Page 85 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 85

13.                                      วารสารวิชาการ








                13.1 วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                     (Songklanakarin Journal of Science and Technology; SJST)


                        วารสารสงขลานครินทร์ เริ่มจัดพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2522
                โดยในระยะแรกนอกจากจัดพิมพ์บทความวิชาการแล้ว ยังมีการนำเสนอ
                ข่าวสารและข่าววิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้วย ในปี พ.ศ.
                2524 มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้จัดพิมพ์เป็นวารสารวิชาการตามข้อเสนอ

                ของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ในขณะที่ท่านรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ โดยให้
                เน้นการตีพิมพ์บทความวิจัย และให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพ
                ของบทความที่รับตีพิมพ์มากขึ้น จากนั้นวารสารสงขลานครินทร์ก็กลายเป็น

                วารสารทางวิชาการอย่างเต็มรูปแบบของมหาวิทยาลัย โดยเป็นวารสาร
                ราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) และเนื่องจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มี
                การวิจัยในหลายสาขา และทุกสาขาวิชาก็มาลงพิมพ์ในวารสารดังกล่าว ดังนั้น
                ในปี พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยฯ ได้กำหนดให้แยกวารสารฯ ออกเป็น 3 สาขา

                คือ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเวชสาร และสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อให้งานวิจัยของมหาวิทยาลัย  79
                ได้รับการเผยแพร่ในวารสารที่เกี่ยวข้องมากขึ้น และวารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็ได้รับการยอมรับ
                ในฐานข้อมูลสากลฐานแรก คือ ฐาน Chemical Abstract
                        จากผลการวิจัยค่า Impact Factor ของวารสารวิชาการในประเทศไทย โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ และ

                คณะ ได้รับการเผยแพร่ ในปี พ.ศ. 2545 ในงานวิจัยดังกล่าว พบว่าวารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และ
                เทคโนโลยี ได้รับการอ้างอิงว่าอยู่ในระดับสูง และมีค่าดัชนีผลกระทบอ้างอิงทุกปี ตลอดจนยังเป็นวารสารที่มีค่าดัชนีแสดง
                ความเร็วของบทความที่ถูกนำไปอ้างอิงอีกด้วย (Immediacy index) ทำให้มีนักวิจัยทั้งในมหาวิทยาลัย นักวิจัยภายในประเทศ
                และนักวิจัยต่างประเทศ ส่งบทความมาพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย

                ทำให้ต้นฉบับที่ผ่านการพิจารณาแล้วต้องรอตีพิมพ์เป็นเวลานาน ในปีที่ 25 (พ.ศ. 2545) กองบรรณาธิการวารสาร
                สงขลานครินทร์ จึงได้จัดทำเป็นวารสารราย 2 เดือน (6 ฉบับ/ปี) เพื่อแก้ปัญหาต้นฉบับต้องรอพิมพ์นาน และเพื่อให้วารสารฯ
                ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางมากขึ้น จึงได้จัดทำเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) ในปี พ.ศ. 2546 และในปี
                ดังกล่าว วารสารฯ ก็ได้เข้าไปอยู่ในฐานข้อมูล scopus

                        เพื่อยกระดับวารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นวารสารระดับนานาชาติ และผลักดัน
                ให้เข้าสู่ฐานข้อมูลนานาชาติที่ได้รับความเชื่อถือสูงมากขึ้น วารสารฯ จึงได้กำหนดแนวทางการปรับปรุง ดังนี้
                        1.  ตีพิมพ์บทความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
                        2.  กองบรรณาธิการประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิระดับศาสตราจารย์ หรือเทียบเท่าจากภายนอกประเทศ ไม่น้อยกว่า

                ร้อยละ 25 (เกณฑ์การยอมรับจาก สกว. ร้อยละ 25)
                        3.  ผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ประเมินจากต่างประเทศ
                ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของผู้ประเมินทั้งหมด (เกณฑ์การยอมรับจาก สกว. ร้อยละ 25)
                        4.  มีบทความจากต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในรอบปี

                        5.  กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารทุกๆ 2 ปี
                        6.  จัดทำเป็นวารสารแบบ on-line โดยให้มีการส่งบทความ การประเมินบทความ และการตรวจสอบความก้าวหน้า
                ของการประเมินบทความแบบอัตโนมัติบน web และการตีพิมพ์แบบ Electronic บน web เช่นเดียวกัน
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90