การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ”การจัดการความรู้แบบบทเรียนประเด็นเดียว (One Point Lesson (OPL)) เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน

       เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้แบบบทเรียนประเด็นเดียว (One Point Lesson (OPL)) เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน ให้กับบุคลากรของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกรวีสุนทร  ซึ่งโครงการนี้คณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ได้รับอนุมัติงบประมาณเงินรายได้จากสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร จำนวน 19,000 บาท โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 39 คน โดยวิทยากรผู้มากความรู้และประสบการณ์คือ ผศ. ดร. เธียรชัย พันธ์คง จากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 

     สำหรับการอบรมในวันนั้นประเด็นหรือโจทย์หลักก็คือ One Point Lesson (OPL) หรือบทเรียนหนึ่งประเด็น และการพัฒนางานด้วยไคเซน (Kaizen) ซึ่งในความตั้งใจของคณะกรรมการ KM ที่ได้จัดอบรมในครั้งนี้คือต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ไปพัฒนางานของตนเอง โดยผมจะสรุปบรรยากาศการอบรมในวันนั้นมาเล่ากันฟังพอเป็นสังเขป ช่วงเช้าวิทยากรได้พูดถึงประเภทของบทเรียนไว้ว่ามีหลายประเภทไม่เฉพาะแต่ OPL อย่างเดียวเท่านั้น อาทิ

             • One Point Article (OPA)
             • One Point Knowledge (OPK)
             • One Point Sharing (OPS)
             • Media Clipping
             • Knowledge Capture
             • One Ponit Lesson     

           การสรุปบทเรียนนั้นแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร

           1. One Point Article (OPA)  เป็นบทความหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างองค์ความรู้ที่เป็นแบบความรู้ฝังลึกที่เกิดจากประสบการณ์และความรู้แบบชัดแจ้งของบุคลากรมีอยู่ในองค์การโดยผสมผสานกับการบริการจัดการที่เป็นแบบอย่างที่ดี หรือแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) แล้วผลิตเป็นผลงานขึ้นมาเพื่อให้คนอื่นได้นำไปใช้ประโยชน์
           2. One Point Knowledge (OPK) ก็เป็นบทความสั้น ๆ เหมือนกับ One Point Article (OPA) แต่บทเรียนประเภทนี้เกิดขึ้นจากการรวบรวมเรื่องราวที่ตนเองน่าสนใจ จะเป็นเคล็ดลับ หรือความรู้ทางเทคนิคต่าง ๆ ที่พบเห็นแล้วนำมารวบรวมขึ้นเป็นผลงาน
           3. One Point Sharing (OPS) เป็นบทความที่ผู้สร้างทำด้วยแรงบันดาลใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิบัติด้วยตนเองแล้วเห็นผล หรือมีจิตเอื้ออาทรที่จะเผื่อแผ่ส่งที่รู้ไปยังบุคคลอื่น ๆ เช่น  เรื่องราวของธรรมะที่น่าสนใจหรือบทความที่สร้างพลังและแนวคิดเชิงบวก 
          4. Media Clipping เป็นบทความทางเศรษฐกิจ, สังคม และข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับภารกิจหลักขององค์กร ซึ่งเผยแพร่อยู่ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ  เช่น หนังสือพิมพ์หรือวารสารที่ส่งตรงถึงพนักงานเป็นประจำ
          5. Knowledge Capture เป็นการจับประเด็นความรู้มาเป็นตอน ๆ หรือตามประเด็นที่เราสนใจ ซึ่งผู้สร้างผลงานอาจจะการปฏิบัติให้ดู หรือจากการสัมภาษณ์หรือจากวิดีทัศน์ 
          6. One Ponit Lesson คือบทเรียนหนึ่งประเด็นที่เกิดจาก Tacit Knowledge โดยผู้เขียนจะต้องอธิบายวิธีการทำงานว่าสำเร็จอย่างไร โดยจะมุ่งเน้นและเจาะประเด็นในการเรียนรู้ประเด็นเดียวหรือเรื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งจะใช้ภาพวาดหรือภาพถ่ายของจริง มาอธิบายว่าผู้เขียนปฏิบัติมาแล้วหรือพิสูจน์มาแล้วมาวิธีการนี้มีประสิทธิภาพ

       วิทยากรสรุปว่าองค์ประกอบของ OPL คือ
        • เขียน/อธิบายบทเรียน หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการทำงาน ด้วยศัพท์หรือวิธีการง่าย ๆ เพียง 1 ประเด็นหรือ 1 เรื่อง และต้องไม่เกินกระดาษ 1 แผ่น (A4)
        • ใช้เวลาอ่านหรืออธิบาย 5-10 นาที
        • ใช้ภาพ สี ลูกศร มากกว่าตัวอักษร (80:20)
        • แสดงข้อมูล Do, Don’t, Right or Wrong

                                                              รูปที่ 1 หลักการทำ ONE POINT LESSON (OPL)

       ตัวอย่าง OPL เทคนิคการผูกผ้าที่หูถุงผ้าเปี้อน

 

                                                    รูปที่ 2 ตัวอย่าง ONE POINT LESSON (OPL)

       ตัวอย่าง OPL การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรถนั่งบนทางลาดชัน

 

                                                       
รูปที่ 3 ตัวอย่าง ONE POINT LESSON (OPL)

       ในวันนั้นสิ่งที่น่าชื่นชมอีกอย่างของวิทยากรนั้นก็คือท่านได้ยกประวัติของตนเองให้ฟังก่อน ทำให้เราเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มุ่งมั่นในการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ มาตั้งแต่วันเด็กจนประสพความสำเร็จในหน้าที่การงาน และที่สำคัญท่านพอใจที่จะเป็นผู้ให้ ซึ่งจะเห็นได้จากข้อคิดจาก Facebook ที่ท่านได้แสดงความเห็นไว้ว่า…
            ‘ทุกครั้งที่เป็นวิทยากรสิ่งที่ผมต้องทำเสมอไม่ใช่การทำสไลด์ หรือเตรียมเนื้อหาในการบรรยายหากแต่ ผมจะครุ่นคิดเสมอว่า จะทำอย่างไรให้ผมมีความรู้สึกเป็นบุคลากรคนหนึ่งขององค์กร ที่เชิญผมไปบรรยายเพราะวินาที ที่ผมจับไมโครโฟนผมไม่เคยรู้สึกว่าผมเป็นวิทยากรแต่ผมมีความรู้สึกว่า ผมคือบุคลากรขององค์กรนั้น ฉะนั้นสิ่งที่ผมกำลังบรรยายจึงเป็นความรู้สึกที่ผมมีต่อองค์กรนั้นจริง ๆ พูดไปรู้สึกว่าเราเองก็อินในสิ่งที่พูด เป็นความปรารถนาดีที่จะให้คำแนะนำ เพื่อนำพาบุคลากรและองค์กรไปข้างหน้า ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ในฐานะเพื่อนร่วมงานไม่ใช่ในฐานะวิทยากร ตลอดการเป็นอาจารย์และการเป็นวิทยากรผมชินกับการแทนตัวเองว่า “ผม” มากกว่าจะแทนตัวเองว่า “อาจารย์” และมักจะใช้คำว่า “เรา” แทนคำว่า “คุณ” ในการเรียกผู้เข้าอบรมทุกคน เพราะผมกับเขา “เราเหมือนอยู่องค์กรเดียวกัน” เรามาช่วยกันแก้ปัญหา ช่วยกันเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นั่นทำให้ผมมักจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆอยู่เสมอ แม้ชั่วโมงบินผมจะมีน้อยแต่ความรู้สึกร่วมที่ผมมีกับทุกๆองค์กรที่ไปบรรยาย ไม่เคยน้อยลงเลย ครั้งหนึ่งผมเคยได้ยินวิทยากรค่าตัวแพงกว่าผม โปรไฟล์ดีกว่าผม ประสบการณ์มากกว่าผม พูดว่า “ผมไม่เคยบรรยายให้กับคนฟังจำนวนหลักสิบมาก่อน นี่ถ้าผมทราบก่อนว่ามีคนฟังเท่านี้ ผมอาจจะไม่มานะ”  ผมคิดในใจ วิทยากรระดับโลกอย่าง “พระพุทธเจ้า” บรรยายครั้งแรก มีคนฟังแค่ “5 คน” เอง นั่นคือ “ปัญจวัคคีย์” ท่านก็ยังบรรยาย และแม้จะมีเพียง 1 คน ท่านก็ยังบรรยาย อาทิ องคุลีมาล แล้วท่านล่ะเป็นใคร? เรื่องนี้ผมจำไว้เตือนตัวเอง ผมไม่ได้หวังแค่ได้เข้าไปนั่งในห้องอบรม บรรยาย รับค่าตัว แล้วกลับบ้าน แต่ผมหวังจะเข้าไปนั่งในใจของผู้เข้าอบรม เสมือนเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ไม่ใช่วิทยากร หรืออาจารย์ ความสุขของผมไม่ได้มีแค่ตอนที่อยู่ในห้องอบรม แต่ความสุขของผมคือปฏิสัมพันธ์หลังจากนั้นต่างหาก”            

      ผมในฐานะประธาน KM หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลังอบรมการสรุปบทเรียนไปแล้วบุคลากรของสำนักฯ น่าจะมีแนวคิดและริเริ่มจัดทำ OPL หรือสรุปบทเรียนประเภทอื่น ๆ ที่เกิดจากงานที่ตนเองปฏิบัติอยู่หรือสนใจอยู่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาสำนักฯ ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ในที่สุด

DSC_6960
DSC_6958
DSC_6957
DSC_6967
DSC_6998
DSC_7022
DSC_7019
DSC_7006
DSC_7001
DSC_7000
DSC_6996
DSC_6995
DSC_6988
DSC_6984
DSC_6977
DSC_6975
DSC_6972
DSC_6971
DSC_6970
DSC_6967
DSC_6963
DSC_6956
DSC_6954
DSC_6949
DSC_6943
DSC_6940
DSC_6934
DSC_8922
DSC_8925
previous arrow
next arrow
Back To Top
Chinese (Simplified)EnglishFrenchGermanItalianSpanishThai