|
|||
ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์หมวดที่ 2 (เอกสารประกอบเพิ่มเติม)
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ มีพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งสิ้น 12,245 ตารางเมตร
กรณีอาคารเก่า
อาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ เป็นอาคารเก่า จึงได้มีการศึกษาปัญหาสภาพอาคารที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พบว่าเครื่องปรับอากาศ เป็นระบบ Central Air ไม่สามารถควบคุมการใช้แบบแยกพื้นที่ได้ จึงส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง และเนื่องจากผนังของตัวอาคารส่วนใหญ่เป็นกระจก จึงมีแสงและความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารหอสมุด ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ส่งผลให้ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น (ตารางวิเคราะห์ปัญหาอาคาร)
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้กำหนดแผนงานปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมวัสดุประกอบอาคาร และภูมิทัศน์ ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ (แผนงบประมาณ)
1. บันไดพลังงาน ทำการสำรวจพื้นที่เพื่อปรับปรุงบันไดให้น่าสนใจ โดยติดสติกเกอร์ให้ความเรื่องจำนวนแคลอรี่ เพื่อเป็นการกระตุ้น จูงใจ และรณรงค์ให้ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ไฟ 100,000 บาท/ปี ได้ทำการติดสติกเกอร์เสร็จในเดือนตุลาคมเป็นที่เรียบร้อย คาดว่าในแต่ละเดือนจากนี้ไป ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะลดลง (ภาพประกอบ)
2. คำขวัญ/คำคม หน้าลิฟต์ โดยออกแบบภาพหรือคำขวัญเพื่อรณรงค์ให้ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ได้ทำการติดสติกเกอร์เสร็จในเดือนตุลาคมพร้อมกับบันไดเป็นที่เรียบร้อย (ภาพประกอบ)
3. กำหนดแนวปฏิบัติการปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมตามสภาพอากาศ (มาตรการห้องสมุดสีเขียว) โดยจัดทำระบบสำหรับบันทึกการปรับอุณหภูมิ (Sharepoint)
4. กำหนดแผนงานการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน โดยเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าแสงสว่างจากหลอดฟูออเรสเซนส์ เป็นหลอด LED ในบริเวณ ชั้น 3-7 (ผลการเปลี่ยนหลอดหลอดไฟ)
5. กำหนดแผนแยกเก็บหนังสือเก่าที่มีการใช้น้อย โดยสำรวจ แยกเก็บหรือจำหน่ายออก ตามนโยบายของห้องสมุด เพื่อเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า (นโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ)
และเนื่องจากอาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง ฯ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้งาน และรวมถึงสิ่งประดับตกแต่งจำนวนมาก เช่น เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดไอระเหยและฝุ่นละออง เป็นไอระเหยที่มาจากสารเคมีฟอร์มาลดีไฮค์ของแผ่นพาร์ติเคิลบอร์ด พรม ผ้าม่าน วอลล์เปเปอร์ กาวชนิดต่าง ๆ ไอระเหยจากการระบายความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ฝุ่นผงคาร์บอนจากเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์เลเซอร์ กลิ่นของสเปรย์ทำความสะอาดโต๊ะและสเปรย์ปรับอากาศในห้องทำงาน ตลอดจนสารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำ เช่น น้ำยาทำความสะอาด จึงจำเป็นต้องหาวิธีเพิ่มออกซิเจนภายในและภายนอกอาคาร เพื่อให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้กำหนดแผนงานเพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกอาคารให้ดีขึ้น ดังนี้
1. มีแผนงาน เรื่องการปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับสิ่งแวดล้อม ได้สำรวจและวางแผนการจัดวางต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นอีก 2 จุด ที่บริเวณหน้าประตูและทางเข้าออกห้องสมุด จัดทำเสร็จในเดือนตุลาคม (รายงานการประชุมครั้งที่ 1),(รายงานการประชุมครั้งที่ 2)
2. ดำเนินการจัดทำกิจกรรม “ต้นไม้ปลอมทิ้ง ต้นไม้จริงมา” เพื่อปรับภูมิทัศน์ภายในและภายนอกห้องสมุด โดยเลือกพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือปลูกพืชใช้น้ำน้อย จัดไว้ภายในห้องสมุด หรือจัดการภูมิทัศน์ให้มีความร่มรื่นสวยงามบริเวณลานระเบียงห้องสมุดชั้น 3 ได้คัดเลือกต้นไม้หลากหลายชนิดมาจัดวางเพื่อความสวยงามและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการ (ภาพประกอบ)
3. ดำเนินการปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ระยะแรกเลือกปลูกกล้วยและ ใบเตยหอม บริเวณทางออกด้านหลังสำนัก ฯ เพื่อนำมาใช้แทนวัสดุที่ก่อให้เกิดขยะที่ยากต่อการทำลาย โดยมีแผนงานจะใช้ใบตองในการทำภาชนะใส่อาหารว่าง และใช้ใบเตยหอมในการปรับกลิ่นในห้องน้ำและห้องครัว ได้ดำเนินการตามแผนการลดขยะไปแล้วโดยการนำใบตองมาใช้ในการบริการอาหารว่างให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ในหลายโอกาส (ภาพประกอบ)
4. ดำเนินการจัดสรรพื้นที่เพื่อให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่า โดยสำรวจพื้นที่ภายในอาคาร พบว่ายังมีพื้นที่ ให้บริการที่ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่คุ้มค่า ได้แก่ มุมหนังสือการ์ตูนชั้น 3 ห้องดนตรีและคาราโอเกะมีการขอใช้บริการน้อย จึงจัดสรรพื้นที่บริเวณดังกล่าว โดยสำรวจและจำหน่ายหนังสือบางคอลเลคชั่นออก ห้องดนตรี หรือคาราโอเกะไปให้บริการในพื้นที่ที่เหมาะสม และจัดพื้นที่เดิมให้เป็นพื้นที่อ่านหนังสือ
(ภาพประกอบ)