Page 36 - ว่าวมลายู
P. 36
29
ื่
3.4 ขั้นพิสูจน์ เมื่อคิดออกแล้วควรปฏิบัติและทดลองซ้ าไปเรื่อยๆ เพอจะได้คลี่คลาย
ไปหารูปแบบของตนเอง นั่นคือ การหากฎเกณฑ์และแนวทางของตนเอง (สมศักดิ์ ประเสริฐมุข และ
สุวิมล พุ่มประทีป, 2529 : 7)
4. ขั้นตอนการศึกษางานจิตรกรรม
ื่
การศึกษางานจิตรกรรมนั้น เพอความท่องแท้และซาบซึ้งในจิตรกรรมแผนกที่ศึกษา
อยู่ ผู้ศึกษาจะต้องหมั่นส ารวจจุดยืนของจิตรกรรมแขนงนั้นว่ามีระบบ ขั้นตอน ในการสร้าง
งานเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรเมื่อรู้และเข้าใจดีแล้วก็ต้องสามารถน าเอาความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ให้เป็น
ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ผู้ศึกษางานจิตรกรรมควรจะยึด
แนวทางในการศึกษาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
4.1 กิจกรรมแขนงที่ก าลังศึกษาอยู่นั้น ตรงกับความสนใจของตนเองหรือเปล่าหรือ
เป็นการเลือกตามความสนใจของผู้อื่นหรือเพราะเหตุผลอื่นๆ
4.2 ขณะที่ศึกษาจิตรกรรมแขนงนั้นๆ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆขึ้น ไม่ควรรู้สึกท้อถอย
ควรมองปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเป็นสิ่งเร้า กระตุ้นให้เกิดการอยากรู้ อยากเห็น อยากจะท า อยากแก้ไข
เปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีสิ้นสุด
ี
4.3 ควรค านึงถึงเวลาที่ใช้ในการศึกษา ว่าเหมาะสมเพยงพอกับงานจิตรกรรมกัน
อย่างนั้นหรือไม่ และผลที่ได้รับกับการศึกษาคุ้มค่ากับเวลา
4.4 พยายามศึกษา ค้นคว้า หาทางใช้จินตนาการตามเรื่องราว เหตุการณ์ ตลอดจน
รูปแบบต่างๆอย่างสม่ าเสมอ
ื่
4.5 ค้นคว้า เทคนิค กรรมวิธี ที่แปลกใหม่ เพอให้ได้ผลงานจิตรกรรมที่มีรูปแบบ
แตกต่างไปจากเดิม
ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม ผู้สร้างงานจะสร้างงานโดยการแสดงพลังจิตของผู้สร้าง
ู่
ผลงานให้ปรากฏออกมาในลีลาของพกัน เกรียนและกรวย ซึ่งเป็นการแสดงออกอย่างไตร่ตรอง มีการ
ควบคุมและชี้แนะกลวิธีการสร้างงานอย่างมีระดับขั้นตอน เป็นงานที่มีสีสันและความเป็นเอกภาพของ
ี
สี แสดงความวิจิตรบรรจง ตกแต่งสร้างสรรค์ลวดลาย รูปแบบด้วยความเพยร พยายามละเอยดออน
่
ี
และประณีต