การลงทะเบียนวารสาร
การลงทะเบียนวารสารเป็นการบันทึกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวารสารทุกฉบับที่ห้องสมุดได้รับ วารสารที่ได้ผ่านกระบวนการจัดหามาหรือได้รับบริจาคมาแล้ว จะถูกนำมาลงทะเบียนวารสารใหม่ โดยการคัดเลือกของผู้รับผิดชอบงานวารสารว่าวารสารที่นำมาลงทะเบียนตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานลงทะเบียนวารสาร 1. ตรวจสอบวารสารว่ามีใบเสร็จ ใบแทรก ใบตอบรับหรือเอกสารสำคัญอื่นๆ อีกหรือไม่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานหรือจะดำเนินการอย่างอื่นต่อไป 2. ตรวจความเรียบร้อยของตัวเล่ม ว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายไปบ้างหรือไม่ เพื่อที่จะได้ส่งกลับสำนักพิมพ์เพื่อเปลี่ยนเป็นฉบับใหม่แทน 3. ค้นหาวารสารในระบบ ALIST 4. วารสารที่ไม่มีรายการระเบียนบรรณานุกรม ให้ส่งบรรณารักษ์เพื่อพิจารณาสร้างระเบียนบรรณานุกรม(Create Record)สร้างรูปแบบการพิมพ์วารสาร (MARC holding record) และสร้างรายการบัตรลงทะเบียน (Serial Check-in Card) 5. วารสารที่มีระเบียนบรรณานุกรมแล้ว ให้ตรวจสอบฉบับที่ เดือน ปี ของวารสารก่อนลงทะเบียนวารสารในบัตรลงทะเบียน (Check-in Card) 6. จากนั้นติดเลขหมู่(Local Call) บาร์โค้ด(Barcode) สถานะให้ยืมได้ และสติ๊กเกอร์วารสารใหม่เพื่อบอกผู้ใช้บริการ 7. ประทับตรามหาวิทยาลัยตรงหน้าปกใน สันทั้ง 3 ด้าน และประทับวันที่ให้เรียบร้อย 8. หากมีการจัดทำสารบัญวารสารใหม่ส่งผู้ใช้บริการหรือทำดรรชนีให้โน้ตไว้แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้ […]
การทวงถามวารสาร
การทวงถามวารสารเป็นการดำเนินการติดตามทวงวารสารฉบับที่ห้องสมุดยังไม่ได้รับตัวเล่มจากสำนักพิมพ์หรือตัวแทนจำหน่ายวารสารในช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อให้วารสารรายชื่อนั้นๆมีครบสมบูรณ์ทุกฉบับเพื่อให้บริการผู้ใช้ต่อไป ดังนั้นผู้ที่รับผิดชอบงานด้านวารสารจึงจำเป็นต้องมีการทวงถามวารสารอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องการกำหนดออกวารสารของแต่ละรายชื่อ ในการทวงถามวารสาร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้ใช้วิธีการทวงถาม 3 วิธี คือ 1. ทวงถามสำนักพิมพ์หรือตัวแทนทางโทรศัพท์ เป็นช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว และสามารถทำได้ทันที แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีลายลักษณ์อักษร ผู้รับผิดชอบทวงถามจึงต้องจดรายละเอียดให้ดี 2. ทวงถามสำนักพิมพ์หรือตัวแทนผ่านทาง E-Mail ผู้รับผิดชอบทำการส่ง E-Mail ไปยังสำนักพิมพ์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อวารสาร ฉบับที่ เล่มที่ ปีที่ หมายเลขสมาชิก เพื่อให้ทางสำนักพิมพ์หรือตัวแทนจำหน่ายส่งวารสารมา 3. ทำหนังสือราชการขอทวงวารสาร โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้ […]
การทำดรรชนีวารสาร
ดรรชนีวารสารคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ดรรชนีวารสาร (Periodical Index) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาบทความในวารสารต่างๆ ที่เราต้องการค้นได้โดยสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเปิดหาบทความที่เราต้องการจากตัวเล่มทีละเล่ม ถึงแม้ว่าจะไม่ทราบชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง แต่ก็สามารถค้นหาได้ด้วยการค้นจากหัวเรื่องที่เราต้องการ เพราะในดรรชนีวารสารจะบอกให้ทราบถึงชื่อผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี และเลขหน้าของบทความ การเลือกบทความในวารสารแต่ละเล่มเพื่อจัดทำดรรชนีวารสารลงในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) มีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกดังนี้ 1. เป็นบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือ บทความทางเทคโนโลยี 2.เป็นบทความอื่นๆ ที่มีคุณค่าและให้สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย 3. เป็นบทความที่มีความทันสมัย หายาก น่าสนใจมีเนื้อหาครบถ้วน ภาษาที่ใช้เหมาะสมและเป็นที่พูดถึง 4. เป็นวารสารที่ทางหอสมุดได้รับต่อเนื่อง 5. ไม่มี Link […]