ประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2505
กำเนิดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคใต้ โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์ในระยะแรกเพื่อการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภาคใต้และยกระดับมาตรฐานการศึกษาสู่ท้องถิ่น แต่จริง ๆ แล้ว แนวคิดที่จะจัดให้มีมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2505 จนในปี 2508 คณะกรรมการดำเนินการก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ได้ถูกแต่งตั้งขึ้น โดยมี พ.อ. ถนัด คอมันตร์ เป็นประธานคณะกรรมการฯ และเริ่มดำเนินการให้มีการก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่ ต. รูสมิแล อ. เมือง จ. ปัตตานี ในปีถัดมา โดยมุ่งที่จะใช้เป็นอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ก่อน ในขณะนั้นทางมหาวิทยาลัยยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ จึงใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยภาคใต้” และมีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) ต่อมาคณะกรรมการฯ เห็นว่า เพื่อให้สถาบันแห่งนี้เป็นศูนย์รวมในด้านจิตใจของประชาชนชาวไทยและเพื่อเป็นศิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย จึงได้ขอพระราชทานชื่อสถาบันจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานชื่อว่า “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ตามพระนามฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510
เมื่อเริ่มต้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า “มอ” ได้จัดตั้งคณะวิชาที่เป็นความต้องการของท้องถิ่นและประเทศชาติ และเริ่มบทบาทในการบริหารวิชาการแก่สังคม จากนั้นได้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่ทำการวิจัยมากขึ้นและเริ่มมีผลงานด้านการวิจัยปรากฏในวงการวิชาการ รวมทั้งได้จัดตั้งหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนบทบาทของมหาวิทยาลัยให้มีขีดความสามารถในการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมท้องถิ่นและประเทศชาติได้กว้างขวางขึ้น ตลอดระยะเวลา 55 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาก้าวหน้าเป็นลำดับจนในปัจจุบันได้ขยายพื้นที่การศึกษาออกไปครอบคลุม 5 จังหวัด คือสงขลา ปัตตานี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และตรัง โดยมีการเรียนการสอนมากมายหลายคณะทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ จนได้รับการยอมรับในฐานะมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคที่มีชื่อเสียงติดอันดับของโลก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ดำเนินงานมาด้วยความเจริญก้าวหน้า และได้เปิดคณะวิชาต่า งๆ จนถึงปัจจุบันมี 35 คณะ/วิทยาลัย ในด้านการผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยฯ เปิดสอนสาขาวิชาการต่าง ๆ จำนวน จำนวน 326 สาขา เป็นการศึกษาระดับประกาศนียบัตรและบัณฑิตศึกษา 174 สาขา ปริญญาตรี (4-6 ปี) 152 สาขา

9 ธันวาคม 2508
สำรวจพื้นที่ในจังหวัดปัตตานี

กรมโยธาเทศบาล (ชื่อเดิมของกรมโยธาธิการ) ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักในด้านการออกแบบอาคารต่าง ๆ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปสํารวจคุณสมบัติของดิน ณ บริเวณที่จะก่อสร้างในจังหวัดปัตตานี

มีนาคม 2509
เริ่มการก่อสร้างตำบลรูสะมิแล

เริ่มงานก่อสร้างอาคารของคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นอาคารแรกที่ ต. รูสะมิแล อ. เมือง จ. ปัตตานี

มีนาคม 2510
จัดตั้งสำนักงานชั่วคราวที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ในปี 2510 ได้จัดตั้งสํานักงานชั่วคราวที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเปิดรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นนักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน โดยใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคืออาคารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ต่อมาในเดือนเมษายน ปีเดียวกันนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ได้เสนอให้ตั้งคณะวิทยาศาสตร์ขึ้นมาเพื่อเป็นแกนกลางบริการสอนวิชาพื้นฐาน ทางด้านวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ แก่นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอื่น ๆ ที่จะเปิดรับต่อไป

เมษายน 2510
จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์

สภาการศึกษาแห่งชาติประกาศรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคใต้ รุ่นแรกจำนวน ๕๐ คน โดยที่ขณะนั้นมหาวิทยาลัยไม่มีอาจารย์ แม้แต่คนเดียว ดังนั้นในการสอบสัมภาษณ์นักเรียนก็ใช่อาจารยของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล สําหรับสถานที่เรียนในขณะนั้นได้อาศัยสํานักงานชั่วคราวเป็นที่เรียน และใช้โรงเรียนช่างฝีมือทหารเป็นห้องปฏิบัติการ จากนักศึกษารุนแรก ๕๐ คน ปรากฎว่าจบเป็นบัณฑิตรุ่นแรกได้เพียง ๑๓ คน โดยทั้ง ๑๓ คนนี้ยังเรียนที่สํานักงานชั่วคราวตลอดจนจบการศึกษา ในการนี้พันเอก ถนัด คอมันตร์ ได้รับตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรก โดยมี ดร. สตางค์ มงคลสุข รักษาการคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์

เมษายน 2510
จัดตั้งคณะวิทยาศาตร์

ในเดือนเมษายน 2510 จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ขึ้นเพื่อสอนวิชาพื้นฐานให้กับนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ (สมัยนั้นใช้คําว่านิสิตจนกระทั่งถึงปี ๒๕๑๖ จึงเปลี่ยนเป็นนักศึกษาด้วยเหตุผลที่ไม่ทราบแน่ชัด) 

มิถุนายน 2510
เริ่มการก่อสร้างอาคารที่ศูนย์อรรถกระวีสุนทร (หาดใหญ่) หาดใหญ่

ดร. สตางค์ มงคลสุข  ดร. ประดิษฐ เชยจิตร ดร. ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ดร. นาท ตัณหวิรุฬห์ อาจารย์เย็นใจ เลาหวณิชย์ และนายนิพนธ์ มาศะวิสุทธิ์ ได้เดินทางมาตรวจที่ตั้งของมหาวิทยาลัยภาคใต้ ที่ตําบลรูสะมิแล จังหวัดปัตตานี ซึ่งขณะนั้นได้เริ่มดําเนินการก่อสร้างไปแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๐๙ โดยคณะสํารวจพิจารณาเห็นว่าที่ดินดังกล่าวไม่เหมาะสมที่จะตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องจากตั้งอยู่บนพื้นที่ชายเลนริมทะเลและชั้นเลนหนาประมาณ ๘ เมตร ในเดือนเดียวกัน ดร. สตางค์ มงคลสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย ได้นั่งรถผ่านสวนยางซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตหาดใหญ่ในปัจจุบัน ในขณะนั้นท่านเกิดความพอใจ จึงได้เจรจาขอซื้อแต่ได้รับการบริจาคโดยมิได้คิดมูลค่าแต่ประการใดจากเจ้าของคือคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่ถึง ๖๙๐ ไร่ เดิมทีเดียวเราเคยเรียกศูนย์ศึกษาที่หาดใหญ่ว่าศูนย์อรรถกระวีสุนทรและเรียกศูนย์ปัตตานีว่าศูนย์รูสะมิแล ต่อมาในปี ๒๕๑๗ สมัยนายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย เป็นอธิการบดีได้นําคำว่าวิทยาเขตมาใช้เป็นครั้งแรก แล้วเปลี่ยนชื่อศูนย์อรรถกระวีสุนทรเป็นวิทยาเขตหาดใหญ่ ศูนย์รูสะมิแลเป็นวิทยาเขตปัตตานี (ในปี ๒๕๒๐ มหาวิทยาลัยได้ตั้งชื่อหอสมุดกลางวิทยาเขตหาดใหญ่ว่า “หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร” เพื่อเป็นการระลึกความดีของท่าน)

12 มีนาคม 2511
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยฉบับแรก

12 มี.ค. 2511 คณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ ได้พิจารณาว่าเพื่อให้สถาบันการศึกษาแห่งนี้เป็นศูนย์รวมในด้านจิตใจของประชาชนชาวไทยจึงได้ขอพระราชทานชื่อว่า “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” (Prince of Songkla University) และได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๘๕ ตอน ๒๔ โดยเรียกว่าพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ ๑๓ มีนาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย  12 มีนาคม 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขึ้น มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยโดยกำหนดเป็น “วันสถาปนามหาวิทยาลัย” และในวันที่ 8 เมษายน 2511 ก็มีประกาศแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ออกเป็น 3 ส่วนคือ
            1. สำนักงานอธิการบดี
            2. คณะวิทยาศาสตร์
            3. คณะวิศวกรรมศาสตร์และในวันที่ 17 เมษายน 2511 ก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ฯพณฯ พ.อ. ถนัด คอมันตร์ เป็นอธิการบดี และศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นรองอธิการบดี ในปี 2511 มหาวิทยาลัยก็เปิดรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์รุ่นแรก จำนวน 60 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ 35 คน และสาขาศิลปศาสตร์ 25 คน โดยในภาคการศึกษาแรกก็ยังคงใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อยู่ เมื่อการก่อสร้างอาคารที่ปัตตานีแล้วเสร็จเป็นบางส่วน ในภาคการศึกษาที่ 2 คณะอาจารย์และนักศึกษาก็ได้ย้ายมาที่ศูนย์ปัตตานีพร้อมกันในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 ส่วนนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็ยังคงอาศัยเรียนที่กรุงเทพฯ ต่อไป ต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม 2511 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ยกเลิกการแบ่งส่วนราชการ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2511 โดยประกาศฯ ใหม่ ให้เพิ่มคณะศึกษาศาสตร์เป็นส่วนราชการของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม
       สำหรับการก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลานั้น เริ่มก่อสร้างในปี 2512 เมื่อการก่อสร้างบางส่วนแล้วเสร็จในปี 2514 วันที่ 5 กรกฎาคม 2514 อาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีที่ 2, 3 และ 4 ประมาณ 200 คน ก็ย้ายมาอยู่ประจำที่ศูนย์หาดใหญ่ ส่วนนักศึกษาปีที่ 1 ก็ยังคงเรียนที่กรุงเทพฯ และย้ายตามลงมาในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2515 สำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งเริ่มเปิดรับรุ่นแรกในปี 2512 จำนวน 60 คน และบุคลากรหน่วยต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ก็ย้ายมายังศูนย์หาดใหญ่ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2515เช่นเดียวกัน จึงถือว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ย้ายที่ทำการมาอยู่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อย่างถาวรภายในปี 2515

มิถุนายน 2511
จัดตั้งตั้งคณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2509 โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะแรก ที่เปิดสอนในปี พ.ศ. 2510 โดยใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาคณะศึกษาศาสตร์ ได้เปิดสอนเป็นคณะที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 60 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ จำนวน 35 คน และสาขาศิลปศาสตร์ จำนวน 25 คน  โดยใช้อาคารเรียนร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่กรุงเทพฯ คืออาคารคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคืออาคารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ต่อมาได้ย้ายมาเรียนที่ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 (ซึ่งมหาวิทยาลัยได้กำหนดวันดังกล่าวเป็น วันรูสะมิแล) มีอาจารย์จำนวน 11 คน โดยมี ศาสตราจารย์นพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณบดีคนแรก คณะศึกษาศาสตร์ นับเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เปิดสอนในภาคใต้ ในระยะแรก คณะศึกษาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ผลิตครูระดับปริญญาตรีที่สอนระดับมัธยมศึกษาในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ และเพื่อขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาในวิชาการศึกษา ออกไปสู่ส่วนภูมิภาคให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ตามแผนพัฒนาภาคใต้ พร้อมกันนั้นจะร่วมมือกับชุมชนในการปรับปรุงการศึกษา และยกระดับวิทยฐานะของครูอาจารย์ให้สูงขึ้นด้วย ปีการศึกษา 2511 เป็นปีแรกที่ คณะศึกษาศาสตร์ เปิดทำการสอน ในสาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศาสตร์ ต่อมาคณะศึกษาศาสตร์ ขยายภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมตามศักยภาพและความพร้อม

มิถุนายน 2512
เปิดรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

ในเดือน มิ.ย. ๒๕๑๒ เปิดรับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์รุ่นแรก จำนวน ๕๔ คน

5 กรกฎาคม 2514
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ย้ายมาประจำที่ศูนย์อรรถกระวีสุนทร

นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ ๒, ๓, ๔ จำนวน ๒๐๐ คน ย้ายมาประจําที่ศูนย์อรรถกระวีสุนทร (หาดใหญ่)     

2515
นักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ลงมาประจำที่ศูนย์อรรถกระวีสุนทร

นักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ทั้งหมดได้ย้ายมาอยู่ที่หาดใหญ่ ในขณะนี้คณะวิทยาศาสตร์มีเพียงตึกเคมีเพียงครึ่งหลัง ที่สร้างเสร็จแล้วอีกครึ่งหนึ่งกําลังกอสร้าง ตึกพักทองกําลังก่อสร้างเกือบแล้วเสร็จ ส่วนอาคารอื่น ๆ ที่ศูนย์หาดใหญ่นี้ ในขณะนั้นก็มีตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ หอพักนิสิตชาย ๒ ปีก หอหญิงปีกเดียว โรงอาหาร (คาเฟต) และบ้านพักอาจารย์อีกไม่กี่หลัง นอกจากนี้ก็มีอางเก็บน้ําซึ่งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ (ซึ่งชาวบ้านทั่ว ๆ ไปจะเรียกมหาวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยอ่างน้ำ” เพราะเราสร้างอ่างเก็บน้ำเสร็จก่อนอย่างอื่น) ต่อมาเมื่อตราของมหาวิทยาลัยปรากฎต่อสายตาชาวบ้านมากขึ้นก็จะมีคําถามว่า “มอ.” ย่อมาจากอะไร ซึ่งบางคนก็เข้าใจว่าคงเป็นเสียงร้องของวัว เพราะตอนนั้นชาวบ้านนำวัวมาเลี้ยงกันในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก แต่ในความจริงแล้วคำว่า “มอ.” เป็นอักษรย่อของพระนามเดิมของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิคลอดุลยเดช

ตุลาคม 2515
จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นคณะที่ตั้งขึ้น เนื่องจากปัญหาทางด้านสาธารณสุขของภาคใต้และความขาดแคลนบุคลากรทางด้าน การแพทย์ และสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งเพื่อให้การดําเนินการเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 คณะแพทยศาสตร์จึงได้รับ การจัดตั้งขึ้นเป็นคณะลําดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
         สภามหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ได้เล็งเห็นความจําเป็นและมีมติเห็นควร ให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2511 และดําเนินการ ขอจัดตั้งตามขั้นตอนของระบบราชการ จนกระทั่งถึงวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2514 สภาการศึกษาแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัย ในวันที่ 27 ธันวาคม 2514 สภาปฏิวัติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โดยมีปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการ ชุดนี้ได้แต่งตั้งอนุกรรมการ วางแผนรวม เพื่อวางแผนการดําเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ในระยะต้น โดยมี รองศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม ลิ่มวงศ์ เป็นประธาน นายแพทย์ปราโมทย์ วีรานุวัตติ์ เป็นเลขานุการ จนลุล่วงถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้มีประกาศ ราชกิจจานุเบกษา ให้คณะแพทยศาสตร์ เป็นหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2515 และได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ใช้สถานที่ของคณะเภสัชศาสตร์ เป็นสํานักงานชั่วคราว สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีมติให้ตั้ง คณะแพทยศาสตร์ ณ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ประกอบด้วยภาควิชาเริ่มแรก 11 ภาควิชา กับ 2 หน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์สามารถรับนักศึกษารุ่นแรกได้ จํานวน 35 คน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยใช้สถานที่ของคณะวิทยาศาสตร์เป็นที่เรียนภาคทฤษฎี และระยะแรกใช้โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสงขลา เป็นที่เรียนภาคปฏิบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดําเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2519 เพื่อให้เป็นสถาบันทางด้านการศึกษาวิจัย การรักษาพยาบาลและฝึกงานของบุคลากร ทางด้านการแพทย์ทุกแขนง และได้พระราชทานนามของโรงพยาบาลในภายหลังว่า “โรงพยาบาลสงขลานครินทร์" ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2520 คณะแพทยศาสตร์ก็ได้ย้ายสํานักงานคณบดีชั่วคราวจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงมาตั้งชั่วคราว ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และในช่วง 2 ปี ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 คณะแพทยศาสตร์ก็ได้บัณฑิตที่จบการศึกษารุ่นแรกจํานวน 31 คน 

ตุลาคม 2515
เปิดรับนิสิตแพทย์รุ่นแรก

เปิดรับนิสิตแพทย์รุนแรกจำนวน ๓๖ คน โดยวิธีการคัดเลือกจากนิสิตวิทยาศาสตร์ปีที่ ๑ จํานวน ๘๐ คน และในปีเดียวกันนี้มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนิสิตพยาบาลอนุปริญญารุ่นแรก โดยการฝากเรียนที่วิทยาลัยพยาบาลสงขลา ต่อมานิสิตรุ่นนี้ได้รับการศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรีที่คณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกสุขศึกษา

23 เมษายน 2516
จัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเปิดรับนักศึกษาเป็นรุ่นแรกในปีการศึกษา ๒๕๑๘ จํานวน ๗๕ คน

23 เมษายน 2517
จัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ประกาศแบ่งส่วนราชการ มีคณะวิทยาการจัดการเป็นคณะที่ 7 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2519 เปิดรับนักศึกษาเป็นปีแรกในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จำนวน 35 คน แยกเป็น 4 สาขาวิชา คือบัญชี การเงิน การตลาด และการบริหารงานบุคคล และเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 13 คน โดยใช้อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสำนักงานและอาคารเรียนชั่วคราว

2519
จัดตั้งคณะทรัพยากรธรรมชาติ

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้จัดตั้งขึ้นโดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 217 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Faculty of Natural Resources มี ผศ. ดร. เจือ สุทธิวนิช เป็นคณบดีคนแรก เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2520 จำนวน 60 คน ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์และพัฒนาการเกษตร และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อุตสาหกรรมเกษตร) และเริ่มรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษาในปี 2530 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร และสาขาวิชาพืชศาสตร์ และเริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ ปี 2543 สาขาวิชาวาริชศาสตร์ ปี 2547 สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน ปี 2550 และสาขาวิชาการผลิต เทคโนโลยีและการจัดการยางธรรมชาติ (นานาชาติ) ปี 2557 (ยกเลิกหลักสูตร ปีการศึกษา 2563) ซึ่งทางคณะมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติงานวิชาการ และการพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้านการเกษตร การจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรที่สามารถฟื้นฟูได้ เช่น ทรัพยากรเกษตร ประมง ดิน น้ำ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม

2520
จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต

เมื่อปี พ.ศ. 2516 ศ. นพ. สวัสดิ์ สกุลไทย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในขณะนั้น ได้ริเริ่มแนวคิดจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและแก้ไขการขาดแคลนบุคลากร โดยได้เริ่มนักศึกษารุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ. 2520 ในระดับประกาศนียบัตร ( 2 ปี ) ในสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต" เมื่อปี พ.ศ. 2529 ในช่วงแรกนั้นใช้สถานที่ของโรงเรียนเทศบาลในการสอน และฝึกปฏิบัติการในสถานปฏิบัติการภายในจังหวัด ต่อมาจึงได้สร้างสำนักงานของวิทยาลัยขึ้นในภายหลัง แต่วุฒิการศึกษาประกาศนียบัตร (2ปี) ทำให้เกิดความสับสนกับวุฒิอนุปริญญา (2 ปี) ของสถาบันการศึกษาอื่น รวมทั้งมีสถาบันการศึกษาเปิดเพิ่มขึ้นจำนวนมากทำให้จำนวนผู้เรียนมีน้อยลงอย่างมาก วิทยาลัยชุมชนภูเก็ตจึงปรับหลักสูตรจากระดับประกาศนียบัตร (2 ปี) เป็นหลักสูตรอนุปริญญา (3 ปี) แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเดิมได้ จึงได้งดรับนักศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ในปัจจุบัน วิทยาลัยชุมชนภูเก็ตได้เปิดสอนหลักสูตรอบรมระยะสั้น และหลักสูตรในระดับปริญญาโท

2522
ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์

โครงการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มตั้งแต่การจัดทำร่างโครงการพร้อมทั้งแผนกและวิชาต่าง ๆ ที่จะเริ่มเปิดสอนซึ่งใช้เวลาร่างโครงการเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2521 โดยทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขอความอนุเคราะห์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุนาลินี นิโครธานนท์ มาช่วยในการจัดทำร่างโครงการดังกล่าว โดยเริ่มจัดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามการอนุมัติของรัฐบาลใน พ.ศ. 2515 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2521 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ. ดร. สุนาลินี นิโครธานนท์ เป็นคณบดีคนแรกเริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เมื่อปีการศึกษา 2522 จำนวน 19 คน โดยนักศึกษาในรุ่นแรกนี้ เป็นนักศึกษาที่รับจากการสอบตรงทั้งหมดนระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2521 โดยทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขอความอนุเคราะห์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุนาลินี นิโครธานนท์ มาช่วยในการจัดทำร่างโครงการดังกล่าว โดยเริ่มจัดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามการอนุมัติของรัฐบาลใน พ.ศ. 2515 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2521 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร. สุนาลินี นิโครธานนท์ เป็นคณบดีคนแรก เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เมื่อปีการศึกษา 2522 จำนวน 19 คน โดยนักศึกษาในรุ่นแรกนี้ เป็นนักศึกษาที่รับจากการสอบตรงทั้งหมด

2522
รับนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย สาขาเคมีศึกษาเป็นสาขาแรก

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2522 โดยเปิดรับนักศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเคมีศึกษาเป็นสาขาวิชาแรกและได้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2523 มีฐานะเป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย โดยมีภาระกิจหลัก คือ ประสานงานในการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา รักษามาตรฐานการศึกษาและประกันคุณภาพการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย และเป็นหน่วยงานกลางในการรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัย มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 159 หลักสูตร แยกเป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตร 1 สาขาวิชา หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง 1 สาขาวิชา หลักสูตรระดับปริญญาโท 108 สาขาวิชา และหลักสูตรระดับปริญญาเอก 49 สาขาวิชา

2523
ยกฐานะโรงเรียนพยาบาลเป็นคณะพยาบาลศาสตร์

ยกฐานะโรงเรียนพยาบาลเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ 

2526
จัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2526 เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการกระจายทันตแพทย์สู่ชุมชนชนบทในภาคใต้ ปัจจุบันคณะทันตแพทยศาสตร์ ผลิตทันตบุคลากรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและระดับวุฒิบัตร โดยจัดการเรียนการเรียนการสอนทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ภายใต้การดูแลโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถด้าน วิชาการสาขาต่าง ๆ และด้านการวิจัย เปิดรับนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์รุ่นแรก จํานวน ๑๗ คน

2528
จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 3 ในวิทยาเขตปัตตานี โดยโอนภาควิชาวิทยาศาสตร์ และภาควิชาคหกรรมศาสตร์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มาสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาควิชาที่โอนมาสังกัดคณะใหม่ ได้เปลี่ยนชื่อภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรกของคณะ ในปีการศึกษา 2528 สาขาเทคโนโลยีการยาง จำนวน 11 คน นอกจากนี้คณะฯ ยังรับผิดชอบในการสอนนักศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ คือ ศษ.บ. (คหกรรมศาสตร์), วท.บ (ศึกษาศาสตร์) โปรแกรมวิชาเอกสาขาคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป วิชาโทสาขาต่าง ๆ และหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์) ให้ทุกคณะในวิทยาเขตปัตตานี หลังจากการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528

2529
รับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตต่อเนื่อง (1 ปี และ 2 ปี)

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาในภาคใต้ ซึ่งจัดการศึกษาพยาบาลในระดับอุดมศึกษา ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นศูนย์กลางการศึกษาพยาบาลในภาคใต้ และผลิตบุคลากรพยาบาล ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในระยะเริ่มแรกที่ก่อตั้ง ในปี 2516 คณะพยาบาลศาสตร์ มีฐานะเป็นภาควิชาโรงเรียนพยาบาล สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกเข้าศึกษาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2516 จำนวน 19 คนในหลักสูตร อนุปริญญาพยาบาลและผดุงครรภ์ มีระยะเวลาศึกษา 3 ปี 6 เดือนซึ่งรับเพียงรุ่นเดียว ในปีต่อมาได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาล) มีระยะเวลาศึกษา 4 ปีนักศึกษารุ่นแรกของหลักสูตรนี้มีนักศึกษาจำนวน 20 คน ต่อมาภาควิชาโรงเรียนพยาบาลได้ยกฐานะเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2523 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้าที่ 4 ฉบับพิเศษ เล่มที่ 97 ตอนที่ 154 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2523 ในปี 2529 เปิด รับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตต่อเนื่อง (1 ปี และ 2 ปี)

2532
จัดตั้งคณะวิทยาการอิสลาม

คณะวิทยาการอิสลาม เดิมชื่อวิทยาลัยอิสลามศึกษา ได้รับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2532  และได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิทยาการอิสลาม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม  2562  โดยกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัยด้านวิชาการและศิลปวิทยาการเกี่ยวกับอิสลามและบริการวิชาการแก่สังคม รวมทั้งผลิตกำลังคนทางด้านอิสลามศึกษาทั่วไปในทุกสาขา คณะวิทยาการอิสลามได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานบริหารคณะ กลุ่มงานวิชาการ กลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรม และกลุ่มงานพันธกิจเพื่อสังคม ปัจจุบันคณะวิทยาการอิสลาม ได้ทำหน้าที่ ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม ศึกษาค้นคว้าวิจัยความรู้ใหม่ ๆ ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้ดำเนินการตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมตามศักยภาพและความพร้อม

2533
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตภูเก็ต

ในปีพุทธศักราช 2520 ศ. นพ. สวัสดิ์ สกุลไทย อธิการบดีได้มีแนวคิดในการขยายการจัดการเรียนการสอนมาที่จังหวัดภูเก็ต ในรูปแบบของ “โครงการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต” โดยการจัดการศึกษาระดับประกาศนีบัตร (เรียน 2 ปี) และงานบริการแก่ชุมขน สาขาที่เปิดสอนในระยะแรกคือสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งผลปรากฎว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ต่อมาจึงเปิดเพิ่มอีกหลายสาขา ลำดับพัฒนาการของวิทยาเขตภูเก็ต ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตเก็ต ทยาเขตภูเก็ต เป็นเขตการศึกษาที่เน้นทางด้านอุตสาหกรรมบริการที่เอื้อประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว การรักษาสภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติ ปัจจุบันมีหน่วยงานภายในทั้งสิ้น 3 หน่วยงาน คือวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต คณะอุตสาหกรรมบริการ และคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 

2 สิงหาคม 2533
รับนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี (อนุปริญญา)

วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะอยู่ในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี สืบเนื่องจากสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี และเปิดดำเนินงานครั้งแรกในปี 2533 ต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีการจัดตั้ง ณ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. 2533 ต่อมาได้มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2537 นับเป็นหน่วยงานแรกในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2533 หลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวกับที่เปิดสอน ณ วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต และในปีงบประมาณ 2534 ได้ขยายงานเพิ่มขึ้น โดยเปิดรับนักศึกษาเพิ่มอีก 2 สาขา คือ สาขาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งต่อมาได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเป็นอนุปริญญา ทั้ง 3 สาขาวิชา การดำเนินงานจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี หลักสูตรอนุปริญญา ดำเนินการมาถึงปี พ.ศ. 2541 จึงได้ทำการปิดการรับนักศึกษาทั้ง 3 สาขา ในช่วงนี้นอกจากมีภารกิจด้านการเรียนการสอนในระดับอนุปริญญาแล้ววิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี ยังมีภารกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคมในรูปแบบการฝึกอบรมในระยะสั้นอีกด้วย

