Page 89 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 89

13.3 วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

                     (Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities; SJSSH)



                        วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัด
                พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 เป็นวารสารประจำมหาวิทยาลัยฯ
                ในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีคุณภาพและมาตรฐาน

                เป็นที่ยอมรับระดับประเทศ โดยมีนโยบายในการจัดพิมพ์เผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี
                (ใน พ.ศ. 2537- 2540), 3 ฉบับต่อปี (ใน พ.ศ. 2541-2547), 4 ฉบับ
                ต่อปี (ใน พ.ศ. 2548-2551) และ 6 ฉบับต่อปี (ในปี 2552 - ปัจจุบัน)
                โดยมีนโยบายเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ ข้าราชการ

                มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนักวิชาการทั่วไปได้มีโอกาสเสนอผลงาน
                วิชาการเพื่อการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการในสาขาสังคมศาสตร์และ
                มนุษยศาสตร์
                        ในปี พ.ศ. 2550-2552 วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์

                และมนุษยศาสตร์ ได้รับทุนสนับสนุนวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิชา
                มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2549-2551 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
                ปีละ 250,000 บาท (3 ปี รวมเป็นเงิน 750,000 บาท) เพื่อใช้ในการพัฒนาวารสารฯ และยกระดับมาตรฐานให้ครบถ้วน
                ตามเกณฑ์ สกอ. กำหนด                                                                                83

                        ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Center) ได้ประกาศค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิง
                ของวารสารไทย (Impact Factors) โดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ประจำปี 2548 ที่ 0.046 ปี 2549 ที่
                0.091 ปี 2550 และ 2551 ที่ 0.103
                        เพื่อพัฒนาวารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ให้เข้าสู่มาตรฐานระดับชาติและระดับนานา

                ประเทศ กองบรรณาธิการฯ จึงได้กำหนดแนวทางปรับปรุง ดังนี้
                        1.  บริหารจัดการรับบทความตีพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูป ทั้งนี้เพื่อสามารถติดต่อกับผู้เขียนอย่างสะดวก
                และรวดเร็ว อันจะทำให้ได้รับบทความที่หลากหลายมากขึ้น
                        2.  ดำเนินการเพื่อนำวารสารเผยแพร่ในฐานข้อมูลทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ระดับนานาชาติ และฐานข้อมูล   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย

                SCOPUS


                        จากการประเมินโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในช่วง พ.ศ. 2549-2551 มีข้อแนะนำให้วารสารฯ
                เพิ่มบทความที่มีลักษณะบุกเบิกพรมแดนความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และให้มีความหลากหลายของบทความ

                เช่น บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือ เนื่องจากบทความส่วนใหญ่เป็นบทความวิจัยเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการและปริญญา
                นิพนธ์นักศึกษา เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบคุณภาพ และบทความที่มีประโยชน์กับส่วนรวม (ไม่ให้เน้นเฉพาะภายใน
                มหาวิทยาลัยหรือเฉพาะถิ่น)
                        จากข้อมูลจำนวนบทความที่ส่งมาลงตีพิมพ์ในปี 2550-2552 แสดงในรูปที่ 13.6 จะเห็นได้ว่าในปี 2552 มีจำนวน

                บทความเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่จะเป็นบทความทางด้านการศึกษา และเป็นบทความที่มาจากภายในประเทศเกือบทั้งหมด ดัง
                แสดงในรูปที่ 13.7 และ 13.8 ทั้งนี้ กองบรรณาธิการฯ ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนในเรื่องของการบริหารจัดการให้ดีขึ้น เพื่อ
                ให้วารสารมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาการ อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสการพัฒนาและผลักดันให้วารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล
                SCOPUS ต่อไป
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94