ม.อ. มุ่งสู่ World Class University เดินหน้าขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งคุณค่า เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับแนวหน้าของโลก
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) คือการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้ ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยจากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวน การจัดการเรียนรู้ ที่ มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ การจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active learning) ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และ การเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มุ่งยกระดับคุณภาพ […]
ม.อ. จัดงาน “วันมหิดลและวันประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก
ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะ สมเด็จพระบรมราชชนก ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2565 ในวันที่ 24 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก และสะท้อนการดำเนินการตามพระปณิธาน “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” สร้างแรงบันดาลใจ ปลูกฝังจิตวิญญาณของนักศึกษาและบุคลากร สร้างจิตสำนึกการมีคุณธรรม จริยธรรม ในการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติ โดยเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 กองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ จัดงาน “วันมหิดลและวันประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” (Our Soul is for the Benefit of Mankind) ประจำปี 2565 โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี […]
หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เกิดขึ้นจากนโยบายของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในสมัยศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ระหว่าง พ.ศ.2516 – 2518 ที่ต้องการรวมห้องสมุดต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ และห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าด้วยกัน เป็นหอสมุดกลางเพียงแห่งเดียว โดยใช้ชื่อว่า หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้บริจาคที่ดินเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2521 มีฐานะเป็นงานหอสมุดกลาง สังกัดกองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน 2532 ได้รับการยกฐานะเป็นฝ่ายหอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร สังกัดสำนักวิทยบริการ ต่อมา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ได้รับการยกฐานะเป็นสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งถือเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อีกหน่วยหนึ่ง สำนักทรัพยากรการเรียนรู้ คุณหญิงหลงอรรถกระวีสุนทร ได้ย้ายจากอาคารเดิมมาอยู่ในอาคารใหม่ คือ อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources […]
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2515 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางวิศวกรรมเครื่องกลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในสาขาต่างๆ ที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 82 คน มีดังนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ปีการศึกษา 2513 จำนวน 13 คน ประกอบด้วย– วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 จำนวน 2 คน– วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จำนวน 11 คนปีการศึกษา 2514 จำนวน 22 คน– วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 จำนวน 2 คน– วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จำนวน 20 คน […]
การเป็นสถาบันต้นสมองความคิดและบ่มเพาะคนดีของชาติ ”คือคุณค่าสงขลานครินทร์”
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปาฐกถา พิเศษ “คุณค่าสงขลานครินทร์” ในงานวันครบรอบ 53 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์ โดยได้เชิญชวนให้ลูกสงขลานครินทร์ทุกคน มาร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานนาม “สงขลานครินทร์” เป็นชื่อมหาวิทยาลัย ร่วมสำนึกถึงพระราโชวาทสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ที่เป็นแสงส่องนำทางให้เราเดินไปข้างหน้า นอกจากนั้นยังให้ตระหนักถึงกิจของมหาวิทยาลัยที่ต้องเสาะหาวิชชา สอนกุลบุตร ทำนุบำรุงนักปราชญ์ เป็นต้นสมองความคิดของชาติ เป็นสถานเลี้ยงคนดีของชาติ โดยท่านเชื่อว่า ถ้าเรายึดในสิ่งเหล่านี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะมีคุณค่า จะรุ่งโรจน์และยั่งยืนคู่กับสังคมไทยตลอดไป อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า เมื่อย้อนถึงการเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวถึงผู้ที่มีบุญคุณกับในการบริจาคที่ดินเพื่อสร้างความเข้มแข็งในระยะเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยในหลายวิทยาเขต คือ คุณซุ้ยสิ้ม ปริชญากร คุณชอุ่ม วิจารณ์ศุภกิจ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ และ ตระกูลของหลวงอานุภาษภูเก็ตการและคุณวีระพงษ์ หงษ์หยก ที่จังหวัดภูเก็ต เราเริ่มต้นด้วยการทดสอบความมุ่งมั่นและความแข็งแกร่ง เพราะตั้งแต่ระหว่างปี 2508-2526 พื้นที่ภาคใต้เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางลัทธิการเมือง และจากนั้นในปี 2547 ก็เกิดภาวะความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้อีกครั้งหนึ่ง เราได้ผ่าฟันอุปสรรคนานัปการ แม้ว่าจะมีอาจารย์ลาออกเหมือนกับเลือดที่ไหลไม่หยุด แต่เราก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ในความเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้รับการยอมรับอยู่ในการจัดอันดับคุณภาพระดับโลกทุกปีสิ่งที่เป็นจิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือพระราโชวาทของสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ ที่เป็นแสงสว่างนำทางมหาวิทยาลัยสู่ความรุ่งโรจน์ ที่ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง […]
กรมพระศรีสวางควัฒนฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ม.อ. ประจำปีการศึกษา 2563
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา 2563 ระหว่างวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา 2563 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในปีนี้ สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการประถมศึกษา แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่การศึกษาไทยอย่างล้นพ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการประถมศึกษา ทรงอุทิศพระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทรงช่วยเหลือ ส่งเสริม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชน ในท้องถิ่นทุรกันดารให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึงในการนี้พระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวิฒิจำนวน 8 คน ได้แก่ เภสัชกรหญิง ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ความขัดแย้งและสันติศึกษา) […]
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อันดับที่ 5 ของประเทศไทย และอันดับที่ 979 ของโลก
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 5 ของประเทศไทย และอันดับที่ 979 ของโลก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกทั้งหมด 3,000 อันดับ ในปี 2020-2021 โดย URAP ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสมรรถนะทางวิชาการสำหรับปี ค.ศ. 2020-2021 University Ranking By Academic Performance (URAP) 2020-2021 URAP เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยประเมินจากคุณภาพของบทความทางวิชาการและผลงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา โดยมีหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 6 ตัวชี้วัด จากฐานข้อมูล ได้แก่ – Article วิเคราะห์จากจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ – Total Document วิเคราะห์จากจำนวนบทความวิชาการ ผลงานวิจัย บทความในการประชุมวิชาการ บทวิจารณ์ และบทวิเคราะห์ทั้งหมด – Citation วิเคราะห์จากจำนวนการอ้างอิงของผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ – Article Impact Total วิเคราะห์จากสัดส่วนจำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ – Citation Impact Total วิเคราะห์จากสัดส่วนจำนวนการอ้างอิงต่อผลงานวิจัย ต่อ […]
ตราสัญลักษณ์ของ ม.อ.
ตรามหาวิทยาลัยเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ประกอบด้วยจักรกับตรีศูล ซึ่งเป็นเครื่องหมายประจำพระบรมราชวงศ์จักรี ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ มีอักษรย่อ ‘มอ’ (ไขว้) อันเป็นอักษรย่อจากพระนามเดิมของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้า “มหิดลอดุลยเดช” เบื้องล่างของภาพมีอักษรชื่อ “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” สรุปความหมายของตรานี้คือสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรี และได้ทรงดํารงพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์เป็นกรมหลวงสงขลานครินทร์ ความหมายละเอียดของตราประจํามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1. พระมหาพิชัยมงกุฎ คือศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สําคัญแสดงว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ 2. จักรกับตรีศูล คือตราเครื่องหมายประจําพระบรมราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย 3. มอ (ไขว้) คืออักษรย่อมาจากพระนามเดิมของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้า “มหิดลอดุลยเดช” และอักษรย่อ ม.อ. นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แกะสลักด้วยงาที่นมตาลีปัตใบตาลถวายเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดล อดุลยเดช ทรงผนวชเป็นสามเณร […]
