Page 126 - รายงานประจําปี ๒๕๔๘-๕๒ ผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและบัณฑิตศึกษา
P. 126

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนงวดที่ 1 ในปี 2549 จำนวน 9,692,000 บาท ได้ใช้งบประมาณ

               ไปถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 เหลืออยู่ 1,525,364.73 บาท และได้ของบประมาณเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2553
               จำนวน 888,635.27 บาท
                           ในปีงบประมาณ 2552 ได้ดำเนินการใน 4 โครงการย่อยดังนี้
                           (1)  การทดสอบเครื่องยนต์การเกษตรระยะยาวด้วยน้ำมันปาล์มดิบหีบรวมชนิดลดยางเหนียวลดกรด

                               ผสมกับดีเซล
                               ได้ทำการทดสอบเครื่องยนต์โคโบต้า รุ่น RT80 รวม 4 เครื่องใช้น้ำมันปาล์มดิบหีบรวมลดยางเหนียว
               และลดกรด ผสมกับน้ำมันดีเซลที่สัดส่วนร้อยละ 20, 30 และ 40 โดยปริมาตร เป็นระยะเวลา 5,000 3,000 3,500
               และ 3,500 ชั่วโมงตามลำดับ และทุกๆ 500 ชั่วโมง นำเครื่องยนต์มาตรวจสอบการสึกหรอและปลดปล่อยไอเสีย ขณะ

               ทำรายงานได้ทำการเดินเครื่องยนต์ดีเซลทดสอบด้วยน้ำมันดีเซลร้อยละ 100 ครบ 5,000 ชั่วโมง และทำการทดสอบ
               เครื่องยนต์ดีเซลอีก 3 เครื่อง ได้ทำการทดสอบน้ำมันปาล์มผสมที่ร้อยละ 20, 30 และ 40 ไปแล้ว 3,000, 3,500 และ
               4,000 ชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งยังไม่ครบตามกำหนด 5,000 ชั่วโมง สรุปเบื้องต้นได้ว่าสมรรถนะเครื่องยนต์ลดลงเล็กน้อย

               การสึกหรอเครื่องยนต์ยังไม่มีนัยสำคัญ ไม่มีปัญหาเครื่องยนต์สะดุด ปัญหาการสต๊าร์ทแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามควรมีการ
               ล้างไส้กรองน้ำมันให้ถี่ขึ้นเป็น 80, 60 และ 40 ชั่วโมง ตามลำดับ
                           (2)  การทดสอบเครื่องยนต์ยานพาหนะระยะสั้นด้วยน้ำมันปาล์มดิบหีบรวมชนิดยางเหนียวลดกรดผสม
                               ดีเซล
                               การทดสอบใช้เครื่องยนต์มือสองยี่ห้อโตโยต้ารุ่น 2L-T ที่ปรับสภาพใหม่ 1 เครื่อง ด้วยเชื้อเพลิงที่


     120       แตกต่างกัน 4 ชนิด คือน้ำมันดีเซลและน้ำมันปาล์มดิบผสมดีเซลร้อยละ 20, 30 และ 40 โดยวิธีการทดสอบ 2 แบบ คือ
               (1) ทดสอบที่ความเร็วรอบเปลี่ยนแปลง และ (2) ที่ความเร็วรอบคงที่ 2,400 รอบ/นาที การทดสอบดำเนินการเสร็จแล้ว
                           (3)  การทดสอบเครื่องยนต์ยานพาหนะระยะยาว ด้วยน้ำมันปาล์มดิบหีบรวมชนิดลดยางเหนียวลดกรด
                               ผสมดีเซล
       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : เส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
                               ได้ทำการทดสอบเครื่องยนต์ 2L ตัวที่ 1 ด้วยน้ำมันดีเซลไปแล้ว 1,000 ชั่วโมง และเครื่องยนต์ดีเซล
               2L ตัวที่ 2 ด้วยน้ำมันปาล์มดิบร้อยละ 20 ผสมน้ำมันดีเซลไปแล้ว 600 ชั่วโมง สำหรับงานวิจัยในช่วงต่อไปก็จะทดสอบ
               น้ำมันปาล์มดิบที่ส่วนผสมร้อยละ 30 และ 40 ตามลำดับ
                           (4)  การทดสอบเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับยานพาหนะสมัยใหม่ (คอมมอนเรล)

                               ยังไม่ดำเนินการ แต่ได้รับบริจาคเครื่องยนต์ขนาด 2500 ซีซี จำนวน 4 เครื่องแล้ว จากบริษัทโตโยต้า
               (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบในระยะต่อไป
                      อนึ่ง ในปีงบประมาณ 2552 นี้ คณะวิจัยของรศ.กำพลฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

               จำนวนประมาณ 340,000 บาท จัดสร้างอุปกรณ์ผลิตไบโอดีเซลขนาด 100 ลิตร และได้นำทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จ
               พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2552 ณ อาคารศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ
               ครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อให้มูลนิธิชัยพัฒนานำไปผลิตไบโอดีเซลที่บ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
               ต่อไป



                      2.2  โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านไบโอดีเซลเพื่อการแข่งขัน การผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกริยา
               ที่เป็นกรด การพัฒนากรรมวิธีวิเคราะห์คุณภาพไบโอดีเซล
                           ดำเนินการโดย รศ.ดร.ชาคริต ทองอุไร และคณะ จากสถานวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์ม

               และพืชน้ำมัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับงบประมาณจากมูลนิธิชัยพัฒนาในปี 2549
               จำนวน 5,165,000 บาท และได้ใช้เงินไปแล้ว 3,278,926.85 บาท ผลการดำเนินงานถึงปลายปี 2552 ประกอบด้วย
               2 โครงการย่อยดังนี้
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131