Category: อื่น ๆ

52 ปี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในปี 2567 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีอายุย่างเข้า 52 ปี โดยจัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 5 ในจำนวน 35 คณะ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาในภาคใต้ ซึ่งจัดการศึกษาพยาบาลในระดับอุดมศึกษาตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาพยาบาลในภาคใต้ และผลิตบุคลากรพยาบาลให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในระยะแรกเริ่มที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2516 คณะพยาบาลศาสตร์ มีฐานะเป็นภาควิซาโรงเรียนพยาบาล สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับนักศึกษารุ่นแรกเข้าศึกษาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2516 จำนวน 19 คน ในหลักสูตรอนุปริญญาพยาบาลและผดุงครรภ์ มีะยะเวลาศึกษา 3 ปี 6 เดือน ซึ่งรับเพียงรุ่นเดียว ในปีต่อมาได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาล) มีระยะเวลาศึกษา 4 ปี มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 20 คน ต่อมาภาควิชาโรงเรียนพยาบาล ได้ยกฐานะเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ทำไม? มหาลัยสงขลานครินทร์ ใช้ชื่อย่อ ม.อ.

เขาว่ากันว่าคนที่พูดถึงความหลัง พูดถึงอดีตคือคนแก่หรือเริ่มแก่ ก็คงจะมีส่วนจริงอยู่ครับ เพราะสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นตัวบีบบังคับให้ต้องพูดถึงความหลัง จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเองประชาคม ม.อ. ส่วนหนึ่งในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรือบุคลากร ของมหาวิทยาลัยเองไม่รู้ ไม่เข้าใจ ความเป็นมาหรือประวัติของมหาวิทยาลัย คำถามที่พวกเราพบบ่อย ๆ ก็คือ “เอ๊ะ ม.อ. นี่ย่อมาจากอะไร ม. คงเป็นมหาวิทยาลัย แต่ อ. อ่าง นี่อะไรนะ… คนจำนวนมากไม่ทราบ ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเขาเรียกมหาวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยอ่างน้ำ” อ่างเก็บน้ำสร้างเสร็จก่อนอย่างอื่น ต่อมาเมื่อมีตราของมหาวิทยาลัยปรากฎต่อสายตาชาวบ้านมากขึ้น คำถามต่อมาคือ “ม.อ.” ย่อมาจากอะไรก็มีมากขึ้น บางคนถึงพูดว่า “คงเป็นเสียงร้องของวัวมั้ง” เพราะตอนนั้นชาวบ้านนำวัวมาเลี้ยงกันในมหาวิทยาลัยอย่างสะดวกสบาย แต่ในความจริงแล้ว (ซึ่งคนส่วนหนึ่งใน ม.อ. ก็ไม่ทราบ) ว่า ม.อ. คืออักษรย่อของพระนามเดิมของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้า “มหิดลอดุลยเดช” มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ แห่งที่ 3 ในส่วนภูมิภาคและแห่งที่ 9 ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา สู่ดินแดนภาคใต้เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของท้องถิ่นและเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาภูมิภาค และนอกจากนี้ยังมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขตในภาคใต้ เพื่อขยายโอกาสการศึกษาได้อย่างทั่วถึงในทุก ๆ […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ความทรงจำในการบริจาคที่ดิน ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ประมาณกลางปี พ.ศ. 2510 ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ซึ่งมีความสนิทสนมกับครอบครัวคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เป็นอย่างดี ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ ให้เป็นผู้จัดหาที่ดินเพื่อสร้างมหาวิทยาลัย หลังจากได้ไปดูมาหลายแห่งท่านถูกใจที่สวนยางที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมเป็นของพระยาอรรถกระวีสุนทร เมื่อท่านถึงแก่อนิจกรรมไปในปี พ.ศ. 2500 จึงตกเป็นของคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เมื่อศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ ทราบจึงได้มาติดต่อจะขอซื้อและให้ทราบถึงนใยบายของรัฐบาล ที่จะพัฒนาความเจริญไปสู่จังหวัดภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภาคใต้ และยกระดับมาตรฐานการศึกษาสู่ท้องถิ่น คุณหญิงหลงฯ ได้นำเรื่องมาปรึกษากับลูก ๆ ซึ่งทุกคนก็เห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่ท่านจะได้ตอบแทนคุณแผ่นดิน สมตามความปรารถนาของท่านที่มีมานานแล้ว จึงได้ตอบให้ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ ทราบว่าท่านยินดีที่จะบริจาคเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ในการนี้ในชีวิตของคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร วันที่ท่านมีความปลื้มปิติมากที่สุด คือวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เวลา 11.00 น. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พันเอกถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานกรรมการดำเนินงานก่อตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ นำคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร และบุตรธิดาสามคน เข้าผ้าทูลละอองธุลีพระบาท […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

รอยพระบาทยาตรา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

“ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาเยี่ยมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และขอแสดงความยินดีที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นมาเป็นผลสำเร็จ และมีนักศึกษาได้สำเร็จการศึกษามาแล้วแสดงว่าเป็นผลที่สมบูรณ์แล้ว การที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งขึ้นมา ก็ต้องพิจารณาดูว่าต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่เป็นสำนักศึกษา สถานศึกษาใด ๆ เราก็ต้องมาคิดดูว่าต้องมีสถานที่คือ อาคาร ห้องเรียน เครื่องมือสำหรับสอนสำหรับเรียนก็มีอยู่แล้ว โดยได้ตั้งขึ้นมาถึงสองแห่งที่หาดใหญ่และที่ปัตตานี การสร้างก็นับว่าสร้างขึ้นมาใช้ได้แล้ว และเข้าใจว่าจะต้องสร้างต่อไปอีกเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ…” นี่เป็นส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาท ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๑๓ และ ๒๕๑๔ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๕ ณ วิทยาเขตปัตตานี โดยในครั้งนั้น ศาสตราจารย์ ดร. บัวเรศ คำทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระองค์ท่าน และนั่นเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯ สู่รั้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทรงเป็นมิ่งขวัญให้ชาวมทาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และประชาชนในละแวกใกล้เคียงได้ชื่นชมพระบารมี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ วิทยาเขตปัตตานี และวิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวนถึง ๑๖ […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการ STT49

