รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร โสตถิพันธุ์

วาระการดํารงตําแหน่ง

  • มิถุนายน 2540-พฤษภาคม 2543

ประวัติ

รองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร โสตถิพันธุ์ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ เกิดที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สมรสกับ ดร. รพีพร โสตถิพันธุ์
มีบุตรชาย 2 คน

การศึกษา

  • มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2505
  • ม.ศ. 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2505-2507
  • วท.บ.(ชีววิทยาทางทะเล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2507-2511
  • M.Sc. (Applied Entomology) University of Newcastle Upon Tyne ประเทศอังกฤษ (ชิงทุนโคลัมโบได้ที่ 1 ประเภทสอบแข่งขันทั่วไป) 
  • Ph.D. (Zoology) University of Manchester ประเทศอังกฤษ (ได้ทุนส่วนหนึ่งจากโครงการเงินกู้ World Bank ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การฝึกอบรม/ดูงาน

  • หลักสูตรอุดมศึกษา Theory and Practice of Higher Education ที่สถาบัน Higher Education Advisory and Research Unit (HEARU) มหาวิทยาลัย Monash ประเทศออสเตรเลีย
  • หลักสูตรการบริหารมหาวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • หลักสูตร University Management จัดโดย British Council ณ ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2536
  • ดูงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ EPA (Environmental Protection Agency) สหรัฐอเมริกา
  • ร่วมสัมมนาเรื่อง River/Lake Approaches to Environmentally Sound Management of Water Resources ที่ UNCRD (United Nations Centre for Regional Development) เมือง Nagoya ฐานะผู้นำเสนอข้อมูลการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในทีมงานของศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต
  • ดูงานการจัดการแหล่งน้ำที่ Laguna de Bay ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญจาก UNCRD และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  • ดูงานเรื่อง การบริหารงานมหาวิทยาลัย ณ University of Adelaide ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ กรกฎาคม 2538
  • ดูงานเรื่อง การบริหารงานเพื่อพัฒนาขีดความสามารถและประสิทธิภาพในมหาวิทยาลัย 
  • ณ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 8-25 ตุลาคม 2538
  • ดูงานเรื่อง การพัฒนางานกิจการนิสิตนักศึกษาสู่ความเป็นนานาชาติ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ระหว่างวันที่ 21-28 กันยายน 2539

การทำงาน

  • หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี พ.ศ. 2521-2527
  • คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี พ.ศ. 2527-2531
  • รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา ในปี พ.ศ. 2532-2533
  • รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและฝ่ายกิจการนักศึกษา ในปี พ.ศ. 2534-2540 (2 สมัย)
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี พ.ศ. 2540-2543
  • กรรมการที่ปรึกษา สาขาชีววิทยา สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • หัวหน้าคณะทำงานศึกษาและเสนอรูปแบบการบริหารกิจการนักศึกษารูปแบบใหม่
  • อนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คนที่ 24 (2556-2560)

รางวัลหรือปริญญากิตติมศักดิ์ที่ได้รับ

  • รับโล่เกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่นของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2541
  • อาจารย์สอนวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2547 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

เกียรติประวัติ

  • นิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่น ประจําปี 2541 ของสมาคมนิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่น ประจําปี 2541 ของสมาคมนิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานในช่วงดํารงตําแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  1. ดําเนินการให้น้ําระบบประกันคุณภาพมาใช้อย่างจริงจังในระบบวิชาการการเรียนการสอนในหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ จนได้ประกาศบัตรรับรองระบบคุณภาพ ISO 9000 ครั้งแรก หลายหน่วยงาน เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นการกระตุ้นให้ทั้งมหาวิทยาลัยตื่นตัวและมีความสํานึกในการทํางานให้ได้คุณภาพสูงสุด
  2. ใช้เงินรายได้สนับสนุนโครงการวิจัยที่มีผลต่อการแก้ปัญหาเกษตรกรโดยตรงหลาย โครงการในคณะทรัพยากรธรรมชาติ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร
  3. พัฒนาความแข็งแกร่งคณะวิชาที่สอนด้านศิลปศาสตร์ให้วิทยาเขตหาดใหญ่ ด้วยการของบประมาณสร้างตึกทําการคณะศิลปศาสตร์ได้สําเร็จ
  4. เริ่มพัฒนาการนําระบบการทํางานเชิงกลยุทธ์ การพัฒนาองค์กรการเรียนรู้ เพื่อให้สอดรับกับแนวนโยบายการปฏิบัติงานของรัฐบาล ทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวิธีการบริหารภาคเอกชนและการบริหารมหาวิทยาลัย
  5. สร้างความมั่นคงในระบบการเงินการคลังของมหาวิทยาลัยเกิดเสถียรภาพทางการเงิน จากที่เคยมีเงินรายได้ประมาณ 400 ล้านบาท เป็นประมาณ 1000 ล้านบาทในห้วงระยะเวลาเพียง
  6. เน้นพัฒนาความรู้ด้านการบริหารมหาวิทยาลัยให้ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อรองรับการบริหารระดับสูงในอนาคต
  7. ส่งเสริมการทํางานโดยอิงหลักธรรมาภิบาลไม่ก้าวก่ายหน่วยงานตรวจสอบอิสระทั้งหลาย กล่าวคือให้เกิดการทํางานโดยมีส่วนร่วม โปร่งใส ตรวจสอบได้ รับผิดชอบ มีการถ่วงดุลอํานาจ คาดหวังประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการต่าง ๆ และทํางานโดยยึดหลักนิติธรรม
  8. ทุ่มเททรัพยากรเพื่อพัฒนางานด้านทรัพยากรการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดกลาง (ปัจจุบันคือสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร) ของมหาวิทยาลัย

Back To Top