ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในระยะเริ่มแรก โดยในปี 2509 ท่านได้รับการทาบทามจากคณะกรรมการพัฒนาภาภาคใต้ ซึ่งมี ฯพณฯ พันเอกถนัด คอมันต์(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น) เป็นประธานคณะกรรมการาให้ช่วยจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภาคใต้ เนื่องจากคณะกรรมการฯ เห็นว่าท่านเป็นบุคคลสำคัญในการให้ความช่วยเหลือก่อตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคให้ประสบผลสำเร็จมาแล้ว เช่น ในภาคเหนือ ท่านมีส่วนในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านมีส่วนในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท่านศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข มีส่วนเป็นกำลังสำคัญตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงปี 2514 ซึ่งท่านถึงแก่อนิจกรรม

ในขณะดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนที่ 2 การที่ท่านสามารถบุกเบิกก่อสร้างมหาวิทยาลัย 2 ศูนย์พร้อมกัน คือที่ศูนย์ ต. รูสะมิแล อ. เมือง จ. ปัตตานี และที่ศูนย์ ต. คอหงส์ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา ให้ประสบผลสำเร็จนั้น นอกจากจะเป็นเพราะความเก่งของท่าน วิสัยทัศน์ของท่าน ความทุ่มเทของท่านแล้ว ท่านยังเป็นคนมากบารมีมากลูกศิษย์ มากกัลยาฉมิตร เมื่อท่านขอความช่วยหลือทุกคนก็เต็มใจที่จะให้ความช่วยเหลือท่าน ทำให้ท่านสามารถก่อสร้างมหาวิทยาลัยทั้ง 2 ศูนย์ ให้มีคุณภาพมาตรฐานได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศไทยในขณะนั้นมีงบประมาณอยู่อย่างจำกัดระยะเวลาที่ท่านเริ่มรับผิดชอบจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กระทั่งถึงวันที่ท่านถึงแก่อนิจกรรม ท่านมีเวลาเพียง 4 ปีเท่านั้น แต่ผลงานที่ท่านได้ทำไว้นั้นมีเป็นจำนวนมาก ท่านได้วางรากฐานของมหาวิทยาลัยไว้อย่างมั่นคง ทั้งสิ่งก่อสร้าง อัตรากำลังคณาจารย์ มาตรฐานของหลักสูตรการเรียนการสอน สวัสดิการของคณาจารย์และบุคลากร ความร่วมมือกับต่างประเทศ ฯลฯ ดังข้อมูลสรุปการดำเนินการของท่านตามลำดับ ดังนี้คือ
กุมภาพันธ์ 2510
– ท่านได้รับเชิญอย่างเป็นทางการให้เข้าร่วมจัดตั้งหาวิทยาลัยภาคใต้
– ระยะนี้ท่านเริ่มแสวงหาตัวบุคลากรเพื่อเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยจากผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาต่อจากต่างประเทศ
เมษายน 2510
– สภาการศึกษาแห่งชาติ ให้มหาวิทยาลัยภาคใต้ประกาศรับสมัครนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 50 คนในขณะที่มหาวิทยาลัยภาคใต้ยังไม่มีความพร้อมทั้งสถานที่และตัวอาจารย์ ท่านจึงนำนักศึกษาดังกล่าวไปฝากเรียนกับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นคณบดี
มิถุนายน 2510
– ท่านได้รับการแต่งตั้งจากคฉะกรรมการพัฒนาภาคใต้ เป็นผู้รับผิดชอบการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้
– ท่านได้นำคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยรุ่นแรก จำนวน 5 ท่าน มี ดร.ประดิษฐ์ เชยจิตร ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.นาถ
ตัณฑวิรุหห์ อาจารย์เย็นใจ เลาหวณิช และนายนิพนธ์มาศะวิสุทธิ์ เดินทางไปดูสถานที่ก่อสร้างมหาวิทยาลัย ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ในการเดินทางไปดูสถานที่ก่อสร้างจริงครั้งนี้ ทำให้ท่านมีแนวคิดเปลี่ยนแปลงรูปแบบการก่อตั้งมหาวิทยาลัยครั้งสำคัญ ได้แก่
1. ท่านเห็นว่าที่ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ไม่เหมาะที่จะก่อสร้างอาคารของคณะวิศวกรรมศาสตร์
2. ท่านเดินทางมาที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ทำให้ท่านเห็นว่าที่ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นสถานที่เหมาะสมที่จะจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาตร์ ท่านจึงติดต่อขอซื้อจากท่านคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร เจ้าของที่ดินดังกล่าว แต่ปรากฏว่าท่านคุณหญิงหลง ยินดีมอบให้เพื่อให้เป็นพื้นพื้นที่จัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้
3. ท่านเห็นว่าควรจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ ที่ อ.หาดใหญ่ก่อนเพื่อให้เป็นคณะที่ทำการสอนวิชาพื้นฐานให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอื่น ๆ ที่จะจัดตั้งต่อไป
สิงหาดม 2510
– ท่านมอบหมายให้คณะทำงางานเจรจายอที่ดินก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี และที่ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพิ่มเติม
กันยายน 2510
– มหาวิทยาลัยภาคไต้ ได้รับพระราชทานชื่อว่า “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ในระยะนี้ท่านมีภารกิจสำคัญอย่างยิ่งในการก่อสร้างมหาวิทยาลัยทั้ง 2 ศูนย์
1. สรรหาคณาจารย์ผู้มีความรู้และประสบการณ์มาสอน ทั้งที่สรรหาคณาจารย์ผู้มีความรู้และประสบการณ์มาสอน ทั้งที่ จ.ปัตตานี และ จ.สงขลา โดยทาบทามจากผู้จบการศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาทุนตามแผนโคลัมโบ
2. จัดทำ Masterplan ในการก่อลร้างอาคารต่าง ๆ ทั้งที่ จ.ปัตตานี และ จ.สงขลา โดยท่านได้จ้างกลุ่มสถาปนิกอิสระให้ออกแบบตามจินตนาการของท่าน
3. ออกแบบ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ ห้องทดลอง และห้องปฏิบัติการทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และด้านวิศวกรรมศาสตร์
มีนาคม 2511
– มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัย ออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. สำนักงานอธิการบดี
2. คณะวิทยาศาสตร์
3. คณะวิศวกรรมศาสตร์
เมษายน 2511
– มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง พันเอกถนัด คอมันต์เป็นอธิการบดี และ ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นรองอธิการบดี
ธันวาคม 2511
– มีพระราชบัญญัญญัติมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ แบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัยเป็น 4 ส่วน โดยมีคณะศึกษาศาสตร์เพิ่มเติม
มีนาคม 2512
– ท่านแสวงหาความร่วมมือจากแหล่งงบประมาณ และแหล่งทุนต่าง ๆ เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย เช่น การเจรจาของบประมาณมาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ อาคารกลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์อาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์ บ้านพัก หอพักนักศึกษา ที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และอาคารศึกษาศาสตร์ บ้านพักอาจารย์ หอพักนักศึกษา ที่ อ.เมือง จ.ปัตตานี ในด้านการขอความร่วมมือจากต่างประเทศ ท่านได้ขอความการขออัตรากำลังอาจารย์ จากนักศึกษาทุนแผนโคลัมโบช่วยเหลือภายได้ใครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UINDP) การขออาจารย์สอนภาษาอังกฤษ จากมูลนิธิฟูลไบรท์ และมูลนิธิจอห์น เอฟ เคเนดี้ เป็นต้น
– ท่านได้รับการเปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คนที่ 2
– มูลนิธิฟอร์ดเชิญท่านไปดูงานบริหารมหาวิทยาลัย เจรจาเพื่อเตรียมการจัดตั้งคณะเกษตร และเจรจาขอความช่วยเหลือทางวิชาการ ณ ประเทศสหรัฐอมเริกา อังกฤษ และสทพันธรัฐเยอรมัน
– มหาวิทยาลัยเริ่มรับนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์เป็นปีแรก
– ท่านได้พยายามก่อสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตาม Moster-plan ที่ท่านได้จัดทำขึ้น แต่ติดขัดด้านงบประมาณ ท่านจึงเจรจาให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการที่จะสามารถสร้างกลุ่มอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ให้เป็นไปตาม Masterplan ดังรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน
– ในช่วงนี้ท่านมีแนวคิดพัฒนามหาวิทยาลัยอีกหลายโครงการ เช่น
1. โครงการจัดตั้งคณะเกษตร โดยขอความช่วยเหลือจากสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ช่วยประสานงานขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น
2. โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานครินทร์ โดยการพยายายามเจรจากู้เงินจากธนาคารโลก และขอความช่วยเหลือจากศิษย์ของท่านที่เป็นอาจารย์ และเพื่อนๆ ของท่านในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดทำโครงการโครงการยกฐานะของมหาวิทยาลัยลงขลานครินทร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ให้เท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศมาเลเชีย ซึ่งมีชายแดนติดกันโครงการจัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์ และโครงการจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ ที่ ต.รูสะมิแล จ.ปัตตานีการหาแนวทางจัดการสวัสดิการให้แก่อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะสามารถดึงดูดอาจารย์จากส่วนกลางให้เดินทางไปประจำที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี ซึ่งในขณะนั้นหาอาจารย์ไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวยากมาก
6 กรกฎาคม 2514
– ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ถึงแก่อนิจกรรม ในขณะที่กำลังจะเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเจรจาขอความร่วมมือใน
การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตามแผนงานของท่าน









