Page 125 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 125

ระบบนิเวศใต้ทะเล เสร็จไปแล้วร้อยละ 70 และนิทรรศการหมุนเวียน บริเวณชั้นที่ 1 และ 2 ของอาคารได้จัดทำเป็น

                นิทรรศการ การพรางตัวและการเลียนแบบของสิ่งมีชีวิต และนิทรรศการ 200 ปี ของชาร์ล ดาร์วิน
                        (2)  พัฒนาและปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมแผนไทย สมุนไพรไทย และยาพื้นบ้าน
                            ดำเนินการโดย ผศ.ดร.จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล เป็นโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยงบประมาณ 70,000 บาท

                ทำการปรับปรุงโต๊ะเดิมให้เป็นตู้โชว์สมุนไพร และปรับปรุงตู้เก็บสมุนไพร โต๊ะประชุม เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา
                ทั่วไป ในรูปแบบของศูนย์สมุนไพรทักษิณ และได้เปิดให้เยี่ยมชม ในปี 2552 แล้ว
                        (3)  โครงการอบรมติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรหญ้าทะเล ณ อุทยานแห่งชาติ
                            หมู่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล
                            ดำเนินการโดย ผศ.ดร.อัญชนา ประเทพ เป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 2 ด้วยงบประมาณ 70,000 บาท

                ผลการดำเนินงานในปี 2552 ได้ทำการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเภตรา จำนวน 8 คน ให้มีความรู้เกี่ยวกับการ
                เก็บข้อมูล การเปลี่ยนแปลงของแหล่งหญ้าทะเล และทดลองเก็บข้อมูลหญ้าทะเลที่เกาะลิดี ทุกระยะ 3 เดือน
                        (4)  โครงการเดินศึกษาธรรมชาติในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชบริเวณเขาคอหงส์

                            ดำเนินการโดย ดร.ประกาศ สว่างโชติ และอ.พรรณี สะอาดฤทธิ์ เป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 3 ด้วยงบประมาณ
                100,000 บาท ประกอบด้วย กิจกรรมสำรวจพื้นที่วางรูปแบบ จัดทางเดินธรรมชาติ และบำรุงรักษาและปรับปรุงเส้นทาง
                ธรรมชาติ จัดทำคู่มือศึกษาเส้นทางธรรมชาติ เส้นทางแรกเสร็จสมบรูณ์และติดตั้งป้ายพรรณไม้ติดตามแนวเส้นทาง จำนวน
                80 ป้าย
                        (5)  โครงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

                            ดำเนินการโดย รศ.ดร.จิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์ และคณะ เป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 3 ด้วยงบประมาณ   119
                200,000 บาท ในปี 2552 ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในเดือนสิงหาคม 2552 เรื่องครบเครื่องเรื่องสุขภาพกับผักพื้นบ้าน
                ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                        (6)  การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พันธุ์ผักและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้สำหรับประชาชน

                            ดำเนินการโดย รศ.ดร.อยุทธ์ นิสสภา และคณะ เป็นโครงการต่อเนื่องในปี 2552 ผลการดำเนินงานในปี
                2552 ได้ทำบทความวิจัย เรื่องผักเหลียง และการตลาดพื้นบ้านภาคใต้ บรรยายในการสัมมนาที่จังหวัดชลบุรี ในเดือนตุลาคม
                2552 และเผยแพร่ที่ตลาดเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ งานเกษตรแห่งชาติภาคใต้ และงานม.อ.วิชาการ และทำการ
                สำรวจตลาดผักในจังหวัดชุมพร พังงา กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช และสตูล และทำกิจกรรมสุดท้ายคือ จัดทำบทความ

                ลงวารสารเคหการเกษตร 2 เรื่อง และบทความวิจัยอีก 2 เรื่อง                                              มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
                        (7)  โครงการจัดตั้งชมรมธรรมชาติศึกษาภาคใต้
                            ดำเนินการโดย อ.พรรณี สะอาดฤทธิ์ เป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 3 ด้วยงบประมาณ 60,000 บาท การ

                ดำเนินงานในปี 2552 ได้จัดกิจกรรมออกปฏิบัติงานเรียนรู้ธรรมชาติในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเขาคอหงส์ โดยใช้ชื่อว่า
                “ค่ายอนุรักษ์น้อยสำรวจเขาคอหงส์” โดยมีเยาวชนที่เป็นนักเรียน และคณะครูและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเขาคอหงส์
                มาร่วมในกิจกรรม


                2. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนา



                        ปีงบประมาณ 2552 มีโครงการวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยฯ ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนา

                รวม 6 โครงการ ซึ่งสรุปผลงานของแต่ละโครงการดังนี้


                        2.1 โครงการทดสอบน้ำมันปาล์มแบบต่างๆ ผสมกับน้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับการเกษตร และ
                ไบโอดีเซลผสมกับน้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์ดีเซลสมัยใหม่สำหรับยานพาหนะ
                            ดำเนินการโดย รศ.กำพล ประทีปชัยกูร และคณะ สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130