Page 123 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 123

ภาคผนวก ค

                                           โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ



                1. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพสธ.)



                        ปีงบประมาณ 2552 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนในโครงการ อพสธ. รวม 4,198,800

                บาท ดำเนินการใน 5 กิจกรรม 19 โครงการ ดังนี้

                กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช 3 โครงการ ประกอบด้วย
                        (1)  โครงการพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์
                            ดำเนินการโดย ดร.ประกาศ สว่างโชติ และ อ.พรรณี สะอาดฤทธิ์ งบประมาณ 100,000 บาท ดำเนินการ

                ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในปีงบประมาณ 2552 ได้ทำการสำรวจตรวจสอบชนิดของพรรณไม้อย่างต่อเนื่องโดยรวบรวมได้ 47 วงศ์
                108 สกุล 129 ชนิด ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตบนเขาคอหงส์ของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 200 ไร่ ซึ่งต่อไปจะจัดทำ
                เป็นคู่มือการศึกษาพรรณพฤกษชาติเขาคอหงส์ เพื่อการศึกษาเรียนรู้ของนักศึกษาและประชาชนผู้สนใจ และได้จัดตั้งคณะ

                ทำงานเพื่อการอนุรักษ์เขาคอหงส์ชีวาลัย ประกอบด้วย คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 11 ท่าน
                        (2)  โครงการศึกษาความหลากชนิดประชากร และการกระจายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ปกปัก
                            เขาคอหงส์
                            ดำเนินการโดย ดร.สาระ บำรุงศรี งบประมาณ 100,000 บาท ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อ  117
                ศึกษาบทบาทของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในการช่วยกระจายและทำลายเมล็ดพันธุ์ไม้ในป่าพื้นที่ปกปักเขาคอหงส์ ผลการสำรวจ

                พบพืช 8 ชนิด คือ เลือดกวาง กฤษณา ขนุนป่า ฝาเสี้ยน เทพธาโร ดีหมี หว้า และไทร และพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
                เข้ามากินผลไม้คือ กระรอกปลายหางดำ ลิงแสม หนู และกระแต ส่วนนกที่สำรวจพบ 14 ชนิด เช่น ปรอทหน้านวล
                เปล้าคอสีม่วง เอี้ยงหงอน กางเขนบ้าน โพระดก เอี้ยงสาลิกา แซงแซวหางปลา ปรอทหัวโขน เปล้าหน้าแดง กาเหว่า

                ขมิ้นท้ายทอยดำ ปรอทคอลาย และเอี้ยงดำปักษ์ใต้
                       (3)  โครงการฝึกอบรมตามกิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
                            ดำเนินการโดย ดร.ประกาศ สว่างโชติ และ อ.พรรณี สะอาดฤทธิ์ งบประมาณ 80,000 บาท ดำเนินการ
                เป็นปีที่ 2 เพื่อส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้องในด้านการอนุรักษ์ ด้วยการอบรมให้ความรู้และเดินป่าศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
                โดยตั้งคณะทำงานเพื่อการอนุรักษ์เขาคอหงส์ชีวาลัย เพื่อส่งเสริมการวิจัยและหามาตรการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นป่าเขา คอหงส์

                ให้เป็นแหล่งต้นน้ำ รณรงค์สร้างจิตสำนึกของประชาชนเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน


                กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย
                        (1)  โครงการสำรวจประชากรเต่าทะเลบนเกาะพระทอง จังหวัดพังงา

                            ดำเนินการโดย ดร.ศันสรียา วังกุลางกูร งบประมาณ 100,000 บาท ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ผล
                การสำรวจพบว่า ในปี 2550-2551 มีเต่าตนุขึ้นมาวางไข่ 3 รัง เต่าหญ้า 1 หลุม บริเวณชายหาดด้านทิศเหนือ และ
                ตอนกลางของเกาะ ลูกเต่าฟักเป็นตัวได้ 80% ของจำนวนไข่ ปี 2551–2552 ไม่พบเต่าขึ้นมาวางไข่เลย
                       (2)  โครงการสวนสมุนไพร และอนุรักษ์พันธุ์สมุนไพรหายาก

                            ดำเนินโดย ผศ.ดร.จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล งบประมาณ 120,000 บาท ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ได้
                จัดสร้างสวนสมุนไพรด้านหน้าอาคารวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์ (อาคาร 5) ตามแบบแปลนที่ได้ออกแบบไว้
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128