ตรัง (Trang)
 
Back    08/09/2021, 15:56    5,359  

หมวดหมู่

จังหวัด


ประวัติความเป็นมา

 

ค่าขวัญจังหวัดตรัง
เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกําเนิดยางพารา 
เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ําตกสวยตระการตา

             จังหวัดตรังเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคใต้มีพื้นที่ติดทะเลอันดามันในมหาสมุทรอินเดีย เป็นจังหวัดหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกตั้งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตรังเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน แต่เนื่องจากตรังไม่ได้เป็นเมืองที่เกิดศึกสงครามจึงไม่ค่อยมีชื่อในประวัติศาสตร์เท่าใดนัก แต่ความเป็นจริงตรังเป็นชุมชนที่มีผู้คนอาศัยมานานแล้ว จากหลักฐานที่อ้างอิงได้นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมา สามารถแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ของจังหวัดตรังได้ดังนี้ 

 ๑) ชุมชนตรังยุคก่อนประวัติศาสตร์
     จากการสํารวจของนักโบราณคดี แสดงให้เห็นว่าตรังในยุคก่อนประวัติศาสตร์ภาคใต้นั้นมีการตั้ง ชุมชนเป็นหลักแหล่งกันแล้ว มีร่องรอยการดําเนินชีวิตอย่างเด่นชัด เช่น จากการศึกษาของ ดร. สุรินทร์ ภู่ขจร และคณะ เกี่ยวกับถ้ําซาไก ตําบลปะเหลียน ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะซึ่งใช้กันในยุคหินเก่า มีจํานวนถึง ๑๐๒ ชิ้น เครื่องมือสะเก็ดหิน จํานวน ๗๒๑ ชิ้น สะเก็ดหินอีก ๓๖๗ ชิ้น รวมทั้งโครงกระดูกมนุษย์อายุราว ๖,๐๐๐ ถึง ๘,๐๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบขวานหินขัดที่กระจัดกระจายในหลายท้องที่ หม้อสามขาและชิ้นส่วนภาชนะดินเผาทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบพบในถ้ําหลายแห่ง เช่น ถ้ําหน้าเขา อําเภอนาโยง ถ้ําเขาไม้แก้ว อําเภอสิเกา ถ้ําเขาหญ้าระ อําเภอปะเหลียน ถ้ําหมูดินและเขาหลักจั่น ตําบลปากแจ่ม อําเภอห้วยยอด รวมทั้ง มีศิลปะ เกิดขึ้น ได้แก่ ภาพเขียนสีตามผนังถ้ํา เช่น ในถ้ําตรา ตําบลปากแจ่ม มีดวงตราเป็นรูปวงกลม ปัจจุบันลบเลือนไปมากแล้ว ส่วนที่ถ้ําเขาน้ําพรายซึ่งอยู่ใกล้กันมีภาพเขียนสีแดงระบายสีทึบเรียงต่อกัน ที่เขาแบนะ หาดฉางหลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม มีภาพเขียนสีแดงรูปปลา หลักฐานเหล่านี้แสดงว่ามีชุมชนเกิดขึ้นแล้วในท้องที่ตรังตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลาย และมีพัฒนาการเรื่อยมาจนเข้าสู่ยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์
๒) ชุมชนตรังยุคอาณาจักรโบราณในภาคใต้
   การศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตรัง ไม่อาจละเลยเรื่องราวของอาณาจักรโบราณในภาคใต้ ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ที่กําหนดนับการบันทึกเรื่องราวด้วยตัวอักษรเป็นจุดเริ่มต้น ไปจนถึงก่อนการเริ่มประวัติศาสตร์ชาติไทยที่มีสุโขทัยเป็นราชธานี ทั้งนี้อยู่ในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕-๑๘ ชุมชนในคาบสมุทรภาคใต้มีการติดต่อกับต่างแดนมาช้านาน โดยเฉพาะกับอินเดียมีร่องรอยอารยธรรมจากทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ปรากฏให้เห็นเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ จารึก เอกสารและมุขปาฐะ อยู่ทางด้านฝั่งทะเลตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางฝั่งทะเลตะวันตกมีแหล่งโบราณคดีใหญ่ที่สุดอยู่ในบริเวณ อําเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา นอกจากนั้นก็มีควนลูกปัดที่อําเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในจังหวัดตรังมีโบราณวัตถุตามถ้ําในภูเขาใกล้แม่น้ําตรังบริเวณอําเภอห้วยยอด ทั้งสามจุดนี้คือปากประตูของเส้นทางข้ามคาบสมุทร ไปสู่ศูนย์กลางความเจริญทางฝั่งตะวันออก ในพื้นที่จังหวัดตรัง มีแม่น้ําตรังที่สามารถเดินทางข้ามไปออกแม่น้ําตาปี ไปนครศรีธรรมราชและไปพัทลุงได้ นอกจากนี้ยังมีแม่น้ําปะเหลียนที่เป็นต้นทางเข้าสู่บ้านตระหรือช่องเขาตอนอื่น ๆ ข้ามไปยังพัทลุงได้เช่นกัน มีผู้สันนิษฐานว่าเมืองตรังเป็นที่ตั้งของเมืองศูนย์กลางการค้าฝั่งทะเลตะวันตกชื่อเมืองตะโกลา แต่อีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่าตะโกลาน่าจะอยู่บริเวณเมืองตะกั่วป่าใน จังหวัดพังงา โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีประกอบเอกสารชาติตะวันตกมีหนังสือภูมิศาสตร์ของคลอดิอุส ปโต เลมี เขียนตามคําบอกเล่าของพ่อค้าชื่ออเล็กซานเดอร์ เขียนขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๖๙๓ หรือ ๗๐๘ ที่บรรยายถึงชื่อเมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรทองรวมทั้งเมือง Takola อยู่ในดินแดน Chryse Chersonesos หรือสุวรรณทวีป เอกสารของอินเดียมีคัมภีร์มหานิทเทสกล่าวถึงดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งตักโกลา ตะมาลี สุวรรณภูมิ ส่วนในคัมภีร์มิลินทปัญหา พ.ศ. ๙๗๓ ปรากฏชื่อตักโกลา สุวรรณภูมิ และในศิลาจารึกเมืองต้นซอร์ ของพระเจ้าราเชนทร์โจฬะที่ ๑ จารึกเมื่อปี พ.ศ. ๑๕๗๓-๑๕๗๕ มีชื่อเมืองตไลต ตกโกล อยู่ด้วย ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม ผู้มีความเห็นว่าตะโกลาอยู่ทีตรัง กล่าวอ้างอิง ดร.เอช.จี.ควอริชท เวลส์ สํารวจบริเวณเมืองตะกั่วป่าปัจจุบัน และทางข้ามคาบสมุทรที่ผ่านเขาสกแล้วมีความเห็นว่า... “ไม่เหมาะจะ เป็นเมืองท่าเรือขนถ่ายสินค้าข้ามแหลม” ศาสตราจารย์มานิตเองก็เห็นว่าตะโกลาอยู่ที่เมืองตรัง "ยุคที่ 1 เหนือ เขาปินะขึ้นไประยะหนึ่ง ริมแม่น้ําฝั่งตะวันออก มีปากคลองกะปาง ตรงข้ามคลองกะปาง เป็นบ้านหูหนาน เป็นที่ตั้งเมืองตรังครั้งแรกเรียกชื่อตามพื้นบ้านว่ากรุงธานี บริเวณนี้ถูกเกลื่อนทําเป็นสวนยางพาราเสียหมดแล้ว"... จากนั้นก็วิเคราะห์ถึงแม่น้ําในหนังสือปโตเลมีว่าแม่น้ําไครโลนาสคือแม่น้ําตรัง แม่น้ําอัตตาบาห์คือแม่น้ําตาปี แม่น้ําปะลันดาคือคลองโอ๊ก และคลองมีนซึ่งเชื่อมระหว่างแม่น้ําไครโลนาสกับแม่น้ําอัตตาบาส์ ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐ นักภูมิศาสตร์เชื้อสายเจ้าเมืองตรังคนหนึ่งกล่าวว่า ตามลักษณะภูมิศาสตร์การเดินเรือในเขตมรสุม ถ้าจะเดินทางจากลังกาหรืออินเดียตอนใต้มายังสุวรรณภูมิ เมื่อตั้งหางเสือของเรือแล้วแล่นตัดตรงมาอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะนําเรือเข้าฝั่งแหลมทองบริเวณละติจูดที่ ๗ องศาเหนือตรงกับจังหวัดตรังพอดี หลักฐานจากศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย ตําบลควนเกย อําเภอร่อนพิบูล จังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าหน้าที่กรม ศิลปากรได้สํารวจและอ่านไว้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๓ เนื้อความเป็นบทบูชาพระศิวะจารึกด้วยอักษรอินเดียใต้เป็นภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ จารึกนี้แสดงว่ามีกลุ่มคนผู้บูชาพระศิวะ ซึ่งเป็นความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ใช้เส้นทางแม่น้ําตรังแยกเข้าทางคลองกะปาง ผ่านบ้านถ้ําพระเข้าสู่หุบเขาช่องแคบเพื่อติดต่อกับนครศรีธรรมราช หลักฐานศาสนสถานและโบราณวัตถุ ได้แก่วัดเก่าซึ่งเป็นวัดใหญ่ถึงสามวัดอยู่ใกล้กันในอําเภอห้วยยอด และอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ําตรัง คือวัดคีรีวิหาร วัดหูแกง วัดย่านเกลื่อน โดยเฉพาะวัดย่านเกลื่อนเป็นวัดร้าง มีวัดนอกและวัดใน อาณาเขตติดแม่น้ําตรัง เคยมีผู้ขุดพบพระทองคําและมีหลักศิลาปักแสดงแนวเขตอุโบสถทั้งสี่ทิศ ทั้งมีใบเสมาและเสาหงส์ วัดคีรีวิหารมีพระบรรทมและพระพุทธรูปโบราณในถ้ําและพบพระพิมพ์ดินดิบที่เรียกกันว่าพระผีทําด้วย วัดหูแกงมีพระพุทธรูปในถ้ําแต่ถูกทําลายไปแล้ว เหลือแต่อิฐและเสาหงส์ปรากฏอยู่ ที่เขาสายใกล้วัดหูแกงและที่เขาขาวก็มีพระพิมพ์เช่นกัน พระพิมพ์ที่พบมีหลายลักษณะดังที่สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบันทึกไว้เมื่อคราวเสด็จฯ ตรวจราชการแหลมมลายู พ.ศ. ๒๔๔๕ ว่าที่ถ้ําวัดคีรีวิหารมีรูปภาพพิมพ์บนดินดิบวางซ้อนทับไว้กับพื้นมาก ที่เลือกพบมีสามอย่างด้วยกัน เป็นรูปลูกไข่อย่างหนึ่งมีรูปพระสี่กรอยู่กลาง มีเทวดาล้อม ๔ ตน เป็นรูปกลีบบัวอย่างหนึ่ง มีรูปพระสี่กรองค์ เดียวใหญ่ รูปแผ่นอิฐอย่างหนึ่ง มีรูปพระสองกรอยู่กลาง (ที่พุทธรูป) มีสาวกฤาเทวดาสองข้าง อย่างรูปไข่มีมาก อย่างกลีบบัวมีน้อย อย่างแผ่นอิฐได้อันเดียวที่ถ้ําเขาสาย รวมเทวรูปที่ได้มีถึง ๖ ชนิด ลักษณะของพระพิมพ์ข้างต้นเหมือนกับที่พบในชุมชนโบราณอื่น ๆ ทางภาคใต้ ซึ่งมี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ นับเป็นหลักฐานร่วมสมัยศรีวิชัย แสดงถึงการเข้ามาของพุทธศาสนานิกาย มหายาน และอาจมีบางลักษณะที่ต่อเนื่องมาจนถึงยุคหลัง หลักฐานดังกล่าวในท้องที่จังหวัดตรังย่อมแสดงว่าเมื่อกลุ่มคนเหล่านั้นเดินทางเข้ามาคงจะได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความเชื่อแก่ชุมชนตามที่ราบลุ่มแม่น้ําตรังจนปรากฏหลักฐานโบราณวัตถุเหลือให้เห็นอยู่ หลักฐานวัดเก่าไม่แน่ชัดว่าจะเก่าแก่มาแต่เดิมหรือไม่ ส่วนเสาหงส์นั้นอาจจะเข้ามาได้ถึง ๒ กรณี คือหนึ่งคือมาตามคติพราหมณ์ อีกกรณีหนึ่งคือเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ พม่าตั้งให้พระมหาธรรมราชา ปกครองกรุงศรีอยุธยา ได้มีท้องตราบังคับไว้ ๓ ข้อ คือให้พระสงฆ์ห่มจีวรแบบมอญ ให้หญิงไทยไว้มวยและให้ วัดปักเสาหงส์ไว้ทุกวัด เสาหงส์ตามวัดในภาคใต้จะมาครั้งนั้นหรือไม่ยังไม่ชัดเจน หลักฐานมุขปาฐะซึ่งบันทึกเป็นเอกสารในภายหลัง ได้แก่ ตํานานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึงการทําศึกแย่งพระทันตธาตุในอินเดีย เป็นเหตุให้พระธนกุมารและนางเหมชาลาโอรสธิดาของกษัตริย์แห่งเมืองนนทบุรีต้องนําพระทันตธาตุ ลงเรือหนีไปลังกาแต่ถูกพายุพัดเรือแตกเสียก่อน ต่อมาคลื่นซัดขึ้นฝั่งและได้รับความช่วยเหลือเดินบกจนถึงหาดทรายแก้ว ฝังพระทันตธาตุไว้ที่หาดทรายแก้วแล้วเกิดเหตุอัศจรรย์ให้พระมหาเถรพรหมเทพเข้ามาพบเข้า พระมหาเถรทํานายว่าผู้มีบุญจะมาสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้วแห่งนี้และช่วยเหลือให้ทั้งสองนําพระทันธาตุ เดินทางลงเรือไปลังกาได้สําเร็จ ต่อมาท้าวศรีธรรมาโศกราชได้มาสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้ว สถานที่เคยฝังพระทันตธาตุไว้เป็นเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น แล้วตั้งหัวเมืองบริวารทั้งหลายเป็นเมือง ๑๒ นักษัตร กําหนดตราประจําเมือง ไว้ หลังจากนั้น ก็มีกษัตริย์ต่อมาจนถึงท้าวศรีธรรมาโศกราชจากเมืองอินทปัตย์บูรณะพระเจดีย์ครั้งหนึ่ง พอล่วงมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีการบูรณะพระเจดีย์ครั้งใหญ่อีก ในครั้งนี้ตํานานกล่าวถึงการมอบหน้าที่ให้พระสงฆ์ เจ้าเมือง และชาวเมือง เช่น ในการทําพระระเบียงกําหนดให้ขุนแปดสระเจ้าเมืองตรัง ๕ ห้อง ส่วนการทํากําแพงรอบพระระเบียงนั้นด้านอุดรไป ได้แก่ขุนแปดส้นเจ้าเมืองตรัง ๘ วา (ชื่อเจ้าเมืองตรังที่ต่างกัน อาจเป็นเพราะความผิดพลาดจากการเขียนเดิม) ศิลาจากตึกเมืองตันซอร์ ของพระเจ้าราเชนทร์โจฬะที่ ๑ จารึกเมื่อปี พ.ศ. ๑๕๗๓-๑๕๗๔ กล่าวถึงพวกโจฬะยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ในแหลมมลายูได้ไว้ในอํานาจ ได้แก่ดินแดนศรีวิชัย ปัณโณ มะไลยูร์ มัทธมาสังคม หลังจากนั้นศรีวิชัยก็เสื่อมอํานาจลง นักโบราณคดีกล่าวว่ามัทธมาลิงคัมเป็นที่เดียวกับตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช จากหลักฐานศิลาจารึกที่ ๒๔ วัดเสมาเมือง กล่าวถึงกษัตริย์นามจันทรภาณุแห่งปทุมวงศ์ ผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์และมีบรมเดชานุภาพยิ่งใหญ่ จารึกเมื่อ พ.ศ. ๑๗๗๓ ชื่อกษัตริย์จันทรภาณุยังปรากฏในหนังสือลังกามหาวงศ์ ว่าพระองค์ได้ยกทัพไปรุกรานเกาะลังกาถึง ๒ ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. ๑๗๙๓ และ ๑๘๑๓ อีกครั้งหนึ่ง การยกทัพในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุระหว่างตามพรลิงค์กับลังกาไม่มีเส้นทางใดเหมาะสมกว่าแม่น้ําตรัง หลักฐานข้างต้นทั้งหมดแม้จะไม่ปรากฏชื่อเมืองตรังโดยตรง แต่จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่กล่าวมาแล้วสนับสนุนว่าตรังมีชุมชนเรียงรายอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ําตรังตลอดไปจนถึงชายเขา การเดินทางเข้าออกจากฝั่งทะเลตะวันตกผ่านทางแม่น้ําตรัง ซึ่งสมัยเมื่อพันปีก่อนคงจะกว้างใหญ่และลึกมาก ขนาดที่กองทัพเรือจากอินเดียและนครศรีฯ ต้องใช้เส้นทางนี้ ส่วนความเป็นเมืองของตรังเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อครั้งสถาปนาเมืองสิบสองนักษัตรในฐานะเมืองบริวารของนครศรีธรรมราช สถานะของเมืองตรังในยุคนี้จึงเป็นเมืองท่าปากประตูความสัมพันธ์ด้านการค้า การเมือง และศาสนา ระหว่างอินเดียไปจนถึงดินแดนตะวันตกกับอาณาจักรโบราณในภาคใต้ ทั้งศรีวิชัยและตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช
๓. ชุมชนตรังสมัยสุโขทัย
    
หากนับการเริ่มต้นของกรุงสุโขทัยตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ มีเอกสารในเชิงตํานานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสุโขทัยกับสิริธรรมนครหรือนครศรีธรรมราช คือในตํานานพระพุทธสิหิงค์จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า...ประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ พระเจ้าโรจนราชหรือพระเจ้าล่วงแห่งกรุงสุโขทัย ร่วมกับพระเจ้าสิริธรรมนคร ส่งสมณฑูตไปขอพระพุทธสิหิงค์ยังลังกาทวีป ตอนเดินทางกลับเกิดเรือแตก แต่มีพระยานาคราชมาช่วยไว้ ทําให้พระเจ้าสิริธรรมนครได้พระพุทธปฏิมากลับคืน แล้วพระเจ้าล่วงก็มารับพระพุทธสิหิงค์ไปสุโขทัย... เรื่องนี้สอดคล้องกับตํานานท้องถิ่นทั้งของเมืองตรังและเมืองพัทลุงที่กล่าวาถึงการนําพระพุทธสิหิงค์จากลังกามาซ่อนไว้ที่โคนต้นมะม่วงที่หมู่บ้านปากน้ําตรัง ก่อนทางนครศรีธรรมราชจะนําส่งให้สุโขทัย ส่วนตํานานเมืองพัทลุงก็กล่าวถึงนางเลือดขาวและพระกุมารผู้สร้างเมืองพัทลุง มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเดินทางเข้ามายังเมืองตรังเพื่อลงเรือไปยังลังกา ขากลับนางเลือดขาวและพระกุมารได้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ และพระบรรทมองค์หนึ่งไว้ที่เมืองตรังคือวัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์อยู่ในอําเภอนาโยงปัจจุบัน ส่วนพระบรรทมที่ว่านั้นมีตํานานเกี่ยวข้อง ๒ แห่ง คือพระบรรทมวัดถ้ําพระพุทธ ตําบลหนองบัว อําเภอรัษฎา หรือพระบรรทมวัดภูเขาทอง ตําบลน้ําผุด อําเภอเมืองตรัง องค์ใดองค์หนึ่ง ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคําแหงกล่าวว่า... สังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลัวกว่าปู่ ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่ศรีธรรมราชมา... ทั้งจารึกนี้รวมกับตํานานพื้นบ้านทางเหนือทางใต้ และท้องถิ่นตรัง ล้วนชี้ไปทางเดียวกันว่าการเดินทางของพุทธศาสนาจากลังกา จะมารวมศูนย์ที่นครศรีธรรมราชก่อนเข้าสู่สุโขทัย และดินแดนตรังยังทําหน้าที่เช่นเดิม คือเป็นเมืองท่าปากประตูของนครศรีธรรมราช 
๔. เมืองตรังในสมัยกรุงศรีอยุธยา
   
ก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาราชวงศ์อู่ทองซึ่งมีอํานาจอยู่ในบริเวณภาคกลาง เริ่ม ขยายอํานาจไปทั้งทางเหนือและทางใต้ ในตํานานกล่าวว่าท้าวศรีธรรมาโศกราชรบกับท้าวอู่ทอง ต่อมาได้สงบศึกกันที่บางสะพาน แสดงว่าเมื่อเริ่มตั้งกรุงศรีอยุธยานั้นนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองของอยุธยาแล้ว และชัดเจนยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระ บรมไตรโลกนาถ กฎมณเฑียรบาลระบุว่าเมือ งนครฯ เป็นเมืองหนึ่งใน ๘ เมืองพระยามหานคร ต้องถือน้ําพระพิพัฒน์สัตยาและเป็นตัวแทนราชธานีปกครองหัวเมืองอิสระในภาคใต้ทั้งหมด ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๐๕๔ เมื่ออัลบูแกรก (Afonso de Albuquerque)  ผู้สําเร็จราชการโปรตุเกสได้ยกทัพเรือมาจะตีมะละกา แต่เมื่อทราบว่ามะละกาเป็นเมืองขึ้นของไทยก็ได้ส่งผู้แทนไปทําสัมพันธไมตรีกับอยุธยาถึง ๒ ครั้ง  โดยครั้งที่ ๑  เ ดินทางผ่านท่าเรือเมืองตรัง   โ ดยให้ดูอาร์เตช เฟอร์นานเดซ (Duarte Fernandez) เข้ามาทางช่องแคบสิงคโปร์ผ่านอ่าวไทยเพื่อถวายสาสน์จากอัลบูแกร์กพร้อมกับของขวัญ การเดินท างกลับครั้งนี้ผ่านทา งท่าเรือเมืองตรัง เท่าที่พบหลักฐานถือได้ว่าคนกลุ่มนี้คือชาวตะวันตกชุดแรกที่เข้ามาในประเทศไทย ที่สําคัญคือคนชุดแรกนี้เดินทางผ่านท่าเรือเมืองตรัง ครั้งที่ ๒ ประมาณปี พ.ศ. ๒๐๕๖ อัลบูแกร์ก อาชเวโด (Antonio Miranda de Azevedo) และมานูเอล ฟราโกโซ (Manuel Fragoso) การเดินทางเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาจากมะละกามาขึ้นบกที่เมืองตรังอีกครั้งหนึ่ง แล้วเดินทางต่อไปยังนครศรีธรรมราชเพื่อลงเรือไปกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีกล่าวไว้ในหนังสือ The Suma Oriental ว่าหัวเมืองภาคใต้แยกเป็น ๒ ฝ่าย ได้แก่ ฝั่งตะวันออก มีพระยานครศรีธรรมราช อุปราชคนที่ ๒ ปกครองตั้งแต่เมืองปะทั้งขึ้นไปถึงอยุธยา ส่วนฝั่งตะวันตกซึ่งมีเมืองตะนาวศรี ตรั ง และไทรบุรี  อยู่ในอํานาจของขุนนางอีกผู้หนึ่ งชื่อพระยาสุโขทั ย
 ๕. เมืองตรังสมัยกรุงธนบุรี
     
เมื่อพระเจ้าตากสินได่้ปราบชุมนุมพิษณุโลกและพิมายได้แล้ว ก็ยกทัพมาตีนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ.  ๒๓๑๒ เจ้านคร (หนู) หนีไปถึงปัตตานี กองทัพกรุงธนบุรีตามจับได้เนื่องจากยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี จึงพระราชทานอภัยโทษโปรดให้เข้ารับราชการในกรุงธนบุรี แล้วทรงตั้งเจ้านราสุริยวงศ์พระเจ้าหลานเธอมาปกครองนครศรีธรรมราชในฐานะเจ้าประเทศราช ซึ่งได้ รวมหัวเมืองภาคใต้ทั้งหมด ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ เจ้านราสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านคร (หนู) กลับมาปกครองนครศรีธรรมราชอีกครั้ง  และยกเมืองขึ้นคือไชยา พัทลุง ถลาง ชุมพร ทั้งให้แยกเมืองสงขลามาขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรี หัวเมืองของนครศรีธรรมราชในครั้งนั้น จึงมีแต่เมืองตรังและเมืองท่าทองคู่กันในฐานะเป็นเมืองท่าฝั่งทะเลตะวันตกและฝั่งทะเลตะวันออก 
๖. เมืองตรังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 
    สมัยราชกาลที่ ๑ ตรังยังเป็นเมืองในกํากับของนครศรีธรรมราชมีผู้ว่าราชการเมืองตรัง คือพระยาตรัง (สีไหน) ผู้เป็นกวี  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๓๐ ได้ถูกเรียกตัวเข้า ไปที่ กรุงเทพฯ ( 
มี หลักฐานบอกเล่าเรื่องพระยาตรังผู้มีความสามารถทางกวีและมีภรรยาหลายคน เล่ากันว่าในช่วงที่พระยาตรังไม่อยู่ภรรยาคนที่ ๓ ถูกชายชู้พาตัวไป และได้เขียนบทกลอนท้าทายไว้ที่ประตูห้องว่า “เราไม่ดีเราไม่พานารีจร ข้ามห้วยสิงขร ชะง่อนผา" พระยาตรังกลับมาเห็นก็โกรธมากและเขียนกลอน ไปว่า “เราไม่เก่ง เราไม่พานารีจร จะเขียนพ่อให้มันยับลงกับหวาย" แล้วตามหาภรรยากับชายชู้จนพบนํามาเฆี่ยน ใช้ไม้ไผ่ตงทั้งลําคีบเป็นตับปลาย่างไฟจนตาย ขุดหลุมฝัง แล้วให้ช้างเหยียบที่บริเวณวัดควนธานี บาง กระแสเล่าว่า ฝังไว้ที่วัดพระงาม อาจเป็นไปได้ว่าพระยาตรังถูกเรียกตัวเข้ากรุงเทพฯ เพราะเหตุนี้) แล้วให้พระภักดีบริรักษ์มาว่าราชการแทน ต่อมา พระภักดีบริรักษ์ได้กราบบังคมทูลขอยกเอาเมืองตรังรวมกับเมืองภูรา ชื่อเมืองตรังภูรา ขณะนั้นมีโต๊ะปังกะหวาหรือพระเพชภักดีศรี-สมุทรสงคราม เป็นปลัดเมือง โต๊ะปังกะหวาได้เป็นพระยาลิบงว่าราชการเมืองต่อจากพระภักดีบริรักษ์ แล้วเกิดเป็นอริวิวาทกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) ในปี  พ.ศ. ๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองตรังไปขึ้นกับกรุงเทพฯ เมื่อพระยาลิบงถึงแก่กรรม หลวงฤทธิสงครามว่าราชการเมืองตรังต่อมา แต่ไม่สันทัดในการบริหารบ้านเมือง ทางราชธานีจึงยกเมืองตรังให้ขึ้นต่อสงขลา (สมัยนั้นตั้งเมืองอยู่ที่เกาะลิบงตั้งแต่สมัยโต๊ะยังกะหวา   ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ ทําเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช  กล่าวถึงหลวงอุไภยราชธานีเ ป็นผู้พยาบาลเมืองตรัง ถือศักดินา ๑,๖๐๐ แสดงว่าเมืองตรังเป็นเมืองสําคัญ เพราะเจ้าเมืองที่ถือศักดินามาก ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๕๕ ในทําเนียบกรมการเมืองตรังของเก่า กล่าวถึงการจัดระเบียบเมืองตรังอีกครั้ง มีชื่อพระอุไทยราชธานีเป็นผู้ว่าราชการเมือง แต่จะอยู่ใน ตําแหน่งกี่ปีไม่แน่ชัด พระอุไทยราชธานี  ผู้นี้มีหลักฐานคําบอกเล่าจากชาวบ้านว่าเป็นผู้สร้างศาลหลักเมืองตรังที่ตําบลควนธานี พร้อมๆ กันนี้ พระยานคร (น้อย) ก็จัดการเรื่องการค้าขายกับหัวเมืองมลายู และอินเดียผ่าน ทางท่าเรือกันตัง สินค้าสําคัญ มีช้างและดีบุก การเก็บภาษีที่สําคัญอีกทางหนึ่งได้จากรังนกและปลิงทะเล ในปี  พ.ศ. ๒๓๖๗ ผู้สําเร็จราชการอังกฤษที่เกาะปีนัง ได้ส่งร้อยโทเจมส์ โลว์ เป็นทูตเดินทางมาเพื่อเจรจาความเมืองกับพระยานคร (น้อย) แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปเมืองนครฯ ฝ่ายพระยานครฯ ก็ไม่ได้ออกมาพบเพียงแต่ส่งบุตรชาย (ซึ่งคงจะเป็นนายน้อยกลาง ภายหลังได้เป็นพระเสน่หามนตรี) ไปพบเจมส์ โลว์ ที่หมู่บ้านพระม่วงปากน้ําตรัง ระยะนี้เมืองตรังยังคงเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ สินค้าออกมี ข้าว ดีบุก งาช้าง รัง นก ฯลฯ ทั้งยังเป็นอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ มีคนประจําทํางานต่อเรืออยู่ถึง 1,000 คน พ.ศ. 2381 มีงานถวายพระเ พลิงศพพระสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชชนนี พันปีหลวงในรัชกาลที่ ๓ พระยาสงขลา เจ้าพระยานคร (น้อย) เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ตนกูมะหะหมัดสอด ตนกูมะหะหมัดอาเก็บ  หลานเจ้าพระยาไทรบุรีก่อกบฏ ยึดเมืองไทรบุรีได้เข้าแล้วที่ปัตตานี สงขลา และหัวเมืองแขกทั้งเจ็ด ทั้งให้หวั่นหมาดหลีสลัดแขกที่เกาะยาว เข้ามาตีเมืองตรังด้วย ขณะนั้นมีพระสงครามวิชิตเป็นผู้ว่าราชการเมือง ปรากฏว่าสู้พวกโจรสลัดไม่ได้ หนีแตกมาพร้อมกับคนทุกคนไปแจ้งข่าวแก่เมืองนครฯ พระสงครามวิชิตผู้นี้ชื่อม่วง เป็นบุตรเจ้าพระยานคร (น้อย) ภายหลังคงจะได้เป็นพระอุไทยธานีปกครองเมืองตรังต่อมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นตรังอยู่ในฐานะเมืองท่าค้าขายของนครศรีธรรมราช ไม่ได้เป็นเมืองอิสระเ พราะผู้ทําการค้าและเก็บภา ษีคือเมืองนครศรีธรรมราช ยกเว้นครั้งที่พระยาลิบงเป็นผู้ว่าราชการเมืองเท่านั้นที่ตรังได้เป็นอิสระปกครองตนเอง สามารถจัดการผลประโยชน์ทางการค้าส่งภาษีตรงต่อกรุงเทพฯ ได้เอง อีกฐานะหนึ่งของตรังคือเป็นเมืองหน้าด่านที่เป็นแหล่งรวมกําลังกองทัพเรือไว้ป้องกันศัตรูอันได้แก่พม่า และคอยกําราบหัวเมืองมลายูที่มักจะเอาใจออกห่างอยู่เสมอ
๗ . เมืองตรังสมัยการปกครองหัวเมืองฝั่งตะวันตกและมณฑลภูเก็ต 
  สมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ห้ว มีเหตุการณ์กรรมกรจีนก่อความไม่สงบในหัวเมืองฝั่งตะวันตกอยู่เนือง ๆ ประกอ บกับหัวเมืองเหล่านี้มีผลประโยชน์มากแต่เก็บภาษีได้ไม่เต็มที่ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ รัฐบาลจึงตั้งข้าหลวงมาประจํากํากับราชการและจัดเก็บภาษีอากร  ข้าหลวงคนแรกคือเจ้าหมื่นเสมอใจราช (ชื่น บุนนาค ต่อมาได้เป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์ ปี พ.ศ. ๒๔๑๙ กรรมกรจีนก่อเหตุจลาจลครั้งใหญ่ในภูเก็ต ทางการต้องใช้กองกําลังจากกรุงเทพฯ และเมืองใกล้เคียงมาช่วยปราบปราม จากเหตุการณ์จลาจลทําให้จําเป็นต้องมีเมืองศูนย์กลางของข้าหลวงใหญ่อีกแห่งหนึ่ง หากมีปัญหาจะได้ระดมกําลังจากหัวเมืองต่าง ๆ ไปช่วยได้ทันท่วงที เมืองตรังซึ่งเดิมขึ้นกับนครฯ จึงถูกจัดให้เป็นศูนย์กลางกํากับราชการของข้าหลวงฝ่ายตะวันตกตั้งแต่นั้นมา ปี 
พ.ศ. ๒๔๒๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อดีตผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน ออกมาตรวจราชการหัวเมืองฝั่งตะวันตก เห็นสภาพเมืองตรังเหมาะแก่การเพาะปลูกและค้าขาย จึงคิดปรับปรุงเมืองตรัง ให้เจริญรุ่งเรืองจะได้เป็นเกียรติประวัติแก่ชีวิตและวงศ์ตระกูลสืบไป การสร้างเมืองครั้งนี้มีผลต่อระบบการปกครองเมืองตรังโดยตรง เ พราะเมืองตรังพ้นจากการกํากับของนครศรีธรรมราชไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีการกําหนดเขตแดนและแยกเก็บภาษีอากรเป็นของตรังโดยเฉพาะ ในระยะแรกสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เน้นการก่อสร้างสถานที่ราชการ โดยเฉพาะตึกศาลารัฐบาล (Government House) ที่มีขนาดใหญ่โตมาก (ปัจจุบันยังมีซากอิฐเหลืออยู่) ทําให้เงินภาษีอากรที่ได้รับไม่เพียงพอ ต้องยืมจากหัวเมืองใกล้เคียงมาสมทบ ต่อมาจึงวางแนวทางส่งเสริมเมืองตรังให้เป็นเมืองท่าค้าขายขึ้นก่อนเพื่อจะได้ทุนสํารองไว้ใช้จ่าย โดยให้พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการเมืองระนองมารักษาการในตําแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตรังอีกตําแหน่งหนึ่ง การส่งเสริมเมืองตรังให้เป็นเมืองท่าค้าขาย มีหลักฐานบอกเล่าว่า พระยารัตนเศรษฐีได้ส่งเสริมการปลูกอ้อยและทําโรงงานน้ําตาลทรายแดง เพื่อส่งขายไปยังมลายู มีร่องรอยโรงงานและลูกโม่หีบอ้อยที่หมู่บ้านจุปะ ตําบลกันตังใต้ อําเภอกันตัง แต่เนื่องจากพระยารัตนเศรษฐีถนัดในเรื่องเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งที่เมืองตรังไม่ได้มีปริมาณมากเหมือนที่ระนอง พบเพียงในพื้นที่อําเภอเขาขาวซึ่งปัจจุบันคืออําเภอห้วยยอด รวมทั้งต้องรับผิดชอบราชการถึง ๒ เมือง ทําให้ไม่ประสบความสําเร็จ จึงลากลับไปประจําเมืองระนองแห่งเดียว ทำใหเ้ตรังกลับมาอยู่ในกํากับของข้าหลวงหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกอีก ๒ สมัย จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระยาตรังภูมาภิบาล (เอี่ยม ณ นคร) ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ เสด็จประพาสหัวเมืองรอบแหลมมลายู และเมืองตรังด้วย ทรงเห็นว่าเมืองตรังทรุดโทรมมาก ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระอัษฎงคตทิศรักษา (คอมซิมป์ ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการเมืองกระ มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองต รัง โดยไ ด้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี
๘.  เมืองตรังสมัยตั้งเมืองที่กันตัง  
    ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง)  มารับตําแหน่ง   ได้ดําเนินการพัฒนาเมืองตรังในทุก ๆ ด้าน โดยมีจุดมุ่งหมายจะทําใ ห้ตรัง เ ป็นเมืองท่าค้าขาย เริ่มจากการย้ายเมืองจากตําบลควนธานีไปตั้งที่ตําบลกันตัง ซึ่งสร้างความเจริญแก่เมืองตรังอย่างมาก การพัฒนาในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี นําไปสู่ความเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ โดยท่านได้เริ่มจากการแก้ปัญหาความไม่สงบเรื่องโจรผู้ร้ายและส่งเสริมอาชีพ พื้นฐานคือการเกษตรเริ่มต้นจากเกษตรยังชีพในครัวเรือน และขยายเป็นเกษตรเพื่อการค้า โดยใช้กุศโลบายต่าง ๆ และระบบกลไกของรัฐ เช่น การยกเว้นเก็บภาษีอากรและเกณฑ์แรงงานแก่ผู้บุกเบิกทํานา จนสามารถส่งข้าวไปขายปีนังได้ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ชาวเมืองตรังอดข้าวต้องซื้อจากปีนังอยู่เสมอ การสร้างถนนและสะพานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าในท้องถิ่นและส่งขายไปต่างประเทศทางท่าเรือกันตัง ท่านได้ส่งเสริมบริษัทตัวแทนซื้อขายสินค้าที่ท่าเรือกันตัง สินค้าสําคัญในสมัยนั้นได้แก่ เป็ด ไก่ สุกร โค กระบือ พริกไทย ข้าว ตับจาก ไม้เคี่ยม ไม้โปรง เป็นต้น การพัฒนาเมืองของท่านจะสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในส่วนกลาง ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบราชการ และนําพาประเทศเข้าสู่การพัฒนาให้เทียบทันกับนานาอารยประเทศ  การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ที่กําหนดให้มีทางแยกจากทุ่งสงมุ่งสู่ท่าเรือกันตัง เส้นทางรถไฟนี้ส่งเสริมนโยบายเมืองท่าค้าขายของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดียังได้มองการณ์ไกล ที่จะทําให้กันตังเป็นท่าเรือค้ากับต่างประเทศได้เต็มศักยภาพ โดยเสนอทางรัฐบาลจัดสร้างท่าเรือน้ําลึกแต่ไม่ได้รับการสนับสนุน  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากระทรวงมหาดไทยและเริ่มการปกครองระบบมณฑลขึ้นเป็นครั้งแรก หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกเดิมเปลี่ยนเป็นมณฑลภูเก็ต เมืองตรังเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภูเก็ต ต่อมามีประกาศข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ได้แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็นอําเภอ ทำให้ตรังถูกแบ่งไปเป็น ๕ อําเภอ ประกอบด้วย อําเภอเมือง (กันตัง) อําเภอบางรัก (ปัจจุบันคื ออําเภอเมือง) อําเภอเขาขาว (ปัจจุบันคืออําเภอห้วยยอด) อําเภอสิเกา และอําเภอปะเหลียน มีตําบลรวม ๑๐๙ ตําบล ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตย้ายเมืองไปตั้งที่อําเภอบางรัก
๙. เมืองตรังสมัยตั้งเมืองที่ทับเที่ยง (ปัจจุบัน)
 เมื่อย้ายเมืองมาที่อําเภอบางรักแล้วในตอนแรกใช้ตําหนักผ่อนกายเป็นศาลากลางชั่วคราว ชื่ออําเภอบางรักเปลี่ยนเป็นอําเภอตรัง ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ พระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) มารับตําแหน่ง และดําเนินการก่อสร้างศาลากลางจังหวัด และเปิดทําการได้ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ต่อมาพระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล) ดํารงตําแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้เอาใจใส่พัฒนาเมืองตรังหลายด้าน จึงปรากฏชื่อเป็นอนุสรณ์ไว้ที่เมืองตรัง เช่น กะพังสุรินทร์ ถนนวิเศษกุล วัดควนวิเศษ ที่ตําบลทับเที่ยง ถ้ําสุรินทร์ ที่อําเภอปะเหลียน ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) เสด็จพระราชดําเนินเลียบ หัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อเสด็จฯ เมืองตรังทรงจารึกพระบรมนามาภิไธยไว้ที่น้ําตกช่องและถ้ําเขาปินะ ต่อมาอําเภอตรังก็ได้เปลี่ยนเป็นอําเภอเมิองตรัง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ จนถึงปัจจุบัน

