Page 128 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 128

โดยการผลิต พอลิเมอร์จากน้ำนึ่งปาล์มได้ดำเนินการเสร็จแล้วโดยได้ความเข้มข้นของพอลิเมอร์ 11.8 กรัม/ลิตร เป็นชนิด

               พอลิแซคคาร์ไรด์ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์ยับยังเชื้อราและเชลล์มะเร็งได้ สำหรับการผลิตพอลิเมอร์ด้วยเชื้อรา Rhizopus sp.
               ST4 จากอาหารเลี้ยงเชื้อสังเคราะห์ 3 ชนิด ได้ผลผลิตสูงสุด
                           (6)  โครงการเก็บเกี่ยวสารมีคุณค่าจากน้ำมันปาล์มดิบและวัสดุเศษเหลือ

                               เป็นการทดลองวิจัยสกัดสารที่มีคุณค่า ประกอบด้วย แคโรทีนและโทโคฟีรอลจากน้ำมันปาล์มดิบในระดับ
               ห้องปฏิบัติการ โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบที่สกัดด้วยไอน้ำและน้ำมันปาล์มดิบที่สกัดจากผลปาล์ม โดยการใช้สารดูดซับพอลิเมอร์
               สังเคราะห์ (HP20) แล้วทำการซะด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ จากนั้นนำสารสกัดไปแยกสารแคโรทีน (สารตั้งต้นของวิตามิน เอ)
               และโทโคฟีรอล (วิตามินอี) ด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟที่มีเรซินเป็นตัวดูดซับ นอกจากนี้ยังทดลองสกัดน้ำมันปาล์มจากเส้นใย
               ปาล์มและกากปาล์ม แล้วนำมาทำการทดลองสกัดสารแคโรทีน และโทโคฟีรอลด้วยวิธี Saponification และวิธีใช้สารดูดซับ

               ผลการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการได้ปริมาณแคโรทีนและโทโคฟีรอล วัดได้ในวัตถุดิบทุกประเภทภายใต้สภาวะการทดลอง
               ที่ดีที่สุด ในการวิจัยในระยะต่อไปจะทำการศึกษาคุณสมบัติของสารสกัดแคโรทีนและโทโคฟีรอล ขยายการทดลองและผลิต
               สารผงแห้งอัดเม็ดหรือบรรจุแคปซูล ตลอดจนคำนวณต้นทุนการผลิตต่อไป



                      2.4 โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โรงงงานแปรรูปอาหารขนาดเล็กของมูลนิธิชัยพัฒนาที่บ้านทุ่งรัก
               อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
                           เป็นโครงการวิจัยที่มูลนิธิชัยพัฒนาให้การสนับสนุนงบประมาณในเดือนตุลาคม 2551 ปีงบประมาณ 2552
               จำนวน 70,000 บาท ให้ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำการศึกษา


     122       วิจัยผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ผลิตที่โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารขนาดเล็ก ที่มูลนิธิชัยพัฒนาได้ไปสร้างไว้ให้ประชาชน
               ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิที่ บ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา โดยมี รศ.ดร.สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล และดร.กิตติ
               เจิดรังษี เป็นที่ปรึกษา ผู้ทำวิจัยคือ นายตรีภพ พินันโสตติกุล นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรม ขณะนี้

               ได้ทดลองผลิตภัณฑ์ไปแล้ว 4 ชนิดคือ กุ้งรมควันเย็น กุ้งรมควันร้อน ปลาหยองปรุงรส และผลไม้ทอดสุญญากาศ
       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย

                      2.5 โครงการศึกษาและพัฒนาชาน้ำมันดอยตุงของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
                           เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้ทรงมี
               พระราชดำริให้นำชาน้ำมันจากประเทศจีนเข้ามาปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ให้กับชาวเขาในพื้นที่ดอยตุง ตั้งแต่ปี 2550 และ

               สร้างโรงงานหีบสกัดชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่น ๆ เช่น มะรุม เมล็ดทานตะวัน เมล็ดงา เป็นต้น ที่โครงการพัฒนาดอยตุง
               อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และทางมูลนิธิชัยพัฒนาได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ รศ.ดร.สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล เป็นที่ปรึกษาคณะทำงาน
               ดำเนินโครงการศึกษาและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่น ๆ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551 สำหรับในปีงบประมาณ 2552

               ได้ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานโรงงานสกัดน้ำมันชา โรงกลั่นน้ำมันชาบริสุทธิ์ ที่เมืองหนานหนิง และเมืองเถียนหยาง ระหว่าง
               วันที่ 14-17 ธันวาคม 2551 และต่อมาได้ทำการออกแบบโรงงานสกัดชาน้ำมันที่สร้างขึ้นที่จังหวัดเชียงราย และได้ร่วม
               เดินทางไปสั่งซื้อเครื่องจักรสกัดน้ำมันชาที่เมืองเจิ้งโจว ระหว่างวันที่ 27- 29 พฤศจิกายน 2552 และสมเด็จพระเทพรัตน-
               ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จประกอบพิธีตั้งเสาเอกและทอดพระเนตรสถานที่ตั้งโรงงานชาน้ำมัน และแบบจำลอง
               โรงงานต้นแบบ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย



                      2.6 โครงการร่วมมือในการผลิตบุคลากรเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดพังงาอย่างยั่งยืน
                           โครงการนี้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

               ในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดพังงาซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 มูลนิธิชัยพัฒนา กระทรวง
               สาธารณสุข และมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ จึงได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตบุคลากรที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน
               จังหวัดพังงาในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อให้ทำงานอยู่ในพื้นที่หลังจากที่จบการศึกษาแล้ว โดยได้มีพิธีลงนาม เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน
               2552 และในปีการศึกษา 2552 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับนักศึกษาตามโครงการความร่วมมือจำนวน 7 คน
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133