รองศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์

วาระการดํารงตําแหน่ง

  • มิถุนายน 2543-มีนาคม 2549 (2 วาระติดต่อกัน)

ประวัติ

รองศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธเกิดวันที่ 6 กันยายน 2591 ที่ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายขาว กับนางอิ่ม ชิตพงศ์ 

การศึกษา

  • มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2509
  • วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี 2513
  • วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี 2516
  • M.S. (Resource Management) Alabama, M&N University
  • และดุษฎีบัณฑิต สาขาปฐพีศาสตร์ จาก Rutgers University of New Jersey สหรัฐอเมริกา

เกียรติประวัติ

  • ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
  • ศิษย์เก่าดีเด่นและศิษย์เก่าเกียรติยศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทำงาน

  • นักวิจัย ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2513-2516
  • Gradute Assistance, Department of Natural Resources, Alabama A & M University, U.S.A.
  • อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2519-2523
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2527-2530 
  • รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2530-2549

ตำแหน่งทางวิชาการ

  • หัวหน้าภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2520-2522 และ 2527-2530
  • คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2530-2538
  • รองอธิการบดีฝายวิจัยและบริการวิชาการ พ.ศ. 2540-2543
  • ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาคณะทรัพยากรธรรมชาติไทย-ออสเตรเลีย พ.ศ. 2530
  • ผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการทำฟาร์มไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2530
  • ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาพืชน้ำมันและโครงการการตรึงไนโตรเจนในระดับไร่-นาซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) พ.ศ. 2530
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต พ.ศ. 2530
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ. 2533
  • กรรมการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2530
  • ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาชนบทตามแนวชนบทศาสตร์ พ.ศ. 2534
  • กรรมการโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2534
  • ผู้อำนวยการโครงการการศึกษาวางแผนและออกแบบโครงการฟื้นฟูและพัฒนา 3 ทรัพยากรธรรมชาติ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดทำให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของ USAID
  • ที่ปรึกษาของบรรณาธิการวารสารสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2531
  • กรรมการในคณะอนุกรรมการวิจัยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองตามพระราชดำริ
  • ผู้แทนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในคณะอนุกรรมการของสภาวิจัยแห่งชาติคืออนุกรรมการประสานความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น สาขาผลผลิตการเกษตร, อนุกรรมการประสานงานการวิจัยด้านวัชพืช, อนุกรรมการศูนย์วิจัยควบคุมวัชพืชโดยชีววิธีแห่งชาติ
  • ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ที่ปรึกษาด้านวนเกษตรของโครงการเกษตรกรรมทางเลือก กองอำนวยการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
  • กรรมการประสานงานระดับชาติ เกี่ยวกับศูนย์บัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านเกษตรศาสตร์ภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SEARCA) พ.ศ. 2530
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วาระที่ 1 พ.ศ. 2543-2546 และวาระที่ 2 พ.ศ. 2546-2549

หน้าที่พิเศษ

  • กรรมการที่ปรึกษาศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (2547)
  • สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา (15 เมษายน-19 กันยายน 2549)

ผลงานในช่วงดํารงตําแหน่งอธิการบดี

  1. พัฒนาสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย (Research-Oriented University) ได้มีการพัฒนาตัวชี้วัดหลักและเกณฑ์ภาระงานที่เน้นหนักด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะที่วิทยาเขตหาดใหญ่และปัตตานี และกําหนดเป็นนโยบายให้มีการจัดตั้งกองทุนวิจัยทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ โดยเริ่มต้นที่ 100 ล้านบาทในปี 2542 และเพิ่มเป็น 525 ล้านบาท ในปี 2518 ริเริ่มและดําเนินการจัดทําแผนพัฒนาอาจารย์ โดยใช้เงินซากองทุนวิจัยเงินรายได้และจากแหล่งทุนภายนอก โดยมีเป้าหมายที่จะให้ ม.อ. มีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าร้อยละ 50 ในปี 2544 ขยายความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ โดยเฉพาะใน อเมริกา จีน ออสเตรียและบางประเทศในยุโรป ริเริ่มและดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อการวิจัย ทั้งในระดับมหาวิทยาชัยและระดับภายในคณะ เช่น สถานวิจัยพื้นที่ชุ่มน้ํา สถานวิจัยจีโนมและชีวสารสนเทศ สถานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมมเบรน สถานวิจัยวิจัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารเพื่อสุขภาพ สถานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย และสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ กําหนดให้มีสาขาวิชาแห่งความเป็นเลิศที่มหาวิทยาลัยใต้สนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยและบัณฑิตศึกษาเป็นกรณีพิเศษ คือสาขาชีวเคมีอุตสาหกรรมเกษตร เภสัชศาสตร์และระบาดวิทยา รวมทั้งกําหนดให้มีสาขาอิสลามศึกษาเป็นสาขาที่จะสร้างความเข้มแข็งเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ยังได้เริ่มดําเนินการจัดตั้งสถาบันวิจัยด้านปาล์มน้ํามัน และด้านยางพารา แต่ยังไม่สามารถดาเนินการให้เสร็จในวงที่ตรงตาแหน่งพร้อม ๆ กับการสร้างความพร้อมด้านการวิจัยเหล่านี้ ก็ได้ดําเนินการให้มีการเปิดหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มเติมจาก 84 หลักสูตร ในปี 2543 เป็น 136 หลักสูตรในปี 2548 ซึ่งประมาณร้อยละ 50 ของหลักสูตระดับบัณฑิตศึกษา ที่เปิดเพิ่มเติมนี้เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ ทําให้สามารถเพิ่มการรับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จากจํานวน 2,486 คน ในปี 2543 เป็น 4,386 คน ในปี 2548
  2. การเพิ่มและการกระจายโอกาสทางการศึกษา ได้มีการพัฒนาให้ ม.อ. มีความเป็นมหาวิทยาลัยพหุวิช” (Comprehensive University) ที่เกือบสมบูรณ์ โดยดำเนินการต่อเนื่องในการจัดตั้งคณะเศรษฐศาสตร์ที่หาดใหญ่และคณะวิทยาการสื่อสารที่ปัตตานีจนสําเร็จ ริเริ่ม และดำเนินการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์และโครงการจัดตั้งคณะการแพทย์แผนไทยที่หาดใหญ่ และคณะศิลปกรรมศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ที่ปัตตานี ในส่วนของการขยายการศึกษาไปที่จังหวัดภูเก็ต ตรังและสุราษฎร์ธานี เนื่องจากมีข้อกําหนดทางกฎหมายที่จะจัดตั้งเป็นวิทยาเขต จึงให้ดําเนินการให้มีการกําหนดให้ศูนย์การศึกษาทั้ง ๓ แห่ง มีสถานภาพเป็นเขตการศึกษาและจัดตั้งคณะต่าง ๆ เพื่อการบริหารจัดการทางวิชาการคือ ที่ภูเก็ตได้จัดตั้งคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และปรับเปลี่ยนคณะการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวเป็นคณะอุตสาหกรรมบริการ ที่ตรังได้จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ ที่สุราษฎร์ธานีได้จัดตั้งคณะเทคโนโลยีและการจัดการ และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งจากการจัดตั้งคณะต่าง ๆ เพิ่มเติมในทุกวิทยาเขต/เขตการศึกษา การเพิ่มศักยภาพของคณะเดิม รวมทั้งการริเริ่มการจัดทําหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ทําให้สามารถเปิดสาขาวิชาใหม่ ๆ และรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีได้เพิ่มขึ้น จาก 13,346 คน ในปี 2543 เป็น 27,269 คน ในปี 2548 ซึ่งประมาณ ร้อยละ 40 ของนักศึกษาปริญญาตรีที่เพิ่มขึ้นนี้จะอยู่ที่เขตการศึกษาใหม่ ปัญหาสําคัญของการเพิ่มจํานวนนักศึกษา นอกจากสิ่งจําเป็นต่าง ๆ ทางด้านการศึกษาแล้วที่พักนักศึกษาก็เป็นเรื่องสําคัญ ซึ่งในช่วงการบริหารก็ได้มีนโยบายว่าจะให้นักศึกษาได้มีที่พักภายในไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 แต่ด้วยข้อจํากัดด้านงบประมาณจากรัฐ จึงได้ริเริ่มและดําเนินการให้มีการจัดสร้างหอพักในทุกวิทยาเขต/เขตการศึกษาร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จํากัด และเรียกหอพักเหล่านี้ว่า “หอพักสหกรณ์”
  3. การบริหารจัดการและการให้บริการอย่างมีคุณภาพ ได้นําระบบการบริหารจัดการองค์กรที่เน้นคุณภาพประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมมาใช้ โดยได้มีการจัดทํานโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนกลยุทธ์เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาสู่อนาคตมีการกําหนดตัวชี้วัดหลัก (Key Performance Indicator-KPI) และเกณฑ์ภาระงาน (Load Unit-LU) สําหรับสายวิชาการทุกคนและหน่วยงานสนับสนุนทุกหน่วยและกําหนดระบบและวิธีการประเมินโดยเน้นสัมฤทธิผลตามตัวชี้วัด (Balanced Scorecard) ทุกระดับและทุกลักษณะ โดยด้านบริหารเริ่มที่อธิการบดีไปจนถึงหัวหน้า ภาควิชา และด้านผลการปฏิบัติงานตั้งแต่ระดับสํานักงานอธิการบดี/คณะ/ สถาบัน/สํานัก/ศูนย์ ไปจนถึงภาควิชาและฝ่ายต่าง ๆ สนับสนุนและเร่งรัดให้โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เข้าสู่และผ่านการประเมินระบบรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) เป็นระดับต้น ๆ ของประเทศ สนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาทางวิชาการและพัฒนางานเพื่อให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตําแหน่งทางวิชาการในลักษณะต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
  4. การริเริ่มการได้รับมอบหมายและการได้รับเกียรติพิเศษ โดยริเริ่มให้มีการดําเนินการในเรื่องที่สําคัญ ๆ เช่น การจัดตั้งโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ การจัดสร้างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ การจัดสร้างหอประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น ในด้านการพัฒนาวงการอุดมศึกษาได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ประสานงานประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ เครือข่ายความร่วมมือมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียและยุโรป (ASEA-Uninet) ระหว่างปี 2544-2548 และเป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในปี 2548 (UNESCE/Toyoya Clhairs) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้รับเชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมเกียรตินิยมนักวิชาการนานาชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (Phi Beta Delta-The American Honor Society for International Scholars) และได้รับอิสริยาภรณ์ Palmes Academiques ชั้นอัศวิน (Commandeur) จากรัฐบาลฝรั่งเศส
Back To Top