การชนวัวเป็นกีฬาพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ โดยการคัดเลือกเอาวัวที่มีคุณลักษณะและเหมาะสมมาชนกันในสถานที่ที่กำหนด และมีกติกาชัดเจนจนถึงขั้นแพ้ชนะในที่สุด เป็นกีฬาที่ให้ทั้งความสนุกสนานตื่นเต้น และความประทับใจแก่ผู้ชม จึงเป็นที่นิยมของชาวภาคใต้ทั่วไป ตลอดจนชาวภาคอื่นหรือชาวต่างชาติที่ได้มาเห็นและสนใจกีฬาชนิดนี้ ในประเทศอื่นบางประเทศ เช่น ประเทศโคลัมเบีย (ในอเมริการกลาง) ก็นิยมกีฬาประเภทนี้เหมือนกัน แต่ในประเทศไทยเฉพาะในภาคใต้เท่านั้นที่นิยมการชนวัวกันแพร่หลายมาช้านานจนถึงปัจจุบัน จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการชนวัวเป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาคใต้ในระยะแรกของการชนวัว เชื่อว่าคงเอาวัวมาชนกันเล่นเพื่อความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมาได้มีการพนันขันต่อกันด้วยตามวิสัยของมนุษยชาติ กีฬาชนวัวจึงได้กลายมาเป็นการพนันประเภทหนึ่งขึ้นด้วยเหตุนี้ เมื่อเป็นกีฬาที่มีการพนันแทรกเข้ามาโดยมีการได้เสียกันป็นเงินเรือนหมื่นเรือนแสนทางราชการก็จำเป็นต้องเข้าไปควบคุมการเล่นประเภทนี้ให้เป็นไปตามกฏหมายของบ้านเมืองเพื่อป้องกันมิให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยใด ๆ ขึ้น โดยจัดให้มีบ่อนชนวัวที่ถูกต้องตามกฎหมาย เรียกว่า “สนามชนโค” (โดยทางราชการได้กำหนดให้ขออนุญาตในการตั้งบ่อนและขออนุญาตทุกครั้งที่จะจัดให้มีการชนวัว หรือเรียกกันอย่างสามัญว่า “บ่อนชนวัว” หรือ “บ่อนวัวชน” และเพื่อขจัดความยุติธรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับกีฬาชนวัวดังกล่าว ทางสนามชนวัวจึงได้ทำกติกาสำหรับกีฬานี้โดยตรงขึ้น โดยให้ใช้เหมือน ๆ กัน เกือบทุกแห่งในเวลาต่อมา การชนวัวในจังหวัดทางภาคใต้นั้น ส่วนมากจะไม่จัดให้ตรงกันคือหมุนเวียนกันชนในจังหวัดหรืออำเภอ หรืออำเภอใกล้ๆ กัน เช่น บ่อนหนึ่งชนวันเสาร์ อีกบ่อนหนึ่งชนวันอาทิตย์ หรืออาจจะจัดให้ชนกันแห่งละสัปดาห์ของเดือนหนึ่งๆ ก็มี ทั้งนี้เพื่อให้นักเลงวัวชนได้มีโอกาสได้เล่นพนันกันอย่างทั่วถึง อันเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเลงวัวชนในจังหวัดภาคใต้ได้รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นส่วนมากมีผู้รู้บางท่านให้ความเห็นว่า ชาวไทยภาคใต้น่าจะได้กีฬาประเภทนี้มาจากพวกโปรตุเกส คือในสมัยพระเจ้าเอมมานูเอล แห่งโปรตุเกสได้แต่งฑูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับไทย ในปี พ.ศ. ๒๐๖๑ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์นี้ได้ทรงอนุญาติให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาทำการค้าขายในเมืองไทย ซึ่งเป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับไทยโดยทางเรือและให้ทำการค้าขายใน ๔ เมือง คือกรุงศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช ปัตตานี และมะริด นอกจากทำการค้าขายแล้ว ชาวโปรตุเกสบางพวกยังได้เผยแพร่ขนบธรรมเนียมไว้หลายอย่าง เช่นการติดตลาดนัด การทำเครื่องถม และการชนวัว เป็นต้นการชนวัว มักจัดให้มีขึ้นในงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศกาลสารทเดือนสิบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หรืองานเฉลิมพระชนมพรรษา (งานฉลองรัฐธรรมนูญเดิม) ที่จังหวัดตรัง เป็นต้น ในช่วงปกติจะชนได้เดือนละ ๑ ครั้งเท่านั้น โดยกำหนดให้ชนได้ในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ สัปดาห์ใดสัปดาห์หนึ่งของเดือน แต่ถ้าวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ที่กำหนดไว้นั้นตรงกับวันธรรมสวนะก็ต้องเลื่อนไปชนกันในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์อื่นในปัจจุบันจังหวัดในภาคใต้นิยมกีฬาประเภทนี้กันมาก คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรังสงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส