ภาษาราชการ เข้าใจยากจริงหรือ?
สวัสดีค่ะชาว KM ทุกท่าน กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ สำหรับเรื่องที่แล้วก็ได้แนะนำการย่อลิงก์เอกสารโดยใช้ Bitly ไปแล้ว ทุกท่านได้ลองใช้กันแล้วหรือยังคะ วันนี้เราก็จะพามาทำความเข้าใจในคำศัพท์ทางภาษาราชการกันค่ะ มีคนเคยถามว่าทำไมภาษาราชการต้องเขียนให้เข้าใจยากด้วย นั่นน่ะสิคะ ทำไมกันล่ะคะ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะ จริง ๆ แล้วทุกภาษาต่างก็มีภาษาราชการ (ภาษาเขียน) และภาษาพูด (ภาษาปาก) ด้วยกันทั้งนั้น เหตุที่ต้องมีภาษาราชการนั้น เพราะในปัจจุบันนี้มีคำศัพท์เกิดขึ้นใหม่เรื่อย ๆ การตีความก็จะต่างกันไป ดังนั้นเราต้องใช้ภาษาราชการที่มีหลักการตีความและนิยามตายตัว เพื่อให้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจถึงเรื่องที่ต้องการจะสื่อตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ฉะนั้นแล้วสำหรับมือใหม่หัดเขียนในเริ่มต้นอาจจะยาก และไม่ค่อยคุ้นชินกับคำศัพท์สักเท่าไหร่ ถ้าได้ใช้บ่อยๆ รับรองว่าไม่ยากเกินความสามารถแน่นอนค่ะ วันนี้เราก็จะขอนำตัวอย่างการใช้คำในภาษาราชการเบื้องต้น สำหรับมือใหม่หัดเขียนหนังสือราชการ อาจจะมีคำศัพท์บางคำเราอาจจะยังแยกไม่ออกระหว่างภาษาราชการกับภาษาพูด เราจึงขอนำตัวอย่างคำศัพท์มาให้ทุกท่านได้ดูกัน หวังว่าทุกท่านจะนำสาระความรู้ในเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ร่างหนังสือร่างราชการกันนะคะ ขอขอบคุณรูปภาพจากเฟสบุ๊ค ดอกบัวใต้เสาชิงช้า สำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