24 April 2024

อาหารประจำภาคใต้

เนื้อหนางใช้เนื้อวัวควายหรือหมูนั่นเป็นชิ้น ๆ คลุกกับน้ำตาลเกลือน้ำซาวข้าวอาจผสมด้วยหยวกกล้วยหรือหน่อไม้แล้วหมักทิ้งไว้ ๗-๘ วัน จึงนำมาปรุงเป็นอาหารได้

 ขอบคุณภาพจาก : http://topicstock.pantip.com /food/topicstock/2010/08/ D9635283/D9635283.html

กุ้งส้ม คือการนำกุ้งมาลวกพอสุกหมักกับเกลือน้ำตาลข้าวสุกเคล้าเข้าด้วยกันหมักไว้ ๗ วัน กุ้งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มเข้มน่ารับประทาน

ไตปลา ไตปลาได้มาจากการนำส่วนที่เรียกว่าพุงปลา มาทำความสะอาดหมักกับเกลือใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิทหมักไว้ประมาณ ๗ วัน หรือมากกว่าไตปลาที่ดีจะมีกลิ่นไม่รุนแรงส่วนของพุงปลาที่ใช้คือ พุงปลาช่อนพุงปลาทู พุงปลากระบอก ปัจจุบันมีแบบบรรจุขวดพลาสติกขนาดเล็กจัดจำหน่าย

บูดู การนำปลาตัวเล็ก ๆ ที่ไม่มีไขมัน ล้างให้สะอาดเคล้ากับเกลือแล้วบรรจุไว้ในโอ่ง ปิดฝามิดชิดนำไปตากแดดทิ้งไว้ประมาณ ๒-๓ เดือน หรือจนเนื้อปลาเหลวเหมือนซอสที่เรียกว่า “น้ำเคย” นำน้ำเคยที่ได้ไปหมักอีก ๑ ปี เนื้อปลาจะเปื่อยและหลุดจากก้างนำมากรองส่วนก้างออกไป น้ำปลาที่เหลือนำไปบรรจุขวด

บูดูมี ๒ ชนิดคือ

  • บูดูเค็มใช้ปรุงรสเหมือนยำคือ มีพริกสดน้ำมะนาวใบมะกรูดหอมแดงซอยตะไคร้ซอย
  • บูดูหวานใช้น้ำบูดูผสมกับน้ำตาลนำไปเคี่ยว พอข้นเติมน้ำปรุงรสด้วยตะไคร้ ทุบหอมแดงทุบ และใบมะกรูดฉีก

                                      ขอบคุณภาพจาก : https://twitter.com/KwansriR

ขอบคุณข้อมูลจาก

          จริยา เดชกุญชร. (2551). อาหารไทยภาคใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัททวี. พริ้นท์ (1991).  

 

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