ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้


                  ข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร กำเนิดขึ้นจากนโยบายจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ หรือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์ตำบลคอหงส์ อำภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2514 ขณะนั้นวิทยาเขตหาดใหญ่มีการจัดตั้งคณะต่าง ๆ ขึ้น และแต่ละคณะต่างเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งองสมุดคณะขึ้น ซึ่งประกอบด้วยห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ และห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งบริการสารสนเทศในการส่งเสริมการเรียนการสอนของคณะ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากธนาคารโลกสำหรับสร้างอาคารห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์และศูนย์โส ตทัศนศึกษา อธิการบดีของมหาวิทยาลัยในสมัยนั้นคือศาสตราจารย์นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์ (พ.ศ. 2516 - 2518) ได้เล็งเห็นปัญหาความซ้ำซ้อนของทรัพยากรต่าง ๆ เช่น บุคลากร งบประมาณและทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ตามห้องสมุดคณะ ในที่สุดได้มีมติให้มีการจัดตั้งโครงการหอสมุดกลางของวิทยาเขตหาดใหญ่ขึ้น โดยจะรวมห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์และห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อว่าหอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่คุณหญิงหลงอรรถระวีสุนทร ซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้บริจาคที่ดิน 690 ไร่ เพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตัวอาคารหอสมุดคุณหญิงหลงฯ สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 มีเนื้อที่ทั้งหมด 5,108.59 ตารางเมตร มีที่นั่งอ่านหนังสือได้ประมาณ 800 ที่นั่งและจัดเก็บหนังสือได้ประมาณ 100,000 ต่อมาได้ติดต่อเชิญ ดร. หวา-เวย์ ลี (Dr. Hwa-Wei Lee หรือ ลี หวา-เวย์ อดีตผู้อำนวยการ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Dean of University Libraries) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของห้องสมุดและศูนย์เอกสาร สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Director of Library and Information Center, Asian Institute of Technology) มาสำรวจและให้คำแนะนำเรื่องการดำเนินงานของห้องสมุดกลาง วิทยาเขตหาดใหญ่ ในการนี้ ดร. หวา-เวยลี และนายสตีเฟน ดับเบิ้ลยู แมลชิล (Mr. Stephen W. Massil) ได้ร่างโครงการจัดหอสมุดกลาง (Mr. Stephen W กลางเรื่อง "Proposal for Library Development" เสนอผู้บริหารมหาวิทยาลัยด้วยในปี พศ. 2521 ซึ่งมีเนื้อหาที่สำคัญหลัก ๒ ประการคือต้องการให้มีหอสมุดและศูนย์เอกสารภาคใต้ (Documentation Center) ตลอดถึงให้มีการบริหารงานแบบศูนย์รวม (Centrlization) ทั้งห้องสมุดวิทยาเขตปัตตานีและห้องสมุดวิทยาเขตหาดใหญ่ มีผู้อำนวยการหอสมุดกลางคนเดียวกันเป็นผู้รับผิดชอบ และให้ขยายขอบเขตการให้บริการไปยังห้องสมุดต่าง ๆ ในภาคใต้และจะต้องเก็บรวบรวมหนังสือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาคใต้โดยเฉพาะ

                  ต่อมาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2523 ศาสตราจารย์นายแพทย์ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ อธิการบดีได้แต่งตั้งรองศาสตราจารย์วิสิทธิ์ จินตวงศ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศสตราจารย์ ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีในขณะนั้น มาดำรงตำแหน่งผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานหอสมุดกลางอีกตำแหน่งหนึ่ง ในสมัยที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิสิทธิ์ จินตวงศ์ เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานหอสมุดกลาง สถานภาพการบริหารงานหอสมุดกลางยังคงสังกัดกองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตหาดใหญ่ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ การดำเนินงานมีคณะกรรมการห้องสมุดวิทยาเขตหาดใหญ่เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในเรื่องที่เป็นนโยบาย รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเงินหมวดวัสดุตำราให้กับคณะต่าง ๆ ด้วย โดยเพิ่มขึ้นจาก 5 คณะ รวมเป็น 8 คณะ โดยเพิ่มคณะเภสัชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมด้วยศูนย์คอมพิวเตอร์อีกหนึ่งหน่วยงานด้วย ส่วนการบริหารงานภายในนั้นได้มีการปรับปรุงระบบการบริหารงานใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการบริหาร ห้องสมุดตามหลักการบริหารห้องสมุดในยุค โดยแบ่งหน่วยงานภายในใหม่ออกเป็น 8 หน่วยงาน หนึ่งในนั้นคือหน่วยสิ่งพิมพ์พิเศษ (Special Collections Unit) มีทำหน้าที่จัดหา/คัดเลือก (จัดซื้อและรับบริจาค) จัดเก็บและบริการสิ่งพิมพ์รัฐบาล, สิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สมอ.) (ที่เป็นผลงานของอาจารย์ ข้าราชการ และบุคลากรมหาวิทยาลัย) และสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับ 14 จังหวัดในภาคใต้ (ระยะแรกเก็บรวบรวมจัดเก็บเอกสารทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์)

                  การริเริ่มโครงการหน่วยเอกสารภาคใต้ (Southern Thailand Information Center) หน่วยเอกสรภาคใต้ของหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นข้อเสนอของ ดร. หวา-เวย์ ลี (Dr.Hwa-Wei Lee) ที่ได้เขียนเอกสารรายงานเสนอต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี พ.ศ. 2521 เมื่อครั้งที่ได้รับเชิญให้มาสำรวจและให้คำแนะนำในการดำเนินงานห้องสมุดของวิทยาเขตหาดใหญ่ แต่ข้อเสนอแนะนี้ยังไม่มีการนำมาดำเนินการในตอนแรก จนกระทั่งถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2523 เมื่อผู้ช่วยศาสตราจารย์วิสิทธิ์จินตวงศ์ มารับงานในตำแหน่งหัวหน้างานหอสมุดกลาง จึงได้ริเริ่มโครงการหน่วยเอกสารภาคใต้ขึ้นและประจวบกับในขณะนั้นเป็นวลาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องจัดทำโครงการพัฒนาเสนอรัฐบาลตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) ดังนั้นในการประชุมบรรณารักษ์หอสมุดกลางเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาหอสมุดกลางให้สนองแผนการศึกษาดังกล่าว ที่ประชุมจึงได้มีการเสนอให้จัดตั้งศูนย์เอกสารภาคใต้เป็นหน่วยหนึ่งของหอสมุดกลางตามแนวความคิดของผู้ช่วยศสตราจารย์วิสิทธิ์ จินตวงศ์ ที่ว่า

....ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ประเทศใดประเทศหนึ่ง ควรมีหน่วยงานใด
หน่วยงานหนึ่งเก็บรวบรวมไว้อย่างสมบูรณ์ เพื่อการศึกษาค้นคว้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยทั้งประเทศ เป็นหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ในการเก็บรวบรวม แต่หอสมุดแห่งชาติไม่อาจเพ่งเล็งและเอาใจใส่อย่างเต็มที่ในการเก็บ
รวบรวมเอกสารเกี่ยวกับภาคใต้ให้ได้สมบูรณ์ที่สุดได้ หน่วยเอกสารภาคใต้จะทำหน้าที่นี้
แทน และจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับภาคใต้ไว้อย่างคงทนถาวร (Permanent collection) ตลอดไป....

                 ตามวัตถุประสงค์ในเบื้องต้นของโครงการหน่วยเอกสารภาคใต้ คือให้เป็นหน่วยงานที่รวบรวมเอกสารทางวิชาการ (Technical writings) เช่น บทความทางวิชาการ รายงานผลการวิจัย ทำเนียบนามหนังสือวิชาการเกี่ยวกับ 14 จังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย เน้นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาขาวิชาสังคมศาสตร์ โดยมีขึ้นตอนการดำเนินกรดังต่อไปนี้

                  1. การเตรียมดำเนินการ ในตอนแรกของหน่วยเอกสารภาคใต้คำเนินการโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วิ สิทธิ์ จิตวงศ์ ในการวางวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงาน รูปแบบของหน่วยงาน แผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนแบบฟอร์มและการจัดหาในระยะเริ่มต้น โดยมีนางลลิตา กิตติประสาร เป็นหัวหน้าหน่วยงานคนแรก และเป็นผู้จัดทำสาระสังเขปให้สิ่งพิมพ์ภาคใต้ด้วย ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการจัดพิมพ์ผลงานของนางลลิตา กิตติประสาร เรื่อง Southem Thailand Abtact

                  2. วัตถุประสงค์ของโครงการหน่วยเอกสารภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้

                      2.1 เพื่อรวบรวมอกสารทุกประเภทโดยเฉพาะผลงานการวิจัย หนังสือเล่มที่พิมพ์จำหน่าย บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ และสิ่งพิมพ์ประเภทไม่ตีพิมพ์เผยแพร่ (Unpublished papers) อื่น ๆ เช่นโครงการ รายงาน สถิติของหน่วยงานราชการต่าง ๆ องค์การสมาคม มูลนิธิ รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่มีกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสังคมศาสตร์ และศิลปะวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ 14 จังหวัดในภาคใต้ เน้นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้บริการการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับภาคใต้ในระดับลึกแก่นักวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาโท และอาจารย์ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนผู้สนใจ อันจะทำให้มีการทำผลงานวิจัยเกี่ยวกับภาคใต้มากขึ้นสำหรับใช้ในการวางแผนพัฒนาภาคใต้ต่อไป

                      2.2 เพื่อให้เป็นธนาคารข้อมูล (Data Bank) ทุกด้านเกี่ยวกับ 14 จังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย

                      2.3 เพื่อเป็นเครือข่ายของศูนย์เอกสาร (Information Center) ระดับชาติ ที่สามารถเชื่อมโยงเข้า กับศูนย์เอกสารระดับชาติและระดับนานาชาติอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วได้ เช่น ศูนย์เอกสารประเทศไทย (Thailand Information Center), ศูนย์บริการเอกสาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (Thai National Documentation Center), ห้องสมุดและศูนย์เอกสาร สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 4 ศูนย์ คือ Asian Information Center for Geotechnical Engineering, Environmental Sanitation Information Center, International Ferrocement Information Center, Renewal Energy Information Center และศูนย์เอกสารอื่นๆ ในประเทศและในภูมิภาคเอเชีย การวางแนวทางระบบการจัดเก็บเอกสารภาคใต้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิสิทธิ์ จินตวงศ์ ได้วางแนวทางระบบการจัดเก็บเอกสารภาคใต้ไว้ในตอนเริ่มงานคือให้ใช้แบบของสถาบันบัตเทลเมมอเรียล (Battelle Memorial Institute) แห่งรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ซึ่งสถาบันดังกล่าวได้มาจัดศูนย์เอกสารประเทศไทย (TIC-Thailand Information Center) กรุงเทพมหานคร ตามโครงการร่วมระหว่างศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางทหารกระทรวงกลาโหมและศูนย์วิจัยและพัฒนาการของประเทศไทย กับโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา (ARPA-Advanced Research Projects Agency) ในปี พ.ศ. 2511 และระบบนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นระบบการจัดเก็บและเรียกใช้สิ่งพิมพ์ในลักษณะของศูนย์ข่าวสาร (Infommation Center) ที่ดี ในปี พ.ศ. 2526 โครงการร่วม 3 หน่วยงานที่กล่าวมาแล้วได้เลิกล้มไป

                  3. แผนการปฏิบัติงาน แผนปฏิบัติงานที่ได้วางแนวทางไว้สำหรับปี พ.ศ. 2525-2529 มีแนวทางดังนี้คือ

                      3.1 สร้างระบบการจัดเก็บและรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับภาคใต้ ดำเนินการโดยการคัดแยกจากสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วในหอสมุดกลางมาประมินค่าทำสาระสังเขปทำบัตรรายการ (ต่อมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ กำหนดป้ายระบุ (Tag) หมายเลข 690 เป็นคือ "ข้อมูลภาคใต้" และจัดเก็บอย่างมีระบบที่ห้องข้อมูลภาคใต้และสิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                      3.2 การจัดซื้อจัดหา ดำเนินการโดยการติดต่อขอ/ขอถ่ายสำเนา หรือซื้อจากหน่วยงานราชการและเอกชนในเขต 14 จังหวัดของภาคใต้ ที่มีกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ รวมถึงศิลปะและวัฒนธรรม

                      3.3 จัดทำสาระสังเขป (Abstract) ให้กับเอกสารทุกรายการที่รับมาและคัดลือกส่วนหนึ่งเพื่อนำตีพิมพ์เผยแพร่ในข่าวสารของหอสมุด

                      3.4 ให้บริการการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับภาคใต้ด้วยเอกสารที่จัดเก็บในหน่วยเอกสารภาคใต้

                 4. ชนิดของเอกสารภาคใต้ แนวความคิดเกี่ยวกับชนิดของเอกสารในระยะเริ่มแรกประกอบด้วย

                      4.1 ประเภท P/ Periodical article ได้แก่ บทความทางวิชาการหรือวิจัยที่ถ่ายสำเนาจากวารสาร เฉพาะที่เกี่ยวกับ 14 จังหวัดภาคใต้

                      4.2 ประเภท C / Correspondence ได้แก่ จดหมาย บันทึก ทั้งที่เป็นตันฉบับเดิม (Original) หรือฉบับที่นำมาตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว

                      4.3 ประเภท M / Monographs ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ รายงานการวิจัย เอกสารประชุมวิชาการหนังสือดำรา
สารคดีและจุลสารที่เป็นข้อเขียนทางวิชาการ

                      4.4 ประเภท T / Thesis ได้แก่ วิทยานิพนธ์

                      4.5 ประภท G / Graphs ได้แก่ แผนภาพ แผนภูมิ รวมถึงแผ่นประกาศโมษณา

                      4.6 ประเภท MA / Maps ได้แก่ แผนที่

                      4.7 ประเภท R / Reference Materials ได้แก่ เอกสารหรือหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ

                  5. เป้าหมาย เป้าหมายที่กำหนดไว้ใน 5 ปีแรก คือต้องจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับภาคใต้ให้ได้ประมาณ 10,000 รายการ และเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับภาคใต้ในข่าวสารหอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรประมาณ 60 ครั้ง คัดเลือกมาทำสาระสังเขปเพื่อเผยแพร่ประมาณ 3,000 รายการ ให้แก่นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และอาจารย์ที่ทำการศึกษาคันคว้าวิจัยเกี่ยวกับภาคใต้ ประมาณ 1,500 คน ในปี พ.ศ. 2555 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ 14 จังหวัดในภาคใต้ ผู้ใช้บริการเข้าถึงเอกสารได้โดยผ่านระบบโอแพค (OPAC Online Public Access Catalog) ซึ่งเป็นส่วนจำเพาะ (Module) ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศแบบออนไลน์ของห้องสมุดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ALIST

Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024