ในบางอำเภอของจังหวัดกระบี่ และที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะนี้กีฬาวัวชนยังได้แพร่หลายขึ้นไปทางจังหวัดทางภาคเหนือบางจังหวัด คือจังหวัดตาก กำแพงเพชร สุโขทัย และพิษณุโลก แต่ก็ไม่นิยมกันจริงจังเหมือนในจังหวัดภาคใต้วัวที่ใช้ชนเรียกว่าวัวชน นั้นต้องเป็นพันธุ์วัวชนโดยเฉพาะถึงจะดี วัวใช้งานธรรมดา หรือวัวเนื้อไม่ค่อยจะนิยมใช้เป็นวัวชนกันนัก วัวชนต้องเป็นวัวตัวผู้ อายุระหว่าง ๔-๖ ปี ซึ่งเรียกว่า “ถึก” อันเป็นระยะเวลาของอายุเหมาะที่จะชน ถ้าไม่แพ้หลายครั้ง หรือเสียวัวเสียก่อนก็อาจจะชนได้ถึงอายุ ๑๔-๑๕ ปี
วัวชนที่ดีต้องมีคุณสมบัติบางอย่างในการต่อสู้ คือต้องมีน้ำใจทรหดอดทน มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบหรือชั้นเชิงในการชนที่ดี ที่เรียกกันว่า “ชนดี ใจดี แรงดี” กับต้องมีลักษณะที่ดีอื่น ๆ อีกหลายอย่างตามความเชื่อ เท่าที่มีผู้กล่าวไว้ในอดีตอาจจะประมวลมากล่าวเฉพาะที่สำคัญได้ดังนี้
ลักษณะของวัวชน
ตาม "ตำราดูลักษณะโค" ซึ่งนายพร้อม รัตโนภาศ เป็นผู้รวบรวมจากหนังสือบุด หรือสมุดข่อยที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้พิมพ์ในหนังสืองานเดือนสิบประจำปีของจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ กล่าวถึงลักษณะของวัวทั่วไปและลักษณะของวัวชนไว้ว่าวัวหรือโคจะดีจะชั่วจะเป็นโภคทรัพย์สิริมงคลหรืออัปรีย์จัญไร ท่านโบราณาจารย์กล่าวว่ามีลักษณะที่จะพึงสังเกตได้อยู่ ๓ ประการ คือ ขวัญ สี หรือชาติพันธุ์และเขา
๑. ขวัญวัว ขวัญวัวจะมีลักษณะของขวัญที่เป็นอยู่ตามตัววัวนั้น โบราณาจารน์ท่านบรรยายไว้ดังนี้ คือ
๑.๑ ขวัญที่เรียกว่า “ขวัญเดิม” คือเป็นขวัญอยู่ตรงหน้าผาก ขวัญนี้ไม่ดีไม่ชั่ว
๑.๒ ขวัญที่เรียกว่า “สูบสมุทร” นั้นอยู่เบื้องบนและตรงกับจมูก (แต่ไม่ถึงหน้าผาก) ขวัญนี้ท่านว่าร้ายนัก วัวตัวใดมีขวัญชนิดนี้ท่านห้ามมิให้เลี้ยงรักษา จะนำความเดือนร้อนมาให้
๑.๓ ขวัญที่อยุ่ตรงขากรรไกรนั้นดีควรเลี้ยงไว้
๑.๔ ขวัญที่เรียกว่า “ทูนเพลิง” คืออยู่ใต้ตา วัวซึ่งมีขวัญชนิดนี้ท่านว่าร้านนักประดุจไฟ ตำราห้ามมิให้แสวงหามาเลี้ยง
๑.๕ ขวัญที่เรียกว่า “คาบแก้ว” คือขวัญที่อยู่ใต้คางวัวซึ่งมีขวัญชนิดนี้ท่านว่าดี นัก เลี้ยงไว้ไม่มีโทษเลย
๑.๖ ขวัญที่เรียกว่า “ทูนข้าวปลา” คืออยู่ระหว่างเขาทั้งสอง วัวซึ่งมีขวัญชนิด นี้คืออยู่ระหว่างหางพาดกับทวาร ขวัญนี้ดีจะสมบูรณ์ ไปด้วยทรัพย์ศฤงคาร
๑.๗ ขวัญที่เรียกว่า “สำเภาพัง” คือขวัญที่เป็นอยู่ที่หัวขาหลัง ขวัญนี้ร้ายนัก ทำให้อายุสั้น และเสื่อมทรัพย์สมบัติ
๑.๘ ขวัญที่อยู่ตรงกับที่รับอุจจาระ ไม่ดีดุจกันคืออยู่ระหว่างหางพาดกับทวาร ขวัญนี้ดีจะสมบูรณ์ ไปด้วยทรัพย์ศฤงคาร
๑.๙ ขวัญที่เรียกว่า “ปัดหล่อม” อยู่ในวงหางเมื่อเวลาปัดหางหรือสะบัดหาง คือถัดจากขวัญที่เรียกว่า “ปัดขะจาย” เข้ามาขวัญนี้ดีพอประมาณ
๑.๑๐ ขวัญที่เรียกว่า “สำเภารั่ว” คือขวัญทที่อยู่ตรงปลายลึงค์ ขวัญชนิดนี้ร้ายนักประดุจกับสำเภาที่รั่วน้ำ ทรัพย์สมบัติจะอันตรธานหายไปโดยมิรู้ตัว
๑.๑๑ ขวัญที่เรียกว่า “สำเภาในอู่” คือขวัญที่อยู่โคนลึงค์ ขวัญนี้แต่ไม่รวยทรัพย
๑.๑๒ ขวัญที่อยู่ที่แข้งดีจะคุ้มกันทรัพย์สมบัติมิให้เสื่อมสูญ
๑.๑๓ ขวัญที่เรียกว่า “ปราบทวีป” คือขวัญที่อยู่ใต้กีบขวัญขวัญนี้อุดมไปด้วยทรัพย์สมบัต
๑.๑๒ ขวัญที่เรียกว่า “ขุมทอง” คือขวัญที่เป็นอยู่โคนกีบไม่ว่าหน้า หลัง ขวาหรือซ้าย ท่านว่าดีนัก
ลักษณะของขวัญสำหรับวัวชนที่ดี มีดังนี้
๑. ขวัญตรงหัวใจ และตรงกระดูกสันหลังดีมาก
๒. ขวัญที่เท้าทั้งสี่หรือเพียง 2 เท้าเรียกว่า “จำตรวน” ดีมาก
๓. ขวัญที่อยู่บนจอมหนอกหรือโหนกที่เรียกว่า “จอมปราสาท” ดีมาก
๔. ขวัญที่อยู่ตรงโคนหูทั้งสองและติดกับขาดีมาก
๕. ขวัญที่อยู่ตรงกลางหลังและเวียนก้นหอยดีมาก
๖. ขวัญที่หน้าแข้งดี ถ้ามีทั้ง ๔ แข้ง ดีเลิศ