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการ STT49 วันนี้ (23 มกราคม 2567) เวลา 14.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานทรงเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 49 The 49th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT49) ในหัวข้อ “SDGs FOR THE BENEFIT OF MANKIND” ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี รองศาสตราจารย์ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ศิษย์เก่า ม.อ. เป็นผู้บริหารระดับสูง

ผศ. สุพจน์ โกวิทยา ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานึกศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เผยว่า ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ได้แต่งตั้งศิษย์เก่า ม.อ. เป็นข้าราชการเมือง และผู้บริหารระดับสูงหลายคน ประกอบด้วย ข้อมูลและภาพจาก : https://kyl.psu.th/HqvP1 ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ม.อ. ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) แด่พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ)

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 22 ประจำปีการศึกษา 2535 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีมติถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) แด่พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2537 เวลา 14.00 น. โดยศาสตราจารย์ ดร. เกษม สุวรรณกุล นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในฐานะอุปนายกสภามหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์ อธิการบดี และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) แด่พระเทพวิสุทธิเมธี (ปัญญานันทภิกขุ) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) ณ ห้องโถง โรงเรียนพุทธธรรม วัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท) สมณศักดิ์ที่ถือครองในปี 2550 หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย ผู้เป็นสหธรรมิกร่วมอุดมการณ์คนสำคัญของพระธรรมโกศาจารย์ […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

“ศรีตรัง” เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ รีตรัง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีใบเป็นชนิดใบประกอบขนนกสองชั้น ใบย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมาก ออกดอกปีละครั้ง เป็นช่อแบบกระจุก ช่อดอกยาว 5–9 เซนติเมตร กลีบมีดอก 5 กลีบ เชื่อมติดต่อกันเป็นหลอดสีม่วงอ่อน ช่วงที่ออกดอกประมาณเดือนมกราคม–มีนาคม เมื่อถึงฤดูกาลในแต่ละปี ศรีตรังจะออกดอกบานสะพรั่งเต็มต้น มีความสวยงามมาก แม้ยามร่วงโรยลงสู่พื้นดินแล้ว พื้นดินที่ปกคลุมด้วยดอกศรีตรังนั้นเหมือนถูกระบายด้วยสีสัน มีความงดงามสุดจะบรรยายได้ศรีตรังมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Jacaranda filicifolia D. Don. ชื่อสามัญ Jacaranda, Green ebony วงศ์ BIGNONIACEAE ชื่ออื่น ๆ เช่น แคฝอย (ภาคกลาง) ศรีตรังเป็นไม้ท้องถิ่นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้ ลักษณะทั่วไปของศรีตรัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นับเป็นสาขาที่ 108 ได้เปิดทำการเป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2522 โดยมีรองศาสตราจารย์นายแพทย์ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในสมัยนั้น เป็นประธานในพิธีเปิดที่ทำการของธนาคารสถานที่ตั้งของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในช่วงเริ่มต้นมีที่ทำการชั่วคราวอยู่ที่บริเวณลานชั้นล่างของอาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) ซึ่งปัจจุบันคือที่ทำการของภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีนายจอม เพชรรัตน์ ผู้จัดการคนแรกของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวันเปิดที่ทำการธนาคาร มีแขกผู้มีเกียรติ เช่น นายบุญเลิศ โรจนลักษณ์ นายอำเภอหาดใหญ่ เป็นต้น มาเป็นเกียรติ สำหรับบัญชีออมทรัพย์บัญชีแรก เลขที่บัญชี 565-2-00001-6 ผู้เปิดบัญชีคือผู้ช่วยศาสตราจารย์เอื้อมชม เรืองกุล อดีตอาจารย์สังกัดภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สร้างที่ทำการถาวรขึ้นใหม่ ในบริเวณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นอาคาร 2 ชั้น เมื่ออาคารเสร็จแล้ว ได้ย้ายมาเปิดดำเนินการ ณ อาคารหลังใหม่ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

สงขลานครินทร์ จัดทำ PSU Care ควบคุมโควิด-19

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างแพลตฟอร์ม PSU Care อำนวยความสะดวกในการเช็คอิน การเข้าใช้งานสถานที่ต่างๆ ของนักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาติดต่อในมหาวิทยาลัย เพื่อดูแลและควบคุมการระบาดของโรคโควิด – 19 โดยมีการบันทึกพื้นที่ที่เข้าไปใช้งานในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่  และการรายงานสุขภาพรายวัน โดยข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่ถูกเปิดเผยแก่ผู้ไม่เกี่ยวข้องในทุกกรณี เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ผศ.ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่  ผศ.ดร. วรรณรัช สันติอมรทัต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล และดร.นพ.ชนนท์ กองกมล  รองคณบดีฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรมดิจิตอล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันแถลงเชิญชวน ประชาชนดูแลสุขภาพด้วยแพลตฟอร์ม PSU Care ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ PSU Care สามารถเข้าถึงได้โดยประชาชนทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะกับบุคลากรหรือนักศึกษา โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับมอบหมายจากจังหวัดสงขลาให้ทำงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ในการพัฒนาและขยายผล  การใช้งาน PSU Care ไปยังหน่วยงานต่างๆ ของจังหวัด  และมีการนำไปใช้งานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตสุราษฎร์ธานี ด้วย ผศ.ดร. […]

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ
Back To Top