สถานีรถไฟกันตัง
 
Back    15/03/2023, 13:25    429  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

ภาพจาก  https://kyl.psu.th/-Ppyg6tIE

             ตรังเป็นจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันตก เป็นที่สั่งสมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไว้มากมาย มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่หลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น อำเภอกันตังเป็นหนึ่งในสิบอำเภอของจังหวัดตรัง ซึ่งในอดีตกันตังเคยเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองตรัง โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นเจ้าเมืองที่ได้พัฒนากันตังในทุก ๆ ด้าน โดยสภาพของเมืองกันตังในยุคแรกนั้นจะอยู่ใกล้ปากอ่าวเหมาะสำหรับการเดินเรือ ต่อมาท่านจึงก่อสร้างท่าเรือกันตังเพื่อให้รองรับทางรถไฟสายใต้ที่มาสุดสายที่สถานีกันตังเพียงแห่งเดียวของฝั่งทะเลอันดามัน ทำให้กันตังเป็นประตูสู่มหาสมุทรอินเดียของสยาม แม้แต่ตันยางพาราต้นแรกซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าเศรษฐกิจของภาคใต้ก็มาหยั่งรากลงที่กันตัง กันตังจึงเป็นอำเภอที่สำคัญอยู่ในฐานะเป็นเมืองท่าเทียบเรือต่างประเทศและเป็นเมืองทำทางการประมงที่สำคัญยิ่ง ต่อมาหลังจากเปิดการเดินรถไฟ เมื่อปี พ.ศ. 2456 กันตังกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกกับเมืองอื่น ๆ ตลอดจนถึงกรุงเทพฯ มีเอกสารจดหมายเหตุที่แสดงถึงการเดินทางของข้าราชการและการขนส่งพัสดุภัณฑ์ต่าง ๆ  ระหว่างรถไฟกับท่าเรือกันตัง ส่วนสินค้าและผู้โดยสารจากรถไฟก็มาลงเรือต่อที่ทำเรือกันตังเช่นกัน ทำให้กันตังเป็นเมืองท่าที่มีชื่อเสียงในด้านการเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการคมนาคม โดยที่ท่าเรือกันตังมีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟกันตัง เพราะเมื่อย้อนไปในยุคของการค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้นเส้นทางรถไฟได้ทอดยาวไปถึงท่าเรือกันตัง เป็นระยะทาง ๕๐๐ เมตร รถไฟจะจ่อรอรับสินค้าที่ท่าเรือกันตังก่อนส่งสินค้าไปยังกรุงเทพฯอีกที นอกจากเส้นทางรถไฟสุดสายอันดามันแห่งนี้จะมีบทบาทในการขนส่งสินค้าทั้งในและนอกประเทศแล้วสถานีรถไฟกันตังยังมีบทบาทในการติดต่อเดินทาง และเป็นจุดรวมกลุ่มของซาวบ้านที่ดำรงชีพด้วยการค้าขาย


ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=vD1q7tfhQHY

             กันตังเป็นดินแดนที่มีความสำคัญมาแต่โบราณเพราะมีแม่น้ำใหญ่ คือแม่น้ำตรังไหลผ่านใจกลางเมืองไปลงมหาสมุทรอินเดียที่ปากน้ำกันตัง แม่น้ำตรังกว้างและลึกทำให้เรือสินค้าขนาดใหญ่สมัยโบราณสามารถแล่นเข้าออกได้สะดวก ประกอบกับบริเวณปากแม่น้ำมีหมู่เกาะน้อยใหญ่เป็นที่กำบังคลื่นลมได้ดี ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านริมแม่น้ำกันตังส่วนใหญ่นั้นจะประกอบอาชีพทำประมง และค้าขาย กันตังจึงเป็นเมืองท่าเรือที่สำคัญของประเทศไทยทางชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศมาแล้วแต่โบราณ โดยภูมิหลังของกันตังนั้นส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับประวัติเมืองตรัง ท่าเรือกันตังก่อนจะได้รับการพัฒนานั้นจะอยู่ใกล้ปากอ่าวเหมาะสำหรับเป็นท่าเรือและสร้างความเจริญได้อีกมาก พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) จึงจัดการวางผังเมืองสร้างเมืองใหม่ ในปี พ.ศ. 2452 ต่อมาก็ได้สร้างความเจริญในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ คือส่งเสริมการเกษตรและการค้าต่างประเทศ โดยตั้งใจจะให้เป็นเมืองท่าสำคัญเหมือนปีนัง กันตังจึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการปกครองตลอดสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) กันตังในอดีตมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคใต้เส้นทางสายอันดามันที่ทอดยาวไปจนถึงท่าเรือน้ำลึก ที่เป็นจุดเทียบเรือขนส่งสินค้าไปยังมาเลเซียและปีนัง รวมถึงเป็นท่าเทียบเรือประมงขนาดใหญ่ เพื่อลำเลียงปลาที่จับได้กระจายไปยังผู้บริโภคในแถบภาคใต้ และเมื่อย้อนไปในสมัยที่การท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหลักของกระบี่และภูเก็ต ร้านค้าปลาใหญ่ ๆ ต้องส่งสินค้าจากทำาเรือน้ำลึกที่กันตังแห่งนี้ ยางพาราจำนวนมากที่ผลิตในภาคใต้ถูกส่งสู่ตลาด แล้วเปลี่ยนมือกันที่สิงคโปร์หรือมาเลเขีย ต่างก็ต้องผ่านที่ท่าเรือกันตังแห่งนี้เช่นกัน เมื่อปี พ.ศ. 2452 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้เสนอทางรัฐบาลเรื่องการสร้างทำเรือน้ำลึกเพื่อให้รองรับทางรถไฟสายใต้ที่มาสุดสายที่สถานีกันตังเพียงแห่งเดียวของฝั่งทะเลอันดามัน แม้โครงการท่าเรือจะไม่เป็นผลแต่เมื่อรัฐบาลมีโครงการสร้างทางรถไฟสายใต้ กันตังก็ได้รับเลือกให้เป็นสถานีสุดสายปลายทางด้านฝั่งทะเลตะวันตก เพื่อมุ่งพัฒนาเมืองตรังให้เป็นเมืองทำค้าขายและเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามชื่อกันตังซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองในสมัยนั้นก็ได้รับการบรรจุลงในแผนที่เดินเรือโลก ในฐานะเป็นเมืองท่าสำคัญของภูมิภาคนี้ ต่อมาในปลายรัซสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) มีโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ต่อจากเพชรบุรีลงใต้ไปจนถึงสหพันธรัฐมลายู ซึ่งกำหนดให้มีสายแยกทุ่งสง-กันตัง หาดใหญ่-สงขลา ส่วนสายแยกอื่น ๆ ตามมาทีหลัง แม้จะสิ้นสุดรัชกาลเสียก่อน แต่โครงการนี้ได้ลงมือทำต่อมาจนเสร็จสิ้นเรียบร้อย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) โดยทางรถไฟสายตรังเริ่มก่อสร้างจากกันตังขึ้นไปทุ่งสงรวมระยะทาง ๙๓  กิโลเมตร เพราะเครื่องมืออุปกรณ์จากต่างประเทศมาขึ้นที่ทำเรือกันตัง ด้วยเหตุผลนี้สถานีรถไฟกันตัง จึงเป็นที่ตั้งโรงงานชั่วคราวประกอบรถจักรและล้อเลื่อนไปพร้อมกัน เมื่อแล้วเสร็จได้ส่งไปใช้งานในที่อื่น ๆ เนื่องจากที่กันตังอยู่ด้านมหาสมุทรอินเดียมีท่าเรือซึ่งเป็นท่าสำหรับขนถ่ายวัสดุก่อสร้างและล้อเลื่อนที่ซื้อมาจากต่างประเทศ



ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=vD1q7tfhQHY


             สถานีรถไฟกันตัง ตั้งอยู่บ้านกันตัง ถนนรถไฟ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ใช้เวลาเพียง ๒ ปี ก็เปิดการเดินรถครั้งแรกจากสถานีกันตังไปห้วยยอดในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ระยะทาง ๔๙ กิโลเมตร ต่อมาเปิดสายห้วยยอด-ทุ่งสง ระยะทาง ๔๔ โลเมตร สถานีรถไฟกันตังในยุคนั้นเส้นทางรางรถไฟประกอบด้วยรางประธาน รางหลีก ๒ ราง รางตัน ๑ รางและจากราง ๓ มีทางแยกออกไปอีก ๒ ราง  สถานีรถไฟกันตัง ตั้งอยู่ในเนื้อที่ ๗ ไร่ บนถนนหน้าค่าย ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง เป็นสถานีรถไฟสุดทางสายใต้ฝั่งอันดามัน ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้า เช่น ยางพารา ประมง หรือโบกี้รถไฟกับประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ด้วยเหตุที่กันตังและสงขลาในสมัยโบราณเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศที่มีบทบาทสูงและเป็นศูนย์กลางของการค้าขายทางเรือมาช้านาน มีผู้คนในอดีตสัญจรไปมาโดยใช้เรือและรถไฟเป็นพาหนะเพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ต่อมากันตังมีความเจริญเป็นศูนย์กลางทางการค้าขายและเศรษฐกิจ สมัยนั้นจึงมีการขนส่งสินค้าจากสถานีกันตังและสถานีสงขลา เป็นสินค้าทางเกษตรจำพวกข้าวสาร ยางพารา จากประเทศเพื่อนบ้านคือมาเลเชีย จะเห็นได้ว่าเมื่อมีรถไฟเข้ามาในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ รถไฟเป็นทางเลือกใหม่ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งสินค้าขาเข้าและส่งออกจากเมืองกันตัง มีการขนส่งสินค้าและค้าขาย ทั้งการค้าภายในตัวเมืองกันตังและสงขลา การค้ากับต่างเมืองและต่างประเทศ การค้าขายเจริญรุ่งเรืองพร้อม ๆ กับการพัฒนาของเมืองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สินค้าที่เป็นผลิตผลทางเกษตรที่สำคัญได้แก่ข้าวสารที่บรรจุในกระสอบป่าน และยางพารา อย่างไรก็ดีเมื่อรถไฟสายทุ่งสง-กันตัง หาดใหญ่-สงขลา ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขนส่งสินค้าเหล่านี้ให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วขึ้น กันตังและสงขลาเป็นสถานีที่เติบโตควบคู่ไปพร้อม ๆ ความเป็นเมืองท่าของกันตังและสงขลา ทำให้รถไฟสายนี้ได้ถูกสร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร นอกจากนี้การเดินรถไฟทั้งสองขบวนนี้ทำให้สภาพเศรษฐกิจดีมีการติดต่อค้าขายทั้งในและต่างประเทศ จึงคลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่ขมีขมันขนถ่ายสินค้าลง-ขึ้นจากรถไฟ และลง-ขึ้นจากเรือ มีเรือจอดเรียงรายเข้า-ออกออกทุกเข้า-ค่ำ แล้วยังมีการหลั่งไหลของวัฒนธรรมต่างถิ่นสมัยใหม่เข้ามาสู่ชุมชนได้อย่างง่ายและรวดเร็ว จึงทำให้กันตังกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตกกับเมืองอื่น ๆ ตลอดจนถึงกรุงเทพฯ มีเอกสารจดหมายเหตุ แสดงถึงการเดินทางของข้าราชการและการขนส่งวัสดุภัณฑ์ต่าง ๆ ระหว่างรถไฟกับท่าเรือกันตัง ท่าเรือจากภูเก็ต พังงา กระบี่ สตูล และหัวเมืองมลายู ทั้งปีนัง ปลิศ ก็จะมาขึ้นรถไฟทีสถานีกันตัง ส่วนสินค้าและผู้โดยสารจากรถไฟก็มาลงเรือต่อที่ท่าเรือกันตังเช่นกัน ทำให้กันตังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางฝั่งทะเลตะวันตกและเป็นเมืองท่าที่มีชื่อเสียง การบรรจุชื่อกันตังไว้ในแผนที่โลกคงมาจากเหตุผลนี้เอง     
              อย่างไรก็ตามความรุ่งเรืองไม่สามารถอยู่คู่ชาวบ้านกันตังได้ตลอด ทุกอย่างย่อมผันแปรตามกาลเวลาแม่น้ำสายใหญ่ที่เคยเป็นเหมือนสิ่งขับเคลื่อนให้กันตังเติบโต ปัจจุบันได้ลดบทบาทลงเนื่องจากเส้นทางขนส่งสินค้าเปลี่ยนแหล่งผลิต มีการนำเข้าหัวรถจักรจากญี่ปุ่นเข้ามาแทนซึ่งมักมาขึ้นทำที่ฝั่งอ่าวไทย รวมถึงถนนหนทางที่สะดวกขึ้นทำให้กันตังลดบทบาทการเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ของหัวเมืองฝั่งอันดามันลง  โดยในปัจจุบันใครได้มากันตังเมืองที่ขึ้นชื่อในการเป็นศูนย์กลางฝั่งทะเลตะวันตกและสุดเส้นทางรถไฟฝั่งอันดามัน พลาดไม่ได้เลยที่จะเริ่มต้นเดินตามร่องรอยทางประวัติศาสตร์ โดยเริ่มตันจากย่านตึกเก่าถนนรัษฎา ริมแม่น้ำตรัง ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาก็จะเห็นตึกเก่าทอดยาวไปตามแม่น้ำตรัง และเส้นทางรถไฟที่ต่อมายังท่าเรือกันตัง ถือเป็นจุดสำคัญที่ขี้ชวนให้เรานึกถึงอดีตในครั้งที่เมืองกันตังเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ด้วยเรื่องราวภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของสถานีรถไฟสายประวัติศาสตร์นี้ ทำให้สถานีรถไฟกันตังยากที่จะถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของผู้คน ทำให้สถานีรถไฟจากเดิมที่เงียบเหงาลงไปตามวัฏจักรได้ถูกรื้อฟื้น พัฒนา จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันปลุกและซุบชีวิตสถานีรถไฟกันตังขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้สถานีรถไห้กันตังได้โลดแล่นพัฒนาเข้าสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเมืองตรัง ที่ยังคงเต็มไปด้วยกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ที่อยู่ในสภาพดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้าง ทั้งยังได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตของผู้คนในอดีต เป็นสถานีรถไฟที่น่ชื่นขมแห่งหนึ่งในประเทศไทย เพื่อประจักษ์แก่สายตาของนักท่องเที่ยว และยังเป็นแลนมาร์คของเมืองกันตังที่เป็น ๑ ใน ๒๐ โบราณสถานที่ทุกคนต้องแวะมาชื่นชมสักครั้งหนึ่งของชีวิต ซึ่งสามารถสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวมิรู้ลืมและยังเป็นการอนุรักษ์สมบัติของชาติไว้ตราบนานเท่านาน ด้วยเหตุนี้สถานีรถไฟกันตังจึงกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต่างมาหาคำตอบในการท่องเที่ยวในรูปแบบสัมผัสวิถีชีวิตในการเรียนรู้วัฒนธรรมของสถานีรถไฟแห่งนี้ อีกทั้งในปัจจุบันภูมิหลังเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอำเภอกันตังได้ตกอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ๆ หลายแห่งด้วยกัน อาทิ เช่น วัดตรังคภูมิพุทธาวาส ควนตำหนักจันทร์ ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย และพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ซึ่งยังเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา มีเสน่ห์ และความสวยงามของมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ เช่น ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบสมัยก่อน จังหวัดตรังที่เปรียบเสมือนเอกลักษณ์และความเป็นมาของจังหวัดตรัง ซึ่งทุกสิ่งเหล่านี้สามารถแสดงให้เห็นถึงแผนที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดตรังในสายตาของนักท่องเที่ยว ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอกันตังถูกนำมารับใช้การท่องเที่ยวและถูกจัดให้อยู่ในโปรแกรมทัวร์เช่นเดียวกับสถานีรถไฟกันตัง

            ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารสถานีรถไฟกันตัง
           อาคารสถานีรถไฟกันตัง มีลักษณะแบบผสมผสานรูปแบบจากยุโรป เป็นอาคารสถานีรถไฟที่ได้รับการออกแบบโดยขาวต่างชาติ ในระยะเริ่มแรกของกิจการรถไฟไทย อาคารสถานีรถไฟได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกไทย เป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้  ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือมีการใช้โค้ง (Arch) ประดับประดาไม้ฉลุตามยอดจั่ว เชิงชายและค้ำยัน หลังคาแบบผสมระหว่างจั่วและปั้นหยา โดยมีความลาดประมาณ ๓๐ องศา วัสดุมุงหลังคาเดิมเป็นกระเบื้องว่าว ประตู และหน้าต่างเป็นบานไม้ ซึ่งอาคารสถานีรถไฟรูปแบบนี้ถูกสร้างขึ้นมากที่สุดในประเทศ กระจายตัวอยู่บนเส้นทางรถไฟทุกสาย รูปแบบและขนาดแตกต่างกันตามประโยชน์ใช้สอยและแนวคิดของผู้ออกแบบ ผังพื้นอาคารสถานีรถไฟกันตัง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาววางขนานไปกับทางรถไฟ ผังพื้นอาคารแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนสถานี และส่วนชานชาลา แต่ละส่วนมีหลังคาคลุมของตนเอง โดยส่วนสถานีเป็นหลังคาปั้นหยาผสมหลังคาจั่ว ช่วงกลางด้านหันหน้าออกถนนมีมุขโถงยื่น หลังคาจั่ว หน้าบันประดับวงกลมขนาบด้วยสามเหลี่ยมฐานโค้ง ๒ ข้าง และส่วนชานชาลาเป็นหลังคาจั่ว ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องชีเมนต์รูปว่าว ผังฟื้นส่วนสถานีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาว
กว้าง ๑ ช่วงเสา ยาว ๕ ช่วงเสา ประกอบด้วยห้องริมซ้ายสุดเป็นโถงพักคอยของผู้โดยสาร ช่วงถัดมาแบ่งเป็น ๒ ห้องเล็ก เป็นห้องทำงานนายสถานี ๑ ห้อง และห้องประชุม ๑ ห้อง ช่วงกลางอาคารเป็นโถงทางเข้า ช่วงถัดมาเป็นห้องเก็บของ ๑ ห้องเล็ก และห้องขายตั๋ว ช่วงริมขวาสุดเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับกิจการรถไฟไทย ส่วนผังพื้นชานซาลาเป็นลานโล่งขนานไปกับตัวสถานี ประตูและหน้าต่างของอาคารเป็นบานลูกไม้ เหนือบานประตูและหน้าต่างเป็นเกล็ดไม้ระบายอากาศ มีการเซาะร่องและตกแต่งคิ้วบัวรอบเสา ข้างเสามีการใส่ค้ำยันโค้งตกแต่งเชิงเป็นรูปคิ้วบัว และค้ำยันที่ประกอบช่องประตูมีการตกแต่งคล้ายซุ้มประตู ประดับลายฉลุไม้คงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖  เป็นรูปแบบที่ยืนยงมาจนวันนี้ ล้วนยืนยันถึงประวัติศาสตร์สำคัญของกันตัง ซึ่งเป็นผลทำให้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดตรังจากกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ง วันที่ ๑๘ ธ.ค. พ.ศ. ๒๕๓๙  
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารสถานีรถไฟแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของรูปแบบ วัสดุ วิธีการก่อสร้าง แนวคิดของผู้ออกแบบและสภาพเศรษฐกิจสังคมของประเทศในแต่ละช่วงเวลา อาคารสถานีรถไฟหลายแห่งได้รับการสำรวจบันทึกระบุคุณค่าความสำคัญในฐานะมรดกของชาติในการปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟและพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ โดยพิจารณาจากคุณค่าทางด้านศิลปกรรม คุณค่าทางประวัติศาสตร์ และคุณค่ทางสถาปัตยกรรม โดยได้รับการดูแล รักษาปรับปรุง และฟื้นฟูเป็นอย่างดีจากการรถไฟแห่งประเทศไทยและกรมศิลปากร 

             ลักษณะเด่นของสถานีรถไฟกันตัง
         สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร  ตัวสถานีรถไฟกันตังเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น ๑ ส่วน คือ ส่วนตัวอาคารและชานชาลา ด้านหน้าของอาคารมีมุขยื่น มีการตกแต่งประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุคงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรแล้ว ส่วนตัวอาคารที่ทำเป็นห้องมีผนังไม้ตีตามตั้งโชว์แนวเคร่า พร้อมช่องลมระแนงไม้ตีทแยง บานประตูหน้าต่างไม้แบบเก่า ส่วนที่เป็นโถงมีรั้วลูกกรงไม้พร้อมบานประตูขนาดเล็กกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ส่วนด้านหลังอาคารเป็นชานชาลามีหลังคาจั่วคลุมแยกต่างหากโดยเสารับหลังคาชานชาลานี้มีค้ำยันไม้ฉลุตกแต่งให้กลมกลืนกับตัวอาคาร ภายในสถานียังมีของใช้ในอดีตคงเหลืออยู่ โดยภาพรวมแล้ว สถานียังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ ไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นผลทำให้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดตรัง โดยกรมศิลปากรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ นอกจากตัวสถานีแล้วพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟแห่งนี้ในอดีตเคยมีโรงเก็บรถจักร และบ้านพักพนักงานการรถไฟแต่ปัจจุบันก็ไม่มีการใช้งานแล้ว ภายในสถานียังมีข้าวของเครื่องใช้ในอดีดคงเหลืออยู่ โดยภาพรวมแล้วยังรักษาสภาพดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้าง คงเอกลักษณ์เดิมไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันพื้นที่ผ่านสถานีรถไฟยังปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งที่เป็นวัตถุและสิ่งก่อสร้างที่ช่วยบอกเล่าความเป็นมาอันเก่าแก่ของสถานีรถไฟกันตัง อย่างไรก็ดีสถาปัตยกรรมในรูปแบบนี้ได้กลายมาเป็นสถานีรถไฟที่มีคุณค่า 
สถานีรถไฟกันตังเปรียบเป็นเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ที่อยู่คู่ชาวบ้านกันตังมาอย่างช้านาน โดยผู้คนต่างพากันให้คุณค่าและความหมายแก่สถานีรถไฟกันตังในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๕๕๓ ว่าในระยะแรกมีการก่อสร้างท่าเรือกันตังให้พร้อมที่จะรองรับทางรถฟสายใต้ ที่มาสุดสายที่สถานีกันตังเพียงแห่งเดียวของฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อความเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นทำให้เส้นทางรถไฟสายทุ่งสง-กันตัง มีบทบาทในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารไปยังจุดหมายปลายทาง ทำให้มีการหลั่งไหลของผู้คนและวัฒนธรรมเข้ามายังพื้นที่ แต่เมื่อความเจริญของยุคโลกาภิวัตน์เข้ามาแทนที่ทำให้การเดินทางและขนส่งสินค้าด้วยรถไฟได้ลดบทบาทลง เหลือเพียงเที่ยวขบวนรถไฟสายกรุงเทพฯ-กันตัง ที่วิ่งวันละรอบเดียวเท่านั้น จะเห็นได้ว่าบทบาทของสถานีรถไฟกันตังในยุคสมัยอดีตเป็นศูนย์กลางทางการค้และการเดินทางที่มีชื่อเสียงทางฝั่งทะเลตะวันตกที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เป็นสถานีรถไฟที่มีคุณค่าและความหมายต่อความทรงจำของคนในชุมชนที่ไม่ว่าจะถูกลดบทบาทไปจากเดิมอย่างไรก็มิอาจถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของคนในชุมชน วิถีชีวิตของชาวบ้านที่ใช้รถไฟในการขนส่งสินค้าและติดต่อเดินทาง การเข้ามาค้าขายบริเวณสถานีรถไฟกันตังยังคงมีให้เห็นและสัมผัสอยู่ทุกวันโดยผู้คนยังคงให้คุณค่าและความหมายเดิมแก่สถานีรถไฟกันตัง เพียงแต่ถูกเพิ่มคุณค่าและความหมายใหม่ให้เป็นพื้นที่ที่รับใช้การท่องเที่ยวด้วยกันตังเป็นเมืองท่าทองของไทยในยุคก่อน จากหลักฐานบริเวณพื้นที่ย่านสถานีรถไฟกันตัง ยังคงทิ้งร่องรอยหลักฐานไว้ให้เยาวชนได้ศึกษาและเรียนรู้ และให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาชื่นชม โดยมีหอถังบ่อน้ำรถไฟซึ่งในอดีตรถฟเคลื่อนที่โดยใช้หัวรถจักรแบบไอน้ำทำให้บริเวณสถานีจะต้องมีหอถังและบ่อน้ำรถไฟไว้รองรับ แต่ปัจจุบันรถฟเป็นแบบหัวรถจักรแบบดีเซล ทำให้บ่อน้ำรถฟไม่ใด้ใช้งานเช่นเดียวกับที่กลับหัวรถจักรในสมัยอดีตตั้งอยู่ทางด้านหลังของห้องสมุดรถไฟ โดยมีรถไฟไทยในสมัยอดีตเป็นหัวรถจักรแบบไอน้ำ ตั้งอยู่บนที่กลับหัวรถจักรเพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงว่าครั้งหนึ่งสถานีรถไฟกันตังในอดีตเคยใช้รถไฟหัวรถจักรแบบไอน้ำในการขับเคลื่อนลำเสียงผู้คนแลพสินค้าต่าง ๆ ในยุคนั้นทำให้ผู้มาเยือนได้เข้าใจและสะท้อนภาพวันวานได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งบริเวณนี้มีสนามเด็กเล่นในยามเย็นเด็ก ๆ และผู้คนจะมาทำกิจกรรมกันในบริเวณนี้ ข้างก็มาออกกำลังกาย บ้างก็มานั่งพบปะพูดคุย สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนอีกทั้งบ้านพักนายสถานีรถไฟกันตังก่อนและหลังการปรับปรุง ตั้งอยู่ตรงกันข้ามประจันหน้ากับหน้ามุขสถานีรถไฟกันตัง ก่อนการปรับปรุงมีสภาพทรุดโทรม แต่ยังคงเอกลักษณ์รถไฟไทย คือสีและไม้ระแนงประดับหน้าจั่ว เป็นแบบมาตรฐานที่เหมือนกันทุกแห่งแต่อาจแตกต่างกันในด้านของขนาดระหว่างสถานีเล็กกับสถานีใหญ่


ความสำคัญ

               สถานีรถไฟกันตัง เนื่องจากสถานีรถไฟกันตังเป็นพื้นที่หลักหรือพื้นที่เศรษฐกิจที่สร้างความเจริญให้อำเภอกันตังอย่างมากในอดีต จนถึงปัจจุบันที่สถานีรถไฟกันตังได้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และมีอัตลักษณ์ชัดเจน ก็คือการเป็นสถานีรถไฟสายแรกและสายเดียวทางฝั่งอันดามันแห่งเดียวของไทย ที่มีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับท่เรือกันตังโดยมีบทบาทในการขับเคลื่อนให้กันตังเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในอดีต เรื่องราวภูมิหลังประวัติศาสตร์ที่น่าคันหานี้ทำให้สร้างจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวที่สถานีรถไฟกันตัง ซึ่งให้บรรยากาศย้อนยุคด้วยของเก่าไว้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ดำรงชีพด้วยการค้าขาย ตลอดจนพื้นที่ย่านสถานีรถไฟกันตัง ยังมีร้านสถานีรักและห้องสมุดรถไฟที่คอยให้บริการแก่นักท่องเที่ยวโดยทำให้ฟื้นที่ย่านสถานีรถไฟกันตังมีความหลากหลายทางการท่องเที่ยว และเป็นพื้นที่ที่มีเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างเลือกพื้นที่ผ่านสถานีรถไฟกันตังเป็นสตูติโอถ่ายภาพในโอกาสและวันสำคัญต่าง ๆ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนอกจากสถานีรถไฟกันตัง จะได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวในการเข้ามาถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์มาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่งผลให้สถานีรถไฟกันตังถูกทำให้กลายเป็นสินค้าในกระแสการท่องเที่ยว ห้องสมุดรถไฟเมื่อมองมายังฝั่งตรงข้ามของสถานีรถไฟกันตัง จะสังเกตเห็นโบกี้รถไฟเก่าตั้งตระหง่านเป็นแนวขนานยาวสามโบกี้ด้วยกัน ด้วยความสวยงามของโบกี้รถไฟและมีเก้าอี้ไม้แสนคลาสสิคไว้ให้นั่งเล่น ทำให้อดใจไม่ได้ที่จะเดินข้ามไปเพื่อสำรวจบริเวณโดยรอบ เมื่อเข้าไปในห้องสมุดแล้วผู้ที่เข้ามาใช้บริการจะต้องลงชื่อและวันที่ได้เข้ามาใช้บริการ ซึ่งมีผู้เข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนที่น่าพอใจเลยทีเดียว ห้องสมุดรถไฟถูกสร้างขึ้นโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยและเทศบาลเมืองกันตังได้ จัดตั้ง "โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ ที่ดินย่านสถานีรถไฟกันตัง" เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อให้เกิดศักยภาพด้านการท่องเที่ยว รองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวภายในจังหวัดตรัง ได้มีสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวนอกฤดูกาลหรือการท่องเที่ยวทางทะเล เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมต่อการพัฒนาให้สามารถเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่มีภาพลักษณ์โดตเด่นและมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองกันตัง รวมทั้งช่วยประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ความเป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง และเมืองกันตังว่ามีความหลากหลายในการท่องเที่ยวโดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ดังกล่าว ทำให้เกิด "โครงการห้องสมุดรถไฟ" ช่วยดึงดูดใจให้กลุ่มผู้ใช้และเยาวชนที่สนใจจะเข้ามาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ และหาข้อมูลทางการศึกษาโครงการนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ ในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมซนท้องถิ่นให้สามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวสาธารณะ เพื่อใช้ประโยซน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการนันทนาการช่วยเพิ่มพื้นที่สร้างออกชิเจนให้กับชุมชนเมือง เพิ่มพื้นที่ออกกำลังกายให้ประซาชนซึ่งส่งผลทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นและส่งเสริมภูมิทัศน์ที่สวยงามให้แก่ตัวโบราณสถานอาคารสถานีรถไฟ ช่วยทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองกันตังมีความสวยงามน่าอยู่อาศัย ทางเทศบาลเมืองกันตังจึงเห็นความจำเป็นจะต้องมีโครงการเพื่อพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ที่ดินในย่านบริเวณดังกล่าว ห้องสมุดในโบกี้รถฟ ถูกพัฒนามาจากโบกี้รถไฟเก่าเหมือนกับหลาย ๆ สถานีรถไฟชื่อดังภายในมีหนังสือร่วมสมัยมากมาย ทั้งหนังสือยุคใหม่ และหนังสือแฟชั่นยุคเก่า  มีสมุดบันทึกการเข้าเยี่ยมขม และบรรณารักษ์ที่คอยให้บริการ ต้อนรับผู้เข้าใช้บริการทุกคน โดยเปิดทำการทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. หยุดทุกวันจันทร์ โดยโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์แก่ชาวเมืองกันตังสืบต่อไป ซึ่งทำให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเหมาะแก่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งประกอบไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายและมีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเองส่งผลให้ชุมชนจากเดิมที่ไม่คึกคักอย่างเช่นในอดีตเปลี่ยนไปสู่ชุมชนที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มเข้ามามากขึ้น อีกทั้งยังเป็นจุดรวมกลุ่มของเยาวชนและขาวบ้านเมืองกันตังอีกด้วย


ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=vD1q7tfhQHY


ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
สถานีรถไฟกันตัง
ที่อยู่
ถนนสายสถานี ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
จังหวัด
ตรัง


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. (2550). การจําแนกเขตเพื่อการจดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี,
อนงค์นาถ รัตติโชติ. (2558). สถานีรถไฟกันตัง : สถานีรถไฟสายประวัติศาสตร์สู่การกลายเป็นสินค้าในกระแสการท่องเที่ยว. สงขลา : 
            วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024