Page 32 - ว่าวมลายู
P. 32
25
5.2.3 ลักษณะของทิศทางที่เกิดจากการใช้เทคนิคในการท างาน
5.2.4 ลักษณะของทิศทางที่เกิดจากการจัดวางองค์ประกอบของภาพที่เป็น
โครง
5.2.5 ลักษณะของทิศทางที่เกิดขึ้นจากลักษณะการมองมนุษย์
5.3 การจัดทิศทางที่ดีในงานทัศนศิลป์
ความสวยงามมีความสัมพันธ์กับการจักทิศทางของทัศนธาตุที่เหมาะสมกับการ
เลื่อนไหลของสายตา ที่เป็นไปอย่างราบรื่นตลอดทั้งภาพ จะท าให้เกิดความรื่นรมในการดูและจะน ามา
ซึ่งความสวยงามไม่ขัดตา ในทางทัศนศิลป์การจัดทิศทางของทัศนศิลป์ควรค านึงถึง
5.3.1 ความกลมกลืนของทิศทางทัศนธาตุ ได้แก่ เส้น รูปร่าง พื้นผิว และสี
5.3.2 ควรจัดทิศทางของทัศนธาตุ ให้เกิดความเคลื่อนไหว ที่เป็นเอกภาพ
ในผลงานศิลปกรรมแต่ละชิ้น (วุฒิ วัฒนสิน, 2539 : 165)
6. ความกลมกลืน (Harmony)
ความประสานกันเป็นภาคส่วนแห่งมูลฐาน และโดยเหตุความงามไม่ผูกผันอยู่กับ
แบบอย่างซึ่งก าหนดไว้เป็นเฉพาะ เพราะฉะนั้นความประสานกันจึงอาจหมายถึงสิ่งต่างๆที่มีลักษณะ
แตกต่างกันมากได้ทั้งนั้น
6.1 ความหมายของความกลมกลืน
ความกลมกลืน หมายถึง การประสาน เชื่อมต่อติดหรือทับกันของรูปลักษณ์
แสง เงา สี โดยวิธีจัดให้ประสานกลมกลืนเป็นเรื่องราว พวก หมู่ หรือ ล าดับกันให้เกิดความเหมาะสม
เจาะสวยงามมองดูแล้วไม่ขัดตา ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป (วิทย์ พิณคันเงิน, 2520 : 16)
ความกลมกลืน (Harmony) ในทางทัศนศิลป์ คือ การประกอบกันของทัศนธาตุ
ต่างๆที่ประสานกันอย่างดี สวยงามไม่ขัดตา (วุฒิ วัฒนสิน, 2539 : 169)
6.2 ประเภทของความกลมกลืน
ความกลมกลืนทางทัศนศิลป์ อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
6.2.1 ความกลมกลืนกันด้วยส่วนประกอบของทัศนธาตุ ได้แก่ ความ
กลมกลืนของเส้น รูปร่าง และเงา สี ที่ว่าง และพื้นผิว
6.2.2 ความกลมกลืนกันทางความคิด ได้แก่ ความกลมกลืนของความคิด
สร้างสรรค์ของศิลปิน ทั้งในด้านเนื้อหา เรื่องราว (Theme) เทคนิค (Technic) และรูปแบบ (Style)
ทางศิลปะ
6.2.3 ความกลมกลืนกันตามธรรมชาติ ได้แก่ ความกลมกลืนของ
สิ่งแวดล้อม ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเหมาะสมกลมกลืน
6.3 องค์ประกอบศิลป์กับการสร้างความกลมกลืน
6.3.1 สร้างความกลมกลืนด้วยเส้นในทางเดียวกัน (Diagonal Direction)
6.3.2 สร้างความกลมกลืนด้วยรูปร่าง (Harmony of Shape) โดยใช้
รูปร่างให้รูปร่างคล้ายกัน