สรุปการเสวนา Transforming Library Through Technology Turbulence : กรณีศึกษาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดย
คุณวรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์
ผอ. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม
มีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนห้องสมุด
ปัจจัยภายนอก
- ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- พฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป
- การเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงแบบเปิด (Open Access) ข้อมูลแบบเปิด (Open Data)
- การมีเครื่องมือเพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย (Access tool)
ปัจจัยภายใน
- นโยบายของมหาวิทยาลัย
- กำลังคน
- งบประมาณที่ลดลง
- รูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไป
- ผู้ใช้บริการแบบเข้ามาใช้ในพื้นที่ลดลง เน้นการเข้าถึงแบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
- การยืมสิ่งพิมพ์ลดลง
- ความคาดหวังสมรรถนะ ขีดความสามารถ ค่านิยมหลัก พฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่อยากให้เป็น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนรูป (Transformation) คือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งสร้างสรรค์สังคมที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี สังคมแห่งสุขภาพ และผู้สูงอายุสุขภาพดี สังคมที่รักษาวัฒนธรรมล้านนาและพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนพร้อมวางแนวทาง CMU Transformation สู่ “ก้าวใหม่ มช.” สนับสนุนการศึกษารูปแบบใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลักดันการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชนและร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
#แบบใดจึงจะเรียกว่า Transformation
คุณวรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์ ได้อ้างถึงงานเขียนของรศ.ดร. จิรประภา อัครบวร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ว่า ในบริบทขององค์กร Transformation เป็นการเปลี่ยนอย่างรุนแรงและรวดเร็วเพื่อไปสู่ทิศทางใหม่ ที่ให้ผลแตกต่างอย่างมีประสิทธิผล
#สิ่งที่ต้องการเพื่อ Transformation ประกอบด้วย
…..วิสัยทัศน์ (Mind set)+ทักษะ (ชุดทักษะ)+แรงจูงใจ+ทรัพยากร (ชุดเครื่องมือ/ทรัพยากร)+แผนปฏิบัติการ=การเปลี่ยนแปลง (อ้างอิงจาก The Knoster Model ปี 1991)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีแผนเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูป (Transformation) ระหว่างปี 2019-2022 โดยเน้นเปลี่ยนแปลง 4 ด้านคือ โครงสร้าง บริการ คน และลักษณะทางกายภาพ ภายใต้ (ADLI) Approach หรือแนวทางสู่ Deploy หรือการปรับใช้สู่ Learning หรือการเรียนรู้สู่ Integration หรือการบูรณาการ โดยคำนึงถึง
- ค่านิยมหลักของห้องสมุด
- เสียง/ความต้องการของลูกค้า และเสียง/ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- เกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
- การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของลูกค้า
- การเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในยุคปัจจุบัน
#การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง
คือการปรับโครงสร้างของสำนักหอสมุดให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ปัจจุบันและตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัย พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานทั้งกระบวนการหลัก (Core process) และกระบวนการสนับสนุน (Support process) ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อการมอบหมายงานตามระบบงานไปสู่การจัดการคอลเลคชัน บริการที่เป็นเลิศและการบริหารจัดการกำลังคน
#การเปลี่ยนแปลงด้านบริการ
คือการพัฒนาบริการโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมด้านบริการ (Innovation services) และให้ความสำคัญกับข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ความต้องการความคาดหวัง
พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยนคือสังคมที่ไม่สามารถรออะไรนาน ๆ ได้ความต้องการเข้าถึงบริการโดยตรง ไม่ต้องการผ่านขั้นตอนยุ่งยากใช้เวลาน้อยไปสู่
- การเสริมสร้างทักษะการแสวงหาสารสนเทศ
- พัฒนาบริการสารสนเทศสนับสนุนการวิจัย รวมถึงเครื่องมือวิจัย และบริการสื่อสารเชิงวิชาการ
- พัฒนาบริการพื้นฐาน เช่น ยืม-คืน และบริการยืมระหว่างห้องสมุดเพื่อ ควมพึงพอใจ ความผูกพัน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
#การเปลี่ยนแปลงด้านคน
- การสรรหาบุคลากร โดยให้ความสำคัญตั้งแต่การรับเข้าบุคลากร
- การรักษาและการสนับสนุนบุคลากร โดยการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานทั้งทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและทักษะด้านการบริหารงาน มีสมรรถนะที่คาดหวัง
- พัฒนาบุคลากรตามค่านิยมหลักของสำนักหอสมุด
- พัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าของสายอาชีพ
- สนับสนุนการนำเสนอผลงานวิชาการที่ได้จากการพัฒนางาน/การทำวิจัย สนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานและการเผยแพร่ผลงานวิชาการเพื่อกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นไปสู่
- การประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ความดี ความชอบ และรางวัล
- แรงจูงใจ
- Mindset ใหม่
#ห้องสมุดในอนาคตจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
- นวัตกรรม
- เข้าถึงเพิ่มขึ้น
- พื้นที่อเนกประสงค์
- รองรับชุมชนกลุ่มใหญ่ขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก …www.thailibrary.in.th/2019/03/02/transforming-library-2/