              ที่มาของคำว่า "ตรัง"
          
 “ตรัง” เป็นภาษามลายูแปลว่า “รุ่งอรุณ” ก่อนที่เมืองตรัง มาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน ได้มีการย้ายที่และเปลี่ยนชื่อมาหลายครั้ง เช่น อยู่ที่ริมน้ําด้านเหนือเขาปินะ ชื่อว่า “กรุงธานี” อยู่ที่คลองลําภูรา ชื่อว่า “ตรังคะปุร” อยู่ที่บ้านอู่ตะเภา ชื่อว่า “ตรังนาแขก” ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นย้ายมาอยู่ที่ “ควนธานี” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ย้ายไปตั้งที่กันตัง ต่อมาครั้งสุดท้ายในรัชสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงโปรดให้ย้ายมาตั้ง ที่ ณ ปัจจุบันคือตำบลทับเที่ยง ในปัจจุบัน  คำว่า "ตรัง" มีความหมายสันนิษฐานได้ ๒ ทาง คือ

๑. มาจากคำภาษามลายูว่า Terang แปลว่าสว่าง หรือแจ่มแจ้ง จึงตีความว่าเมืองตรังเป็นเมืองแห่งรุ่งอรุณ
๒. มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า ตรงฺค หรือ ตรังคะ แยกศัพท์เป็น ตร+องฺค แปลตรงตามคำ ตร จาก ตร ธาตุ ว่า ข้าม เดิน หรือเคลื่อนที่ไป องฺค แปลว่า อวัยวะ แปลรวมว่า อวัยวะที่เคลื่อนที่ไปได้ในทะเล กล่าวคือ คลื่นหรือระลอก จึงตีความว่า เมืองตรังเป็นเมืองแห่งคลื่น ซึ่งหมายถึงคลื่นลมในทะเลหน้าเมืองตรัง

           ตรังหรือเมืองทับเที่ยง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารา โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี นำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ตรังมีแม่น้ำสำคัญ คือแม่น้ำตรัง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวงและแม่น้ำปะเหลียน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด ตรังเป็นจังหวัดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีฝั่งทะเลยาวทางด้านตะวันตก ประมาณ ๑๑๙ กิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะในทะเลอันดามันที่อยู่ในการปกครองกว่า ๔๖ เกาะ ภายในพื้นที่อำเภอกันตัง ๑๒ เกาะ อำเภอปะเหลียน ๑๓ เกาะ และอำเภอสิเกา ๒๑ เกาะ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว คือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคมของปี ตรัง มีพื้นที่รวม ๔,๙๔๑ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๐ อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอรัษฎา และอำเภอหาดสำราญ
 

    

           ภาพจากคุณณัฐ เหลืองนฤมิตรชัย ; https://www.youtube.com/watch?v=SXnq7V4DUO0

               ลักษณะและสภาพโดยทั่วไป 
               การปกครอง จังหวัดตรังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๐ อำเภอ ประกอบด้วย

- อำเภอเมือง 
- อำเภอกันตัง 
- อำเภอห้วยยอด
- อำเภอย่านตาขาว
- อำเภอปะเหลียน
- อำเภอสิเกา
- อำเภอวังวิเศษ
- อำเภอนาโยง 
- อำเภอรัษฎา
- อำเภอหาดสำราญ 

              อาณาเขตติดต่อ 

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา และช่องแคบมะละกาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอควนขนุน อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยมีเทือกเขาบรรทัดกั้นอาณาเขตตลอดแนว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอคลองท่อม อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และมหาสมุทรอินเดีย

              ลักษณะภูมิประเทศ 
              สภาพพื้นที่เป็นเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับด้วยเขาเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบมีจำนวนน้อยซึ่งใช้เพาะปลูกข้าว ทางทิศตะวันออกมีเทือกเขาบรรทัดยาวจากเหนือจดตอนใต้และเป็นเส้นแบ่งเขตแดนจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง มีเนื้อที่ป่าเกือบร้อยละ ๒๐ ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แถบเทือกเขาบรรทัด ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีป่าชายเลนสำหรับท้องที่ที่อยู่ติดชายทะเล และมีลำน้ำสำคัญ ๆ ๓ สาย ได้แก่ แม่น้ำตรัง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเขาวังหีบ เทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช แม่น้ำปะเหลียน เกิดจากเทือกเขาบรรทัด เขตอำเภอปะเหลียน คลองกะลาแสและต้นน้ำที่เกิดจากควนปลวกร้อน ควนชะไน และควนน้ำแดง ชายแดนตรัง กระบี่ นอกจากนี้ยังมีลำห้วยบริวารที่คอยส่งน้ำให้อีกกว่า ๑๐๐ สาย ทั้งยังมีชายฝั่งด้านตะวันตก ติดทะเลอันดามันที่ยาวถึง ๑๑๑ กม. กับหมู่เกาะต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่กว่า ๔๖ เกาะ และป่าชายเลนที่ยังคงอยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์
              
แหล่งท่องเที่ยว
                  
อำเภอเมืองตรัง
                  ๑. อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)
                      อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) อยู่ในบริเวณสวนสาธารณะเทศบาลเมืองตรัง ห่างจากศาลากลางจังหวัด ๑ กิโลเมตร ตามเส้นทางสายตรัง-พัทลุง พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีได้สร้างความเจริญแก่จังหวัดตรังเป็นอย่างมาก เช่น การคมนาคม เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ การศึกษา การปกครอง และเป็นผู้นํายางพาราต้นแรกมาปลูกในพื้นที่อําเภอกันตัง จนแพร่หลายไปทั่วภาคใต้และประเทศไทย


อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)


          ๒. กระพังสุรินทร์
                 กระพังสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัด ๒ กิโลเมตร ใกล้กับอนุสาวรีย์พระยารัษฎาฯ ลักษณะเป็นแอ่งหรือหนองน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ ได้รับการปรับปรุง สภาพแวดล้อมให้เป็นสวนสาธารณะ มีศาลากลางน้ำรอบบริเวณเป็นสวนสาธารณะสําหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจ ๓ หลัง เชื่อมถึงกันโดยตลอด
            ๓. สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
                สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (ทุ่งน้ำผุดหรือเขาแป๊ะซ้อย) อยู่ห่างจากตัวเมือง ๓ กิโลเมตร เป็นสวนสาธารณะอีกแห่งหนึ่งของเมืองตรังที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาพรรณ ช่วงเย็นจะมีผู้คนมานั่งพักผ่อนและออกกําลังกายเป็นจํานวนมาก สวนสมเด็จฯ นี้ตั้งอยู่บนถนนสายท่ากลางเลี้ยวขวา บริเวณวัดตันตยาภิรมย์เข้าไปประมาณ ๑ กิโลเมตร
           ๔. พระนอนทรงเครื่องมโนราห์วัดภูเขาทอง
                พระนอนทรงเครื่องมโนราห์วัดภูเขาทอง ประดิษฐานอยู่ที่วัดภูเขาทอง หมู่ ๑ ตําบลน้ำผุด ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๕๑๒๓ เป็นพระพุทธรูปโบราณ ปางปรินิพพาน สร้างสมัยศรีวิชัย ลักษณะเด่นคือพระเศียรทรงเทริดมโนราห์ตามศิลปะของภาคใต้ โดยเชื่อกันว่าเทริดเป็นเครื่องประดับที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นของสูง
            
อําเภอนาโยง
            ๑. สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง
                สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง อยู่ห่างจากตัวเมืองตรังประมาณ ๒๑ กิโลเมตรไปตามเส้นทางสายตรัง-พัทลุง ภายในร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่นานาพรรณ และมีน้ำตกต่าง ๆ ได้แก่ น้ำตกโตนปลิว น้ำตกโตนใหญ่ น้ำตกโตนน้อย เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าแห่งแรก ของประเทศไทย มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ๒ เส้นทาง ระยะทาง ๑.๘ กิโลเมตร และ ๒.๘ กิโลเมตร 
ตามเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายตามจุดต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีอาคารพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีบ้านพักและลานกางเต็นท์ แต่ต้องนําเต็นท์มาเอง 
           ๒. 
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าคลองลําซาน
                เขตห้ามล่าสัตว์ป่าคลองลําซาน เป็นที่อาศัยของเป็ดแดงและเป็ดน้ำชนิดอื่น ๆ จํานวนมาก ภายในบริเวณจะมีหนองน้ำขนาดใหญ่ เหมาะสําหรับนั่งพักผ่อน พร้อมทั้งมีศาลาริมน้ำไว้นั่งชมนก มีสะพานไม้และทางเดินศึกษาธรรมชาติไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เดินศึกษา ช่วงที่มีนกมากคือเดือนมกราคม-มีนาคม
           ๓. 
บ้านนาหมื่นศรี
               บ้านนาหมื่นศรี มีชื่อเสียงด้านผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดตรัง โดยมีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี เพื่อสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองไม่ให้สูญหายไป ห่างไปจากที่ทําการกลุ่มฯ  ๓๐๐ เมตร จะมีพิพิธภัณฑ์มรดกพื้นบ้านตําบลนาหมื่นศรี ซึ่งเป็นศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นของตําบลเพื่ออนุรักษ์ศิลปกรรมและหัตถกรรมของท้องถิ่น แสดงอุปกรณ์เครื่องใช้และวัตถุโบราณจํานวนกว่า ๓๐๐ ชิ้น 
           ๔. 
ถ้ำเขาช้างหาย
                ถ้ำเขาช้างหาย เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงามสลับซับซ้อนอยู่เป็นจํานวนมาก ถ้ำมีความลึกประมาณ ๕๐๐ เมตร ใช้เวลาเดินชมประมาณ ๒๐ นาที มีทางเดินคอนกรีต พร้อมทั้งติดไฟตามทางเดินไว้สําหรับเดินไปยังถ้ำต่าง ๆ อย่างสะดวก เช่น ถ้ำช้างหาย ถ้ำเพกา ถ้ำทรายทอง ถ้ำโอ่ง และถ้ำแม่เฒ่าคล้าย
            
อําเภอกันตั้ง
           
๑. พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี
                พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองกันตังประมาณ ๒๐๐ เมตร ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ถนนค่ายพิทักษ์ ตําบลกันตัง เป็นที่ตั้งของสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สําคัญ คือจวนเก่าเจ้าเมืองตรังหรือบ้านพักพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี อดีตเจ้าเมืองตรัง เป็นเรือนไม้ ๒ ชั้นมีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งและเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจําวันของท่านอย่างครบถ้วนโดยทายาทตระกูล ณ ระนอง เป็นผู้ดูแลรักษา
            ๒. 
ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย
                 ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ริมถนนก่อนเข้าสู่ตัวอําเภอกันตัง หน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง เป็นต้นยางพารารุ่นแรกที่พระยารัษฎาฯ เจ้าเมืองตรังได้นํามาปลูกไว้เพื่อบุกเบิกอาชีพสวนยางพาราของชาวตรัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒
            ๓. 
สวนสาธารณะควนตําหนักจันทร์
                 สวนสาธารณะควนตําหนักจันทร์ อยู่ห่างจากอําเภอเมืองฯ ประมาณ ๒๔ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ ๒๕๐ ไร่ สถานที่ตั้งของตําหนักจันทร์อยู่บนเนิน จึงได้ขนานนามใหม่ว่าสวนสาธารณะควน ตําหนักจันทร์ (ควนภาษาถิ่นใต้หมายถึงเนิน) รอบ ๆ บริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้และไม้ดอกไม้ประดับ มีศาลาพักผ่อน มีจุดชมวิวมองเห็นทิวทัศน์ของทะเลแล อําเภอกันตั้งได้กว้างไกล
            ๔. 
หาดหยงหลิง-หาดสั้น
                หาดหยงหลิง-หาดสั้น ลักษณะเป็นหาดทรายรูปโค้งขนานไปกับดงสน สุดชายหาดเป็นเขาสูง สามารถลอดออกไปสู่หน้าผาริมทะเล ที่มีโพรงถ้ำและโขดหินเหมือนป้อมโอบล้อมลานทรายไว้ สวยงามมาก เหมาะสําหรับเล่นน้ําและพักผ่อนหย่อนใจ การเดินทาง จากเมืองตรังไปตาม ทางหลวงหมายเลข ๔๐๔๖ ถึงหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๑๖๒ เลียบชายหาด ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร และเลี้ยวเข้าเส้นทางสายบ้านน้ำราบ-หาดเจ้าไหม ประมาณ ๖ กิโลเมตรจะมีทางแยกเข้าหาดหยงหลิงอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร
            ๕. 
หาดยาว
                หาดยาว เป็นหาดทรายต่อจากโขดเขารูปกระโดงฉลามขึ้นมาทางด้านเหนือ มีสนทะเลขึ้นเป็นแนวมีชายหาดกว้าง และมีบริการที่พักของเอกชน จากหาดยาวนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือไปเที่ยวตามเกาะต่าง ๆ ได้ การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับหาดหยงหลิง
            ๖. 
ถ้ำเจ้าไหม-ถ้ำเจ้าคุณ
                เจ้าไหม-ถ้ำเจ้าคุณ อยู่ที่เขาโต๊ะแนะใกล้บ้านเจ้าไหม การเที่ยวชมต้องนั่งเรือจากหาดยาวไปตามคลองเจ้าไหม จากนั้นใช้เรือเล็กพายลอดไปตามคลองจระเข้ขาวทะลุถ้ำเจ้าไหม เพื่อไปเจอป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นระหว่างทางจะมีถ้ำเจ้าคุณ ซึ่งเป็นถ้ำ ที่ต้องเดินขึ้นไปชมหินงอกหินย้อยสวยงามแปลกตา ผู้ที่สนใจพายเรือคายักเที่ยวถ้ำเจ้าไหม-ถ้ำเจ้าคุณ สามารถเช่าเรือพายนั่งได้ ๒ คน
            ๗. 
เกาะลิบง
                 เกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทะเลตรัง มีพื้นที่ประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่ รอบ ๆ เกาะเต็มไปด้วยหญ้าทะเล ซึ่งเป็นอาหารของพะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้สูญพันธุ์ แต่จะพบได้ 
เกาะลิบงได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง มีที่ทําการเขตฯ อยู่บริเวณแหลมจุโหย รอบ ๆ เกาะมีแหลมและ ชายหาดหลายแห่ง เช่น หาดตูบ แหลมจุโหย แหลมทวด แหลมโต๊ะชัย ฯลฯ บริเวณแหลมจุโหย นั้นเป็นหาดทรายเวลาน้ำลงสามารถเดินไปถึงหาดตูบ มีนกทะเลและนกชายเลนจํานวนมาก ซึ่งอพยพหนีหนาวบินมาอาศัย โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม เกาะลิบงมีชาวบ้านอาศัยอยู่จํานวนมาก แบ่งเป็นหลายหมู่บ้าน มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ทําอาชีพประมง สวนยางพารา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนั้นบนเกาะยังมีเขามุกดาอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นภูเขาหินปูนสูงประมาณ ๒๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนยอดเขาจะมีจุดชมวิวสามารถมองเห็น หญ้าทะเล ซึ่งเป็นอาหารของพะยูน บางครั้งอาจเห็นพะยูนมากินหญ้าทะเลได้ และจากเกาะลิบงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของแหลมเจ้าไหมและเกาะเจ้าไหม การเดินทางไปเกาะลิบงสามารถขึ้นเรือที่ท่าเรือหาดยาวบ้านเจ้าไหม แล้วมาลงที่บ้านพร้าว บนเกาะลิบง หรือเช่าเรือเหมาลําซึ่งนั่งได้ ๑๐ คน โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒๐ นาที บนเกาะมีที่พักสําหรับนักท่องเที่ยว 
            ๘. 
เกาะมุกและถ้ำมรกต
                 เกาะมุกและถ้ำมรกต เป็นแหล่งท่องเที่ยวเด่นที่สุดในทะเลจังหวัดตรัง ลักษณะของเกาะทางด้านทิศตะวันตก ส่วนใหญ่เป็นโขดผาหินสูงหันหน้าออกสู่ทะเล ทางฝั่งตะวันออกมีหมู่บ้านชาวประมงที่ยังคงวิถีมีชีวิตแบบเดิม ๆ ไว้อย่างดี ไม่ห่างจากเกาะมุกมีถ้ำมรกตที่งดงามตระการตา จากปากทางเข้าถ้ำเป็นโพรงเล็ก ๆ สูงพอให้นักท่องเที่ยวว่ายน้ำลอยคอเข้าไปตรงปากทางเข้าถ้ำ จะมีแสงจากภายนอกจะสะท้อนกับน้ำภายในถ้ำ ทําให้พื้นน้ำเป็นสีเขียวมรกดูแปลกตา เมื่อเข้าไปด้านในจะเห็นหาดทรายขาวสะอาดล้อม
รอบด้วยหน้าผาสูงชัน เกาะมุกมีที่พักของเอกชนเปิดให้บริการ การเดินทางสามารถลงเรือจากท่าเรือปากเมง ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๔๐ นาที
            ๙. 
เกาะเชือก-เกาะแหวน
                 เกาะเชือก-เกาะแหวน เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ระหว่างเกาะมุกและเกาะไหง ในบริเวณเกาะจะมีปะการังน้ำตื้นและน้ำลึก รวมทั้งฝูงปลาจํานวนมาก การเดินทางไปเกาะลงเรือที่ท่าเรือปากเมง การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับเกาะมุกและเกาะกระดาน ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕๐ นาที 
            ๑๐. 
เกาะกระดาน
                   เกาะกระดาน เป็นเกาะที่สวยที่สุดของทะเลจังหวัดตรัง มีเนื้อที่ประมาณ ๖๐๐ ไร่ ๕ ใน ๖ ส่วนของเกาะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ที่เหลือเป็นสวนยางและสวนมะพร้าวของเอกชน เกาะกระดานเป็นชายหาดที่มีทรายขาวละเอียด น้ำทะเลใสจนมองเห็นแนวปะการังน้ำตื่น และฝูงปลาหลากหลายพันธุ์ บนเกาะมีที่พักบริการทั้งของเอกชนและหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ การเดินทางสามารถโดยสารเรือหรือเช่าเหมาลําจากท่าเรือปากเมงและท่าเรือควนตุ้งก ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมงครึ่ง
            
อําเภอสิเกา
           
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
                 อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ครอบคลุมพื้นที่ ๒ อําเภอ คืออําเภอกันตังและอําเภอสิเกา มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ที่ทําการอุทยานฯ อยู่ที่ หาดฉางหลาง แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือแหล่งท่องเที่ยวบนฝั่ง ได้แก่หาดปากเมง หาดฉางหลาง หาดยาว หาดหยงหลิง หาดสั้น หาดเจ้าไหม ถ้ำเจ้าไหม และแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ ประกอบ ด้วยเกาะ ๗ เกาะ ได้แก่เกาะมุก เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะปลิง เกาะแหวน เกาะเมง และเกาะเจ้าไหม นอกจากนั้นบริเวณอุทยานฯ ยังมีศูนย์ศึกษาธรรมชาติทางทะเลวิจัยหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งคุณค่าทางนิเวศวิทยาของฝั่งทะเลอันดามัน
            ๒. 
เกาะไหง
                 เกาะไหง เป็นเกาะที่อยู่ในเขตอําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แต่จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มของทะเลตรัง และการเดินทางจากจังหวัดตรังสะดวกกว่าบนเกาะมีหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใส มองเห็นปลาหลากหลาย รอบ ๆ เกาะพบปะการังที่สมบูรณ์ บนเกาะมีที่พักเอกชนบริการ หลายแห่ง การเดินทาง มีเรือโดยสารออกจากท่าเรือปากเมง ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง
            ๓. 
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำราชมงคล
                 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำราชมงคล ตั้งอยู่บริเวณหาดราชมงคล ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วย ๒ ส่วน ได้แก่ส่วนด้านในจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น ปลาการ์ตูน ปลาดาว ปลาไหล ไฟฟ้า ปลาปักเป้ากล่อง ปลาสินสมุทร เป็นต้น ส่วนด้านนอกจัดแสดงทั้งสัตว์น้ำจืด สัตว์ทะเลที่พบในเขตน้ำขึ้นน้ำลง และทะเลลึกจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลกในเขตร้อน 
            ๔. 
หาดปากเมง
                หาดปากเมง เป็นหาดรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร มีความสวยงามและสงบเงียบ ชายหาดมีป่าสนตามธรรมชาติขึ้นเรียงรายไปตามชายหาด จากริมหาดมองไปกลาง ทะเลจะเห็นเกาะน้อยใหญ่สลับซับซ้อนกันมองดูคล้ายคนนอนหงายอยู่ในทะเล บริเวณหาดปากเมงมีท่าเทียบเรือปากเมงสามารถเช่าเรือไปเกาะต่าง ๆ
           
อําเภอปะเหลียน
          ๑. ชายทะเลปะเหลียน
              ชายทะเลของอําเภอปะเหลียนมีความงามตามธรรมชาติ หาดที่มีชื่อเสียง ได้แก่หาดสําราญ หาดตะเสะ ส่วนเกาะต่าง ๆ เช่น เกาะสุกร เกาะเภตรา เกาะเหลาเหลียงพี่ และเกาะเหลาเหลียงน้อง เป็นต้น
​​​         ๒. 
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
              อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ครอบคลุมพื้นที่อําเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และอําเภอละงู จังหวัดสตูล ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ เช่น เกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ เกาะลันตี เกาะลิดี เกาะ บุโหลน เกาะเหลาเหลียง เกาะเปรามะ การเดินทางสามารถเช่าเรือจากท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูลหรือจากท่าเรือกันตัง จังหวัดตรัง ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวคือเดือนธันวาคมถึงเมษายน
          ๓. เกาะสุกร
               เกาะสุกร เป็นตําบลหนึ่งในอําเภอปะเหลียน มีขนาดใหญ่อยู่ห่างชายฝั่ง ๓ กิโลเมตร มีชาวบ้านอาศัยอยู่กว่า ๒,๕๐๐ คน มีอาชีพประมง ทําสวนยางและเกษตรกรรมอื่น ๆ ประชากรส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาอิสลาม ในอดีตเกาะนี้เคยมีหมูป่าอยู่เป็นจํานวนมากจึงเป็นที่มาของเกาะสุกร
          ๔.
น้ำตกโตนเต๊ะ
               น้ำตกโตนเต๊ะเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีต้นกําเนิดจากเทือกเขาบรรทัด สูงประมาณ ๓๒๐ เมตร ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำสามารถเล่นได้ นอกจากนั้นยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติโตนเต๊ะ โดยตามทางจะมีป้ายสื่อความหมายบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต การเดินทางไปน้ำตกซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองตรังประมาณ ๔๕ กิโลเมตร ใช้เส้นทางสายตรัง-พัทลุง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร ให้กลับรถ (จะมีป้ายบอกทางไปน้ำตกโตนเต๊ะ) เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางสายบ้าน
กะช่อง-บ้านหาดเลา ประมาณ ๒๗ กิโลเมตร ถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
          ๕. 
น้ำตกโตนตก
               น้ำตกโตนตก เป็นน้ำตกที่มีสายน้ำและลําธารไหลผ่านโขดหินเป็นชั้น ๆ ดู สวยงาม จึงเหมาะที่จะมาท่องเที่ยวในช่วงฤดูฝน และจาก น้ำตกโตนตกสามารถมองเห็นน้ำตกโตนเต๊ะซึ่งไหลจากภูเขาสูงเป็นสายน้ำสีขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนจะเห็นชัดมาก การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกโตนเต๊ะ อยู่ห่างกันประมาณ ๑ กิโลเมตร
          
อําเภอห้วยยอด
 
         ๑. ถ้ำเลเขากอบ
              ถ้ำเลเขากอบนับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดธารน้ำไหลลอดถ้ำ โดยลําคลองที่ไหลมาจากเทือกเขาบรรทัดเมื่อไหลมาถึงบริเวณเขากอบจะแยกออกเป็น ๓ สาย โดย ๒ สายจะ ไหลอ้อมภูเขา ส่วนอีกสายหนึ่งจะไหลลอดถ้ำใต้ภูเขา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม
         
