หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ (2561)

เกณฑ์  ห้องสมุดมีการจัดการของเสียและมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ
 

 

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์หมวดที่ (เอกสารประกอบเพิ่มเติม)

 

เนื่องจากที่ผ่านมาสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้มีการจัดวางถังขยะไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการภายในห้องสมุดโดยมิได้เน้นในเรื่องของการคัดแยกขยะ จึงทำให้เกิดปัญหาในการส่งขยะกำจัดเป็นอย่างมาก ต่อมาทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว (MOU) (เอกสารอ้างอิง 4-1 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว) เพื่อเข้ามาเป็นห้องสมุดสีเขียว และได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง จึงได้ประกาศให้มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งไว้ในมาตรการการและแนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561 (เอกสารอ้างอิง 4-2 ประกาศมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม) และได้ทำเป็นระบบมากขึ้น พร้อมทั้งมีการบันทึกปริมาณขยะประจำวันและจำนวนครั้งที่ขยะถูกทิ้งผิดประเภท และนำข้อมูลดังกล่าวมาสรุปผลปริมาณขยะตอนสิ้นเดือนในที่ประชุมย่อยเพื่อดูแนวโน้มของปริมาณขยะภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ เพื่อหารือและหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน โดยริเริ่มโครงการบันทึกปริมาณขยะอย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2561 นอกจากนี้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ยังได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในเรื่องของถังขยะที่นำมาใช้ในการคัดแยกขยะภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ อีกด้วย สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการของเสียและมลพิษโดย

1. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการการจัดการขยะ

          สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ กำหนดแผนงานโดยการนำหลักการ 3R มาใช้ในการกำหนดแผนงานลดปริมาณขยะ (Reduce) มีการใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยกำหนดเป้าหมายไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561 คือ ทิ้งขยะลงถังได้ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และขยะลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ0.1 โดยเทียบจากปริมาณขยะของเดือนที่แล้ว (เอกสารอ้างอิง 4-3 แผนปฏิบัติการปี 2561) โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนดังนี้

1.1 ผู้บริหารกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะเป็นลายลักษณ์อักษร โดยได้ประกาศลงในมาตรการการประหยัดพลังงาน ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ  เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ มีการคัดแยกขยะออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

1.2 แจ้งนโยบายเกี่ยวกับการรณรงค์ลดปริมาณขยะและกากของเสียให้บุคลากรและผู้ใช้บริการทราบ โดยทางวาจา และโดยผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้แก่ เสียงตามสายรายการ Library Go Green, Website, Line, และ Facebook (ภาพประกอบ)

 

1.3 คณะทำงานด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประชุมวางแผนดำเนินงานเพื่อกำหนดรูปแบบขั้นตอนการจัดการขยะ (ภาพประกอบ)

1.3.1 จัดกิจกรรม/โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ ภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในเรื่องถังขยะ ซึ่งได้รับถังขยะ 2 ประเภทดังรูป ประเภทแรกกำหนดให้วางไว้บริเวณด้านหน้าชั้น 3 และบริเวณหน้าห้องบ๋ายใจชั้น 7 โดยแบ่งขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไปฝาเหลือง กระป๋องและขวดแก้วฝาสีน้ำเงิน ขวดพลาสติกฝาสีเขียว และสีแดงเป็นขยะอันตราย

สำหรับถังขยะใสนั้นกำหนดวางไว้ในพื้นที่ภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ชั้นละ 2 ถัง สำหรับสีเขียวเป็นขยะประเภทขวดพลาสติก และสีเหลืองเป็นขยะทั่วไป นอกจากนี้ยังติดป้ายสัญลักษณ์พร้อมทั้งคำอธิบายสั้น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทิ้งขยะให้ถูกประเภท และติดป้ายบ่งบอกผู้ใช้บริการให้ “โปรดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง” ด้วย

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังให้ทุนสนับสนุนในเรื่องของการรณรงค์การคัดแยกขยะจำนวนเงิน 12,000 บาท ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ จึงได้จัดโครงการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก (เอกสารอ้างอิง 4-4 ใบเสนอขออนุมัติ)

 

1.3.2 กำหนดผู้รับผิดชอบในการคัดแยกขยะ โดยมอบหมายให้พนักงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานที่ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ร่วมกับแม่บ้านทำความสะอาด ซึ่งสังกัดกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะในแต่ละวัน พร้อมทั้งบันทึกปริมาณขยะแต่ละประเภทในแบบฟอร์มที่กำหนดให้ (เอกสารอ้างอิง 4-5 บันทึกปริมาณขยะรายวัน)

 

1.3.3 กำหนดบริเวณ/พื้นที่จุดรวบรวมขยะแต่ละประเภทก่อนส่งกำจัดต่อไป (ภาพประกอบ) 

 

1.3.4 รณรงค์ให้ผู้ใช้บริการและบุคลากรไม่ใช้วัสดุย่อยสลายยาก เช่น การขอความร่วมมือในการใช้ถุงผ้าหรือกระเป๋าแทนถุงพลาสติก โดยสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ จัดให้มีบริการถุงผ้าไว้สำหรับใส่หนังสือแทนถุงพลาสติก หากผู้ใช้บริการท่านใดประสงค์จะขอใช้ถุงผ้าก็จะกรอกลงในแบบฟอร์มการขอใช้ถุงผ้าและนำมาคืนพร้อมหนังสือ (เอกสารอ้างอิง 4-6 แบบฟอร์มการขอให้ถุงผ้าสำหรับใส่หนังสือ) ณ บริเวณเคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 3 นอกจากนี้ทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ยังรณรงค์การลดขยะด้วยการขอความร่วมมือจากผู้ใช้บริการและบุคลากรให้นำแก้วน้ำส่วนตัวมาใช้เองโดยผ่านการประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายรายการ Library Go Green (ภาพประกอบ)

 

1.4 จัดกิจกรรมและรณรงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse) หรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น การนำกระดาษใช้แล้วหน้าเดียวมาใช้ในการพิมพ์เอกสารภายใน ซึ่งจะวางกระดาษไว้ในพื้นที่ส่วนกลางของสำนักงานชั้น 3 ชั้น 7 และพื้นที่บริเวณอินเตอร์เน็ตโซนวางไว้สำหรับผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ยังได้นำระบบการยืนยันตัวตนก่อนมีการสั่งพิมพ์งานมาใช้ทั้งในส่วนของการให้บริการและภายในสำนักงาน ของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนมีการสั่งพิมพ์เอกสารเพื่อลดการผิดพลาด (ภาพประกอบ) 

 

2.มีการกำหนดแผนงานและมาตรการการจัดการน้ำเสีย

2.1 มีการรณรงค์การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า โดยการติดป้ายเตือนไว้ภายในห้องน้ำของสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ (ภาพประกอบ)

2.2 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ มีการผลิตน้ำยาชีวภาพเพื่อใช้ทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ ล้างจาน ซักผ้าที่ใช้ทำความสะอาด และอื่น ๆ เพื่อเป็นการลดการใช้น้ำยาทางเคมีซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีผลโดยตรงต่อสุขภาพของแม่บ้านทำความสะอาดและผู้ใช้บริการแล้วยังทำให้เป็นมลพิษทางน้ำอีกด้วย นอกจากจะช่วยในเรื่องดังกล่าวแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการประหยัดงบประมาณให้แก่สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งการทำน้ำยาชีวภาพดังกล่าว ทางสำนักฯ ได้มอบหมายให้คุณสมพิศ เอิบกมล และทีมงานเป็นผู้รับผิดชอบ (เอกสารอ้างอิง 4-7 ขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ) ,  (ภาพประกอบ)

 

3. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการลดมลพิษทางอากาศ

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ จัดพื้นที่ให้มีอากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก 
มีการกำจัดฝุ่นละอองบนชั้นหนังสือทุกวัน โดยกำหนดเป็นงานประจำของแม่บ้านทำความสะอาด (เอกสารอ้างอิง 4-8 ตารางการปฏิบัติงานของแม่บ้านทำความสะอาด (TOR) รวมถึงการมีกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีการทำความสะอาดช่องส่งลมเย็นของเครื่องปรับอากาศปีละ 2 ครั้ง ในช่วงปิดภาคเรียน เพื่อลดฝุ่นละออง ดูแลบำรุงรักษาเครื่อง AHU (เอกสารอ้างอิง 4-9 แผนการบำรุงรักษาเครื่อง AHU) และดูแลเครื่องชิลเลอร์ (เอกสารอ้างอิง 4-10 รายงานบำรุงรักษาเครื่องชิลเลอร์) โดยแผนงานนี้จะอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ภาพประกอบ)

 

4. มีการกำหนดแผนงานและดำเนินกิจกรรม 5 ส

จัดพื้นที่บริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยกำหนดกิจกรรมการตรวจความสะอาดภายในโดยคณะกรรมการ 5ส เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจแต่ละพื้นที่ (เอกสารอ้างอิง 4-11 ใบตรวจทำความสะอาด) 

 

5. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน

5.1 มีการตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ประจำปีโดยบุคลากรและบริษัท เช่น การล้างเครื่องกรองน้ำ น้ำที่นำมาดื่มภายในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ จะได้รับการตรวจสอบคุณภาพของน้ำเป็นประจำทุก 6 เดือน จากหน่วยเครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เอกสารอ้างอิง 4-12 ใบตรวจคุณภาพน้ำ) , (ภาพประกอบ)

5.2 มีการตรวจความพร้อมของเครื่องดับเพลิง ให้พร้อมใช้งานเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งรับผิดชอบโดยช่างของกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ภาพประกอบ)

นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยก็ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการฝึกซ้อมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและแผนอพยพหนีภัย โดยทางสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ได้ร่วมกับบุคลากรหน่วยงานอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้ตึก LRC เข้าฝึกซ้อมหนีภัยด้วยกัน (เอกสารอ้างอิง 4-13 คู่มือซ้อมแผนอัคคีภัย 60) , (ภาพกิจกรรมการซ้อมแผนฉุกเฉิน) (ภาพกิจกรรมการซ้อมแผนอัคคีภัย) 

5.3 มีการตรวจความพร้อมใช้ของลิฟต์เป็นประจำทุกเดือน โดยความร่วมมือระหว่างกองอาคารสถานที่และบริษัทเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบ (เอกสารอ้างอิง 4-14 แผนการบำรุงรักษาลิฟต์) , (เอกสารอ้างอิง 4-15 ผลการซ่อมบำรุงลิฟต์) , (ภาพประกอบ)

ผู้ประสานงานห้องสมุดสีเขียว
วีณา ฤทธิ์รักษา  [โทร : 08-2434-8933]
สุดา พันธุสะ [โทร : 08-1698-2854]

ติดต่อเรา
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร : 0-7428-2352
เว็บไซต์ : clib.psu.ac.th

ArticleList

ด้วยหอสมุดคุณหญิงหลงฯ มีแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 แล้วสำนักงานสีเขียวคืออะไร มาทำความรู้จักสำนักงานสีเขียวไปพร้อมกันเลย ..
10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำความรู้จักก๊าซเรือนกระจก
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า อาหารการกินไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทุกคนล้วนต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพทั้งนั้น แต่จะเลือกกินอย่างไรให้กรีน กินอย่างไรให้ปลอดภัย .. ติดตามอ่านได้ที่ Business Plus ปีที่ 32, ฉบับที่ 372 (ก.พ. 2563), หน้า 86-87
มาทำความรู้จักคำนิยามของ "ห้องสมุดสีเขียว" จากคู่มือเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ..
วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก !! ว่าด้วยเรื่องพลังงานในการดำรงชีวิตประจำวัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน ทุกคน ทุกวัย ล้วนจำเป็นใช้พลังงานตลอดเวลา มาทำความรู้จักพลังงานให้มากขึ้นในบทความนี้ .. ติดตามอ่านได้ที่ : วารสารพลังงานทางเลือก ปีที่ 15, ฉบับที่ 57 (มกราคม-มีนาคม 2563), หน้า 23-25
บทความนี้แนะนำให้รู้จักประเภทของพลาสติกและการเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ..