✿ เกณฑ์ ✿ ผู้บริหารห้องสมุดมีการกำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และมีการประกาศให้ทราบทั่วกัน

 

 

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์หมวดที่ 1

         สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ กำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมทั้งมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ (เอกสารแนบ 1-1)

 

วิสัยทัศน์   

พัฒนาสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

 

พันธกิจ

  1. เป็นแหล่งบริการความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  2. จัดหาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  3. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  4. ส่งเสริมให้บุคลากรและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจ และมีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  5. ส่งเสริมการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

เป้าหมาย

  1. ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  2. ห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัยสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและตรงตามความต้องการของชุมชนและสังคม
  3. ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  4. บุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  5. ห้องสมุดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการใช้ทรัพยากร ลดปริมาณขยะและของเสีย โดยใช้หลักการและเครื่องมือที่เหมาะสม

 

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ การบริหารจัดการให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงและทันต่อการเปลี่ยนแปลง

  1. กำหนดให้นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุด
  2. แลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
  3. สร้างเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว พัฒนาความร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  5. ประเมินผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว โดยใช้ตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม


เกณฑ์ ✿ ห้องสมุดต้องมีโครงสร้างพื้นฐานหรือลักษณะทางกายภาพที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการให้บริการและการบริหารจัดการห้องสมุด

กรณีเป็นอาคารเก่า ✿ มีแผนงานและมาตรการในการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

 

 

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์หมวดที่ 2  (เอกสารประกอบเพิ่มเติม)

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ มีพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งสิ้น 12,245 ตารางเมตร

กรณีอาคารเก่า

อาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ เป็นอาคารเก่า จึงได้มีการศึกษาปัญหาสภาพอาคารที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่าเครื่องปรับอากาศ เป็นระบบ Central Air ไม่สามารถควบคุมการใช้แบบแยกพื้นที่ได้ จึงส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง และเนื่องจากผนังของตัวอาคารส่วนใหญ่เป็นกระจก จึงมีแสงและความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารหอสมุด ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ส่งผลให้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น (ตารางวิเคราะห์ปัญหาอาคาร)

 

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้กำหนดแผนงานปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมวัสดุประกอบอาคาร และภูมิทัศน์ ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ (แผนงบประมาณ)

1. บันไดพลังงาน ทำการสำรวจพื้นที่เพื่อปรับปรุงบันไดให้น่าสนใจ โดยติดสติกเกอร์ให้ความเรื่องจำนวนแคลอรี่ เพื่อเป็นการกระตุ้น จูงใจ และรณรงค์ให้ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ไฟ 100,000 บาท/ปี ได้ทำการติดสติกเกอร์เสร็จในเดือนตุลาคมเป็นที่เรียบร้อย คาดว่าในแต่ละเดือนจากนี้ไป ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะลดลง (ภาพประกอบ)

2. คำขวัญ/คำคม หน้าลิฟต์ โดยออกแบบภาพหรือคำขวัญเพื่อรณรงค์ให้ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ได้ทำการติดสติกเกอร์เสร็จในเดือนตุลาคมพร้อมกับบันไดเป็นที่เรียบร้อย (ภาพประกอบ)

3. กำหนดแนวปฏิบัติการปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมตามสภาพอากาศ (มาตรการห้องสมุดสีเขียว) โดยจัดทำระบบสำหรับบันทึกการปรับอุณหภูมิ (Sharepoint)

4. กำหนดแผนงานการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน โดยเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าแสงสว่างจากหลอดฟูออเรสเซนส์ เป็นหลอด LED ในบริเวณ ชั้น 3-7 (ผลการเปลี่ยนหลอดหลอดไฟ)

5. กำหนดแผนแยกเก็บหนังสือเก่าที่มีการใช้น้อย โดยสำรวจ แยกเก็บหรือจำหน่ายออก ตามนโยบายของห้องสมุด เพื่อเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า (นโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ) 

 

และเนื่องจากอาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง ฯ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้งาน และรวมถึงสิ่งประดับตกแต่งจำนวนมาก เช่น เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดไอระเหยและฝุ่นละออง เป็นไอระเหยที่มาจากสารเคมีฟอร์มาลดีไฮค์ของแผ่นพาร์ติเคิลบอร์ด พรม ผ้าม่าน วอลล์เปเปอร์ กาวชนิดต่าง ๆ  ไอระเหยจากการระบายความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์  ฝุ่นผงคาร์บอนจากเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์เลเซอร์ กลิ่นของสเปรย์ทำความสะอาดโต๊ะและสเปรย์ปรับอากาศในห้องทำงาน ตลอดจนสารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำ เช่น น้ำยาทำความสะอาด  จึงจำเป็นต้องหาวิธีเพิ่มออกซิเจนภายในและภายนอกอาคาร เพื่อให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

 

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้กำหนดแผนงานเพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกอาคารให้ดีขึ้น ดังนี้

1. มีแผนงาน เรื่องการปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับสิ่งแวดล้อม ได้สำรวจและวางแผนการจัดวางต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นอีก 2 จุด ที่บริเวณหน้าประตูและทางเข้าออกห้องสมุด จัดทำเสร็จในเดือนตุลาคม (รายงานการประชุมครั้งที่ 1),(รายงานการประชุมครั้งที่ 2)

2. ดำเนินการจัดทำกิจกรรม “ต้นไม้ปลอมทิ้ง ต้นไม้จริงมา” เพื่อปรับภูมิทัศน์ภายในและภายนอกห้องสมุด โดยเลือกพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือปลูกพืชใช้น้ำน้อย จัดไว้ภายในห้องสมุด หรือจัดการภูมิทัศน์ให้มีความร่มรื่นสวยงามบริเวณลานระเบียงห้องสมุดชั้น 3 ได้คัดเลือกต้นไม้หลากหลายชนิดมาจัดวางเพื่อความสวยงามและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการ (ภาพประกอบ)

3. ดำเนินการปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ระยะแรกเลือกปลูกกล้วยและ ใบเตยหอม บริเวณทางออกด้านหลังสำนัก ฯ เพื่อนำมาใช้แทนวัสดุที่ก่อให้เกิดขยะที่ยากต่อการทำลาย โดยมีแผนงานจะใช้ใบตองในการทำภาชนะใส่อาหารว่าง และใช้ใบเตยหอมในการปรับกลิ่นในห้องน้ำและห้องครัว ได้ดำเนินการตามแผนการลดขยะไปแล้วโดยการนำใบตองมาใช้ในการบริการอาหารว่างให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ในหลายโอกาส (ภาพประกอบ)

4. ดำเนินการจัดสรรพื้นที่เพื่อให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่า โดยสำรวจพื้นที่ภายในอาคาร พบว่ายังมีพื้นที่ ให้บริการที่ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่คุ้มค่า ได้แก่ มุมหนังสือการ์ตูนชั้น 3 ห้องดนตรีและคาราโอเกะมีการขอใช้บริการน้อย จึงจัดสรรพื้นที่บริเวณดังกล่าว โดยสำรวจและจำหน่ายหนังสือบางคอลเลคชั่นออก ห้องดนตรี หรือคาราโอเกะไปให้บริการในพื้นที่ที่เหมาะสม และจัดพื้นที่เดิมให้เป็นพื้นที่อ่านหนังสือ 
(ภาพประกอบ)


เกณฑ์  ห้องสมุดมีการกำหนดมาตรการในการใช้ทรัพยากรและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
 

 

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์หมวดที่ 3

      สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งซึ่งทางด้านกายภาพตัวอาคารจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตึก LRC ซึ่งมีกองอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้รับผิดชอบทั้งภายในและภายนอกอาคาร โครงสร้างทางกายภาพของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ โดยภาพรวมของตึกได้รับการออกแบบมาเอื้อต่อการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างยิ่ง โดยสังเกตได้จากการติดกระจกทุกด้านของอาคาร เพื่อรับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ที่ส่องเข้ามา และในขณะเดียวกันก็มีการกั้นผ้าม่านมูลี่เพื่อปิดกั้นแสงในกรณีที่มีแสงสว่างเข้ามามาก เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักจนเกินไป แต่ในขณะเดียวกันก็มีประเด็นปัญหาในการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคารเป็นอย่างมากเช่นกัน เนื่องจากมีการติดตั้งกำหนดให้สวิตช์ตัวเดียวควบคุมไฟทีละหลาย ๆ หลอด ดังนั้นเมื่อต้องการแสงสว่างสำหรับบางพื้นที่แต่สำหรับบางพื้นที่ยังไม่ต้องการแสงสว่าง เนื่องจากพื้นที่นั้นได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เพียงพอแล้วในเวลานั้น แต่ก็จำเป็นต้องเปิดไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากมีสวิตช์ตัวเดียวกันเป็นตัวควบคุม ซึ่งมีผลทำให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น นอกจากปัญหาจากการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคารแล้ว สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ยังประสบกับปัญหาการออกแบบบันไดวนที่ไม่เหมาะสมกับการขึ้น-ลง ผู้ใช้บริการโดยส่วนมากจะหลีกเลี่ยงการขึ้น-ลง เนื่องจากรู้สึกวิงเวียนศีรษะเมื่อต้องขึ้น-ลง บันได และหันมาใช้ลิฟต์แทน ซึ่งมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าสูงมาก นอกจากนี้ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ยังประสบปัญหาในเรื่องของอุณหภูมิภายในอาคารที่ไม่สามารถปรับลดได้ เนื่องจากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็นระบบ Central Air ส่งผลให้มีการใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น

      จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากทางกองอาคารเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเกี่ยวกับตัวอาคารเป็นหลัก ทำให้ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ไม่มีเอกภาพในการจัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยตัวเองทั้งหมด  แต่อย่างไรก็ตามทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องของการใช้และการจัดการทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ จึงได้ประกาศนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรและพลังงานให้เป็นไปตามแผนการดำเนินการตามมาตรการการประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร (เอกสารอ้างอิง 3-1 ประกาศมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม) โดยประกาศเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ให้ทุกคนทราบและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ มีการประสานงานร่วมมือกับกองอาคารสถานที่ในการช่วยกันดูแล ซ่อมแซม บำรุงรักษาพื้นที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในอาคาร

 

สรุปผลการใช้พลังงานไฟฟ้าของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร

1. การใช้พลังงานของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ รายงานปริมาณการใช้ไฟฟ้าระหว่างปี 2560-2561 (เอกสารอ้างอิง 3-2 ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้ารายเดือน) จะปรากฏภาพรวมรายปี ดังนี้

 

          ไฟฟ้ามาตรฐาน =[((0.456 x จำนวนบุคลากร)+(0.132 x เวลาทำการ)+(0.007 x จำนวนผู้ใช้บริการ)) x (พื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร / 1,000)] x อุณหภูมิ

          EUI = (ปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาตรฐาน - ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง) / ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง

 

ปี

2560

จำนวนบุคลากร (คน/ปี)

เวลาทำการ (ชั่วโมง/ปี)

จำนวนผู้เข้าใช้บริการ (ครั้ง/ปี)

พื้นที่ใช้สอยในอาคาร

(ตร.ม.)

อุณหภูมิ (°C)

ปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาตรฐาน (kWh/ปี)

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง (kWh/ปี)

EUI

มกราคม

46

381

6,946

12,000

26.8

38,557

116458

-0.67

กุมภาพันธ์

46

330

11,990

12,000

27.6

49,172

163988

-0.70

มีนาคม

46

420

13,145

12,000

28.0

56,593

212240

-0.73

เมษายน

46

329

8,870

12,000

28.4

43,109

117185

-0.63

พฤษภาคม

46

302

9,780

12,000

29.8

46,238

127182

-0.64

มิถุนายน

46

300

5,116

12,000

28.8

33,312

102167

-0.67

กรกฎาคม

46

260

5,451

12,000

28.7

32,185

95151

-0.66

สิงหาคม

46

290

9,773

12,000

29.3

44,888

128638

-0.65

กันยายน

46

380

13,730

12,000

28.9

58,001

135328

-0.57

ตุลาคม

46

365

13,212

12,000

28.0

54,311

143739

-0.62

พฤศจิกายน

46

365

11,290

12,000

26.7

47,479

148855

-0.68

ธันวาคม

46

402

9,609

12,000

26.7

45,273

106987

-0.58

 

ปี

2561

จำนวนบุคลากร (คน/ปี)

เวลาทำการ (ชั่วโมง/ปี)

จำนวนผู้เข้าใช้บริการ (ครั้ง/ปี)

พื้นที่ใช้สอยในอาคาร

(ตร.ม.)

อุณหภูมิ (°C)

ปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาตรฐาน (kWh/ปี)

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง (kWh/ปี)

EUI

มกราคม

46

330

9,279

12,000

26.8

41,644

120,220

-0.65

กุมภาพันธ์

46

363

14,112

12,000

27.4

55,132

134,697

-0.59

มีนาคม

46

406

12,389

12,000

28.3

54,774

155,710

-0.65

เมษายน

46

340

9,629

12,000

28.7

46,046

125,518

-0.63

พฤษภาคม

46

242

6,738

12,000

28.7

34,470

95,702

-0.64

มิถุนายน

46

238

4,375

12,000

28.5

28,392

94,298

-0.70

กรกฎาคม

46

230

5,889

12,000

28.8

31,988

95,685

-0.67

สิงหาคม

46

295

8,098

12,000

29.2

40,857

124,612

-0.67

กันยายน

46

379

12,637

12,000

28.0

53,580

130,301

-0.59

 