อําเภอย่านตาขาว
         
๑. สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย)
              สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสําหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติและพรรณไม้ โดยเฉพาะภายในสวนพฤกษศาสตร์มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สวนรุกขชาติ สวน สมุนไพร ห้องสมุดพฤกษศาสตร์ พิพิธภัณฑ์พืช ศูนย์ประชุมทางวิชาการ ฯลฯ ภายในมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติให้เลือกหลายเส้นทาง แต่ละเส้นทางจะตัดผ่านป่าดิบที่ลุ่มต่ำ รวมทั้งป่าพรุซึ่งมีพรรณพืชที่น่าสนใจมากมาย 
          ๒. 
น้ำตกไพรสวรรค์
               น้ำตกไพรสวรรค์ เป็นน้ำตกขนาดกลางซึ่งประกอบด้วยชั้นย่อย ๆ ๑๗ ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถล่องแก่งได้เป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตร การเดินทางให้ใช้เส้นทางสายตรัง-พัทลุง ประมาณกิโลเมตรที่ ๑๗ เลี้ยวขวาตามเส้นทางสายบ้านกะช่อง-บ้านหาดเลา ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตรงป้ายชื่อน้ำตกอีก ๔.๕ กิโลเมตร
          ๓. 
น้ำตกลําปลอก
               น้ำตกลําปลอกเป็นน้ำตกสูง ๖ ชั้น ซึ่งไหลจากหน้าผาสูงด้านล่างซึ่งมีแอ่งน้ำสําหรับเล่นน้ำได้ สามารถมองเห็นเกาะแก่งและทิวทัศน์ของปากน้ำปะเหลียนได้ การเดินทางใช้เส้นทางสายตรัง-พัทลุง ถึงกิโลเมตรที่ ๑๗ แล้วเลี้ยวขวาตามเส้นทางสายบ้านกะช่อง-บ้านหาดเลา ประมาณ ๒๑ กิโลเมตร 
          
อําเภอรัษฎา
         
๑. ถ้ำพระพุทธ
              ถ้ำพระพุทธ ภายในถ้ำมีพระนอนองค์ใหญ่และพระยืนทรงเครื่องประดับพระเศียรด้วยเทริด (เครื่องประดับศีรษะรูปมงกุฏอย่างเตี้ย มีกรอบหน้าอย่างมโนราห์) นอกจากนั้นยังมีสมบัติเครื่องใช้ของคนชั้นสูง เช่น เครื่องลายคราม เครื่องถมทอง เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ การเดินทางจากอําเภอรัษฎาเลี้ยวขวาสู่เส้นทางไปอําเภอชะอวด ประมาณ ๑๐ กิโลเมตรจะถึงสามแยก เลี้ยวขวาไป อีกประมาณ ๗ กิโลเมตร
         ๒. 
ถ้ำวังพระยาพิชัยสงคราม
             ถ้ำวังพระยาพิชัยสงคราม ตั้งอยู่บ้านในวัง ตําบลหนองบัว เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยงดงาม การเที่ยวชมถ้ำนี้ต้องลุยน้ำ นักท่องเที่ยวควรมีไฟฉายติดตัวไปด้วย การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับถ้ำพระพุทธเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านในวัง (ทางหลวงหมายเลข ๔๑๕๑) ไปประมาณ ๓ กิโลเมตร
         
อําเภอหาดสําราญ
          ๑. หาดสําราญ
               หาดสําราญ บริเวณหาดมีต้นสนหนาแน่นและสามารถมองเห็นเกาะเล็กใหญ่ต่าง ๆ เหมาะสําหรับเป็นที่ตากอากาศ นักท่องเที่ยวนิยมมากินอาหารทะเลสด ๆ และชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมง และมีแหลมตะเสะที่สามารถดูนกทะเลได้ตลอดทั้งปีในช่วงน้ำลง การเดินทางใช้เส้นทางสายตรัง-ปะเหลียน เลี้ยวขวาที่สี่แยกบ้านนา ตําบลบ้านนา อําเภอปะเหลียน เดินทางอีก ๒๒ กิโลเมตร

 


แผนที่จังหวัดตรัง
ภาพจาก : คันธรส พวงแก้ว และคณะ, 2-34

         ชื่อบ้านนามเมือง
             อำเภอเมืองตรัง
                ตรัง มาจากคํามลายู อ่านออกเสียงว่า “เตอรัง” (Terang) หมายถึง ความสว่างสดใส สาเหตุที่เรียกชื่อถิ่นดังกล่าวว่าตรังหรือเตอรัง เนื่องมาจากชาวมลายูคงแล่นเรือมาถึงลําน้ำตรังยามท้องฟ้ารุ่งอรุณหรือเริ่มสว่างเรืองรอง ตรังมาจากคําบาลีสันสกฤต โดยเขียนเป็น “ตรังค์” มีการันต์ที่ตัว ”ค” คําบาลีสันสกฤตอ่านออกเสียง “ตะรังคะ” หรือ “ตรังคะ” หมายถึงลูกคลื่นหรือกระแสคลื่น อดีตเมืองตรังเป็นชุมชนโบราณ และเป็นหนึ่งในสิบสองเมือง นักษัตรของนครศรีธรรมราช โดยถือตราม้า (ปีมะเมีย) เป็นตราประจําเมือง ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองตรังตั้งอยู่ที่ควนธานี (ปัจจุบันควนธานีเป็นตําบลหนึ่งของอําเภอกันตั้ง) ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตรังจึงย้ายไปตั้งเมืองใหม่ ณ ริมฝั่งทะเลที่กันตัง จากนั้นปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตรังก็ย้ายไปตั้งเมืองใหม่อีกครั้งที่ตําบลทับเที่ยง อําเภอบางรัก เมื่อตั้งที่ว่าการอําเภอหรืออําเภอเมืองตรัง ณ ตําบล ทับเที่ยงเสร็จแล้ว จึงลดฐานะอําเภอบางรักเป็นตําบลบางรักมาจนถึงปัจจุบันนี้

               อำเภอกันตัง
               ชื่ออําเภอนี้มาจากคํามลายูว่า “กัวลาเตอรัง” (Kuala Terang) คําว่า “กัวลา” หมายถึงปากน้ำ ส่วน “เตอรัง” หมายถึงเมืองตรัง ดังคําอธิบายข้างต้น เมื่อรวมคําทั้งสองเข้าด้วยจึงเป็น “กราตัง-กระตัง” จนในที่สุดก็กลายเป็นกันตัง อําเภอกันตั้งเคยเป็นที่ตั้งเมืองตรัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ต่อมามีการ​ย้ายเมืองไปตั้งใหม่ที่ตําบลทับเที่ยง อําเภอบางรัก เนื่องจากกันตั้งอยู่ติดริมทะเล ทําให้ไม่ปลอดภัยจากข้าศึกที่ยกทัพมาทางเรือ และมักเกิดโรคอหิวาตกโรคในอําเภอกันตั้งบ่อย ๆ กันตั้ง มีชื่อนี้เดิมว่า “กราตารังคะ” คือปากน้ําเมืองตารังคะ เมื่อหดชื่อเมืองตารังคะลงเป็นเมืองตรังแล้ว ชื่อนี้ก็หดตามไปเป็นกราตรังหรือกระตรัง แล้วจึงกลายเป็นกันตังไป ชื่อเมืองตรังซึ่งเดิมเรียกว่าเมืองตารังคะนี้มีพระบรมราชาธิบายในรัชกาลที่ ๖ ยืนยันว่าที่ถูกนั้นควรเรียกชื่อเมืองนี้ว่าเมืองตารัง (ค์) แต่เนื่องจากพากันเรียกว่าเมืองตรังเสียจนเคยชินแล้วก็จาเป็นต้องปล่อยเลยตามเลยไป
               
อำเภอนาโยง
               นาโยงหมายถึงหมู่บ้านที่มีที่นาเชื่อมโยงติดต่อกัน ซึ่งเป็นการแสดงถึงความนิยมในการทํานา ต่อมามีการทํานาน้อยลงเพราะชาวบ้าน หันมาทําสวนยางพาราเป็นหลัก นาโยงเดิมเป็นตําบลอยู่ในเขตอําเภอเมืองตรัง แบ่งเป็นตําบลนาโยงเหนือและนาโยงใต้ จัดตั้งเป็นกิ่งอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ และเป็นอําเภอเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖
               
อำเภอปะเหลียน
                ปะเหลียนเคยขึ้นกับเมืองพัทลุง ต่อมา พ.ศ. ๒๕๖๐ ทางการย้าย ไปตั้งตัวอําเภอที่ตําบลหยงสตาร์ และเปลี่ยนเป็นอําเภอหยงสตาร์ ขึ้นต่อจังหวัดตรัง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๕๑ เปลี่ยนเป็นอําเภอปะเหลียนตามเดิม ปะเหลียนมาจากชื่อเมือง “ปะลันดา” (Palanda) ในหนังสือภูมิศาสตร์ของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อ ๑,๘๕๐ ปีมาแล้ว แต่ยังสรุปแน่นอนไม่ได้ บางตำนานกล่าวว่าปะเหลียนมาจากนิทานพื้นบ้านที่เล่าถึงตาพันวังและยายคําพลี มีบ้านเรือนอยู่ที่บ้านในทองใกล้กับภูเขาบรรทัด ทั้งคู่ไม่มีบุตรแต่เป็นเจ้าของแร่ทองที่อยู่ตามบริเวณหมู่บ้านแห่งนั้น เมื่อตาพันวังกับยายคำพลีตาย มักปรากฎทองบางส่วนที่มีลักษณะกลมเหมือนเหรียญขึ้นที่หน้าผา ต่อมาชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้จึงเรียกบ้านนี้ว่า “เหลียน” ซึ่งมาจากคําว่าเหรียญ ต่อมาภายหลังเพิ่มคําว่า “ปะ” ลงไปข้างหน้าจึงกลายเป็นอําเภอปะเหลียนมาจนทุกวันนี้ แต่บางตำนานบ้างก็ว่าปะเหลียนมาจากตํานานตาหมอเหลียนควาญช้างที่ติดตามช้างชื่อช้างราชา ตาหมอเหลียนมีเพื่อนเกลอมุสลิมชื่อศรีนังกรี ต่างคนต่างมีอาคมเก่งกล้า ภายหลังทั้งสองคนสิ้นชีพไปแล้ว แต่ชาวบ้านยังคงนับถือให้เป็นทวดศักดิ์สิทธิ์ จึงเรียกเป็นชื่อตาหมอเหลียน ต่อมาเติมคําว่า “ปะ” นํา หน้า หมายถึงพ่อจึงกลายเป็นปะเหลียนในปัจจุบัน

              อำเภอย่านตาขาว
              ชื่ออําเภอนี้ไม่เกี่ยวกับคนขลาดกลัว แต่เป็นชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งชาวใต้เรียกไม้เถาว่าย่าน เมื่อไม้เถาชนิดนี้โดนมีดตัดหรือกรีดจะมีน้ำยางสีขาวหยดลงมาเหมือนน้ำตาสีขาว จึงเรียกว่าย่านตาขาวย่านตาขาวเป็นชุมชนต่อแดนระหว่างเมืองตรังกับเมืองปะเหลียน ทางการจัดตั้งเป็นกิ่งอําเภอย่านตาขาวเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ และจัดตั้งเป็นอําเภอย่านตาชาวเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙
              
อำเภอรัษฎา
             ชื่ออําเภอนี้ตั้งเป็นอนุสรณ์แด่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) อดีตเจ้าเมืองตรังและสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต (ตรังเป็นเมืองหนึ่งของมณฑลภูเก็ต) พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ มีคุณูปการแก่เมืองตรังอย่างยิ่ง และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งยางพาราเมืองไทย โดยทางราชการได้จัดตั้งกิ่งอําเภอรัษฎาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยแบ่งเขตจากอําเภอห้วยยอด และจัดตั้งเป็นอําเภอรัษฎาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙

             อำเภอวังวิเศษ
             วังในที่นี้หมายถึงวังน้ำลึกทั้งวังและภูเขาล้วนชื่อวังวิเศษและเขาวิเศษ ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่ามีพระสงฆ์รูปหนึ่งโดยสารมากับเรือ โดยมีจุดประสงค์ที่จะนําสมบัติมีค่าไปร่วมสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ที่เมืองนครศรีธรรมราช แต่เรือเกิดอับปางลง ณ บริเวณนั้นเดินทางต่อไปไม่ได้ จึงได้นําสมบัติที่ติดตัวมาไปซ่อนไว้ในถ้ำและเขียนลายแทงไว้ว่า “ตาแบกยายทูน ทองทั้งมูลอยู่ใต้ตาแบก ใครคิดแตกกินไม่รู้สิ้น” หลังจากพระรูปนั้นมรณภาพแล้ว มักมีผู้พบเห็นวิญญาณท่านปรากฏตนที่ภูเขาแห่งนั้นในช่วงฝนตกหนัก ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนั้นว่าพระวิเศษ” ต่อมากลายเป็นชื่อสถานที่ ส่วนคําว่าพระเสียงกร่อนหายไปเหลือแต่ เขาวิเศษและวังวิเศษ โดยเฉพาะเขาวิเศษชาวบ้านมักเรียกสั้น ๆ ว่า “เขาเศษ” แต่เดิมวังวิเศษอยู่ในเขตอําเภอสิเกา ต่อมาทางการจัดตั้งเป็นกิ่งอําเภอ วังวิเศษเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ และต่อมาจัดตั้งเป็นอําเภอวังวิเศษเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓
             
อำเภอสิเกา
             สิเกาเป็นคํามลายูยืมคําสันสกฤตคือ “สิขรา” มาใช้ เนื่องจาก “สิขร” หรือ “สิงขร” ในคําไทยหมายถึงภูเขา ส่วน “สาครา” ในคําไทยว่า”สาคร” หมายถึงห้วงน้ำ บ้างลากให้เป็นคําจีนผสมคําไทยว่า “กงสีเก่า” แล้วกลายเสียงเป็น “สิเกา อําเภอนี้จัดตั้งเป็นอําเภอขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐
             
อำเภอห้วยยอด
             
ห้วยยอด เป็นชื่ออำเภออันเนื่องมาจากบริเวณนั้นเป็นแหล่งรวมของธารน้ำ ที่ไหลลงมาจากภูเขาและเนินที่อยู่รอบ ๆ เป็นผลให้เกิดลําห้วย ๓ สาย คือห้วยไสถั่ว (ไสหมายถึงป่าที่ถางเพื่อทําสวนทําไร่)  ห้วยหลักแก้ว และห้วยยอด จุดที่เกิดสายธาร ๓ สายนี้ชาวบ้านต่างเรียกว่า “ห้วยยอด” หมายถึงยอดของห้วยหรือธารน้ำ เดิมห้วยยอดมีชื่อว่าอําเภอเขาขาว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอห้วยยอด
             
อำเภอหาดสําราญ
             อําเภอนี้แยกจากอําเภอปะเหลียน แล้วยกฐานะเป็นกิ่งอําเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เหตุที่มีชื่อว่าหาดสําราญ เพราะมีทัศนียภาพริมทะเลที่ สวยงามและชวนให้มีความสุขสําราญ


ความสำคัญ

    จังหวัดตรังเป็นจังหวัดหัวเมืองอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ติดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ชายฝั่งทะเลตะวันตก เป็นเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงไม่ปรากฎ ว่ามีประวัติสมัยโบราณก่อนหน้านี้ และคาดว่า ในสมัยแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรี-อยุธยานั้น เมืองตรังยังไม่มีเพราะปรากฎในพระธรรมนูญ กล่าวถึงเมืองทางใต้เพียงนครศรีธรรมราช พัทลุง ไชยา ชุมพร เพชรบุรี กุยบุรี ปราณบุรี คลองวาฬ บางตะพาน ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ตะนาวศรี มะริด ทวาย และสามโคก ดังนั้น เมืองตรังแต่เดิมมาน่าจะเป็นเพียงเส้นทางผ่านไปมา ระหว่างนครศรีธรรมราชกับพัทลุงเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่มากขึ้นก็บังเกิดเป็นเมืองในภายหลัง เท่าที่พบหลักฐานความเป็นมาของจังหวัดตรัง เริ่มแรกได้จากจารึกวัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ว่าเมืองตรังเดิมเป็นหัวเมืองขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช สมัยนั้นกล่าว กันว่านครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองมาก มีหัวเมืองต่าง ๆ อยู่ในความปกครองถึง 12 เมืองด้วยกัน เรียกว่า 12 นักษัตร สัญลักษณ์ของเมืองใช้ตราม้า (ปีมะเมีย) เป็นตราประจำเมือง และพอจะแบ่งวิวัฒนาการของจังหวัดตรัง ออกเป็น ๓ สมัยด้วยกัน คือ                

๑. สมัยตั้งเมืองที่ตำบลควนธานี (พ.ศ. ๒๓๔๕-๒๔๓๖) เท่าที่ทราบจากหลักฐานทำเนียบเมืองนครศรีธรรมราช ว่าครั้งสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ได้ตั้งพระยาบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) เป็นพระยานครศรีธรรมราช สืบแทนเจ้าพระยานคร (พัฒน์) และตั้งหลวงอุไภยธานีเป็นผู้พยาบาลเมืองตรัง หลวงอุไภยธานีเป็นบุตรเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ ปรากฏจากทำเนียบกรมการเมืองตรังว่า หลวงอุไภยธานี ได้เป็นพระอุไภยธานี โดยมีตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรังเป็นคนแรก และได้สร้างหลักเมืองตรังที่ควนธานี (ศาลหลักเมืองตรังที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง ปัจจุบัน) ห่างจากตัวจังหวัดปัจจุบัน ไปทางทิศใต้ ๘ กม.
๒. สมัยตั้งเมืองที่กันตัง (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๕๘) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมืองตรังเป็นครั้งแรก ทรงเห็นว่าเมืองตรัง (ที่ควนธานี) อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก โจรผู้ร้ายชุกชุม ตรงกันข้ามกับที่ตำบลกันตัง (ที่ตั้งเมืองกันตังในปัจจุบัน) ปรากฎว่าได้กลายเป็นชุมชนใหญ่มีชาวจีนไปอยู่กันมาก ประกอบอาชีพโดยการทำสวนพริกไทยสามารถส่งไปขายถึงเกาะหมาก (ปีนัง) จึงทรงมีพระราชปรารภว่า "เมืองตรัง ถ้าจัดการทำนุบำรุงให้ดีจะเป็นเมืองที่มีประโยชน์มาก เพราะที่ดินอุดมสมบูรณ์ ควรแก่การเพาะปลูก" เจ้าเมืองตรังสมัยนั้นคือ พระยาบริรักษ์ภูเบศร์ ทรงแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัษฎานุ- ประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี มาดำรงตำแหน่งในเจ้าเมืองตรัง ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ เมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรังแล้ว ได้พิจารณาเห็นว่าที่ตั้งเมืองตรังที่ตำบลควนธานีนั้นอยู่ห่างจากฝั่งทะเลมาก ไม่เหมาะกับการขยายความเจริญของบ้านเมือง จึงได้กราบบังคมทูลขอย้ายที่ตั้งเมืองจากตำบลควนธานีไปตั้งที่ตำบลกันตังใน ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อย้ายตัวเมืองไปตั้งที่ตำบลกันตัง  พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ก็ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาสร้างความเจริญเอนกประการให้แก่เมืองตรัง เช่น สร้างสถานที่ราชการ ตัดถนนเชื่อมระหว่างอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงโดยเฉพาะการตัดถนนเชื่อมระหว่างเมืองตรังกับพัทลุงซึ่งต้องตัดผ่านภูเขาและต้องประสบความยากลำบากแต่ก็ทำได้ดี (ปัจจุบันนี้ถนนระหว่างจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุงได้ปรับปรุงใหม่ บริเวณที่เป็นเขาพับผ้าถูกทำลายไปหมดแล้ว) นอกจากนี้ยังได้จัดวางผังเมืองใหม่เปิดการค้ากับต่างประเทศ โดยสร้างท่าเรือขึ้นที่กันตังมีสะพานท่าเทียบเรือ ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ประทานนามว่า "สะพานเจ้าฟ้า" พยายามนำแบบฉบับการ ปกครองของต่างประเทศทั้งฝรั่ง จีนและมลายู มาใช้ผสมกับของไทย ดำเนินการพัฒนาบ้านเมืองและเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของประชาชน และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ได้นำพันธุ์ยางพาราจากแหลมมลายูมาปลูกที่เมืองตรังเป็นแห่งแรกของประเทศ ได้แพร่หลายไปทั่วภาคใต้และภาคอื่น ๆ ของประเทศไทยในขณะนี้
๓. สมัยตั้งเมืองที่ทับเที่ยง (พ.ศ. ๒๔๕๗-ปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ได้เสด็จประพาสเมืองตรัง (ที่กันตัง) ขณะนั้นอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทรงมีพระราชดำริว่าการตั้งเมืองที่กันตังนั้นไม่ปลอดภัยจากอริราชศัตรู ประกอบกับอหิวาตกโรคกำลังระบาด กันตังเป็นที่ลุ่มมักเกิดโรคระบาดและยากแก่การขยายเมือง ทรงเห็นว่าตำบลทับเที่ยง อำเภอบางรัก (อำเภอเมืองตรังในปัจจุบัน) มีลักษณะภูมิประเทศเหมาะสมที่จะตั้งเมือง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองจากตำบลกันตังไปตั้งที่ตำบลทับเที่ยง ซึ่งกลายเป็นที่ตั้งของจังหวัดตรังปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๕๘ มาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อ/สถานที่/เรื่อง
ตรัง (Trang)
ที่อยู่
จังหวัด
ตรัง


วีดิทัศน์

บรรณานุกรม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2550). คู่มือท่องเที่ยวตรัง. ตรัง : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้.
ตรีชาติ เลาแก้วหนู. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่องการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าทับเที่ยงจังหวัดตรัง. ตรัง :
           คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.

สํานักงานจังหวัดตรัง. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2563). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดตรัง ปี 2563. 
             สืบค้น 7 เม.ย. 66, จาก https://kyl.psu.th/6wunJxrId
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2551). ชื่อบ้านนามเมืองภาคใต้ จังหวัด อำเภอ และสถานที่ บุคคลบางชื่อ. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

 

 


รูปภาพ
 
      Font Size  
Back to Top
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center
Prince of Songkhla University ©2018-2024