2534
รับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจโครงการขยายการศึกษาที่จังหวัดตรัง

ในปี พ.ศ. 2522 กระแสเรียกร้องจากประชาชนในจังหวัดตรัง เกี่ยวกับการให้มีสถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาการของประชากรจังหวัด ในปีอ พ.ศ. 2524 จังหวัดตรังได้มอบที่ดินจำนวน 686 ไร่ 57 ตารางวา ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ “ทุ่งกง” ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลควนปริง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยในระยะแรก มหาวิทยาลัยได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานีวิจัยทางการเกษตรของคณะทรัพยากรธรรมชาติ วิทยาเขตหาดใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง และอุปนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีหนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องขอให้ขยายวิทยาเขตไปที่จังหวัดตรัง เนื่องจากจังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก และตัวจังหวัดยังเป็นศูนย์กลางของจังหวัดทางภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับจังหวัดตรังยังไม่มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา การประชุมระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และจังหวัดตรัง จึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการขยายการศึกษาไปที่จังหวัดตรังในหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2534 จึงได้ทำการเปิดโครงการขยายการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดตรัง ณ โรงเรียนเทศบาลวัดมัชฌิมภูมิ อ. เมือง จ. ตรัง ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมี ศ.ดร. เกษม สุวรรณกุล นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีและได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ. ตรัง ในฐานะอุปนายกสภามหาวิทยาลัยฯ มาร่วมในพิธีเปิดด้วย ซึ่งทางโรงเรียนได้ให้มหาวิทยาลัยใช้เป็นสถานที่เรียนชั่วคราวในปีเดียวกัน ได้เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (เป็นหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ) โดยจัดการเรียนการสอนชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่อาคารเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดมัชฌิมภูมิ อ. เมือง จ. ตรัง และชั้นปีที่ 3 และ 4 เรียนที่คณะวิทยาการจัดการ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เป็น “โครงการจัดตั้งวิทยาเขต” เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538 มีจุดเน้นของการพัฒนาวิชาการโดยเน้นทางด้านสังคมศาสตร์ประยุกต์ธุรกิจ และอุตสาหกรรมการบริการ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบในเชิงธุรกิจ ในปี พ.ศ. 2542 นักศึกษารหัส 42 ย้ายจากสถานที่เรียนชั่วคราว (โรงเรียนเทศบาลวัดมัชฌิมภูมิ) มาเรียนยังวิทยาเขตตรัง ต. ควนปริง เป็นการถาวร    ในปีการศึกษา 2546 ได้จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการจัคการ (Faculty of Commerce and Management) เพื่อผลิตบัณฑิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจ 8 สาขาวิชา คือสาขาวิชาการจัดการสารสนทศและคอมพิวเตอร สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการประกันภัย สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี สาขาวิชาการบัญชี (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์          เขตการศึกษาตรังมุ่งเน้นสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ประยุกต์ ธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบในเชิงธุรกิจและการจัดการ ปัจจุบันมีคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ เป็นหน่วยงานภายใน 

2535
โครงการจัดตั้งคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม

ในปี พ.ศ. 2532 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเปิดตัวในสังกัดบัณฑิตวิทยาลัย โดยมีนักศึกษา 15 คนต่อปี และค่อย ๆ เพิ่มเป็น 25 คนในปี พ.ศ. 2542 จากหลักสูตรนี้ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อมได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 คณะเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ในโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ. 2539 โดยมีนักศึกษา 10 คนต่อปี และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ. 2542 โดยมีนักศึกษา 10 คนต่อปี ในปี พ.ศ. 2557 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เปิดตัวสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน ในปี 2560 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และเปิดตัวปริญญาเอกด้านการจัดการพลังงานที่ยั่งยืน ในปี 2020 ได้มีการบูรณาการหลักสูตรการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข้ากับคณะ

2536
โครงการจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมเกษตร

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 จากการยกระดับภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลเกษตรและทรัพยากรชีวภาพของภาคใต้หรืออุตสาหกรรมเกษตร ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และวัสดุชีวภาพ และการจัดการในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมเกษตร โดยปัจจุบันคณะฯ ใช้หลักสูตรที่เน้นการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning, WIL) และการวิจัยเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรของภาคใต้และประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์กับการตั้งคณะฯ และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของประเทศ (S-curve) ภายใต้โมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย BCG (Bio-Circular-Green Economy) โดยมุ่งเน้นการใช้ผลผลิตเกษตรและทรัพยากรชีวภาพของภาคใต้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มูลสูงด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่คำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs)

2540
โครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์

แนวคิดในการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ ได้เริ่มมาตั้งแต่แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 และดำเนินการเรื่อยมาจนกระทั่งถึงแผนฯ ระยะที่ 7 (พ.ศ. 2536-2539) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงได้เสนอทบวงมหาวิทยาลัยขอจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ เพื่อรองรับและดำเนินการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิชาศึกษาทั่วไป สนองตอบต่อการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยโดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการในระดับบัณฑิตศึกษา พัฒนาการวิจัย รวมทั้งการให้บริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ในปี พ.ศ.2538 คณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์เสนอร่างโครงการจัดตั้งคณะ ศิลปศาสตร์ให้มหาวิทยาลัยพิจารณาตามขั้นตอน และสภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2538 จากนั้นดำเนินการเสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2540 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยได้ลงนามอนุมัติให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ.2540 (จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์) โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่ม 114 ตอนที่ 47 ก วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2540 ซึ่งมีผลบังคบใช้ในวันถัดมา และได้กำหนดปริญญาในสาขาศิลปศาสตร์ กำหนดสีประจำสาขาในคณะศิลปศาสตร์ เป็นสีแดงส้มโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับฏีกาเล่ม 116 ตอนที่ 53 ก วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2542 ในปี พ.ศ. 2542 คณะศิลปศาสตร์แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ภาควิชา คือภาควิชาสารัตถศึกษาและภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 76 ง หน้า 35 ข้อ 14 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2542 และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีคำสั่งที่ 1543/2542 ตัดโอนตำแหน่งและเงินเดือนอาจารย์และข้าราชการจากภาควิชาสารัตถศึกษา คณะวิทยาการจัดการ และภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มาสังกัดคณะศิลปศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 เป็นต้นมา

