือในการดำรงชีวิต


ความเป็นมา/แหล่งกำเนิด

ภาพสืบค้นจาก:  http://photohunter-bc.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

      สามล้อรับจ้างเคยได้รับความนิยมในยุคเริ่มต้นของการคมนาคมทางบก เป็นยานพาหนะที่อยู่คู่กับตลาดพิธานใจกลางเมืองจังหวัดปัตตานี ยิ่งบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง การคมนาคมสะดวกสบาย ตลาดพิธานขยายใหญ่โตแต่สามล้อรับจ้างกลับลดความสําคัญลง แตกต่างจากอดีตที่ยานพาหนะขนส่งระหว่างหมู่บ้านกับตลาดมีเพียงสามล้อที่อํานวยความสะดวกในการเดินทางจนทําให้ชาวบ้านบริเวณอําเภอและตําบลใกล้เคียง โดยเฉพาะหมู่บ้านเบอติงวอก๊ะห์ ตําบลสะบารัง อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้เปลี่ยนมาประกอบอาชีพสามล้อรับจ้างเกือบทุกครัวเรือน
             เจ๊ะวอ ผู้ซึ่งยึดอาชีพสามล้อรับจ้างตั้งแต่อายุ 24 ปี จนถึงปัจจุบัน อายุ 74 ปี ยังรับจ้างถีบสามล้อ ได้บอกกล่าวเรื่องราวในอดีตอย่างภาคภูมิใจว่า 
 "สามล้อรับจ้างในจังหวัดปัตตานีเกิดขึ้นมา ประมาณ 100 ปี เพราะผู้ที่ยึดอาชีพสามล้อรับจ้าง อายุราว 80 ปี บอกว่าตอนที่พวกเขาเด็ก ๆ รุ่น 2 ประกอบอาชีพสามล้อรับจ้างมาก่อนแล้วแต่ยังไม่เป็นที่นิยม ซึ่งจะใช้รถจักรยานยี่ห้อราเล่ย์ มาต่อเติมด้านข้างแบบไม่มีหลังคา จะมีร่มกระดาษแบบโบราณไว้สําหรับลูกค้าที่ต้องการใช้ร่มช่วงฤดูร้อน ฤดูฝน ส่วนสามล้อที่มีหลังคาจะไม่เป็นที่นิยมของผู้โดยสาร โดยที่เคยมีสามล้อมีหลังคาจากจังหวัดยะลามาบริการขนส่งจะไม่มีผู้โดยสารรับบริการ ในอดีตจะสั่งซื้อรถสามล้อจากอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพราะในเมืองปัตตานีไม่มีบริษัทต่อรถสามล้อ วิธีการสั่งซื้อจะรวมตัวกันหลายคนแล้วเหมารถสิบล้อในการขนส่ง ประมาณ 50 ปี ที่ผ่านมาอาชีพสามล้อรับจ้าง เจริญรุ่งเรืองที่สุดและเป็นค่านิยมสําหรับวัยรุ่นผู้ชาย ที่ใฝ่ฝันจะประกอบอาชีพสามล้อรับจ้าง เพราะใครมีรถสามล้อเป็นของตัวเองจะดูดีกว่าวัยรุ่นคนอื่นในชุมชนเหมือนกับมีรถยนต์ยี่ห้อดี ๆ ในปัจจุบัน เมื่อมีโอกาสทางด้านการเงินจะเลิกอาชีพอื่น ๆ หันมาประกอบอาชีพสามล้อรับจ้าง ทำให้จํานวนสามล้อจึงเพิ่มจํานวนมากขึ้น

ภาพสืบค้นจาก  http://photohunter-bc.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