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้ไฟฟ้าของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ในปี พ.ศ. 2560-2561 (ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน) ปรากฏดังนี้

ข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณการใช้ไฟฟ้าของ พ.ศ. 2560 – 2561 (ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน)

2. การรายงานปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ  ระหว่างปี พ.ศ.2560 – 2561 (เอกสารอ้างอิง 3-3 รายงานค่าน้ำประจำเดือน) โดยสรุปภาพรวมตามที่ปรากฏ ดังนี้

ปริมาณการใช้น้ำประจำปี พ.ศ. 2560

เดือน

หน่วยที่ใช้
(ลบ.ม.)

อัตราค่าน้ำ
(หน่วย/บาท)

ค่าน้ำ
(บาท)

  มกราคม

170

29

4,930

  กุมภาพันธ์

396

29

11,484

  มีนาคม

467

29

13,453

  เมษายน

241

29

6,989

  พฤษภาคม

355

29

10,295

  มิถุนายน

169

29

4,901

  กรกฎาคม

140

29

4,060

  สิงหาคม

280

29

8,120

  กันยายน

362

29

10,498

  ตุลาคม

273

29

7,917

  พฤศจิกายน

213

29

6,177

  ธันวาคม

179

29

5,191

รวมทั้งสิ้น

3,245

29

94,105

 

ปริมาณการใช้น้ำประจำปี พ.ศ. 2561

เดือน

หน่วยที่ใช้
(ลบ.ม.)

อัตราค่าน้ำ
(หน่วย/บาท)

ค่าน้ำ
(บาท)

  มกราคม

235

29

6,815

  กุมภาพันธ์

417

29

12,093

  มีนาคม

408

29

11,832

  เมษายน

365

29

10,585

  พฤษภาคม

236

29

6,844

  มิถุนายน

148

29

4,292

  กรกฎาคม

149

29

4,321

  สิงหาคม

299

29

8,671

รวมทั้งสิ้น

2,257

29

65,453

 

ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้น้ำระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2561 (ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม)

 

กิจกรรมที่ได้ดำเนินการเพื่อเป็นการปฏิบัติและสนับสนุนตามมาตรการการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ มีดังนี้

1. การเปลี่ยนหลอดไฟแสงจันทร์และหลอดไฟปกติให้เป็นหลอด LED ให้หมดทั่วทั้งภายในอาคาร LRC สำหรับภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ยังกระทำไม่สำเร็จ สามารถกระทำได้เพียงบางพื้นที่เท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดจากกองอาคารสถานที่ ซึ่งเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ก็ได้เปลี่ยนจากหลอดไฟปกติเป็นหลอด LED เป็นบางส่วนแล้ว ยกเว้นพื้นที่บริเวณชั้น 3  บริเวณชั้น 6 ในส่วนของพื้นที่หนังสือ project และบริเวณชั้น 7 ในส่วนของห้องประชุมคุณหญิงหลงฯ เท่านั้น ที่ยังไม่สามารถกระทำได้ แต่ทั้งนี้ก็สามารถเปลี่ยนเป็นหลอด LED ภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ แล้วทั้งสิ้น 4,393 หลอด โดยแบ่งเป็น 36W 3,886 หลอด และหลอด 18W 507 หลอด และยังคงเหลือทั้งสิ้น 213 หลอด (เอกสารอ้างอิง 3-5 รายงานจำนวนหลอดไฟเป็น LED)

 

2. กำหนดพื้นที่ในการ เปิด-ปิด ไฟ ตามช่วงเวลาที่กำหนดของแต่ละชั้นในส่วนของพื้นที่การให้บริการ ซึ่งมีการแบ่งสัญลักษณ์ออกเป็น 4 สี ดังนี้ 

สัญลักษณ์

เวลา เปิด-ปิด

  สีเขียว

   07.30 น. – ปิดทำการ

  สีส้ม

   16.00 น. – ปิดทำการ

  สีเหลือง

   เปิดเมื่อใช้งาน

  สีชมพู

   ไม่ต้องเปิด


โดยมอบหมายให้แม่บ้านทำความสะอาดเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดไฟในช่วงเวลาที่กำหนด และมอบหมายให้บุคลากรที่อยู่เวรล่วงเวลารอบสุดท้ายเป็นผู้รับผิดชอบการปิดไฟในแต่ละวัน (ภาพประกอบ)

 

