Page 124 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 124
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย
(1) โครงการรวบรวมและอนุรักษ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้
ดำเนินการโดย อ.นิทัศน์ สองศรี และ อ.อมรรัตน์ บัวคล้าย งบประมาณ 340,000 บาท ดำเนินต่อเนื่อง
เป็นปีที่ 3 โดยทำการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ ไว้ ณ สถานีวิจัยคลองหอยโข่ง โดย
การรับบริจาคพันธุ์พืช และขยายพันธุ์ในเรือนเพาะชำ และกระจายพันธุ์ไปสู่ชุมชน รวมทั้งการดูแลรักษาพันธุ์ผักพื้นบ้านและ
ไม้ผลพื้นเมือง รวม 77 ชนิด และศึกษาการผลัดใบ แตกยอดอ่อน ออกดอก และการติดผล ของพืชพื้นบ้านหลายชนิด
เช่น ชะมวง กะพ้อ โท๊ะ เสม็ดแดง ผักเหลียง เป็นต้น
(2) การศึกษาพันธุกรรมพืชผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
ดำเนินการโดย รศ.ดร. จรัสศรี นวลศรี และคณะ งบประมาณ 324,000 บาท ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
โดยศึกษาพืช 2 สกุล คือ (1) Artocarpus ประกอบด้วย ขนุน จำปาดะ สาเก มะหาด ขนุน-ป่า ขนุนปาน กะออก และ
จำปาดะขนุน (2) Citrus ประกอบด้วย พืชตระกูลส้ม คือ ส้มแป้นขี้ม้า ส้มมิดถัง มะนาว มะงั่ว มะกรูด ส้มโอพันธุ์ต่าง ๆ
ส้มจุก ส้มหัวเสือ ส้มเจซี และจังกระ
(3) การขยายพันธุ์และจัดเตรียมต้นพันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ เพื่อรวบรวมไว้ในการทดลอง
และนำไปปลูกยังถิ่นเดิม
ดำเนินการโดย รศ.ดร.สมปอง เตชะโต ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 งบประมาณ 500,000 บาท ผักพื้นบ้าน
และไม้ผลพื้นเมืองที่ได้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2552 ประกอบด้วย ผักเหลียง สะเดาเทียม และส้มแขก
(4) การศึกษาและการพัฒนาการใช้ประโยชน์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
118 ดำเนินการโดย ผศ.ดร.ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี ดำเนินการต่อเป็นปีที่ 3 ด้วยงบประมาณ 200,000 บาท
ในปี 2552 ได้ทำการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดกิจกรรม เช่น การสัมมนา และแข่งขันทำอาหารด้วยพืชพื้นบ้านภาคใต้
จัดนิทรรศการ จัดทำแผ่นพับเผยแพร่ แจกพันธุ์กล้าผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมือง และจัดทำโปสเตอร์ผักพื้นบ้านเป็นอาหาร
และยา เป็นต้น
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย
(1) โครงการจัดทำฐานข้อมูลค้างคาว พรรณสัตวชาติ และพรรณพฤกษาของประเทศไทย
ดำเนินการโดย อ.ขวัญ นวลเจริญ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยงบประมาณ 100,000 บาท ทำการรวบรวม
และจดบันทึกข้อมูลไว้ที่พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ที่คณะวิทยาศาสตร์ โดยข้อมูลที่บันทึกลงฐานข้อมูล ประกอบด้วย
ค้างคาว แมลง สัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบระบบฐานข้อมูล
(2) การทำฐานข้อมูลพันธุกรรม เขตกรรม การวิจัยพัฒนา และการใช้ประโยชน์ ผักพื้นบ้านและไม้ผล
พื้นเมืองภาคใต้
ดำเนินการโดย ผศ.ดร.ประวิตร โสภโณดร ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ด้วยงบประมาณ 200,000 บาท ในปี
งบประมาณ 2552 ได้ทำการรวบรวมข้อมูลพันธุ์พืชในแปลงรวบรวมที่สถานีวิจัยคลองหอยโข่งและที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ
จำนวน 34 ชนิด และจัดอบรมหลักสูตร นักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น และจัดนิทรรศการรอยธรรมตามรอยพืชในช่วงงานวัน
เกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 17 เดือนสิงหาคม 2552 สำหรับรายชื่อพืชที่ปลูกรวบรวมไว้แล้วที่สภาวิจัยคลองหอยโข่ง รวมทั้งสิ้น
166 ชนิด
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช รวม 7 โครงการ ประกอบด้วย
(1) โครงการพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา
ดำเนินการโดย อ.พรรณี สะอาดฤทธิ์ เป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 3 ด้วยงบประมาณ 1,000,000 บาท จัดทำ
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา เป็นสวนนิทรรศการ (Exhibition) และสวนตัวอย่างสำหรับอ้างอิง (Reference Collection)
ในปีงบประมาณ 2552 ได้ดำเนินการปรับปรุงสวนนิทรรศการ 2 ส่วน ประกอบด้วย นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการ