ความทรงจำในการบริจาคที่ดิน ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ประมาณกลางปี พ.ศ. 2510 ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ซึ่งมีความสนิทสนมกับครอบครัวคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เป็นอย่างดี ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ ให้เป็นผู้จัดหาที่ดินเพื่อสร้างมหาวิทยาลัย หลังจากได้ไปดูมาหลายแห่งท่านถูกใจที่สวนยางที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมเป็นของพระยาอรรถกระวีสุนทร เมื่อท่านถึงแก่อนิจกรรมไปในปี พ.ศ. 2500 จึงตกเป็นของคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เมื่อศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ ทราบจึงได้มาติดต่อจะขอซื้อและให้ทราบถึงนใยบายของรัฐบาล ที่จะพัฒนาความเจริญไปสู่จังหวัดภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภาคใต้ และยกระดับมาตรฐานการศึกษาสู่ท้องถิ่น คุณหญิงหลงฯ ได้นำเรื่องมาปรึกษากับลูก ๆ ซึ่งทุกคนก็เห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่ท่านจะได้ตอบแทนคุณแผ่นดิน สมตามความปรารถนาของท่านที่มีมานานแล้ว จึงได้ตอบให้ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ ทราบว่าท่านยินดีที่จะบริจาคเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ในการนี้ในชีวิตของคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร วันที่ท่านมีความปลื้มปิติมากที่สุด คือวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เวลา 11.00 น. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พันเอกถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานกรรมการดำเนินงานก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ นำคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร และบุตรธิดาสามคน เข้าผ้าทูลละอองธุลีพระบาท […]
รอยพระบาทยาตรา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
“ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาเยี่ยมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และขอแสดงความยินดีที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นมาเป็นผลสำเร็จ และมีนักศึกษาได้สำเร็จการศึกษามาแล้วแสดงว่าเป็นผลที่สมบูรณ์แล้ว การที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งขึ้นมา ก็ต้องพิจารณาดูว่าต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่เป็นสำนักศึกษา สถานศึกษาใด ๆ เราก็ต้องมาคิดดูว่าต้องมีสถานที่คือ อาคาร ห้องเรียน เครื่องมือสำหรับสอนสำหรับเรียนก็มีอยู่แล้ว โดยได้ตั้งขึ้นมาถึงสองแห่งที่หาดใหญ่และที่ปัตตานี การสร้างก็นับว่าสร้างขึ้นมาใช้ได้แล้ว และเข้าใจว่าจะต้องสร้างต่อไปอีกเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ…” นี้เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาท ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๑๓ และ ๒๕๑๔ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๕ ณ วิทยาเขตปัตตานี โดยในครั้งนั้น ศาสตราจารย์ ดร. บัวเรศ คำทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระองค์ท่าน และนั่นเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯ สู่รั้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทรงเป็นมิ่งขวัญให้ชาวมทาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และประชาชนในละแวกใกล้เคียงได้ชื่นชมพระบารมี […]
นักวิจัย ม.อ. คว้า 13 รางวัล ประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับรางวัล “การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566” ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 ได้รับรางวัลพร้อมเกียรติบัตร จาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ณ เวที Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราและบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยผลงานที่ได้รับรางวัล มีดังนี้1. รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566 ระดับบัณฑิตศึกษา รางวัลระดับดี ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เรื่อง เซนเซอร์ตรวจวัดสังกะสีในเมล็ดข้าวแบบพกพา โดย นางสาวณัฐชยา มาลารัตน์ นางสาวอนัญญา คงสุวรรณ ดร.อัสมี สอและ ดร.กัสริน สายสหัส ดร.เกียรติศักดิ์ พรหมสุวรรณ์ นางสาวเจนจิรา สายชนะพันธ์ นายกฤษฎา สโมสร […]
ศิษย์เก่า ม.อ. เป็นผู้บริหารระดับสูง
ผศ. สุพจน์ โกวิทยา ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานึกศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เผยว่า ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ได้แต่งตั้งศิษย์เก่า ม.อ. เป็นข้าราชการเมือง และผู้บริหารระดับสูงหลายคน ประกอบด้วย ข้อมูลและภาพจาก : https://kyl.psu.th/HqvP1 ช่วยแชร์ด้วยนะครับ
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ม.อ. วันที่ 11 พ.ค. 66
วันที่ 11 พฤษภาคม 2566) เวลา 12.34 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ไปยังศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ โล่เกียรติยศ แด่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ผู้ได้รับรางวัลอนุสรณ์สงขลานครินทร์ อาจารย์ตัวอย่างดีเด่น อาจารย์ดีเด่นกองทุนเอกิ้นเลาเกเซ่นอนุสรณ์ และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา 2564 เป็นวันที่สอง โดยพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ ตามลำดับดังนี้– ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ๑. นายรอยล จิตรดอน ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (คณิตศาสตร์) ๒. Professor Dr. Branislav A. Borovac ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิศวกรรมเครื่องกล)– อาจารย์ตัวอย่างดีเด่น ประจำปี 2565 อาจารย์ตัวอย่างดีเด่นด้านการเรียนการสอน ได้แก่ ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตรีชาติ […]