3. มีการทำความสะอาดช่องส่งลมของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะเป็นไปตามแผนงานของกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้กำหนดไว้ปีละ 2 ครั้งในช่วงระหว่างปิดภาคเรียน (เอกสารอ้างอิง 3-6 แผนการทำความสะอาดช่องส่งลมเครื่องปรับอากาศ) โดยมอบหมายให้ช่างจากกองอาคาร ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้รับผิดชอบ (ภาพประกอบ)

 

4. มีการทำความสะอาด ตรวจสภาพความพร้อมใช้งานของลิฟต์ ซึ่งเป็นไปตามแผนงานของกองอาคาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งกำหนดไว้เดือนละครั้งโดยร่วมมือกับบริษัทที่รับผิดชอบเป็นผู้ดูแล (เอกสารอ้างอิง 3-7 แผนการทำความสะอาดและตรวจสภาพความพร้อมใช้งานของลิฟต์)(ภาพประกอบ)

 

5. ทำป้ายหลักการใช้ห้องน้ำและป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์การประหยัดไฟฟ้าและน้ำ ติดบริเวณภายในห้องน้ำของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ (ภาพประกอบ)

 

6. การให้บริการและประชาสัมพันธ์การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เพื่อใส่หนังสือให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยกรอกลงในแบบฟอร์มที่กำหนดให้ (เอกสารอ้างอิง 3-8 แบบฟอร์มการขอใช้ถุงผ้า)(ภาพประกอบ)

 

7. กิจกรรมขอความร่วมมือต่อบุคลากรให้ถอดปลั๊กไฟหลังการใช้งานคอมพิวเตอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว (ภาพประกอบ)

 

8. มีการดำเนินการด้านการส่งเอกสาร ผ่านระบบ eDoc และมีการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email) ในการสื่อสารกับบุคลากร หรือส่งเอกสารวาระการประชุม และรับรองรายงานการประชุมผ่านทาง email และมีระบบอื่น ๆ เช่น ระบบจองห้องประชุม, ระบบจองห้อง Study Room, แบบฟอร์มออนไลน์ในงานและระบบต่างๆ เพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสาร (กล่าวเพิ่มเติมในหมวด 5) รวมไปถึงมีการจัดเบรกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ภาพประกอบ)

เกณฑ์  ห้องสมุดมีการจัดการของเสียและมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ
 

 

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์หมวดที่ (เอกสารประกอบเพิ่มเติม)

 

เนื่องจากที่ผ่านมาสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้มีการจัดวางถังขยะไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการภายในห้องสมุดโดยมิได้เน้นในเรื่องของการคัดแยกขยะ จึงทำให้เกิดปัญหาในการส่งขยะกำจัดเป็นอย่างมาก ต่อมาทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว (MOU) (เอกสารอ้างอิง 4-1 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว) เพื่อเข้ามาเป็นห้องสมุดสีเขียว และได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง จึงได้ประกาศให้มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งไว้ในมาตรการการและแนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561 (เอกสารอ้างอิง 4-2 ประกาศมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม) และได้ทำเป็นระบบมากขึ้น พร้อมทั้งมีการบันทึกปริมาณขยะประจำวันและจำนวนครั้งที่ขยะถูกทิ้งผิดประเภท และนำข้อมูลดังกล่าวมาสรุปผลปริมาณขยะตอนสิ้นเดือนในที่ประชุมย่อยเพื่อดูแนวโน้มของปริมาณขยะภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ เพื่อหารือและหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน โดยริเริ่มโครงการบันทึกปริมาณขยะอย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2561 นอกจากนี้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ยังได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในเรื่องของถังขยะที่นำมาใช้ในการคัดแยกขยะภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ อีกด้วย สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการของเสียและมลพิษโดย

1. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการการจัดการขยะ

          สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ กำหนดแผนงานโดยการนำหลักการ 3R มาใช้ในการกำหนดแผนงานลดปริมาณขยะ (Reduce) มีการใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยกำหนดเป้าหมายไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561 คือ ทิ้งขยะลงถังได้ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และขยะลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ0.1 โดยเทียบจากปริมาณขยะของเดือนที่แล้ว (เอกสารอ้างอิง 4-3 แผนปฏิบัติการปี 2561) โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนดังนี้

1.1 ผู้บริหารกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะเป็นลายลักษณ์อักษร โดยได้ประกาศลงในมาตรการการประหยัดพลังงาน ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ  เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ มีการคัดแยกขยะออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

1.2 แจ้งนโยบายเกี่ยวกับการรณรงค์ลดปริมาณขยะและกากของเสียให้บุคลากรและผู้ใช้บริการทราบ โดยทางวาจา และโดยผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้แก่ เสียงตามสายรายการ Library Go Green, Website, Line, และ Facebook (ภาพประกอบ)

 

1.3 คณะทำงานด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประชุมวางแผนดำเนินงานเพื่อกำหนดรูปแบบขั้นตอนการจัดการขยะ (ภาพประกอบ)

1.3.1 จัดกิจกรรม/โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ ภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในเรื่องถังขยะ ซึ่งได้รับถังขยะ 2 ประเภทดังรูป ประเภทแรกกำหนดให้วางไว้บริเวณด้านหน้าชั้น 3 และบริเวณหน้าห้องบ๋ายใจชั้น 7 โดยแบ่งขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไปฝาเหลือง กระป๋องและขวดแก้วฝาสีน้ำเงิน ขวดพลาสติกฝาสีเขียว และสีแดงเป็นขยะอันตราย

สำหรับถังขยะใสนั้นกำหนดวางไว้ในพื้นที่ภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ชั้นละ 2 ถัง สำหรับสีเขียวเป็นขยะประเภทขวดพลาสติก และสีเหลืองเป็นขยะทั่วไป นอกจากนี้ยังติดป้ายสัญลักษณ์พร้อมทั้งคำอธิบายสั้น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทิ้งขยะให้ถูกประเภท และติดป้ายบ่งบอกผู้ใช้บริการให้ “โปรดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง” ด้วย

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังให้ทุนสนับสนุนในเรื่องของการรณรงค์การคัดแยกขยะจำนวนเงิน 12,000 บาท ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ จึงได้จัดโครงการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก (เอกสารอ้างอิง 4-4 ใบเสนอขออนุมัติ)

 

1.3.2 กำหนดผู้รับผิดชอบในการคัดแยกขยะ โดยมอบหมายให้พนักงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานที่ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ร่วมกับแม่บ้านทำความสะอาด ซึ่งสังกัดกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะในแต่ละวัน พร้อมทั้งบันทึกปริมาณขยะแต่ละประเภทในแบบฟอร์มที่กำหนดให้ (เอกสารอ้างอิง 4-5 บันทึกปริมาณขยะรายวัน)

 

1.3.3 กำหนดบริเวณ/พื้นที่จุดรวบรวมขยะแต่ละประเภทก่อนส่งกำจัดต่อไป (ภาพประกอบ) 

 

1.3.4 รณรงค์ให้ผู้ใช้บริการและบุคลากรไม่ใช้วัสดุย่อยสลายยาก เช่น การขอความร่วมมือในการใช้ถุงผ้าหรือกระเป๋าแทนถุงพลาสติก โดยสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ จัดให้มีบริการถุงผ้าไว้สำหรับใส่หนังสือแทนถุงพลาสติก หากผู้ใช้บริการท่านใดประสงค์จะขอใช้ถุงผ้าก็จะกรอกลงในแบบฟอร์มการขอใช้ถุงผ้าและนำมาคืนพร้อมหนังสือ (เอกสารอ้างอิง 4-6 แบบฟอร์มการขอให้ถุงผ้าสำหรับใส่หนังสือ) ณ บริเวณเคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 3 นอกจากนี้ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ยังรณรงค์การลดขยะด้วยการขอความร่วมมือจากผู้ใช้บริการและบุคลากรให้นำแก้วน้ำส่วนตัวมาใช้เองโดยผ่านการประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายรายการ Library Go Green (ภาพประกอบ)

 

1.4 จัดกิจกรรมและรณรงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse) หรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น การนำกระดาษใช้แล้วหน้าเดียวมาใช้ในการพิมพ์เอกสารภายใน ซึ่งจะวางกระดาษไว้ในพื้นที่ส่วนกลางของสำนักงานชั้น 3 ชั้น 7 และพื้นที่บริเวณอินเตอร์เน็ตโซนวางไว้สำหรับผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ยังได้นำระบบการยืนยันตัวตนก่อนมีการสั่งพิมพ์งานมาใช้ทั้งในส่วนของการให้บริการและภายในสำนักงาน ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนมีการสั่งพิมพ์เอกสารเพื่อลดการผิดพลาด (ภาพประกอบ) 

 

2.มีการกำหนดแผนงานและมาตรการการจัดการน้ำเสีย

2.1 มีการรณรงค์การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า โดยการติดป้ายเตือนไว้ภายในห้องน้ำของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ (ภาพประกอบ)

2.2 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ มีการผลิตน้ำยาชีวภาพเพื่อใช้ทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ ล้างจาน ซักผ้าที่ใช้ทำความสะอาด และอื่น ๆ เพื่อเป็นการลดการใช้น้ำยาทางเคมีซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีผลโดยตรงต่อสุขภาพของแม่บ้านทำความสะอาดและผู้ใช้บริการแล้วยังทำให้เป็นมลพิษทางน้ำอีกด้วย นอกจากจะช่วยในเรื่องดังกล่าวแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการประหยัดงบประมาณให้แก่สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งการทำน้ำยาชีวภาพดังกล่าว ทางสำนักฯ ได้มอบหมายให้คุณสมพิศ เอิบกมล และทีมงานเป็นผู้รับผิดชอบ (เอกสารอ้างอิง 4-7 ขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ) ,  (ภาพประกอบ)

 

3. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการลดมลพิษทางอากาศ

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ จัดพื้นที่ให้มีอากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก 
มีการกำจัดฝุ่นละอองบนชั้นหนังสือทุกวัน โดยกำหนดเป็นงานประจำของแม่บ้านทำความสะอาด (เอกสารอ้างอิง 4-8 ตารางการปฏิบัติงานของแม่บ้านทำความสะอาด (TOR) รวมถึงการมีกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีการทำความสะอาดช่องส่งลมเย็นของเครื่องปรับอากาศปีละ 2 ครั้ง ในช่วงปิดภาคเรียน เพื่อลดฝุ่นละออง ดูแลบำรุงรักษาเครื่อง AHU (เอกสารอ้างอิง 4-9 แผนการบำรุงรักษาเครื่อง AHU) และดูแลเครื่องชิลเลอร์ (เอกสารอ้างอิง 4-10 รายงานบำรุงรักษาเครื่องชิลเลอร์) โดยแผนงานนี้จะอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ภาพประกอบ)

 

4. มีการกำหนดแผนงานและดำเนินกิจกรรม 5 ส

จัดพื้นที่บริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยกำหนดกิจกรรมการตรวจความสะอาดภายในโดยคณะกรรมการ 5ส เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจแต่ละพื้นที่ (เอกสารอ้างอิง 4-11 ใบตรวจทำความสะอาด) 

 

5. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน

5.1 มีการตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ประจำปีโดยบุคลากรและบริษัท เช่น การล้างเครื่องกรองน้ำ น้ำที่นำมาดื่มภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ จะได้รับการตรวจสอบคุณภาพของน้ำเป็นประจำทุก 6 เดือน จากหน่วยเครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เอกสารอ้างอิง 4-12 ใบตรวจคุณภาพน้ำ) , (ภาพประกอบ)

5.2 มีการตรวจความพร้อมของเครื่องดับเพลิง ให้พร้อมใช้งานเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งรับผิดชอบโดยช่างของกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ภาพประกอบ)

นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยก็ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการฝึกซ้อมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและแผนอพยพหนีภัย โดยทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้ร่วมกับบุคลากรหน่วยงานอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้ตึก LRC เข้าฝึกซ้อมหนีภัยด้วยกัน (เอกสารอ้างอิง 4-13 คู่มือซ้อมแผนอัคคีภัย 60) , (ภาพกิจกรรมการซ้อมแผนฉุกเฉิน) (ภาพกิจกรรมการซ้อมแผนอัคคีภัย) 

5.3 มีการตรวจความพร้อมใช้ของลิฟต์เป็นประจำทุกเดือน โดยความร่วมมือระหว่างกองอาคารสถานที่และบริษัทเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบ (เอกสารอ้างอิง 4-14 แผนการบำรุงรักษาลิฟต์) , (เอกสารอ้างอิง 4-15 ผลการซ่อมบำรุงลิฟต์) , (ภาพประกอบ)



  เกณฑ์ ✿ ห้องสมุดมีการบริหารจัดการด้านการจัดการทรัพยากรสารสนเทศการให้บริการ และการส่งเสริมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
 
 

 

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์หมวดที่ 5

1. การบริหารจัดการ

1.1 ผู้บริหารหอสมุดฯ มีนโยบายสนับสนุนการบริหารจัดการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

(เอกสารอ้างอิง 5-1)

1.2 มีแผนงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว

- แผนงบประมาณ ปี 2561 (เอกสารอ้างอิง 5-2)

- แผนงบประมาณ ปี 2562 (เอกสารอ้างอิง 5-3)

1.3 มีเอกสารแต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและผู้แทนบุคลากรห้องสมุดแต่ละฝ่าย (เอกสารอ้างอิง 5-4

1.4 มีแผนการดำเนินงานประจำปี ได้แก่

- แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2560 (เอกสารอ้างอิง 5-5)

- แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2561 (เอกสารอ้างอิง 5-6)

1.5 มีการรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ได้แก่

- รายงานผลตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2560 (เอกสารอ้างอิง 5-7)

 

2. การแสดงความคิดเห็นของบุคลากรและผู้ใช้บริการ

2.1 มีกล่องรับความคิดเห็นหรือข้อร้องเรียน บริเวณชั้น 3 - 6 (เอกสารแนบอ้างอิง 5-8) หรือผ่านเว็บไซต์ห้องสมุด รวมทั้งเว็บไซต์ของระบบต่างๆที่ให้บริการ เช่น ระบบจองห้องประชุมระบบจองห้อง Studyroom 

2.2 แบบฟอร์มออนไล์กิจกรรมต่างๆ เช่น แบบประเมินโครงการ  Library Go Green

 

3. ทรัพยากรสารสนเทศ

3.1 มีแผนจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ (เอกสารอ้างอิง 5-9

3.2 จัดหาและจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีความทันสมัยและหลากหลายรูปแบบ สามารถสืบค้นได้ทาง OPAC หรือ One Search โดยมีจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนทรัพยากร ทั้งหมด ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ คิดเป็นประมาณ 14,451 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2561)

 

4. การบริการ

4.1 มีการให้บริการสารสนเทศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และสาขาที่เกี่ยวข้อง ผ่านการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยระบบ ALIST

4.2 มีการส่งเสริมการใช้สารสนเทศ โดยจัดแสดงทรัพยากรใหม่ ในมุม Eco Corner รวมทั้งให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ระหว่างห้องสมุดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

4.3 มีระบบสารสนเทศสำหรับจัดการการดำเนินงานภายใน เพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากร เช่น

- ระบบสารสนเทศบุคลากร เช่น การลาหยุด,การลงเวลา,การประเมิน 

- แบบฟอร์มออนไลน์ เช่น การขออนุมัติเดินทาง,การทำสัญญาเงินยืม

- ระบบจัดการเอกสาร เช่น eDoc,Sharepoint,ระบบจองห้องประชุม,การใช้ email

  

5. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

5.1 จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ใช้บริการและบุคลากรห้องสมุด

2561

- มุม "Eco Corner" (ภาพกิจกรรม) 

เป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงทรัพยากรแนะนำเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และใช้จัดนิทรรศการให้ความรู้ผู้ใช้บริการแบบหมุนเวียน 

- โครงการ "Clib Go Green" (ภาพกิจกรรม) 

จัดนิทรรศการให้ความรู้การคัดแยกขยะ ภายในมุม Eco Corner

- รายการ "Library Go Green" (ภาพกิจกรรม) 

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้จัดกิจกรรมเสียงตามสาย "Library Go Green" ในช่วงเช้าของวันจันทร์ – วันศุกร์ ระหว่างเวลา 
8.30 - 8.45 น. เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมให้บุคลากรและผู้ใช้บริการตระหนักถึงความสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน 

- จัดทำเว็บไซต์ Green Library

เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์กับผู้ใช้บริหาร

 

5.2 จัดอบรมหรือพัฒนาบุคลากร

2560

- ศึกษาดูงาน ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ภาพกิจกรรม) 

- ศึกษาดูงาน ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล (ภาพกิจกรรม) 

 2561

- โครงการอบรม "ก้าวสู่ห้องสมุดสีเขียว" (ภาพกิจกรรม)

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้จัดโครงการ "ก้าวสู่ห้องสมุดสีเขียว" เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการห้องสมุดสีเขียวแก่บุคลากรและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินงานโดยตรง

- อบรม Green Library ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ภาพกิจกรรม) 

 

5.3 จัดกิจกรรมรณรงค์การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง

2561

          - รณรงค์การใช้บันได (ภาพกิจกรรม)

          - ปรับการเปิด-ปิดหลอดไฟฟ้าตามโซนที่เหมาะสม (ภาพกิจกรรม)

          - การทำความสะอาดช่องส่งลมเย็นของระบบปรับอากาศ (ภาพกิจกรรม)

          - ทำป้ายการใช้ห้องน้ำและรณรงค์การประหยัดน้ำ (ภาพกิจกรรม)

          - การผลิตน้ำยาชีวภาพ (ภาพกิจกรรม)

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..