อธิการบดี ม.อ. หนุนกิจกรรมจิตอาสา เปรียบเหมือนเพาะเมล็ดพันธุ์ความดีในจิตใจเยาวชน
นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กว่า 1,000 คน จะใช้เวลาช่วงปิดภาคการศึกษา เดือนธันวาคม 2562 จัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา และกิจกรรมจิตอาสา 9 โครงการใน 6 จังหวัดภาคใต้ คือสงขลา พัทลุง ตรัง สตูล กระบี่ และนครศรีธรรมราช โดยนอกจากจะเข้าศึกษาวิถีชีวิตชุมชน เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่มีสอนในห้องเรียนและกระตุ้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญของการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นแล้ว นักศึกษาเหล่านี้ยังเข้าสร้างพัฒนาสถานที่เพื่อการเรียนรู้ให้กับชุมชน เช่น การสร้างห้องสมุด อาคารอเนกประสงค์ตามความต้องการของชุมชน ปรับปรุงอาคารเรียนและภูมิทัศน์ ให้บริการวิชาการขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวให้โอวาทและเป็นกำลังใจแก่อาจารย์ที่ปรึกษาและตัวแทนนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการว่า งานจิตอาสาและการออกค่ายอาสาพัฒนา นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่ชุมชนและสังคมสังคมแล้ว ยังทำให้นักศึกษาได้ออกไปใช้ความรู้ที่เรียนมา และออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในพื้นที่ที่ไม่มีสอนในห้องเรียน ซึ่งคนในชุมชนต่างมีความคาดหวังให้นักศึกษาเข้าไปมีบทบาทต่อท้องถิ่นก่อนจะจบการศึกษา ทั้งยังเป็นการสนับสนุนนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่ให้คนทุกวัยได้เป็นแกนหลักในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนอีกด้วย จิตอาสาเป็นพื้นฐานชีวิตเพื่อการทำงานในอนาคต เป็นการฝึกนิสัยไม่ให้ดูดายและเตรียมตนเองสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่นในอนาคต เปรียบเหมือนการเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีขึ้นในจิตใจของคน โดยต้องแสดงให้ประจักษ์ว่าเราเป็นคนมีคุณค่าเป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้ร่วมงาน แต่ขอฝากบัณฑิตที่เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการเข้าพื้นที่ว่านอกจากจะต้องเตรียมความพร้อมของตนเองแล้ว ยังต้องควรทำตัวให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพราะชุมชนมีความคาดหวังในภาพลักษณ์ของนักศึกษา โดยเราต้องแสดงวุฒิภาวะของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตของชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งตนเองและชุมชน […]
ผู้บริหาร ม.อ. พบผู้นำนักศึกษา เชิญชวนทำกิจกรรมเรื่องหลักของประเทศ
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 อธิการบดี และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ได้พบผู้นำนักศึกษาจากสภานักศึกษา และองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2562 ณ อาคารวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ ในวันนั้น ผศ. ดร. นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “อยากเชิญชวนผู้นำนักศึกษา เชิญชวนเพื่อนนักศึกษามาทำกิจกรรมเรื่องหลักของประเทศ ดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม เช่น เรื่องของขยะรีไซเคิล จากปัญหา สัตว์น้ำกินพลาสติกจำนวนมาก แล้วเสียชีวิต การทำงานจะช่วยให้เรียนรู้จริง การทำงานจะทำให้เราเรียนรู้ พัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน มีความสามัคคี ได้ประโยชน์กับตัวเองและสังคม” การที่เรามาเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ต้องเรียนอยู่ที่นี่ที่เดียว สามารถทำงานแล้วกลับมาเรียน ที่เรียกว่าสหกิจศึกษา ในช่วงท้ายของการเรียนหรือไปเรียนในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รวมทั้งเรามีนักศึกษาต่างชาติ ที่มาเรียนและโอนหน่วยกิตไปที่ต่างประเทศ เป็นความร่วมมือที่ทำอยู่ 30 มหาวิทยาลัยในอาเซียน ที่ต่างยอมรับในมาตรฐานซึ่งกันและกัน รวมทั้งการเรียนระบบออนไลน์ นำผู้มีความรู้และประสบการณ์จากภายนอกมาสอน นอกจากนี้อธิการบดียังได้กล่าวว่าเราเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ก็ไม่ได้ขึ้นค่าเทอม ค่าเทอมเราอยู่ในค่าเฉลี่ยของมหาวิทยาลัยของรัฐ โครงการที่นักศึกษาจะจัดทำ มหาวิทยาลัยก็จะสนับสนุน […]