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ม.อ. วันที่ 10 พฤษภาคม 2566
ม.อ. จัดงาน “วันมหิดลและวันประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก
ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะ สมเด็จพระบรมราชชนก ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2565 ในวันที่ 24 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก และสะท้อนการดำเนินการตามพระปณิธาน “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” สร้างแรงบันดาลใจ ปลูกฝังจิตวิญญาณของนักศึกษาและบุคลากร สร้างจิตสำนึกการมีคุณธรรม จริยธรรม ในการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติ โดยเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 กองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ จัดงาน “วันมหิดลและวันประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” (Our Soul is for the Benefit of Mankind) ประจำปี 2565 โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี […]
อธิการบดี “บุญสม ศิริบำรุงสุข” กับ 37 ปี ที่สงขลานครินทร์
“สงขลานครินทร์ อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์เป็นตัวฉุดในการพัฒนา ดังนั้น การบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะต้องตั้งความฝันให้แรง ว่าจะนำมหาวิทยาลัยไปสู่จุดสูงสุดได้อย่างไร ในฝันนั้นคือ คน ม.อ.ต้องทำงานหนัก ต้องมีความสามัคคี ความฝันเหล่านี้จะเป็นจริงได้ ก็ต้องทำให้คน ม.อ. รัก ม.อ. ก่อน แล้วจะทำอย่างไรให้คน ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขตรักกันเพื่อความเป็นปึกแผ่นของ ม.อ.เอง” รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีในวาระที่ 2 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 เปิดใจถึงแนวคิดการบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ในระหว่างการดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นเวลาถึง 6 ปี และเป็นช่วงเวลาที่เหตุการณ์ในภาคใต้ เริ่มปะทุอย่างรุนแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีความยากลำบากมากขึ้นในการประคับประคองมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ไม่ให้ถูกลืมไปจากความทรงจำของคนทั้งประเทศ เหมือนกับที่คนไทยกำลังจะลืมสถานที่สำคัญหลายแห่งในภาคใต้ เช่น ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือวัดช้างไห้ รวมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ ช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ให้ดีขึ้น แม้จะใช้เวลานานสักเพียงใดก็ตาม “อาจารย์บุญสม” เป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความมุ่งหวังจะเป็นอาจารย์ตั้งแต่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2518 ซึ่งเมื่อไปยื่นใบสมัครไว้ 2 […]
อาคารปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง)
อาคารปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) เป็นอาคารหนึ่งที่เป็นผลงานการออกแบบของคุณอมร ศรีวงศ์ สถาปนิกที่ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ไว้วางใจให้เป็นผู้ออกแบบอาคารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ศูนย์อรรถกระวีสุนทร หรือในชื่อศูนย์ศึกษาหาดใหญ่ ในยุคแรกเริ่มก่อตั้ง (ศูนย์นี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาเขตหาดใหญ่ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นสมัยที่ศาสตราจารย์นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์ เป็นอธิการบดี) ตึกฟักทองเป็นหนึ่งในกลุ่มอาคารของคณะวิทยาศาสตร์ ในระยะแรกเริ่มอาคารเรียนยังมีน้อย นักศึกษาทุกคณะจึงต้องมาเรียนวิชาบรรยายที่นี่ ทั้งนี้เนื่องจากตึกฟักทองมีห้องบรรยายถึง 5 ห้อง คือ ห้อง L1 ถึง L5 ห้องบรรยายใหญ่สุดคือ ห้อง L1 สามารถจุคนได้ถึง 500 คน ดังนั้น ห้องนี้นอกจากจะใช้เรียนวิชาบรรยายแล้ว ยังเป็นห้องที่ใช้จัดประชุมอาจารย์และข้าราชการทั้งวิทยาเขต รวมทั้งใช้ในการจัดกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย ส่วนห้องอื่นๆ ที่เหลืออีก 4 ห้อง คือห้อง L2 – L5 จุคนได้ห้องละ 250 คน ออกแบบโดยสถาปนิกอมร ศรีวงศ์ มีกลีบทั้งหมด 25 กลีบ ปัจจุบัน […]
22 กันยายน “วันสงขลานครินทร์”
ในปี พ.ศ. 2505 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลโดยคณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการที่จะจัดให้มีมหาวิทยาลัยในภาคใต้ขึ้นตามแผนพัฒนาภาคใต้ ในขั้นต้นคณะกรรมการจัดทำโครงการคิดกันว่าจะจัดตั้งในระดับวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (College of Arts and Sciences) แล้วต่อไปจึงจะขยายเป็นมหาวิทยาลัย คณะกรรมการชุดนี้ได้ดำเนินการตามโครงการถึงขั้นสำรวจบริเวณที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัย โดยทำการสำรวจที่ทุ่งนเรนทร์ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี แต่การดำเนินงานของคณะกรรมการชุดนี้ต้องหยุดชะงักลงเพราะไม่ได้รับงบประมาณ ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำรัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ชุดใหม่ขึ้น โดยมี พ.อ.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ในรัฐบาลชุดนั้นเป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ชุดใหม่ ได้ดำเนินการตามโครงการที่จะจัดให้มีมหาวิทยาลัยในภาคใต้ต่อไป จนถึงปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติในหลักการ 2 ประการ คือให้มีมหาวิทยาลัยภาคใต้โดยมีศูนย์กลางที่ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กำหนดให้มีคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นก่อน และมีโครงการที่จะจัดตั้งคณะวิชาต่าง ๆ กระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ เช่น จะจัดตั้งคณะครุศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ ที่ตำบลเขาตูม อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จะจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง […]