Category: อธิการบดี

ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ป.ช., ป.ม., ท.จ.

ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข เกิดเมื่อ พ.ศ. 2462 ที่จังหวัดจันทบุรี บิดาชื่อนายแจ้ง มงคลสุข มารดาชื่อนางไน้ มงคลสุข มีพี่ชาย 1 คน ชื่อนายแสตมป์ มงคลสุข จากคำบอกเล่าของบุคคลใกล้ชิดได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนที่ “อาจารย์สตางค์” เกิดนั้นมีฝนตกลงมาอย่างหนักและเสียงฟ้าร้องดังกึกก้องไปทั่ว ช่อฟ้าหน้าโบสถ์ที่วัดใกล้บ้านได้หักลงมา ท่านสมภารได้เดินทางมาเยี่ยมถึงที่บ้านและผูกดวงให้พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า “สตางค์” หมายถึง “หนึ่งในร้อย” อีกทั้งยังกำชับบิดา มารดาให้เลี้ยงดูเด็กชายสตางค์ให้ดี “อาจารย์สตางค์” เป็นเด็กที่เรียนดี เฉลียวฉลาด แต่เมื่อจบชั้นมัธยมต้น บิดาของท่านจะไม่ให้เรียนต่อ เนื่องจากขัดสนเรื่องรายได้ จนคุณครูและท่านสมภารต้องมาเกลี้ยกล่อมถึงที่บ้านให้ส่งเสียให้เรียนต่อ ท่านสมภารถึงกับเอ่ยปากว่าหากมีปัญหาอะไรให้ช่วยท่านก็ยินดีจะช่วย และจะยินดีมากหากจะได้มีส่วนส่งเสียให้ได้เล่าเรียนต่อชั้นสูง ๆ แต่ถ้าไม่รับปากท่านสมภารจะนั่งอยู่อย่างนั้นไม่ยอมกลับวัด บิดาของท่านจึงยอมให้เรียนต่อ แต่จะไม่ยอมรบกวนท่านสมภารเด็ดขาดและจะส่งเสียให้เล่าเรียนด้วยตัวของท่านเองท่านได้เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตและปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อท่านได้รับปริญญาโทแล้ว ก็ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์แผนกเคมี ในปี พ.ศ. 2488 ได้รับเงินเดือน เดือนละ 140 บาท ในขณะนั้นท่านนับเป็นอาจารย์หนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

อธิการบดี “บุญสม ศิริบำรุงสุข” กับ 37 ปี ที่สงขลานครินทร์

“สงขลานครินทร์ อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์เป็นตัวฉุดในการพัฒนา ดังนั้น การบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะต้องตั้งความฝันให้แรง ว่าจะนำมหาวิทยาลัยไปสู่จุดสูงสุดได้อย่างไร ในฝันนั้นคือ คน ม.อ.ต้องทำงานหนัก ต้องมีความสามัคคี ความฝันเหล่านี้จะเป็นจริงได้ ก็ต้องทำให้คน ม.อ. รัก ม.อ. ก่อน แล้วจะทำอย่างไรให้คน ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขตรักกันเพื่อความเป็นปึกแผ่นของ ม.อ.เอง” รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีในวาระที่ 2 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 เปิดใจถึงแนวคิดการบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ในระหว่างการดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นเวลาถึง 6 ปี และเป็นช่วงเวลาที่เหตุการณ์ในภาคใต้ เริ่มปะทุอย่างรุนแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีความยากลำบากมากขึ้นในการประคับประคองมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ไม่ให้ถูกลืมไปจากความทรงจำของคนทั้งประเทศ เหมือนกับที่คนไทยกำลังจะลืมสถานที่สำคัญหลายแห่งในภาคใต้ เช่น ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือวัดช้างไห้ รวมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ ช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ให้ดีขึ้น แม้จะใช้เวลานานสักเพียงใดก็ตาม “อาจารย์บุญสม” เป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความมุ่งหวังจะเป็นอาจารย์ตั้งแต่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2518 ซึ่งเมื่อไปยื่นใบสมัครไว้ 2 […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

การเป็นสถาบันต้นสมองความคิดและบ่มเพาะคนดีของชาติ ”คือคุณค่าสงขลานครินทร์”

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปาฐกถา  พิเศษ “คุณค่าสงขลานครินทร์” ในงานวันครบรอบ 53 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์ โดยได้เชิญชวนให้ลูกสงขลานครินทร์ทุกคน มาร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานนาม “สงขลานครินทร์” เป็นชื่อมหาวิทยาลัย ร่วมสำนึกถึงพระราโชวาทสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ที่เป็นแสงส่องนำทางให้เราเดินไปข้างหน้า นอกจากนั้นยังให้ตระหนักถึงกิจของมหาวิทยาลัยที่ต้องเสาะหาวิชชา สอนกุลบุตร ทำนุบำรุงนักปราชญ์ เป็นต้นสมองความคิดของชาติ เป็นสถานเลี้ยงคนดีของชาติ โดยท่านเชื่อว่า ถ้าเรายึดในสิ่งเหล่านี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะมีคุณค่า จะรุ่งโรจน์และยั่งยืนคู่กับสังคมไทยตลอดไป อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า เมื่อย้อนถึงการเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวถึงผู้ที่มีบุญคุณกับในการบริจาคที่ดินเพื่อสร้างความเข้มแข็งในระยะเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยในหลายวิทยาเขต คือ คุณซุ้ยสิ้ม ปริชญากร คุณชอุ่ม วิจารณ์ศุภกิจ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่  และ ตระกูลของหลวงอานุภาษภูเก็ตการและคุณวีระพงษ์ หงษ์หยก ที่จังหวัดภูเก็ต  เราเริ่มต้นด้วยการทดสอบความมุ่งมั่นและความแข็งแกร่ง  เพราะตั้งแต่ระหว่างปี 2508-2526 พื้นที่ภาคใต้เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางลัทธิการเมือง และจากนั้นในปี 2547 ก็เกิดภาวะความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้อีกครั้งหนึ่ง เราได้ผ่าฟันอุปสรรคนานัปการ แม้ว่าจะมีอาจารย์ลาออกเหมือนกับเลือดที่ไหลไม่หยุด แต่เราก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ในความเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้รับการยอมรับอยู่ในการจัดอันดับคุณภาพระดับโลกทุกปีสิ่งที่เป็นจิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือพระราโชวาทของสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ ที่เป็นแสงสว่างนำทางมหาวิทยาลัยสู่ความรุ่งโรจน์ ที่ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

อธิการบดี ม.อ. หนุนกิจกรรมจิตอาสา เปรียบเหมือนเพาะเมล็ดพันธุ์ความดีในจิตใจเยาวชน

นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กว่า 1,000 คน จะใช้เวลาช่วงปิดภาคการศึกษา เดือนธันวาคม 2562 จัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา และกิจกรรมจิตอาสา 9 โครงการใน 6 จังหวัดภาคใต้ คือสงขลา พัทลุง ตรัง สตูล กระบี่ และนครศรีธรรมราช โดยนอกจากจะเข้าศึกษาวิถีชีวิตชุมชน เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่มีสอนในห้องเรียนและกระตุ้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญของการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นแล้ว นักศึกษาเหล่านี้ยังเข้าสร้างพัฒนาสถานที่เพื่อการเรียนรู้ให้กับชุมชน เช่น การสร้างห้องสมุด อาคารอเนกประสงค์ตามความต้องการของชุมชน ปรับปรุงอาคารเรียนและภูมิทัศน์ ให้บริการวิชาการขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวให้โอวาทและเป็นกำลังใจแก่อาจารย์ที่ปรึกษาและตัวแทนนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการว่า งานจิตอาสาและการออกค่ายอาสาพัฒนา นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่ชุมชนและสังคมสังคมแล้ว ยังทำให้นักศึกษาได้ออกไปใช้ความรู้ที่เรียนมา และออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในพื้นที่ที่ไม่มีสอนในห้องเรียน ซึ่งคนในชุมชนต่างมีความคาดหวังให้นักศึกษาเข้าไปมีบทบาทต่อท้องถิ่นก่อนจะจบการศึกษา ทั้งยังเป็นการสนับสนุนนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่ให้คนทุกวัยได้เป็นแกนหลักในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนอีกด้วย จิตอาสาเป็นพื้นฐานชีวิตเพื่อการทำงานในอนาคต เป็นการฝึกนิสัยไม่ให้ดูดายและเตรียมตนเองสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่นในอนาคต เปรียบเหมือนการเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีขึ้นในจิตใจของคน โดยต้องแสดงให้ประจักษ์ว่าเราเป็นคนมีคุณค่าเป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้ร่วมงาน แต่ขอฝากบัณฑิตที่เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการเข้าพื้นที่ว่านอกจากจะต้องเตรียมความพร้อมของตนเองแล้ว ยังต้องควรทำตัวให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพราะชุมชนมีความคาดหวังในภาพลักษณ์ของนักศึกษา โดยเราต้องแสดงวุฒิภาวะของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตของชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งตนเองและชุมชน […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ผู้บริหาร ม.อ. พบผู้นำนักศึกษา เชิญชวนทำกิจกรรมเรื่องหลักของประเทศ

      เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 อธิการบดี และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ได้พบผู้นำนักศึกษาจากสภานักศึกษา และองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2562 ณ อาคารวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ ในวันนั้น ผศ. ดร. นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “อยากเชิญชวนผู้นำนักศึกษา เชิญชวนเพื่อนนักศึกษามาทำกิจกรรมเรื่องหลักของประเทศ ดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม เช่น เรื่องของขยะรีไซเคิล จากปัญหา สัตว์น้ำกินพลาสติกจำนวนมาก แล้วเสียชีวิต การทำงานจะช่วยให้เรียนรู้จริง การทำงานจะทำให้เราเรียนรู้ พัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน มีความสามัคคี ได้ประโยชน์กับตัวเองและสังคม” การที่เรามาเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ต้องเรียนอยู่ที่นี่ที่เดียว สามารถทำงานแล้วกลับมาเรียน ที่เรียกว่าสหกิจศึกษา ในช่วงท้ายของการเรียนหรือไปเรียนในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รวมทั้งเรามีนักศึกษาต่างชาติ ที่มาเรียนและโอนหน่วยกิตไปที่ต่างประเทศ เป็นความร่วมมือที่ทำอยู่ 30 มหาวิทยาลัยในอาเซียน ที่ต่างยอมรับในมาตรฐานซึ่งกันและกัน รวมทั้งการเรียนระบบออนไลน์ นำผู้มีความรู้และประสบการณ์จากภายนอกมาสอน  นอกจากนี้อธิการบดียังได้กล่าวว่าเราเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ก็ไม่ได้ขึ้นค่าเทอม ค่าเทอมเราอยู่ในค่าเฉลี่ยของมหาวิทยาลัยของรัฐ โครงการที่นักศึกษาจะจัดทำ มหาวิทยาลัยก็จะสนับสนุน […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

“50 ปี แห่งการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ”

   ผศ. ดร .นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานมอบรางวัลอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ดีเด่น ประจำปี 2561 และรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น ประจำปี 2561 พร้อมทั้งให้โอวาทกับนักศึกษาบัณฑิตในการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ของบัณฑิตวิทยาลัย ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ม.อ.หาดใหญ่ โดยท่านได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ทั้งทางวิชาการและคุณธรรมจริยธรรม สามารถสร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรม ที่ตอบสนองความต้องการ และแก้ปัญหาของสังคมทั้งในระดับพื้นที่ คือ ภาคใต้ ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ จนที่ภาคภูมิใจของ ชาวสงขลานครินทร์และชุมชนภาคใต้ ซึ่งมหาวิทยาลัยส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนร่วมกับภาคประกอบการ และยังมุ่งสร้างบุคคลให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านต่างๆ โดยได้สนับสนุนให้มีหน่วยวิจัยและศูนย์วิจัยกว่า 21 ศูนย์ และศูนย์วิจัยความเป็นเลิศ 7 ศูนย์ เพื่อศึกษาวิจัยเชิงลึกในศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งจะใช้เป็นฐานในการขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศและสู่สากล นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ร่วมงานวิจัย มีโอกาสได้เรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการวิจัยร่วมกับอาจารย์และเครือข่ายวิจัยทั้งภายในและนอกประเทศ โดยตลอดวันที่ผ่านมาบัณฑิตวิทยาลัยจัดกิจกรรมบรรยายจากวิทยากรต่าง ๆ ให้กับนักศึกษาใหม่เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการเรียนและการใช้ชีวิตกับการศึกษาสามารถนำมาปรับตัวได้ในอนาคต” ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

รอยพระบาทยาตรา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    จากบทความของรองศาสตราจารย์ ดร. บุญสม ศิริบำรุงสุข อดีตอธิการบดี ที่ได้เขียนไว้ขณะเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไว้ว่า…        “ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาเยี่ยมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และขอแสดงความยินดีที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นมาเป็นผลสำเร็จ และมีนักศึกษาได้สำเร็จการศึกษามาแล้ว แสดงว่าเป็นผลที่สมบูรณ์แล้ว การที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งขึ้นมาก็ต้องพิจารณาดูว่า ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่เป็นสำนักศึกษา สถานศึกษาใดๆ เราก็ต้องมาคิดดูว่าต้องมีสถานที่ คืออาคาร ห้องเรียน เครื่องมือสำหรับสอนสำหรับเรียนก็มีอยู่แล้วโดยได้ตั้งขึ้นมาถึงสองแห่ง ที่หาดใหญ่และที่ปัตตานี การสร้างก็นับว่าสร้างขึ้นมาใช้ได้แล้ว และเข้าใจว่าจะต้องสร้างต่อไปอีก เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ …..” นี่เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาท ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มาพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา 2513 และ 2514 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2515 ณ วิทยาเขตปัตตานี โดยในครั้งนั้น ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ผลงานอธิการบดี รศ. ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล

     อธิการบดี รศ. ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล เข้ารับรางวัลยอดเยี่ยม รางวัลโล่พระราชทาน ประเภทสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมงานอาสาสมัครในสถาบันการศึกษา รศ. ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้ารับรางวัลยอดเยี่ยมรางวัลโล่พระราชทานประเภทสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมงานอาสาสมัครในสถาบันการศึกษา จากการประกวดโครงการงานมหกรรมจิตอาสาในสถาบันการศึกษา ปี 2 (2556) ระดับอุดมศึกษา (Education & Volunteer Expo 2013) จัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) และ เครือข่ายจิตอาสา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2557 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ
Back To Top