Page 33 - ว่าวมลายู
P. 33

26







                                            6.3.3  สร้างความกลมกลืนด้วยขนาด (Harmony  of  Size)  โดยใช้ขนาด
                       ของรูปร่างที่ใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกัน
                                            6.3.4 สร้างความกลมกลืนด้วยสี (Harmony of Colors) โดยใช้สีลักษณะ
                       พื้นผิวที่หยาบและละเอียดไม่แตกต่างกันมาก

                                            6.3.5  สร้างความกลมกลืนด้วยแสง-เงา (Harmony  of  Light  and
                       Shadow) โดยใช้ค่า (Value) ของน้ าหนักแสงจัดที่สุดถึงเงามือที่สุดที่มีความประสานกลมกลืน ตาม
                       The Value Scale
                              7. ความตัดกัน (Contrast)

                                       ในงานศิลปะแต่ละชื้น ควรมีการจัดองค์ประกอบของศิลปะให้กลมกลืนเป็นส่วน
                       ใหญ่ และให้มีความตัดกันในส่วนน้อย เพราะความตัดกันนี้จะช่วยให้เกิดความเด่นและช่วยให้งาน
                       ศิลปะนั้นแลดูมีจุดสนใจยิ่งขึ้น

                                     7.1 ความหมายของการตัดกัน
                                           การตัดกัน (Contrast) คือ การตัดหรือขัดแย้งของเส้น สี ช่องว่าง พื้นผิว แสง

                       และเงา ความตัดกันจะต้องมีความประสานสัมพนธ์กับความกลมกลืน (วิรัตน์ พชยไพบูลย์,  2524  :
                                                                                        ิ
                                                              ั
                       49)
                                           การตัดกัน (Contrast) ในทางทัศนศิลป์ คือการประกอบกันของทัศนธาตุ (Art
                              Elements) ต่างๆ ที่ขัดแย้งหรือตัดกัน ทั้งนี้จะต้องประสานสัมพันธ์กับความกลมกลืนด้วย

                                     7.2 ประเภทของความตัดกันทางทัศนศิลป์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
                                            7.2.1 ความตัดกันด้วยส่วนประกอบของทัศนธาตุ ไดแก่ ความตัดกันของ

                       เส้น รูปร่าง รูปทรง แสง-เงา ที่ว่าง สีและพื้นผิว
                                            7.2.2 ความตัดกันหรือความขัดแย้งกันตามธรรมชาติ ได้แก่ ความตัดกันซึ่ง

                       เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ในคน พช สัตว์ ฯลฯ เช่น ความตัดกันของสีของดอกไม้ สร้างความเด่นและ
                                                ื
                       ความสวยงาม ให้เกิดแก่ต้นไม้นั้นได้
                              8. เอกภาพ (Unity)

                                     งานศิลปะที่มีความเป็นเอกภาพสามารถแสดงออกถึงสิ่งที่ต้องการแสดงออกได้อย่าง
                       ตรงไปตรงมาถือว่าเป็นงานศิลปะที่ดียิ่ง ความมีเอกภาพในงานศิลปกรรมถือว่ามีความส าคัญที่สุด ท า
                       ให้เกิดคุณค่าทางสุนทรียภาพซึ่งเป็นเป้าหมายที่ต้องการของศิลปินผู้สร้างงาน

                                     8.1 ความหมายของเอกภาพ
                                          เอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดขึ้นจากการประกอบกันของทัศน
                       ธาตุต่างๆ อย่างประสานกลมกลืนกัน และก่อให้เกิดคุณค่าทางสุนทรียภาพ (วุฒิ วัฒนสิน,  2539  :

                       176)
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38