การลงทะเบียนวารสาร
การลงทะเบียนวารสารเป็นการบันทึกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวารสารทุกฉบับที่ห้องสมุดได้รับ วารสารที่ได้ผ่านกระบวนการจัดหามาหรือได้รับบริจาคมาแล้ว จะถูกนำมาลงทะเบียนวารสารใหม่ โดยการคัดเลือกของผู้รับผิดชอบงานวารสารว่าวารสารที่นำมาลงทะเบียนตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานลงทะเบียนวารสาร 1. ตรวจสอบวารสารว่ามีใบเสร็จ ใบแทรก ใบตอบรับหรือเอกสารสำคัญอื่นๆ อีกหรือไม่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานหรือจะดำเนินการอย่างอื่นต่อไป 2. ตรวจความเรียบร้อยของตัวเล่ม ว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายไปบ้างหรือไม่ เพื่อที่จะได้ส่งกลับสำนักพิมพ์เพื่อเปลี่ยนเป็นฉบับใหม่แทน 3. ค้นหาวารสารในระบบ ALIST 4. วารสารที่ไม่มีรายการระเบียนบรรณานุกรม ให้ส่งบรรณารักษ์เพื่อพิจารณาสร้างระเบียนบรรณานุกรม(Create Record)สร้างรูปแบบการพิมพ์วารสาร (MARC holding record) และสร้างรายการบัตรลงทะเบียน (Serial Check-in Card) 5. วารสารที่มีระเบียนบรรณานุกรมแล้ว ให้ตรวจสอบฉบับที่ เดือน ปี ของวารสารก่อนลงทะเบียนวารสารในบัตรลงทะเบียน (Check-in Card) 6. จากนั้นติดเลขหมู่(Local Call) บาร์โค้ด(Barcode) สถานะให้ยืมได้ และสติ๊กเกอร์วารสารใหม่เพื่อบอกผู้ใช้บริการ 7. ประทับตรามหาวิทยาลัยตรงหน้าปกใน สันทั้ง 3 ด้าน และประทับวันที่ให้เรียบร้อย 8. หากมีการจัดทำสารบัญวารสารใหม่ส่งผู้ใช้บริการหรือทำดรรชนีให้โน้ตไว้แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้ […]
วิธีตรวจสอบรายชื่อวารสารว่ามีในฐานข้อมูล Web of Science หรือไม่? และถ้ามีในฐาน Web Of Science ควรจะตีพิมพ์หรือไม่?
มาทำความรู้จักกับฐานข้อมูล Web of Science ฐานข้อมูล Web of Science เป็นฐานข้อมูลดรรชนี และสาระสังเขป ครอบคลุมเอกสารวิชาการสหสาขาวิชา มีข้อมูลวารสารกว่า 12,000 ชื่อเรื่อง โดยสามารถใช้ข้อมูลได้ตั้งแต่ปี 2001 – ปีปัจจุบัน ฐานข้อมูล Web of Science มีวารสารแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. กลุ่ม 1 ประกอบด้วย 3 ฐานข้อมูล ดังนี้ – Science Citation Index Expanded (SCI-EXPANDED)—2001-present – Social Sciences Citation Index (SSCI)—2001-present – Art & Humanities Citation Index (A&HCI)—2001-present2. กลุ่ม 2 ประกอบด้วย […]