Page 26 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 26
3.6 ผลงานเด่นด้านบัณฑิตศึกษา
หลักสูตรเด่น
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความโดดเด่น หรือมีความเป็นเลิศ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเปิดสอนโดยคณะ
อุตสาหกรรมเกษตร โดยทั้ง 2 หลักสูตรดังกล่าว มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความเป็นเลิศทางด้านผลงานวิจัย ได้รับ
การตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ อันเนื่องมาจากผลงานวิจัยฯ ของหลักสูตรเป็นการสร้างองค์
ความรู้ที่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งในแง่ของการแก้ไขปัญหาและพัฒนาต่อสังคม ชุมชน และประเทศ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ นักศึกษาต่างชาติยังให้ความสนใจต่อการเข้าศึกษาทั้ง 2 หลักสูตร เป็นจำนวนมาก
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี เปิดสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์
สำหรับทั้ง 2 หลักสูตรนี้มีความเป็นโดดเด่นทางด้านผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งยังได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาระบาดวิทยา เปิดสอนโดยคณะแพทยศาสตร์
มีความเป็นเลิศใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
3.1 นักศึกษาต่างชาติให้ความสนใจต่อการเข้าศึกษาทั้ง 2 หลักสูตรดังกล่าว เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้รับ
การยอมรับจากองค์กรระดับนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) โดยการให้ทุนสนับสนุนนักศึกษา
20 ต่างชาติเข้าศึกษาทั้ง 2 หลักสูตร
3.2 ผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ
อันเนื่องมาจากนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาต่างชาติ ทำให้เกิดเครือข่ายในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยฯ ใน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
วารสารทางวิชาการระดับนานาชาติมากมาย อีกทั้งนักศึกษาต่างชาติในสังกัดหลักสูตรฯ ยังได้มีการนำ
ผลงานวิจัยฯ ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศของตน ทำให้ผลงานวิจัยฯ
เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมในระดับนานาชาติ
3.3 ผลงานวิจัยทางด้านระบาดวิทยาสามารถไปใช้แก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่
ภาคใต้อย่างมีมาตรฐานสูงต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้คนในภาคใต้พ้นจากปัญหาสาธารณสุขและความยากจน
4. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เปิดสอนโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มีความโดดเด่น
ในเรื่องของจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ให้ความสนใจเข้าศึกษาในหลักสูตรเป็นจำนวนมาก โดยนักศึกษาได้รับทุนสนับสนุนจาก
รัฐบาลในประเทศของตน เป็นหลักสูตรที่พัฒนาความร่วมมือและเครือข่ายกับต่างประเทศ อีกทั้งผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์
ของหลักสูตรยังสามารถตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนทั้งในระดับประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ และในระดับ
ภูมิภาคเอเชีย
5. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา เปิดสอนโดยวิทยาลัยอิสลามศึกษา ถือได้ว่าเป็น
หลักสูตรที่มีความโดดเด่นต่อการตอบสนองความต้องการของชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีประชากรที่นับถือ
ศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก โดยหลักสูตรดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นให้กับผู้ที่นับถือศาสนา
อิสลาม รวมถึงผู้ที่สนใจในศาสนาอิสลาม ให้เกิดความรู้ความเข้าใจทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม อันนำไปสู่การ
สร้างองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ต่อการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการผสานทางด้านวัฒนธรรมระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาต่างกัน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเคารพในความ
แตกต่างทางด้านประเพณีและวัฒนธรรมร่วมกัน