๗. ขวัญที่อยู่โคนกีบที่เรียกว่า “ขุมทอง” นั้นดีเลิศ
๘. ขวัญที่อยู่ใต้กีบที่เรียกว่า “ปราบทวีป” นั้นดีเลิศ
อนึ่งวัวตัวใดที่มีขวัญกระหนาลึงค์ทั้ง ๒ ข้าง บางตำราท่านว่าเป็นวัวที่ดุร้ายมากเลี้ยงไม่เชื่องมัก “ทอควาญ” (ขวิดควาญหรือคนเลี้ยง) ชาติวัวศุภราชนับเป็นวัวที่มีลักษณะดีเลิศ ท่านกล่าว่าถ้าใครเลี้ยงไว้ จะได้เป็นเศรษฐีมั่งคั่งไปด้วยทรัพย์ศฤงคารและข้าทาส ท่านว่าให้ปลูกโรงยกพื้นขึ้นสูง ๑ ศอก ๒ คืบ เก็บไว้ในโรงวัวนี
๒. สีหรือชาติพันธุ์
สีวัวชนจะมีสีดำหรือสีน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีวัวสีอื่น ๆ อีกที่จัดอยู่ในจำพวกสีดำ ได้แก่ “สีหมอก” หรือ “สีขี้เมฆ” คือสีเทาที่ค่อนไปทางขาว “สีเขียว” หรือ “กะเลียว” เป็นสีเขียวอมดำ เช่น วัวเขียวไฟแห่งอำเภอปากพนัง ในอดีตเป็นสีวัวที่หายากอย่างหนึ่งชาติวัวโหนดหัวแดงซึ่งเป็นวัวที่มีสีตัวคือสีแดง (น้ำตาลปนแดงหรือสีเหลือง) ที่หน้าผากหรือที่เรียกว่า “หน้าหัว” คอสีดำ กลางตัวแดงเหมือนสีที่หน้าผาก ส่วนที่ท่อนท้ายของลำตัวเป็นสีดำ วัวโหนดหัวแดงนี้ตามตำรากล่าวไว้ว่าชนะวัวบิณฑ์น้ำข้าววัวโหนดที่นิยมเป็นวัวชน ได้แก่ “โหนดร่องมด” คือร่องกลางหลังมีสีแดงหรือเหลืองดังทางเดินหรือแถวของมดคันไฟ “โหนดคอหม้อ” บางทีเรียกว่า “คอหม้อ” หรือ “คอดำ” คือหัวดำ คอดำ กลางตัวสีน้ำตาลไหม้ ส่วนท้ายของลำตัวสีดำ ที่เรียกว่า “คอหม้อ” เพราะที่คอสีดำเหมือนดินหม้อนั่นเอง “โหนดหัวดำ” สีตัวส่วนอื่น ๆ เหมือนโหนดหัวแดง เว้นเฉพาะที่หน้าผากเป็นสีดำสีโหนด เป็นสีของวัวสีหนึ่งที่มีในภาคใต้ โดยเรียกสีชนิดนี้จากการเทียบกับสีของลูกตาลโหนดคลุกนั่นเองอนึ่ง วัวสีโหนดตัวใดที่มีข้อเท้าขาวทั้งสี่เท้าบางคนก็จะเรียกว่า “สีลางสาด” อีกสีหนึ่งก็เรียกชาติวัวบิณฑ์น้ำข้าว เป็นวัวสีขาวดุจสีน้ำข้าวหรือสีสังข์วัวสีบิณฑ์น้ำข้าวนี้ท่านว่าชนะวัวสีแดงวัวสีขาวมีหลายชนิด แต่ที่นิยมเป็นวัวชนได้แก่ วัวสีบิณฑ์น้ำข้าวดังกล่าวแล้ว นอกจากนั้นก็มีสีขาวชนิดอื่น ๆ เช่น ขาวลางสาด คือสีขาวที่เหมือนสีเปลือกผลลางสาดทั้งตัว หรืออาจจะมีสีขาวเฉพาะตรงกลางแล้ว ส่วนที่หัว คอ และส่วนท้ายสีดำก็เรียก“ลางสาด” เช่นกันฉะนั้น “วัวสีลางสาด” หรือ “วัวลางสาด” มี ๓ จำพวก คือ
(๑) มีสีขาวเหมือนสีเปลือกผลลางสาดทั้งตัว
(๒) มีสีขาวเหมือนสีเปลือกผลลางสาดเฉพาะกลางตัว ส่วนที่หัว คอ และส่วนท้ายดำหมด
(๓) วัวสีโหนดทุกชนิดที่มีสีตรงข้อเท้าลงมาเป็นสีขาวหมดทั้งสี่เท้า ส่วนวัวสีขาวบางชนิดที่ตำราห้ามมิให้ใช้เป็นวัวชน คือ “ขาวชี” หรือ “ขาวเผือก” คือวัวที่มีสีตัวเป็นสีขาวใส
ชาติวัวแดงหงส์ เป็นวัวสีแดงสะอาด คือแดงไม่เข้มหรือไม่จางจนเกินไป วัวตัวนี้จึงสีแดงตลอดทั้งตัว แม้แต่สีเขาและเล็บก็เป็นสีแดงวัวสีแดงชนิดอื่น ๆ ที่นิยมรองลงมา ได้แก่ “แดงไฟ” คือสีแดงเหมือนเปลวเพลิง แดงเข้มกว่าแดงหงส์เล็กน้อย “แดงพังพอน” คือสีแดงอย่างสีพังพอน “แดงลั่นดา” คือสีแดง เหมือนสีกุ้งแห้งหรือสีออกแดงจัดจนเป็นกำมะหยี่ แต่จมูกขาวหรือลายกล่าวกันว่า วัวสีแดงลั่นดา ชนเดิมพันมากแล้วมักจะไม่ชนะคู่ต่อสู้ แต่ถ้าชนเดิมพันน้อยก็แพ้ยาก ฉะนั้นจึงมีคำกล่าวในหมู่นักเลงชนวัวเป็นทำนองเตือนใจเอาไว้ว่า “วัวลั่นดา ปลาโดงแดง อย่าแทงมาก” แต่ถ้าเป็นวัวสีแดงลั่นตาหางดอก (ขนหางสีขาวหรือสีขาวแซมสีอื่น) ที่เรียกตามภาษานักเลงชนวัวว่า “ผ้าร้ายห่อทอง” กลับเป็นวัวที่มีลักษณะดีอย่างหนึ่งเสียด้วยซ้ำไปอนึ่งวัวชนที่มีลักษณะไม่ดี เช่น หางสั้นมากจนผิดปกติ หรือหางยาวมากจนเกินไป ๑ เขากางมาก ๑ เป็นวัวหลังโกง ๑ เหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะที่ไม่ดีทั้งสิ้น แต่ถ้าทั้ง ๓ ลักษณะดังกล่าวมารวมอยู่ในวัวตัวเดียวกัน คือ “เขากาง หางเกิน และหลังโกง” ก็กลับถือว่าเป็นลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งไป เช่น วัวแดงไพรวัลย์ วัวชนที่มีชื่อเสียงลือนามในอดีตก็มีลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน ในภาษาถิ่นใต้ที่ออกชื่อว่า “ลั่นดา” หรือ "ลันดา” มีอยู่ ๒ ชื่อคือเลื่อยชนิดหนึ่งเรียกว่า “เลื่อยลั่นตา” และวัวที่สีแดงดังกล่าวเรียกว่า “วัวลั่นดา” สำหรับข้อแรกคนปักษ์ใต้เข้าใจเอาว่าเลื่อยชนิดนี้คงเป็นของชาติวิลันดาหรือฮอลันดามาก่อน ส่วนอย่างหลังเข้าใจว่าคงจะเรียกชื่อตามสีผิวของคนฝรั่งชาติวิลันดาที่คนปักษ์ใต้พบเห็นมาแต่ก่อนก็ได้ สำหรับ “วัวลาย” แม้ในตำราห้ามแต่ถ้ามีลักษณะอื่น ๆ ดีก็อาจจะเป็นวัวชนที่ดีได้เหมือนกัน ฉะนั้นปัจจุบันจึงมีวัวลายที่ใช้เป็นวัวชนอยู่เหมือนกัน สีลายหรือลาย หมายถึงสีที่ตามลำตัวหรือส่วนอื่น ๆ จะเป็นสีอะไรก็ได้ แต่ต้องมีสีขาวปน จึงจะเรียกว่า “ลาย” นอกจากนั้นก็มีลักษณะสีพิเศษอย่างอื่นอีก เช่น “หน้าโพธิ์” “หน้าจุด” (บางทีเรียกว่า “หัวกัว” คือหัวมีจุดคล้ายหัวปลาหัวตะกั่ว) “หน้าปิ้ง” (คือหน้าโพธิ์นั่นเองแต่เป็นหน้าโพธิ์ที่ไม่อยู่ในความนิยม คือเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานขึ้นหรือเอายอดลงล่างคล้ายจะปิ้ง) ส่วนหน้าโพธิ์ที่อยู่ในความนิยมนั้นมักจะเอายอดเหลี่ยมขึ้นข้างบน ซึ่งเป็นลักษณะสีที่หายากมาก และเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะของวัวชาติศุภราช ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว “แซม” หมายถึงมีขนสีขาวแซมขนสีอื่น ๆ ที่เป็นพื้นสี ส่วนมากพื้นสีมักจะเป็นสีดำหรือนิลเรียกว่า นิลแซม เช่น วัวนิลแซมใจสิงห์ ของนายอรุณ สุไหง-โกลก “ดาว” หมายถึงมีขนสีขาวเป็นจุด ๆ ประอยู่ตามตัว ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งตัวของวัวที่มีพื้นสีขนเป็นสีอื่น แต่ส่วนมากมักเป็นสีแดง เช่น วัวดาวประกายของนายบ่าว บ้านทานพอ เป็นต้น ส่วนคำว่า “ดอก” หมายถึงวัวหางดอก คือวัวที่มีสีขนหางขาวหรือสีขนหางขาวแซมสีอื่น ส่วนสีตัววัวนั้นจะเป็นสีอะไรก็ได้ บางทีเป็นสีนิล สีโหนด ฯลฯ เช่น วัวโหนดดอกอาฆาต ของนายวิศิษฐ์ ฉวาง เป็นต้น
วัวศุภราชนี้ตำรากล่าวว่าชนะวัวทั้งหลาย อนึ่งวัวลายใดทั่วไปที่ไม่ใช่ชาติวัวศุภราชจะไม่เป็นที่นิยมใช้เป็นวัวชน เพราะถือว่า “วัวลายควายขาว” ย่อมใจเสาะนอกจากนี้ยังมีวัวสีอื่น ๆ ที่จัดอยู่ในจำพวกสีดำได้แก่สีหมอกหรือสีขี้เมฆ สีเทาที่ค่อนข้างไปทางขาวสีเขียวหรือกะเลียวเป็นสีเขียวอมดำเป็นสีวัวที่หายากโหนดร่องมด คือร่องกลางหลังมีสีแดงหรือเหลืองดังทางเดินหรือแถวของมดคันไฟ โหมดคอหม้อ บางทีเรียกว่าคอหม้อหรือคอดำ คือหัวดำ คอดำ กลางตัวสีน้ำตาลไหม้ ส่วนท้ายของลำตัวสีดำที่เรียกว่าคอหม้อ เพราะที่คอสีดำเหมือนก้นหม้อดินที่ใช้แล้วนั่นเอง โหนดหัวดำสีตัวส่วนอื่น ๆ เหมือนโหนดหัวแดงเว้นเฉพาะที่หน้าผากเป็นสีดำ สีโหนดเป็นสีของวัวสีหนึ่งที่มีในภาคใต้ โดยเรียกสีชนิดนี้จากการเทียบของลูกตาลโตนดสุก "ขาวลางสาด" คือสีขาวทั้งตัวที่เหมือนสีเปลือกผลลางสาดหรืออาจจะมีสีขาวเฉพาะตรงกลางตัว ส่วนที่หัว คอ และส่วนท้ายสีดำก็เรียก “ลางสาด” เช่นกัน ฉะนั้น “วัวสีลางสาด” หรือ “วัวลางสาด” มี ๓ จำพวก คือ
๑. มีสีขาวเหมือนสีเปลือกผลลางสาดทั้งตัว เรียกว่า “ลางสาด”
๒. มีสีขาวเหมือนสีเปลือกผลลางสาดเฉพาะกลางตัวส่วนที่คอ และส่วนท้ายดำหมด เรียกว่า “ลางสาดหัวดำ”
๓. วัวสีโหนดทุกชนิดที่มีสีตรงข้อเท้าลงมาเป็นสีขาวหมดทั้ง ๔ เท้า เรียกว่า “ลางสาดตีนขาว” ส่วนวัวสีขาวบางชนิดที่ตำรามิให้ใช้เป็นวัวชน คือขาวชีหรือขาวเผือก คือ วัวที่มีสีตัวเป็นสีขาวใส
กล่าวกันว่าวัวสีแดงลั่นดา ชนเดิมพันมากแล้วมักจะไม่ชนะคู่ต่อสู้ แต่ถ้าชนเดิมพันน้อยก็แพ้ยาก ฉะนั้นจึงมีคำกล่าวในหมู่นัเลงชนวัวเป็นทำนองเดียวเตือนใจเอาไว้ว่า “วัวลั่นดา ปลาโดงแดง อย่าแทงมาก” แต่ถ้าเป็นวัวสีแดงลั่นดาหางดอก (ขนหางสีขาวแซมสีอื่น) ที่เรียกตามภาษานักเลงชนวัวว่า “ผ้าร้ายห่อทอง” กลับเป็นวัวมีลักษณะดีสำหรับ “วัวลาย” แม้ในตำราห้าม แต่ก็มีลักษณะอื่น ๆ ดีก็อาจจะเป็นวัวชนที่ดีได้เช่นกัน ฉะนั้นปัจจุบันจึงมีวัวลายที่ใช้เป็นวัวชนอยู่บ้าง สีลายหรือลายหมายถึงสีที่ตามลำตัวหรือส่วนอื่น ๆ จะเป็นสีอะไรก็ได้ แต่ต้องมีสีขาวปนจึงจะเรียกว่า “ลาย”แซม” หมายถึงมีขนสีขาวแซมขนสีอื่นที่เป็นพื้นสีส่วนมากพื้นสีมักจะเป็นสีดำหรือนิล เรียกว่า “นิลแซม” เช่น วัวนิลแซมใจสิงห์ ของนายอรุณ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส “ดาว” หมายถึงมีขนสีขาวเป็นจุด ๆ ประอยู่ตามตัวส่วนใด ส่วนหนึ่งหรือทั้งตัวของวัวที่มีพื้นสีขนเป็นสีอื่น แต่ส่วนมากมักเป็นสีแดง เช่น วัวดาวประกาย ของนายบ่าว บ้านทานพอ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น “ดอก” หมายถึงวังหางดอก คือวัวที่มีสีขนหางขาวหรือสีขนหางขาวแซมสีอื่น ส่วนสีตัววัวนั้นจะเป็นสีอะไรก็ได้บางที
๓. เขา
เขาของวัวชนมักนิยมเขาใหญ่ คือโคนเขาใหญ่ ลำเขาใหญ่ และเขาเป็นมันแววปลายเขาแหลมตามธรรมชาติเพราะถือว่าเขาเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุด ต้องไม่หักได้ง่าย ๆ เป็นอันขาด เขาวัวชนเรียกกันว่า “ยอด” ซึ่งกล่าวกันว่า ถ้ายอดเสีย (เขาแตก เขาหัก) หรือเสียยอด (เขาสั้น ไม่แหลมคม ไม่เข้าเป้าของคู่ต่อสู้) แล้วจะไม่ชนะคู่ต่อสู้ ลักษณะของเขาวัวชนที่ดีมีดังนี้
๓.๑ โคนเขาเป็นเงาและแววออกสีเหลือง ข้างปลายนั้นแดงดุจสีมณี ท่านว่าดีนัก อยู่ที่ใคร บ่มีโทษภัย มีแต่สุขสบาย
๓.๒ เขาใดมีสีดำนิลท่านว่าดีนัก ควรสืบแสวงหามาไว้แม้ยากจนก็จะกลับมั่งคั่งขึ้นในเร็ววัน ท่านตีราคาเขานี้ไว้ ๙ ชั่งทอง
๓.๓ เขาใดมีราศีเป็นอยู่ข้างท้อง (ข้างท้องเขานั้น) อยู่ที่ใครท่านว่าจะจำเริญสุขสวัสดิ์ ไม่ขัดสนจนทรัพย์ ทรัพย์สมบัติ จะไหลมาเทมาจนกระทั่งเป็นเศรษฐี ผู้คนไปมานับหน้าถือตาภัยอันเกิดแต่เจ้านายไม่มี
๓.๔ เขาใดมีสีปลอด วงปลายเอาไว้รอบ คือปลายเขามีสีเดียวกันเช่น สีขาวสีเดียว ท่านว่าเขานี้ดีนัก ท่านตีราคาไว้ถึง ๑๐ ชั่งทอง ควรจะเป็นของพระมหากษัตริย์จึงจะควร
๓.๕ ถ้าเขาใดสันธานสีเหมือนดอกชบาแดงตอนปลายเป็นสีเหลือง เขาชนิดนี้ท่านสรรเสริญว่าดีมาก ควรจะเป็นของท้าวพระยาจึงจะควร
๓.๖ ถ้าเขาใดมีสีเป็นเงาดั่งน้ำข้าวปลายเขานั้นมีสีเหลืองท่านว่าดีนักควรเสาะแสวงหามาไว้ จะเป็นสวัสดิมงคลทรัพย์สมบัติจะเนืองนองมาอย่างน้ำไหล
๓.๗ ถ้าเขาใดเป็นรูปเทพสิงหรหรือภควัม ท่านว่าดีนักมีตบะเดชะคุ้มกันภยันตรายได้ทุกประการ แม้จะออกศึกสงครามมีอาวุธมาดั่งห่าฝนก็ไม้ต้องตัว เพราะเขาวัวนี้คุ้มกันได้
๓.๘ ถ้าเขาใดมีสีเหมือนผิวไม้ไผ่สีสุกแก่ล้อมอยู่รอบข้าง ดีมาก เขาชนิดนี้ควรอยู่แก่พระมหากษัตริย์ จึงจะควร
๓.๙ เขาใดมีสีเหลืองเหมือนน้ำค้างในตอนดึก ดีนักจะอุดมไปด้วยแก้วเหวนเงินทอง จะมียศฐาบรรดาศักดิ์
๓.๑๐ เขาใดมีเสี้ยนตาลผุดขึ้นทั้งเขาก็ดี หรือเป็นเสี้ยนแต่ที่ปลายก็ดี ท่านว่าดีนัก ใครเอาไว้จะได้รับความมั่งคั่งในทรัพย์สิน
๓.๑๑ ถ้าเขาใดมีสีเขียว สีดำ เป็นลำดับขึ้นไป และมีสีเหลืองรับอยู่ข้างปลาย ดีนัก จะมีลาภยศอันพึงพอใจ ท่านตีราคาไว้ 10 ชั่งทอง
๓.๑๒ เขาใดมีลายตอกผุดขึ้นทั่วไป ท่านว่าดีนัก ท่านตีราคาไว้ 5 ตำลึงทอง จะมีข้าทาสและลูกเมีย ผู้คนจะจงรัก ภักดี และจะนำลาภอันอันพึงใจมาให้
๓.๑๓ ถ้าเขาใดดำล้วน ไม่มีสีอื่นปน ท่านว่าดีนัก สำหรับพ่อค้าวาณิชควรมีไว้ จะทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง ท่านตีราคาไว้ 5 ตำลึงทอง
๓.๑๔ ถ้าเขาใดมีสีเหมือนเบี้ย หรืออัญชัน หรือ สีครามดีนัก ใครมีไว้จะคุ้มภยันตรายทุกข์ภัยไข้เจ็บไม่บีฑา
๓.๑๕ ถ้าเขาใดเหมือนสิงโตเผ่นทะยาน หรือเหมือนวงแหวน ท่านว่าดีนัก จะทำให้มีความกล้าหาญ และมีอิทธิฤทธิ์ อาจปราบศัตรูได้
๓.๑๖ ถ้าเขาใดกลมเกลี้ยงราวกับกลึงหรือขัดถูแล้วดีนักใครมีใว้จะนำลาภมาอย่างล้นหลาม และจะคุ้มกันโทษภัยด้วย
๓.๑๗ ถ้าเขาใดเป็นชั้น ๆ ถัดกันขึ้นไปคล้ายกับฉัตรท่านว่าดีนักจะสมบูรณ์ไปด้วยลาภยศ ผู้คนจะเมตตากรุณาไม่ว่าจะตกไปสารทิศใดคงไม่อับจน เขานี้ตำราได้กล่าวยืนยันเป็นหนักหนาท้าถึงกับให้เผาตำรา
ลักษณะของเขาวัวทั่วไปมีหลายแบบ เรียกชื่อต่างกันดังนี้
๑. เขารอม มีลักษณะโค้งเข้าหากันเป็นวงตอนกลาง ๆ เขาจะโค้งขึ้นบนเล็กน้อย ปลายเขางอต่ำลง
๒. เขาวง มีลักษณะโค้งเข้าหากันเป็นวง
๓. เขาโนรา มีลักษณะคล้ายเขาวง แต่เขายกขึ้นสูงจากหัวตั้งแต่โคนเขาจนถึงปลาย เขาเหมือนแขนของโนราเมื่อยามรำท่าเขาควาย
๔. เขากุบ มีลักษณะคล้ายเขารอมแต่ปลายเขาหุบงอเข้าหากันมากกว่าเขารอม
๕. เขาพรก มีลักษณะคล้ายเขากุบแต่เขาสั้นกว่าเขากุบปลายเขาหรือยอดหุบเข้าหากันมากกว่าเขากุบ
๖. เขากาง มีลักษณะเขาถ่างออกจากกัน
๗. เขาเบะ มีลักษณะเขาถ่างออกจากกันมากจนปลายเขาอยู่กันคนละด้าน
๘. เขาตรง หรือ ”เขาแทง” มีลักษณะเขาพุ่งตรงไปข้างหน้า
๙. เขาบิด มีลักษณะคล้ายเขาวงแต่ปลายเขาข้างใดข้างหนึ่งบิดขึ้นบนหรือลงต่ำเล็กน้อย
๑๐. เขาแจ๊ง มีลักษณะเขาเล็ก สั้น แต่ปลายเขาแหลม
๑๑. เขาหลั้ว มีลักษณะโคนเขาใหญ่แต่สั้น และปลายไม่แหลม วัวที่มีเขาชนิดนี้ บางท้องถิ่นเรียกว่า “วัวหัวหลั้ว”
๑๒. เขาหลุบ มีลักษณะเขาสั้นมากคล้าย ๆ เขาหลั้ว คือยาวไม่เกินนิ้วชี้
๑๓. เขาแห็ก คือมีลักษณะเขางามข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งจะเป็นเขาแบะหรือเขาห้อยลงมา
ลักษณะของเขาวัวนี้สามารถบ่งบอกถึงวิธีการชนของวัว แต่ละตัวได้ เว้นแต่วัวตัวนั้นจะไม่ใช้ยอกหรือเขาให้เป็นไปในทางที่ถูกเรียกว่า “ชนไม่สมยอด” คืออาจจะเลวหรือดีกว่าที่คาดหมายไว้ก็ได้ เช่น วัวที่มีลักษณะเขาเป็น “เขาตรง” หรือ “เขาแทง แต่ไม่แทง “เขาบิด” แต่ไม่บิด “เขาวง” หรือ “เขารอม” แต่ ไม่จับ อย่างนี้เรียกชนไม่สมยอด เป็นต้นวัวที่มีเขายาวแลดูสวยงามและน่ากลัวหรือน่าหวาดเสียวคู่ควบกัน ได้แก่ เขาวง เขารอม เขากุบ หรือเขาแทง เหล่านี้บางทีเรียกว่า “เขารก” โดยเฉพาะ “เขาวง” นั้นสามารถใช้ปลายเขาแทงเข้าหูคู่ต่อสู้ได้ง่าย หรือเพียงแต่ตั้งรับเฉย ๆ คู่ต่อสู้ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ส่วนที่ว่าวัวเขาชนิดไหนควรจะใช้ชนกับวัวที่มีเขาชนิดไหน หรือวัวที่มีชั้นเชิงอย่างไรนั้นเจ้าของวัวและนักเลงวัวชนจะต้องศึกษาวิธีการชนให้จงดี และต้องเคยเห็นวิธีการชนของวัวแต่ละตัวมาแล้ว เช่น วัวเขาวง หรือ เขารอม มักจะได้เปรียบคู่ต่อสู้ที่มีชั้นเชิงการชนเกือบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นวัวแทง วัวทุบ วัวตอก หรือวัวฟัน แต่จะเสียเปรียบ วัวเข(ขี่) หรือ “วัวเห็ง” อย่างเดียวเท่านั้น
อนึ่งวัวชนที่มีลักษณะไม่ดี เช่น หางสั้นมากจนผิดปกติ หรือหางยาวมากเกินไป ๑ เขากางมาก ๑ เป็นวัวหลังโกง ๑ เหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะที่ไม่ดีทั้งสิ้น แต่ถ้า ๓ ลักษณะ ดังกล่าวมารวมอยู่ในวัวตัวเดียวกัน คือ “เขากาง หางเกิน หลังโกง” ก็กลับถือว่าเป็นลักษณะที่ดี เช่น วัวแดงไพรวัลย์ วัวชนที่มีชื่อในอดีตก็มีลักษณะเช่นนี้นอกจากนี้ก็มีลักษณะสีพิเศษอย่างอื่นอีกเช่น “หน้าโพ” “หน้าจุด” บางทีก็เรียกว่า “หัวกัว” (คือหัวมีจุดคล้ายหัวปลาหัวตะกั่ว) “หน้าปิ้ง” (คือหน้าโพนั่นเอง แต่เป็นหน้าโพที่ไม่อยู่ในความนิยม คือเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานขึ้นหรือเอายอดลงล่างคล้ายจะปิ้ง) ส่วนหน้าโพที่อยู่ในความนิยมมักจะเอายอดเหลี่ยมขึ้นบ้างบน ซึ่งเป็นลักษณะสีที่หายากมาก และเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะวัวชาติศุภราชดังที่ได้กล่าวมาแล้ว วัวที่จะใช้ชนนั้นจะต้องเป็นพันธุ์วัวชนโดยเฉพาะ วัวใช้งานธรรมดาจะนำมาเป็นวัวชนไม่ได้ ลักษณะของวัวชนที่ดีจะต้องมีใจทรหดอดทน มีไหวพริบในการชนดี และมีลักษณะอื่น ๆ ที่ดีอีกหลายอย่าง เท่าที่มีผู้กล่าวไว้ถ้าประมวลมากล่าวเฉพาะที่สำคัญก็จะได้ดังนี้
๑. ลักษณะทั่ว ๆ ไป จะต้องมีรูปร่างประเปรียว ช่วงตัวยาว ท้องกิ่ว ลำตัวค่อนข้างหนา หลังหนาแบน คอสั้นหนาใหญ่ ช่วงขาสั้นและล่ำสัน คิ้วหนา ตาเล็ก สีตาดำ ใบหูเล็ก โหนกสูงใหญ่ (ภาคใต้เรียกว่าหนอก) มีขวัญที่ใต้โหนกและกลางหลังเยื้องไปทางด้านหน้าเหนียงคอ (ภาษาใต้เรียกว่าแร้ง) หย่อนยาน ลางตัวหย่อนยานมากเวลาก้มลงกินหญ้าจะจดพื้นดินก็มี แต่ลางพันธุ์ นิยมเหนียงคอสั้น เขาแข็งแรง ปลายเขาแหลมโค้ง โคนเขาทั้งสองใหญ่หางเรียวยาวจดพื้นดิน โคนหางใหญ่ปลายหางเป็นพู่ดูสวยงามมาก ลูกอัณฑะเล็ก ขนสั้นละเอียดเป็นมัน แต่ที่หน้ามีขนยาว เวลาเคี้ยวเอื้องน้ำลายเป็นฟอง และกีบตีนชิด เป็นต้น
๒. ลักษณะเฉพาะพันธุ์ ลักษณะเฉพาะพันธุ์ ที่นำมากล่าวนี้เป็นลักษณะที่เชื่อกันว่าเป็นวัวชนชนิดดี ซึ่งจะเลือกกล่าวเพียงบางชนิดเท่านั้น เช่น โคอุสุภราช โคชนิดนี้นิยมเลี้ยงไว้ชนจัดว่าเป็นพระยาโคก็ได้ มีลักษณะที่สังเกตคือสีขาวปลอด หรือบางตำรากล่าวว่าชาติโคอุสุภราชนั้นสีแดงลายขาว โดยมีลายดังนี้คือ ตีนด่าง, หางดอก, หนอกพาดผ้า, หน้าใบโพ โคนิล โคชนิดนี้ถือเป็นโคพันธุ์ดีอีกชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าจะให้ลาภแก่ผู้เลี้ยง ลักษณะพิเศษคือมีเยี่ยวดำในวันพระ แต่ในวันอื่น ๆ อาจจะไม่ดำ ส่วนสีของเท้าอาจจะดำหรือไม่ใช่ก็ได้ โคบิณฑ์น้ำข้าว เป็นโคสีขาวปลอด ลักษณะที่น่าสังเกต คือเล็บยาว หางยาว เขาขาวเป็นมัน
๓. ลักษณะดีตามสีตัว วัวทางภาคใต้มีสีต่างกันถึง ๗ สี แต่สีที่สำคัญ คือ ขาวปลอด, ดำนิล, แดง , ลาย (คือดำแซมขาว), ลังสาด (คือคอดำ หัวดำ ท้ายดำ ตรงกลางขาว) สีของวัวนี้ นอกจากจะบอกลักษณะดีชั่ว แล้วยังใช้เป็นชื่อเรียกวัวอีกด้วย เช่นวัวสีขาวเรียกอ้ายขาว สีดำเรียกอ้ายดำ เป็นต้น แต่เพื่อมิให้สับสนเพราะมีสีซ้ำกันเขาจึงบอกชื่อบ้านหรือชื่อเจ้าของเข้าไปด้วย เช่น อ้ายขาวลุง หมายถึงวัวขาวบ้านทุ่งลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วภาคใต้ เพราะตลอดชีวิตการต่อสู้ของมันไม่เคยแพ้มีแต่ชนะกับเสมอ และถือกันว่าเป็นโคพันธุ์อุสุภราชแท้
คุณลักษณะทั่วๆ ไปของวัวชน
๑. คร่อมอกใหญ่ ให้หาคร่อมอกใหญ่ ๆ อย่างคร่อมอกเสือถึงจะดีมีกำลังมาก
๒. ท้องใหญ่ มีกำลังมากชนได้นานกว่าวัวท้องเล็ก
๓. กระดูกใหญ่ เช่น กระดูกเท้าใหญ่เหมือนเท้าควายจะดีมาก
๔. คอยาวใหญ่ จะเป็นวัวที่แข็งแรงและแก้เพลียงได้ดี กว่าและเร็วกว่าวัวคอสั้น แต่คอบางเหมือนคอกวางไม่ดี
๕. หนอก ถ้ารูปก้อนเส้าถึงจะดี ถ้าแบนเป็นใบพัดไม่ด
๖. เขาให้หาเขาใหญ่ ๆ ถึงจะดี และถ้ามีขนงอกปิดโคนเขาก็จะดีมาก
๗. หน้าวัวแคบ คือระหว่างเขาแคบถึงจะดี เพราะถ้าหน้าวัวแคบส่วนมากเขาจะใหญ่
๘. คิ้ว ให้หาคิ้วหนานัยน์ตาไม่ถลนถึงจะด
๙. ตาเล็ก ที่เรียกว่า “ตาดุก” คือตาเล็กเหมือนตาปลาดุกถึงจะดี
๑๐. ใบหูเล็ก ให้หาที่ใบหูเล็กเหมือนหูม้าถึงจะดี และถ้ามีขนในหูมากก็ยิ่งดี
๑๑. หน้าตาคมคายเกลี้ยงเกลาถึงจะด
๑๒. หน้าผากหรือหน้าหัวถ้ามีขนมาก หรือขนรกถึงจะดี
๑๓. ข้อเท้าให้เลือกหาข้อเท้าสั้น ๆ จะดีมากถ้าข้อเท้ายาวไม่ดี
๑๔. เล็บ ให้เลือกหาเล็บใหญ่ที่เรียกว่า “เล็บพรก” (เล็บคล้ายกะลามะพร้าวคว่ำ) ถึงจะดี เล็บยาวหรือเล็บตรงไม่ดี
๑๕. หาง ให้เอาที่หางเล็กเรียวจะดีมาก แต่ถ้าหางใหญ่ไม่ดี แต่โคนหางใหญ่ดี
๑๖. ขนหาง ให้หาขนหางเล็ก ๆ เหมือนเส้นด้าย เส้นไหมและถ้าขนหางบิดนิด ๆ จะดีมาก ขนหางยาวหยาบ หรือขนหางเป็นพวงหงิกงอที่เรียกว่า “หางโพ่ย” ไม่ดี
๑๗. อัณฑะ ให้หาที่มีลูกอัณฑะเล็ก และปลายอัณฑะปิดนิด ๆ หรือยานตวัดไปข้างหน้าจะดีเลิศ ยิ่งถ้ามีลูกอัณฑะเพียงลูกเดียวก็ยิ่งดีเลิศ เรียกว่า “อ้ายหน่วย” หรือ “ทองแดง” “ไข่ทองแดง” เป็นวัวที่หายาก
๑๘. ลึงค์ ให้หาที่ลึงค์ยาวใหญ่ ๆ ถึงจะดี ถ้าลำลึงค์ยาวตั้งแต่ลูกอัณฑะจนถึงกลางท้องแสดงถึงการมีพลังมาก ถ้ามีขนที่ปากลำลึงค์ดกมากแสดงถึงความมีใจสู้ไม่ค่อยยอมแพ้คู่ต่อสู้ง่าย ๆ
๑๙. ขน ให้หาที่ขนละเอียด เลี่ยน จึงจะดี ถ้าแห้งคือไม่เป็นมันก็จะดีมาก (สำหรับข้อนี้ยกเว้นเฉพาะวัวนิลเพชรเท่านั้น เพราะวัวนิลเพชรจะมีขนดำเป็นมัน หรือขนเปียก)
สรุปวัวชนที่ดีจะลักษณะทั่ว ๆ ไปต้องประกอบด้วย
๑) คร่อมอกใหญ่ ให้หาคร่อมอกใหญ่ ๆ อย่างคร่อมอกเสือถึงจะดีมีดำลังมาก |
๒) ท้องใหญ่ มีกำลังมากชนได้นานกว่าวัวท้องเล็ก |
๓) กระดูกใหญ่ เช่น กระดูกเท้าใหญ่เหมือนควายจะดีมาก |
๔) คอยาวใหญ่ จะเป็นวัวที่แข็งแรงและแก้เพลียงได้ดีกว่าและเร็วกว่าวัวคอสั้น แต่คอยาวเหมือนคอกวางก็ไม่ดี |
๕) หนอกหรือโหนก รูปก้อนเส้าถึงจะดี ถ้าแบนเป็นใบพัดไม่ดี |
๖) เขา ให้หาเขาใหญ่ ๆ ถึงจะดีและถ้ามีขนงอกปิดโคนเขาก็จะดีมาก |
๗) หน้าหัวแคบ คือระหว่างเขาแคบถึงจะดี เพราะถ้าหน้าหัวแถบส่วนมากจะเขาใหญ่ |
๘) คิ้ว ให้หาคิ้วหนานัยน์ตาไม่ถลนถึงจะดี |
๙) ตาเล็ก ดี |
๑๐) ใบหูเล็ก ให้หาที่ใบหูเล็กเหมือนหูม้าถึงจะดีและถ้ามีขนในหูมากก็ยิ่งดี |
๑๑) หน้าตาคมคายเกลี้ยงเกลา ถึงจะดี |
๑๒) หน้าผาก หรือหน้าหัวถ้ามีขนมาก หรือขนรกถึงจะดี |
๑๓) ข้อเท้า ให้เลือกหาข้อเท้าสั้น ๆ จะดีมาก ถ้าข้อเท้ายาวไม่ดี |
๑๔) เล็บ ให้เลือกหาเล็บใหญ่ที่เรียกว่า “เล็บพรก” (เล็บคล้ายกะลามะพร้าวคว่ำ) ถึงจะดี เล็บยาว หรือเล็บตรงไม่ดี |
๑๕) ให้เอาที่หางเล็กเรียวจะดีมาก ถ้าหางใหญ่ไม่ดี แต่โคนหางใหญ่ดี |
๑๖) ขนหาง ให้หาขนหางเล็ก ๆ เหมือนเส้นด้าย เส้นไหมและถ้าขนหางบิดนิด ๆ จะดีมาก ขนหางยาวถึงน่องไม่ดี ขนหางหยาบ หรือขนหางเป็นพวงหงิกงอที่เรียกว่า “หางโพ่ย”ไม่ดี |
๑๗) อัณฑะ ให้หาที่มีลูกอัณฑะเล็ก และปลายอัณฑะบิดนิด ๆ หรือยานตวัดไปข้างหน้าจะดีเลิศ ยิ่งถ้ามีลูกอัณฑะเพียงลูกเดียวก็ยิ่งดีเลิศ เรียกว่า “อ้ายหน่วย” หรือ “ทองแดง” เป็นวัวที่หายาก |
๑๘) ลึงค์ ให้หาที่ลึงค์ยาว ๆ ใหญ่ ๆ ถึงจะดี ถ้าลำลึงค์ยาวตั้งแต่ลูกอัณฑะ จนถึงกลางท้องแสดงถึงการมีพลังมาก ถ้ามีขนที่ปากลำลึงค์ดกมาก แสดงถึงความมีใจสู้ไม่ค่อยยอมแพ้คู่ต่อสู้ง่าย ๆ |
๑๙) ขน ให้หาที่ขนละเอียด เลี่ยน จึงจะดี ถ้าขนแห้ง คือไม่เป็นมันก็จะดีมาก (สำหรับข้อนี้ยกเว้นเฉพาะวัวนิลเพชรเท่านั้น เพราะวัวนิลเพชรจะมีขนดำเป็นมันหรือขนเปียก) |
กีฬาชนวัวเป็นกีฬาพื้นเมืองที่นิยมกันมากที่สุดอย่างหนึ่งของภาคใต้ โดยการคัดเลือกเอาวัวที่มีคุณลักษณะเหมาะสมมาชนกันในสถานที่ที่กําหนด มีกติกาที่ชัดเจน จนถึงขั้นแพ้-ชนะ เป็นกีฬาที่ให้ความสนุกสนาน เร้าใจ ตื่นเต้น สร้างความประทับใจสถานที่ สนามวัวชนมีเนื้อที่กว้างประมาณ ๓-๑๐ ไร่ มักเป็นสนามดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลมแล้วแต่สนามแต่ละแห่ง กลางสนามมีลังเวียนกั้นและมีคอกเล็ก ๆ มีประตูปิดเปิดให้วัวเข้า-ออก
วิธีเล่น ก่อนชนจะนำวัวมาเปรียบเพื่อดูความได้เปรียบเลียเปรียบกันแล้ว ตกลงกัน โดยมีการวางเดิมพันกันประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ จึงจะนัดหมายนำ วัวมาชนกัน โดยมากจะชนกันในวันอาทิตย์ ในวันที่ชนวัวเจ้าของวัวมาที่สนามโดยมีหมอวัวถือหม้อนํ้ามนต์ เดินประพรมนํ้ามนต์นำหน้าเจ้าชองวัวเดินจูงวัวตามหมอ คนเลี้ยงวัวถือหม้อนํ้าและหญ้าที่ปลุกเสกแล้วเดินตามหลังวัวไป พอถึงเวลาชนจะตีกลองสัญญาณปล่อยวัวเข้าชนกันโดยมีกลอง ตีสัญญาณนาฬิfกาจับเวลาประมาณ ๕ นาทีหรือขันนื้าเจาะรูลอยในกะละมัง
กติกา วัวที่ชนกันถ้าตัวใดล้มแล้วไม่ขึ้นลุกภายใน ๔ นาทีถือว่าแพ้ ถ้าลุกก่อนให้ชนต่อไปไต้ แต่ถ้าลุกหนีไม่ยอมชน กรรมการจะให้เวลา ๔ นาที ถ้ายังไม่ยอมชนถือว่าแพ้โดยเด็ดขาด ถ้าวัวใช้เขาคีบกันไม่หลุดภายใน ๑ ชั่วโมง ถือว่าเสมอกัน กีฬาวัวชนในจังหวัดสงขลายังคงนิยมเล่นมีสนามชนหลายแห่ง เช่น สนาม หาดใหญ่ สนามทุ่งหวัง
“ชนวัว” กีฬาของชาวไทยภาคใต้. (2558). สืบค้น 4 พ.ย. 64, จาก https://www.silpathai.net/“ชนวัว”-กีฬาของชาวไทยภา/
ชนวัว. (ม.ป.ป.). สืบค้น 4 พ.ย. 64, จาก https://www.tungsong.com/Nakorn/Geography/FightingBull.asp