       ทุกเช้าหลังจากละหมาคหัวรุ่ง จะมีรถสามล้อสัญจรไปมาไม่ขาดสาย บริเวณหน้าตลาดพิธานจะเป็น ศูนย์รวมในการรับส่งแม่ค้าและผู้ที่สัญจรไปมาจาก ชุมชนไปยังตลาด เพราะการเดินทางในชีวิตประจําวันจะใช้บริการสามล้อยกเว้นผู้ที่มีรถจักรยานเป็นของตนเองหลังจากนั้นเวลา 7 โมงเช้าต้องบริการรับส่งเด็กนักเรียน เช่น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ โรงเรียนเคชะปัตตนยานุกูล ซึ่งเด็กบางคนจะจ่ายเป็นรายวันบางคนจ้างเหมาเป็นรายเดือน
        ช่วงเย็นจะรับส่งผู้โดยสารเดินทางไปเที่ยวในเมืองปัตตานี และช่วงค่ําจะรอรับผู้โดยสารตามโรงภาพยนตร์สมัยก่อนในตัวเมืองปัตตานีจะมีโรงภาพยนตร์ 3 โรง คือ โรงภาพยนตร์รามา พาราไดร์ และศรีเมือง จนกระทั่งเที่ยงคืนจะรอรับกลุ่มชาวเรือตั้งเกที่นิยมเที่ยวตามร้านอาหาร ยิ่งช่วงฤดูฝนจะมีแม่ค้าชาวบ้านและเด็ก นักเรียนต่างยืนรอเพื่อขึ้นสามล้อ
          อาชีพสามล้อรับจ้างถือว่าเป็นอาชีพที่รุ่งเรือง ทํางานได้ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งถึงเที่ยงคืนขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคน แม้จะเป็นอาชีพที่ต้องใช้แรงกายและความอดทนแต่คุ้มค่ากับรายได้ที่ได้รับในยุคนั้นซึ่ง สามารถมาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวประมาณ 10 คน ได้อย่างสบาย และมีเงินเหลือไว้เก็บออมอีก ถึงแม้ว่าเส้นทางสัญจรจะเป็นเพียงทางถนนลูกรังแคบ ๆ แต่ ตลอดเส้นทางทั่วเมืองปัตตานีจะไม่มีอันตราย มีแต่ความสงบ บรรยากาศน่าอยู่ บางครั้งหลังเที่ยงคืนมีทหารเข้ามาในเมืองเหมาให้ไปส่งถึงค่ายบ่อทอง หากขี้เกียจถีบรถกลับบ้านก็สามารถนอนค้างคืนที่ค่ายทหาร
     นอกจากเจ้ะวอ จะเล่าเรื่องราวอย่างภาคภูมิใจแล้วยังสะท้อนความในใจว่า "รายได้จากการถีบสามล้อรับจ้างในอดีต จะแตกต่างจากปัจจุบันเป็นอย่างมาก อดีตสามล้อรับจ้างมีรายได้วันละ 40 บาท เลี้ยงครอบครัวและลูกอีก 10 คน ได้อย่างสบาย ยังมีเงินเหลือเก็บได้วันละ 20 บาท และบางวันมีรายได้มากกว่านี้จะมีเงินเหลือได้เก็บออมมากขึ้นอีก เพราะค่าครองชีพประจําวันมีราคาถูก สมัยนี้ได้วันละ 200 บาท ไม่พอกับการเลี้ยงครอบครัวและส่งลูกเรียนหนังสือ เพราะค่าครองชีพในชีวิตประจําวันมีราคาแพง" แม้ว่าอัตราค่าโดยสารจะแตกต่างกันมากระหว่างในอดีตกับปัจจุบัน ในอดีตอัตราค่าโดยสารคนละ 1-1.50 บาท ตลอดเส้นทางจากตลาดพิธานไปจะบังติกอ คลองช้าง หน้าค่านภาษีอากรสถานีตํารวจ ปัจจุบันคนเดียวจะคิดราคา 20 บาท ถ้ามีสิ่งของเต็มคันรถจะคิดราคา 50 บาท ถ้าระยะทางไกล ๆ ขึ้นอยู่กับผู้โดยสารจะให้เพิ่ม


ผู้ประกอบการ

ภาพสืบค้นจาก  http://photohunter-bc.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

         นอกจากนั้นสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมา เมื่อบ้านเมืองมีความเจริญทางเจริญการคมนาคม จะมีรถตุ๊กตุ๊กมาบริการขนส่งที่ได้ความนิยม ยุคต่อมาจะเป็นรถจักรยานยนต์รับจ้าง ปัจจุบันรถโชเล่ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ได้รับความนิยมมากกว่าการใช้บริการรถสามล้อรับจ้าง ทำให้ช่วงเวลาของการทํางานเหลือเพียงครึ่งวันเฉพาะในตลาดเท่านั้น ถ้าวันไหนไม่มีแม่ค้าก็หยุดบริการเพราะไม่มีลูกค้า ระหว่างทางนอกจากนั้นบนเส้นทางการจราจรจะไม่มีความปลอดภัย ก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่จะชนกับรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ที่ขับด้วยความเร็วสูงได้ ทำให้เหลือผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อที่รับจ้างประมาณ 20 คน และมีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป 


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
สามล้อรับจ้างในปัตตานี
ที่อยู่
จังหวัด
ปัตตานี


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

รอฮานี ดาโอ๊ะ, ประสิทธิ์ รัตนมณี และนิปาตีเมาะ หะยีหามะ. (2553). ร้อยเรื่องราวชุมชนวัฒนธรรมปลายด้ามขวาน. ปัตตานี :  สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
               มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สามล้อรับจ้าง. (2555). สืบค้นวันที่ 14 ก.พ. 63, จาก   http://photohunter-bc.blogspot.com/2012/09/blog-post.html


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024