19th April 2024

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พุทธศักราช 2519 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้คณะแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของถนนกาญจนวนิช ในเนื้อที่ 120,000 ตารางเมตร และเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2522 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า “โรงพยาบาลสงขลานครินทร์” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SONGKLANAGARIND HOSPITAL”
        โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก ๆ  คือเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาแพทย์พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ และให้บริการรักษาพยาบาล การบําบัดโรคและการป้องกันโรคให้แก่ประชาชนในจังหวัดภาคใต้
    โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ตามนโยบายของรัฐบาลที่ประสงค์ให้เป็นโรงพยาบาล เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยระดับตติยภูมิ (โรคยากและซับซ้อน) สําหรับประชากรใน 14 จังหวัดภาคใต้
        โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 853 เตียง ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉินในสาขาต่าง ๆ ได้แก่เวชปฏิบัติทั่วไป สูตินรีเวช ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ศัลยศาสตร์ ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบําบัด ตา หคอจมก จิตเวช นอกจากนี้ยังให้บริการคลินิกระงับปวดและฝังเข็มรังสีรักษาและผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก นอกจากนี้ยังมีศูนย์ความเป็นเลิศทางต้น หัวใจ มะเร็ง ทางเดินอาหารและตับ
         โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุน/แพทย์ประจําบ้าน และนักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ตลอดจนเป็นแหล่งวิจัยของบุคลากร สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพต่าง ๆ
          โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ใช้กลไกการส่งมอบบริการต่าง ๆ ให้กับผู้รับบริการทางการแพทย์ผ่านแผนก ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยฉุกเฉิ ในลักษณะทีมสหสาขาวิชาชีพซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ และวิชาชีพอื่น ๆ เพื่อให้สามารถประสานบริการในการให้บริการผู้ป่วยได้

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