19th March 2024

รองศาสตราจารย์ ดร. บุญสม ศิริบำรุงสุข

วาระการดํารงตําแหน่ง

  • วาระที่ 1   1 มิถุนายน 2549-31 พฤษภาคม 2552
  • วาระที่ 2  1 มิถุนายน 2552-31 พฤษภาคม 2555

ประวัติ

รองศาสตราจารย์ ดร. บุญสม ศิริบำรุงสุข (Assoc. Prof. Dr. Boonsom Siribumrungsukha) เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2494 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ คือ Mining Techniques, Simulation, Rock Mechanics

การศึกษา

  • วศ.บ. (วิศวกรรมเหมืองแร่) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2517
  •  วศ.บ. (วิศวกรรมโลหะการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2518
  •  M.Eng.Sc. (Mining Engineering) University of Melbourne ประเทศออสเตร   เลียพ.ศ. 2523
  •  D.Ing (Mining Techniques), Ecole Nationale Superievre des Mines de   Paris  ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2528

การทำงาน

  • อาจารย์ตรี เมื่อ 1 กรกฎาคม 2518
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6 เมื่อ 31 สิงหาคม 2529
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 7 เมื่อ 1 ตุลาคม 2532
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 เมื่อ 26 สิงหาคม 2534
  • รองศาสตราจารย์ ระดับ 8 เมื่อ 1 เมษายน 2545

ตำแหน่งทางวิชาการ

  • หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2524
  • รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2531-2532
  • หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ พ. ศ. 2532-2534
  • รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ พ.ศ. 2534
  • รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา พ.ศ. 2543-2546
  • ผู้อำนวยการโครงการ IMT-GT Studeis Center พ.ศ. 2545-2546
  • รักษาการผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2546
  • รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา พ.ศ. 2546-2549
  • ประธานผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2546
  • สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549-2555
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วาระที่ 1 ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2549-2555 และวาระที่ 2 ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2552

ผลงานเมื่อดํารงตําแหน่งอธิการบดี 

       รองศาสตราจารย์ ดร. บุญสม ศิริบำรุงสุข ท่านทำให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีความเข้มแข็งทางวิชาการในระดับสูงเป็นที่ยอมรับของทั้งคนโดยทั่วไป  จึงมีแนวทางพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปสู่ความหมายที่แท้จริง ๆ ของคําว่ามหาวิทยาลัย คือเป็นสถาบันสร้างองค์ความรู้ขั้นสูงด้วยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมและประยุกต์ใช้ได้กับการพัฒนาประเทศและสังคมไทย เป็นสถานที่รวมของปราชญ์ผู้ทรงความรู้ในสาขาของตน อาจจะพูดสั้น ๆ ว่าเป็นมหาวิทยาลัยแบบวิจัย และเมื่ออาจารย์ทําวิจัยอย่างต่อเนื่อง ก็จะมีความรู้ใหม่ทันสมัยถ่ายทอคให้กับศิษย์ ศิษย์เป็นผู้ทรงภูมิปัญญา จะทําให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีความเข้มแข็ง ทั้งการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งรวมถึงบัณฑิตศึกษา ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยได้ให้ความสําคัญต่อการหล่อหลอมบัณฑิต ที่มีวุฒิภาวะพร้อมที่จะรับใช้สังคมตามแนวพระราชปณิธานของสมเด็จพระราชบิดาที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”