เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยสังเกตุสันหนังสือที่มีในสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ กันมาบ้าง แล้วสันแต่ละสันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง เราจะมาทำความรู้จักกัน
เริ่มที่สันแรกกันเลย สันแรกก็จะเป็นเลขเรียกหนังสือ หรือ LC Call นั่นเอง โดยจะมีพื้นสีขาว ติดตรงสันด้านล่างหนังสือทุกเล่ม ซึ่งเปรียบเสมือนชื่อและนามสกุลของหนังสือนั่นเอง แต่ Blog เราไม่ได้มาพูดถึงสัน LC Call แต่เราจะพูดถึงสันที่เป็น Running No. หรือสันที่เป็นลำดับในการจัดหนังสือนั่นเอง
Running No. เป็นสันที่ติดอยู่เหนือ LC Call มีลักษณะเป็นสีๆ แบ่งตาม Collection ของหนังสือ ภายในประกอบด้วยตัวเลขสองส่วน ส่วนแรก หมายถึงลำดับตู้ เช่นตู้ที่ 15 ตู้ที่ 16 เป็นต้น ส่วนที่ 2 หมายถึงลำดับหนังสือภายในตู้ เช่น ลำดับที่ 250 เป็นต้น
อย่างที่บอกว่า Running No. นั้นแบ่งเป็นสีๆ ตาม Collection ของหนังสือ ซึ่งในห้องสมุดของเรามีหนังสือที่ติด Running No. อยู่ 7 Collection ด้วยกัน ซึ่งก็คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ นิยาย อ้างอิง สิ่งพิมพ์ภาคใต้ สิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยานิพนธ์ เรามาเริ่มทำความรู้จัก Collection แรกกันเลย
- ภาษาไทย ภาษาไทยมี Running No. เป็นสีเขียว
- ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษมี Running No. เป็นสีชมพู
- อ้างอิง อ้างอิงมี Running No. เป็นสีเหลือง และมี อ.อ่าง เมื่อเป็นหนังสืออ้างอิงภาษาไทย ตัว R เมื่อเป็นหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษ กำกับไว้
- นิยาย และวิทยานิพนธ์ สอง Collection นี้มี Running No. เป็นสีส้ม และสิ่งที่บ่งบอกถึงความแตกต่างของสอง Collection นี้คือ LC Call ที่แตกต่างกัน คือ วิทยานิพนธ์จะมี LC Call ที่เหมือนหนังสือ Collection ทั่วไป แต่ของนิยายจะต่างออกไปคือมี น.หนู ที่ย่อมาจากนิยายกำกับไว้ เช่น น ก644ส 2560
- สิ่งพิมพ์ภาคใต้ และสิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือที่เรียกกันว่า ภต. และ สมอ. นั้นมี Running No. สีขาว แล้วสิ่งที่บ่งบอกถึงความแตกต่างของสองสิ่งพิมพ์นี้คือ ตรง Running No. จะมีตัวย่อ ภต. และ สมอ. กำกับไว้
นอกจากประโยชน์ของ Running No. ตามที่ได้บอกแล้วนั้น ด้วยความที่ Running No. นั้นมีสีสันสดใส ทำให้มีนักศึกษา และผู้ใช้บริการใช้เป็นจุดถ่ายรูปเช็คอิน หรือตามโอกาสสำคัญต่างๆ อย่างงานรับปริญญา เป็นต้น