2543
จัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ ที่วิทยาเขตปัตตานี

คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร เป็นหน่วยงานที่เริ่มดําเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ภายใต้ชื่อโครงการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัยให้บรรจุเอาไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แต่ขณะนั้นยังไม่สามารถดําเนินการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะอย่างเป็นทางการและยังไม่สามารถเปิดรับนักศึกษาได้ ต่อมาเมื่อได้มีการปรับปรุงคณะกรรมการดําเนินการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ชุดใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มาจากคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศิลปะที่หลากหลายแขนงในวิทยาเขตปัตตานี ทั้งจากคณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกองบริการ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาการศึกษา วิทยาเขตปัตตานี โดยที่ประชุมจึงมีมติเห็นพ้องต้องกันว่าการดําเนินการจัดการศึกษาด้านศิลปะนั้น ควรมีการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมศาสตร์ทางด้านศิลปะในทุก ๆ ด้าน ไม่ควรจัดการศึกษาเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง คณะกรรมการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ชุดดังกล่าวจึงได้มีมิติเปลี่ยนชื่อโครงการจัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์เป็น “โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์" ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมศิลปะแขนงต่าง ๆ อย่างครบถ้วนทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) และทางด้านประยุกต์-ศิลป์ (Applied Arts)

2545
จัดตั้งคณะวิทยาการสื่อสาร ที่วิทยาเขตปัตตานี

ปี 2532 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เล็งเห็นว่าคณะวิชาด้านการสื่อสารเป็นสาขาวิชาที่กำลังได้รับความสนใจจากนักเรียน และตลาดแรงงานในขณะนั้นเป็นอย่างมาก จึงได้ริเริ่มดำเนินการ “โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีและวิทยาการสื่อสารและสารสนเทศ” ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็น “โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสื่อสาร” และได้เริ่มต้นร่างหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปี 2539
ต่อมาในปี 2540 ประเทศไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจวิกฤติ ทำให้การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ภายในมหาวิทยาลัยหลายโครงการต้องหยุดชะงักไป รวมทั้งโครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสื่อสารด้วย คณะกรรมการดำเนินงานฯ จึงร่วมมือกับภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิชาโทนิเทศศาสตร์ โดยเริ่มรับนักศึกษาวิชาโทรุ่นแรกในปีการศึกษา 2542
จนกระทั่งในปีการศึกษา 2545 โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสื่อสารได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น “คณะวิทยาการสื่อสาร” เป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และในปีเดียวกันนั้นก็ได้เปิดสอนและรับนักศึกษารุ่นแรก ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และในปีการศึกษา 2547 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการ ในปีการศึกษา 2548 คณะวิทยาการสื่อสารเปิดสอนอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดเพื่อการพัฒนา และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อ
คณะวิทยาการสื่อสาร เป็นคณะวิชาที่เน้นการบูรณาการศาสตร์แห่งการสื่อสาร คือ “นิเทศศาสตร์” “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” และ “นวัตกรรมการออกแบบและสร้างสร้างสื่อ” เพื่อสร้างองค์ความรู้และผลิตบัณฑิตแห่ง “สังคมสารสนเทศ” (information society) และ “สังคมฐานความรู้” (knowledge-based society) ที่จะต้องพร้อมด้วยศักยภาพในการสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีอย่างเชี่ยวชาญ สร้างสรรค์ และรู้เท่าทัน อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ความรู้เพื่อพัฒนาตนให้เป็นผู้นำทางวิชาชีพ ทางวิชาการ และทางสังคมในอนาคต

2545
จัดตั้งคณะนิติศาสตร์ ที่วิทยาเขตหาดใหญ่

คณะกรรมการพัฒนามหาวิทยาลัยและคณะกรรมการส่งเสริมกิจการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เห็นชอบและสนับสนุนให้มีคณะนิติศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยจึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตโดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ทฤษฎิคุณ เป็นประธานกรรมการ และในคราวประชุมครั้งที่ 235 (3/2545)
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2545 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักสูตรดังกล่าว และเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 66 คน เมื่อหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต เปิดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร นิติศาสตรบัณฑิต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ทฤษฎิคุณ เป็นประธานกรรมการดูแลรับผิดชอบไปก่อน และ ที่ประชุมคณบดีในคราวประชุมครั้งที่ 7/2545 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบให้เสนอขอจัดตั้ง คณะนิติศาสตร์เป็นหน่วยงานภายในต่อสภามหาวิทยาลั
ต่อมาในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 255 (5/2545) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2545 สภาให้จัดตั้งเป็นโครงการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์และพัฒนาหลักสูตร นิติศาสตร์ โดยมี ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมการ สุดท้ายสภามหาวิทยาลัยเห็นชอบให้ตั้งคณะนิติศาสตร์เป็นหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยในคราวประชุม สภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 260 (1/2546) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2546 โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง 5 ประการ และสภามหาวิทยาลัยได้ประกาศจัดตั้งคณะนิติศาสตร์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546

2546
จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ ที่วิทยาเขตตรัง

คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง จัดตั้งขึ้นตามมติสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2546 โดยมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษคือ “Faculty of Commerce and Management”

2546
จัดตั้งคณะเศรษฐศาสตร์ ที่วิทยาเขตหาดใหญ่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสภามหาวิทยาลัยฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสาขาเศรษฐศาสตร์ที่ จะช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเเละภูมิภาค จึงได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะเศรษฐศาสตร์ขึ้นเมื่อ วันที่ 22 กันยายน 2546 ในวิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อรับผิดชอบการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เเละสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นคณะที่พัฒนาจากภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ และคณาจารย์ในสาขาเศรษฐศาสตร์จากคณะวิทยาการจัดการ

2548
จัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะการแพทย์แผนไทยที่วิทยาเขตหาดใหญ่

รองศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์ อธิการบดีในขณะนั้น ได้บรรจุหลักสูตร การแพทย์แผนไทยไว้ในช่วงเวลาแผนฯ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ของมหาวิทยาลัยฯ หลังจากที่ได้รับการเสนอให้ มีการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนไทยจากรองศาสตราจารย์ ดร.สนั่น ศุภธีรสกุล จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของการจัดทำหลักสูตรทางด้านการแพทย์แผนไทยในมหาวิทยาลัยฯ รองศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สันติประชา รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในขณะนั้นได้มีหนังสือไปยัง คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ เพื่อหารือ ความเป็นไปได้ในการจัดทำหลักสูตรทางด้านการแพทย์แผนไทยขึ้นในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมี ความเห็นร่วมกันว่า ควรจะมีการเริ่มดำเนินการจัดทำ "ร่างหลักสูตรการแพทย์แผนไทย" และดำเนินการเพื่อ เตรียมความพร้อมไปด้วย โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานจำนวน 2 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 คือคณะทำงานร่างหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และชุดที่ 2 คือคณะทำงานกำหนดขอบเขตเนื้อหาและคำอธิบายรายวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย โดยคณะทำงานดังกล่าวทั้ง 2 ชุด ได้ดำเนินการจัดทำร่างหลักสูตรการแพทย์แผนไทย จนแล้วเสร็จ ประมาณกลางปี พ.ศ. 2545 เป็นการสิ้นสุดหน้าที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ซึ่งในขณะนั้น ใช้ชื่อว่า "หลักสูตรเวชศาสตรไทยบัณฑิต" โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นประธานและมีกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ กองบริการการศึกษา กองแผนงาน และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คือ แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ นายแพทย์ทรงยศ ชัยชนะ นายแพทย์ชวลิต สัตติกิจรุ่งเรือง นายศักดิ์ชัย จันทร์สงเคราะห์ (แพทย์แผนไทย) และนายประกอบ อุบลขาว (แพทย์แผนไทย)โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สนั่น ศุภธีรสกุล เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรต่อจากคณะทำงานร่างหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จนหลักสูตรผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2546 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 254
ต่อมาในปี 2548 เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในหลักสูตรเวชศาสตรไทยบัณฑิต ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย ตามการแนะนำจากที่ประชุมสภาวิชาการ และได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ 66 (4/2547) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2547 ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 272 (5/2547) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ได้จัดตั้ง "โครงการจัดตั้งคณะการแพทย์แผนไทย" เพื่อรองรับการเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย และได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2548 จำนวน 56 คน

2548
จัดตั้งคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ที่เขตการศึกษาภูเก็ต

คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เขตการศึกษาภูเก็ต ได้แยกตัวออกมาจากวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตและจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยและประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 เป้าหมายหลักอยู่ที่การผลิตบัณฑิตและผลงานวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม บูรณาการองค์ความรู้ใหม่ให้เป็นศูนย์กลางแหล่งความรู้ ที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการนำไปถ่ายทอดให้เกิดการใช้จริง มีทีมงานที่เข้มแข็งทั้งอาจารย์และสายสนับสนุน มีงานวิจัยที่โดดเด่น มีหลักสูตรที่น่าสนใจ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์(ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์) วิศวกรรมคอมพิวเตอร์(ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์) และที่กำลังพัฒนาเป็นจุดเด่นต่อไปคือด้าน Animation และ Multimedia รวมทั้งงานวิจัยและการพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมฝั่งอันดามัน
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นนักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและรอบรู้ มีความเข้าใจและสำนึกอันดีต่อตนเอง สถาบัน และสังคม เน้นการเรียนรู้พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลงานทางวิชาการ บูรณาการองค์ความรู้ใหม่ให้เป็นศูนย์กลางแหล่งความรู้ และอ้างอิงทางวิชาการ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ชายฝั่งทะเลอันดามันและประเทศ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการนำไปถ่ายทอดให้เกิดการใช้จริง เป็นผู้นำในการบริการวิชาการด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทุกหลักสูตร เน้นการเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษโดยการจัดให้ 30% ของวิชาด้านคอมพิวเตอร์สอนเป็นภาษาอังกฤษ มีการเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตพร้อมที่จะทำงานได้ทันทีโดยนักศึกษาทุกคนจะต้องผ่านการฝึกงานครั้งแรกอย่างน้อย 320 ชั่วโมง และนักศึกษาที่มีศักยภาพสูงจะได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในแผน ก สหกิจศึกษา คือ ทำงานเสมือนเป็นพนักงานคนหนึ่งของหน่วยงานภายใต้การควบคุมของหน่วยงานหรือองค์กรนั้นและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย สำหรับนักศึกษาที่ไม่ผ่านการคัดเลือกจะเข้าเรียนในแผน ข (ฝึกงาน) ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกงานครั้งที่ 2 อีก 320 ชั่วโมง และเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล ให้พัฒนาเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจและพัมนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาภูเก็ต (The Greater Phuket digital Paradise : PhD) ทำให้มีการตื่นตัวและกำลังสนับสนุนจากท้องถิ่นอย่างเต็มที่

2549
จัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ ที่วิทยาเขตปัตตานี

รัฐศาสตร์เดิมรัฐศาสตร์มีฐานะเป็นเพียงวิชาโทและสนับสนุนวิชาของ เอก - พัฒนาสังคม และเอกภูมิศาสตร์ ปี2521 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้พิมพ์ เอกสารหลักสูตรเปิดรับนักศึกษาใหม่ผิดพลาด โดยระบุว่ามีวิชาเอกรัฐศาสตร์ จึงมีนักศึกษาจำนวน 34 คน เรียนวิชาเอกนี้ พอเข้ามาศึกษาแล้ว ช่วงเทอม 2 ปรากฏว่า อาจารย์นิภา ไชยเศวต แจ้งว่ายังไม่ได้ขอหลักสูตรเปิดเป็นวิชาเอกรัฐศาสตร์ นักศึกษาทั้ง 34 คน จึงส่งรายชื่อถึง อ.มาเนาะ ยูเด็น เพื่อร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว มกราคม 2523 ขีดเส้นตายให้นักศึกษาจำเป็นต้องเลือกวิชาเอก โดยได้รับการกดดันจากฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัย และอาจารย์ บางท่านในคณะด้วย จึงทำให้เหลือ ผู้ตั้งใจจริงเพียง 7 คน รวมตัวกันเป็นทางการ เพื่อกดดันคณะและมหาวิทยาลัยอย่างลับๆ ปลายปี 2524 หลังจากที่เข้าไปเจรจาทั้งกับทางคณะ และมหาวิทยาลัย ร่วมประชุมกันหลายหน โดยมีอาจารย์ที่ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และเต็มใจ คือ อาจารย์ กวี ศิริธรรม (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) อาจารย์พีรยศ ราฮิมมูลา อาจารย์มาเนาะ ยูเด็น และอาจารย์วันเนาว์ ยูเด็น โดย อาจารย์ พีรยศ ได้รับมอบหมายให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเดินทางไปเสนอหลักสูตร ที่ทบวงมหาวิทยาลัย ยกฐานะของรัฐศาสตร์ให้เป็นวิชาเอก โดยแบ่งรัฐศาสตร์ เป็น 2 แผน คือ แผน ก. รัฐศาสตร์ทั่วไปและแผน ข. รัฐศาสตร์ท้องถิ่น จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้เหตุผลว่าจังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่พิเศษ รัฐศาสตร์ของปัตตานีจึงควรมีอะไรที่พิเศษด้วย ทางทบวงมหาวิทยาลัย จึงยอมรับหลักสูตรดังกล่าว และได้รับการอนุมัติตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมาและได้มีการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. 2537 ทบวงมหาวิทยาลัย จึงยอมรับหลักสูตรดังกล่าว และได้รับการอนุมัติตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมาและได้มีการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. 2537  ต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์เป็นหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 279 (3/2548) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 เพื่อให้เป็นคณะที่เชื่อมโยงการปกครองกับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต ทำการวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยเน้นการเรียนการสอน สาขาวิชาการปกครอง นโยบายสาธารณะ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และสอดคล้องกับสภาพการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ในพื้นที่ภาคใต้ โดยได้ตัดโอนอัตราอาจารย์ จำนวน 6 อัตรา จากแผนกวิชาเอกรัฐศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 และในภาคการศึกษา 1/2549 ได้ตัดโอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกรัฐศาสตร์

2550
จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ เขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี

คณะศิลปสาสตร์และวิทยาการจัดกาจัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 306(4/2551) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ในช่วงแรกใช้ชื่อว่าคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การก่อตั้งคณะในแนวคิดการจัดกลุ่มศาสตร์ที่ใกล้เคียงกันไว้ในคณะเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ มีการดำเนินงานภายใต้โครงสร้างการบริหารแบบรวมศูนย์บริการประสานภารกิจ ซึ่งมีคณบดีทำหน้าที่ เป็นผู้บริหารงานทางวิชาการ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาเขต คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ มีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอนด้านภาษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการจัดการ รวมทั้งการสร้างสรรค์งานวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

2551
จัดตั้งคณะการแพทย์แผนไทย

รองศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์ อธิการบดีในขณะนั้น ได้บรรจุหลักสูตร การแพทย์แผนไทยไว้ในช่วงเวลาแผนฯ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ของมหาวิทยาลัยฯ หลังจากที่ได้รับการเสนอให้ มีการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนไทยจาก  รองศาสตราจารย์ ดร. สนั่น ศุภธีรสกุล จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของการจัดทำหลักสูตรทางด้านการแพทย์แผนไทยในมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สันติประชา รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในขณะนั้นได้มีหนังสือไปยังคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ เพื่อหารือ ความเป็นไปได้ในการจัดทำหลักสูตรทางด้านการแพทย์แผนไทยขึ้นในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมี ความเห็นร่วมกันว่า ควรจะมีการเริ่มดำเนินการจัดทำ "ร่างหลักสูตรการแพทย์แผนไทย" และดำเนินการเพื่อ เตรียมความพร้อมไปด้วย โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานจำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 คือ คณะทำงานร่างหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และชุดที่ 2 คือคณะทำงานกำหนดขอบเขตเนื้อหาและคำอธิบายรายวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย โดยคณะทำงานดังกล่าวทั้ง 2 ชุด ได้ดำเนินการจัดทำร่างหลักสูตรการแพทย์แผนไทย จนแล้วเสร็จ ประมาณกลางปี พ.ศ. 2545 เป็นการสิ้นสุดหน้าที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรการแพทย์แผนไทย ซึ่งในขณะนั้น ใช้ชื่อว่า "หลักสูตรเวชศาสตรไทยบัณฑิต" โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นประธานและมีกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ กองบริการการศึกษา กองแผนงาน และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คือ แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ นายแพทย์ทรงยศ ชัยชนะ นายแพทย์ชวลิต สัตติกิจรุ่งเรือง นายศักดิ์ชัย จันทร์สงเคราะห์ (แพทย์แผนไทย) และนายประกอบ อุบลขาว (แพทย์แผนไทย) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. สนั่น ศุภธีรสกุล เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรต่อจากคณะทำงานร่างหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จนหลักสูตรผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2546 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547-2548
เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2548
หลักสูตรเวชศาสตรไทยบัณฑิต ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย ตามการแนะนำจากที่ประชุมสภาวิชาการ และได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาวิชาการในคราวประชุมครั้งที่ 66 (4/2547) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2547 ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 272 (5/2547) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ได้จัดตั้ง "โครงการจัดตั้งคณะการแพทย์แผนไทย" เพื่อรองรับการเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย และได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2548 จำนวน 56 คนคณะการแพทย์แผนไทยได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยที่ ประชุมสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 302 (9/2550) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีมติให้จัดตั้ง คณะการแพทย์แผนไทยเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551

2551
จัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ที่วิทยาเขตหาดใหญ่

สืบเนื่องจากในหลายมหาวิทยาลัยได้ก่อตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ หรือคณะสหเวชศาสตร์เพื่อผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาที่มีโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลางการรักษาโรคต่างๆ ของภาคใต้ ผลิตบัณฑิตด้านแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ รวมถึงกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ แต่ขาดสาขาเทคนิคการแพทย์ ด้วยเหตุนี้จึงให้บรรจุหลักสูตรฯ ไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับที่ 9 พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
 -  31 มีนาคม 2548 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ (คำสั่ง มอ.ที่ 0619/2548)
 -  24 กรกฎาคม 2549 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (คำสั่ง มอ.ที่ 1495/2549)
-  11 พฤษภาคม 2550 หลักสูตรผ่านการพิจารณาจากสภาวิชาการ ม.สงขลาฯ (การประชุมครั้งที่ 93 4/2550)
19 มิถุนายน 2550 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (คำสั่ง มอ.ที่ 1088/2550)
- 25 กันยายน 2550 จัดส่งหลักสูตรให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบความเห็นชอบและแจ้งไปยังสำนักงาน กพ. เพื่อรับรองคุณวุฒิ และ ส่งสภาเทคนิคการแพทย์ปีการศึกษา พ.ศ. 2551 เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก

2557
จัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตหาดใหญ่

วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาเขตหาดใหญ่จึงได้จัดตั้งขึ้นตามตามมติของสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2550 โดยจัดการเรียนการสอนหมวดการศึกษาทั่วไปเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการเปิดหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรีของคณะต่างๆ จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนเองหรือร่วมกับคณะเจ้าของศาสตร์ จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เป็นฐานการสอน English Program ให้แก่หลักสูตร Bilingual ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเตรียมความพร้อมปรับพื้นฐานด้านภาษาให้กับนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ

2559
จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์

ในปี 2554 สภาวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในคราวประชุมครั้งที่ 127 (9/2554) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 มีมติอนุมัติหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และรายงานการอนุมัติหลักสูตรให้สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทราบในคราวประชุมครั้งที่ 336 (9/2554) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2554 อีกทั้งหลักสูตรดังกล่าวได้รับการรับรองจากสัตวแพทยสภาในคราวประชุมครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557
ในปีการศึกษา 2558 คณะกรรมการวิชาการวิทยาเขตหาดใหญ่ในคราวประชุมครั้งที่ 41 (9/2557) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 มีมติเห็นชอบให้รับนักศึกษาหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 1 โดยวิธีพิเศษ ซึ่งโครงการจัดตั้งได้รับนักศึกษารุ่นที่ 1 ทั้งสิ้น จำนวน 25 คน และโรงพยาบาลสัตว์ ได้เปิดบริการดูแลรักษาสัตว์แก่ประชาชนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2558 และมหาวิทยาลัยได้ยกระดับให้โครงการจัดตั้งฯ มีสถานะเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2559 เป็นต้นมา
ภาคเอกชนได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่องการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งที่ประชุมสัมมนาเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เร่งรัดให้ดำเนินการจัดตั้งโดยเร็ว จนกระทั่งที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในคราวประชุมครั้งที่ 325 (6/2553) เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2553 มีมติเห็นชอบโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Back To Top