ศิษย์เก่า ม.อ. เป็นผู้บริหารระดับสูง
ผศ. สุพจน์ โกวิทยา ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานึกศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เผยว่า ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ได้แต่งตั้งศิษย์เก่า ม.อ. เป็นข้าราชการเมือง และผู้บริหารระดับสูงหลายคน ประกอบด้วย ข้อมูลและภาพจาก : https://kyl.psu.th/HqvP1 ช่วยแชร์ด้วยนะครับ
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ม.อ. วันที่ 11 พ.ค. 66
วันที่ 11 พฤษภาคม 2566) เวลา 12.34 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ไปยังศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ โล่เกียรติยศ แด่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ผู้ได้รับรางวัลอนุสรณ์สงขลานครินทร์ อาจารย์ตัวอย่างดีเด่น อาจารย์ดีเด่นกองทุนเอกิ้นเลาเกเซ่นอนุสรณ์ และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา 2564 เป็นวันที่สอง โดยพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ ตามลำดับดังนี้– ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ๑. นายรอยล จิตรดอน ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (คณิตศาสตร์) ๒. Professor Dr. Branislav A. Borovac ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิศวกรรมเครื่องกล)– อาจารย์ตัวอย่างดีเด่น ประจำปี 2565 อาจารย์ตัวอย่างดีเด่นด้านการเรียนการสอน ได้แก่ ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตรีชาติ […]
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ม.อ. วันที่ 10 พฤษภาคม 2566
“คุณค่าสงขลานครินทร์” ยกย่องเชิดชูผู้สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “คุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2565” (PRIDE OF PSU 2022) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย ในรูปแบบ Online และ Onsite เพื่อรำลึกถึงวันสถาปนามหาวิทยาลัย และยกย่องเชิดชูบุคลากร นักวิจัย และนักศึกษาที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี กล่าวเปิดงาน รศ. ดร.วันดี สุทธรังษี ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วม ณ ห้อง Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 65ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ กล่าวว่า วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี […]
ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ป.ช., ป.ม., ท.จ.
ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข เกิดเมื่อ พ.ศ. 2462 ที่จังหวัดจันทบุรี บิดาชื่อนายแจ้ง มงคลสุข มารดาชื่อนางไน้ มงคลสุข มีพี่ชาย 1 คน ชื่อนายแสตมป์ มงคลสุข จากคำบอกเล่าของบุคคลใกล้ชิดได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนที่ “อาจารย์สตางค์” เกิดนั้นมีฝนตกลงมาอย่างหนักและเสียงฟ้าร้องดังกึกก้องไปทั่ว ช่อฟ้าหน้าโบสถ์ที่วัดใกล้บ้านได้หักลงมา ท่านสมภารได้เดินทางมาเยี่ยมถึงที่บ้านและผูกดวงให้พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า “สตางค์” หมายถึง “หนึ่งในร้อย” อีกทั้งยังกำชับบิดา มารดาให้เลี้ยงดูเด็กชายสตางค์ให้ดี “อาจารย์สตางค์” เป็นเด็กที่เรียนดี เฉลียวฉลาด แต่เมื่อจบชั้นมัธยมต้น บิดาของท่านจะไม่ให้เรียนต่อ เนื่องจากขัดสนเรื่องรายได้ จนคุณครูและท่านสมภารต้องมาเกลี้ยกล่อมถึงที่บ้านให้ส่งเสียให้เรียนต่อ ท่านสมภารถึงกับเอ่ยปากว่าหากมีปัญหาอะไรให้ช่วยท่านก็ยินดีจะช่วย และจะยินดีมากหากจะได้มีส่วนส่งเสียให้ได้เล่าเรียนต่อชั้นสูง ๆ แต่ถ้าไม่รับปากท่านสมภารจะนั่งอยู่อย่างนั้นไม่ยอมกลับวัด บิดาของท่านจึงยอมให้เรียนต่อ แต่จะไม่ยอมรบกวนท่านสมภารเด็ดขาดและจะส่งเสียให้เล่าเรียนด้วยตัวของท่านเองท่านได้เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตและปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อท่านได้รับปริญญาโทแล้ว ก็ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์แผนกเคมี ในปี พ.ศ. 2488 ได้รับเงินเดือน เดือนละ 140 บาท ในขณะนั้นท่านนับเป็นอาจารย์หนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง […]
9 พฤศจิกายน “วันรูสะมิแล”
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 และเปิดรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร ์รุ่นแรก จํานวน 60 คน ในปี 2511 โดยในภาคการศึกษาแรกได้ใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจบุันคือ มหาวิทยาลัยมหิดล) ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างอาคารที่ตำบลรูสะมิแล จังหวัดปัตตานี แล้วเสร็จเป็นบางส่วนในภาคการศึกษาที่ 2 คณาจารย์และนักศึกษาจึงได้เดินทางมาเรียนที่วิทยาเขตปัตตานีซึ่งตั้งอยู่ที่ตําบลรูสะมิแล อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 วันแรกของการมาอยู่ที่วิทยาเขตปัตตานีจึงเรียกว่า “วันรูสะมิแล” เพื่อร่วมรําลึกถึงวันแรกที่คณาจารย์และนักศึกษารุ่นแรก เดินทางมาอยู่ที่วิทยาเขตปัตตานี ช่วยแชร์ด้วยนะครับ
ม.อ. จัดงาน “วันมหิดลและวันประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก
ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะ สมเด็จพระบรมราชชนก ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2565 ในวันที่ 24 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก และสะท้อนการดำเนินการตามพระปณิธาน “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” สร้างแรงบันดาลใจ ปลูกฝังจิตวิญญาณของนักศึกษาและบุคลากร สร้างจิตสำนึกการมีคุณธรรม จริยธรรม ในการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติ โดยเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 กองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ จัดงาน “วันมหิดลและวันประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” (Our Soul is for the Benefit of Mankind) ประจำปี 2565 โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี […]
อธิการบดี “บุญสม ศิริบำรุงสุข” กับ 37 ปี ที่สงขลานครินทร์
“สงขลานครินทร์ อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์เป็นตัวฉุดในการพัฒนา ดังนั้น การบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะต้องตั้งความฝันให้แรง ว่าจะนำมหาวิทยาลัยไปสู่จุดสูงสุดได้อย่างไร ในฝันนั้นคือ คน ม.อ.ต้องทำงานหนัก ต้องมีความสามัคคี ความฝันเหล่านี้จะเป็นจริงได้ ก็ต้องทำให้คน ม.อ. รัก ม.อ. ก่อน แล้วจะทำอย่างไรให้คน ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขตรักกันเพื่อความเป็นปึกแผ่นของ ม.อ.เอง” รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีในวาระที่ 2 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 เปิดใจถึงแนวคิดการบริหารมหาวิทยาลัยแห่งนี้ในระหว่างการดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นเวลาถึง 6 ปี และเป็นช่วงเวลาที่เหตุการณ์ในภาคใต้ เริ่มปะทุอย่างรุนแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีความยากลำบากมากขึ้นในการประคับประคองมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ไม่ให้ถูกลืมไปจากความทรงจำของคนทั้งประเทศ เหมือนกับที่คนไทยกำลังจะลืมสถานที่สำคัญหลายแห่งในภาคใต้ เช่น ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือวัดช้างไห้ รวมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ ช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ให้ดีขึ้น แม้จะใช้เวลานานสักเพียงใดก็ตาม “อาจารย์บุญสม” เป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความมุ่งหวังจะเป็นอาจารย์ตั้งแต่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2518 ซึ่งเมื่อไปยื่นใบสมัครไว้ 2 […]
อาคารปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง)
อาคารปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) เป็นอาคารหนึ่งที่เป็นผลงานการออกแบบของคุณอมร ศรีวงศ์ สถาปนิกที่ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ไว้วางใจให้เป็นผู้ออกแบบอาคารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ศูนย์อรรถกระวีสุนทร หรือในชื่อศูนย์ศึกษาหาดใหญ่ ในยุคแรกเริ่มก่อตั้ง (ศูนย์นี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาเขตหาดใหญ่ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นสมัยที่ศาสตราจารย์นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์ เป็นอธิการบดี) ตึกฟักทองเป็นหนึ่งในกลุ่มอาคารของคณะวิทยาศาสตร์ ในระยะแรกเริ่มอาคารเรียนยังมีน้อย นักศึกษาทุกคณะจึงต้องมาเรียนวิชาบรรยายที่นี่ ทั้งนี้เนื่องจากตึกฟักทองมีห้องบรรยายถึง 5 ห้อง คือ ห้อง L1 ถึง L5 ห้องบรรยายใหญ่สุดคือ ห้อง L1 สามารถจุคนได้ถึง 500 คน ดังนั้น ห้องนี้นอกจากจะใช้เรียนวิชาบรรยายแล้ว ยังเป็นห้องที่ใช้จัดประชุมอาจารย์และข้าราชการทั้งวิทยาเขต รวมทั้งใช้ในการจัดกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย ส่วนห้องอื่นๆ ที่เหลืออีก 4 ห้อง คือห้อง L2 – L5 จุคนได้ห้องละ 250 คน ออกแบบโดยสถาปนิกอมร ศรีวงศ์ มีกลีบทั้งหมด 25 กลีบ ปัจจุบัน […]
หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เกิดขึ้นจากนโยบายของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในสมัยศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ระหว่าง พ.ศ.2516 – 2518 ที่ต้องการรวมห้องสมุดต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ และห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าด้วยกัน เป็นหอสมุดกลางเพียงแห่งเดียว โดยใช้ชื่อว่า หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้บริจาคที่ดินเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2521 มีฐานะเป็นงานหอสมุดกลาง สังกัดกองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน 2532 ได้รับการยกฐานะเป็นฝ่ายหอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร สังกัดสำนักวิทยบริการ ต่อมา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ได้รับการยกฐานะเป็นสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งถือเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกหน่วยหนึ่ง สำนักทรัพยากรการเรียนรู้ คุณหญิงหลงอรรถกระวีสุนทร ได้ย้ายจากอาคารเดิมมาอยู่ในอาคารใหม่ คือ อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources […]