Page 127 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 127
(1) การผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นกรด
ได้ดำเนินการทดลองวิจัยและสร้างเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อการทดลองต่างๆ ประกอบด้วย ชุดถังปฏิกรณ์
ต่อเนื่องสำหรับผลิตไบโอดีเซลขนาด 5 ลิตร/ชั่วโมง สร้างอุปกรณ์กลั่นเมทานอลส่วนเกินแบบต่อเนื่องให้ได้ความบริสุทธิ์
ของเมทานอลสูงกว่าร้อยละ 99 การผลิตไบโอดีเซลจากไขสบู่ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการลดกรดน้ำมันปาล์ม การผลิต
ไบโอดีเซลจากไขมันปาล์มในบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่ การผลิตไบโอดีเซลจากกรดไขมันกลั่น
(PFAD) และได้ทำการทดลองผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มกรดสูง โดยใช้สารเร่งปฏิกริยาของแข็งที่มีฤทธิ์เป็นกรดหลายชนิด
เพื่อหาทางลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซลจากการทดลองใช้สารเร่งปฏิกริยาซ้ำหลายครั้งและลดผลกระทบด้านมลภาวะจากการ
ล้างด้วยน้ำ สรุปผลการทดลองที่ประสบความสำเร็จคือการสร้างถังปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง การผลิตไบโอดีเซลจากไขสบู่
ส่วนการทดลองที่เหลือพบว่าไม่คุ้มในเชิงเศรษฐศาสตร์จึงยุติการวิจัย
(2) การพัฒนากรรมวิธีวิเคราะห์คุณภาพไบโอดีเซล
ได้ทำการทดลองวิจัยเพื่อพัฒนากรรมวิธีวิเคราะห์คุณภาพไบโอดีเซล 3 เรื่อง คือ (1) การทดสอบแบบ
กะประมาณของปริมาณกลีเซอไรด์ไบโอดีเซล โดยกระบวนการทรานส์เอสเตอร์ฟิเคชั่นด้วยเตาไมโครเวฟ สามารถตรวจสอบ
คุณภาพไบโอดีเซลได้สะดวกรวดเร็วและแม่นยำด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ง่ายๆ ราคาถูก ได้นำผลงานจดสิทธิบัตร ได้อนุสิทธิบัตร
เลขที่ 5060 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2552 (2) การหาปริมาณไตร- ได- และโมโน กลีเซอไรด์ โดยวิธีการ Chromotropic
acid method ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Gas Chromotography (GC) โดยที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
มาก (3) การวิเคราะห์ปริมาณร้อยละของ Methyl Ester ในไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันทอดใช้แล้ว และน้ำมันเมล็ดในปาล์ม
โดยใช้เทคนิค H. Nuclear Magnetic Resonance (H-NMR) ปรากฎผลว่าปริมาณ Methyl Ester ที่วิเคราะห์ได้มีค่า
ใกล้เคียงกับค่าที่วิเคราะห์จากเครื่อง GC 121
2.3 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
ดำเนินการโดย สถานวิจัยผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีน้ำมันปาล์ม (POPTEC) โดยมี รศ.ดร.พูนสุข ประเสริฐสรรพ์
เป็นผู้ประสานงาน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนาประจำปี 2549 จำนวน 3,997,692 บาท ถึงเดือน
พฤศจิกายน 2552 ได้ใช้งบประมาณไปแล้วรวม 2,728,572 บาท สรุปผลงานวิจัยทั้ง 6 โครงการย่อยดั้งนี้
(1) การประยุกต์ใช้น้ำมันปาล์มดัดแปรในผลิตภัณฑ์อาหาร
ได้รับการดัดแปรไขน้ำมันปาล์มเป็นไขมันเลียนแบบในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมได้สำเร็จ นำไปทำสูตรผลิต
ไอศกรีมชนิดแข็งที่เหมาะสมแล้วนำไปทดสอบกับผู้บริโภคได้คะแนนชอบมากที่สุด ร้อยละ 22 และชอบมาก ร้อยละ 54% มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
(2) การผลิตโมโนกลีเซอไรด์จากน้ำมันปาล์มและการใช้ประโยชน์เป็นมัลซิไฟเออร์ในผลิตภัณฑ์อาหาร
ได้ทำการทดลองผลิตโมโนกลีเซอไรด์ (MAG) จากปฏิกริยากลีเซอไรไลซีสของน้ำมันปาล์ม แล้วทำ
MAG ให้บริสุทธิ์ถึงร้อยละ 99 แล้วนำไปใช้เป็นวัตถุดิบอิมัลซิไฟเออร์ในการผลิตไอศกรีมกระทิที่ใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนได้ 1 สูตร
(3) การผลิตกระดาษจากวัสดุเศษเหลือของสวนปาล์มน้ำมัน
โดยใช้วัสดุเศษเหลือทางใบจากปาล์มน้ำมัน มาผลิตเป็นกระดาษเพื่อนำใช้เป็นถ้วยบรรจุไอศกรีม ขณะนี้
สามารถผลิตเยื่อกระดาษจากทางใบปาล์มที่มีความแข็งแรงสามารถนำไปใช้บรรจุภัณฑ์ได้ ซึ่งต่อไปจะนำไปเปรียบเทียบ
คุณสมบัติกับเยื่อกระดาษที่ผลิตจากต้นยูคาลิปตัสและชานอ้อยต่อไป
(4) การผลิตคุณสมบัติและการประยุกต์ใช้เซลลูโลสและอนุพันธ์ของเซลลูโลสจากเส้นใยปาล์ม
ทำการสกัดเซลลูโลสจากเส้นใยปาล์มที่ผ่านการสกัดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการวิเคราะห์องค์ประกอบทาง
เคมีของเส้นใย และนำเส้นใยไปสกัดเซลลูโลส และสกัดอนุพันธ์ของเซลลูโลสด้วยกรรมวิธีทางเคมีสามารถผลิตอนุพันธ์ของ
เซลลูโลสที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำไปประยุกต์ใช้เป็นสารเพิ่มความคงตัวและเนื้อสัมผัสของขนมปัง และนำไปใช้ผลิตเป็น
สารเชื่อมสำหรับโคนไอศกรีมต่อไป
(5) การผลิตและคุณสมบัติของพอลิเมอร์จากวัสดุเศษเหลือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
เป็นการทดลองวิจัยการสกัดพอลิเมอร์จากน้ำนึ่งปาล์มโดยตรงกับการผลิตจากเชื้อราที่ผลิตพอลิเมอร์ได้